ข่าวในประเทศ
1. นรม. ให้ ธปท. ศึกษากรณีที่เอดีบีเสนอให้ไทยเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา นรม. เปิดเผยภายหลังการประชุม "Asia Development Forum" (ADF) ครั้งที่ 3 เกี่ยวกับกรณีที่ ธ. เพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เสนอให้ไทยเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบลอยตัวเป็นระบบตระกร้าเงินว่า คงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ศึกษาก่อน แต่ปัจจุบันยืนยันว่าไทยยังไม่มีความคิดที่จะเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยน เพราะค่าเงินทุกสกุลยกเว้นดอลลาร์ สรอ. ขณะนี้อยู่ในภาวะผันผวนทั้งหมด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ของรัฐบาลต้องทำด้วยหลักการและเหตุผล แต่หากมีสิ่งที่ดีกว่าก็พร้อมที่จะเปลี่ยน (ไทยรัฐ 13)
2. ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.รายงานการประมาณการตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกปี 44 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจไทยในการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.44 ว่า ธปท.คาดการณ์ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจไตรมาสแรกปี 44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5-2.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) โดยในวันที่ 18 มิ.ย.44 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะมีการประกาศตัวเลขอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ทั้งนี้ มีความเป็นห่วงว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ปี 44 อาจจะต่ำกว่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 43 เนื่องจากฐานการคำนวณตัวเลขของปี 43 มีอัตราที่สูงกว่า (เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด 13)
3. ครม.มีมติเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการ บสท. รมว.คลัง เปิดเผยว่า ครม.มีมติเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) โดยมีนายเชาว์ สายเชื้อ เป็นประธานกรรมการ ส่วนคณะกรรมการประกอบด้วย นายทนง พิทยะ นายสมใจนึก เองตระกูล นายมนู เลียวไพโรจน์ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล นายสุชาติ ไตรประสิทธิ์ นายวิษณุ เครืองาม นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล นายจุลกร สิงหโกวินท์ นายทวี บุตรสุนทร และนายอาชว์ เตาลานนท์ ทั้งนี้ คณะกรรมการจะมีการประชุมเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารอีก 1 ชุดจำนวน 4 คน หลังจากนั้น บสท.ก็จะสามารถดำเนินการได้ทันที ในส่วนของคณะกรรมการติดตามการบริหารหนี้ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินจะถูกยุบเพื่อให้คณะกรรมการชุดใหม่ทำงานต่อ (โลกวันนี้ 13)
4. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงในเดือน พ.ค. 44 ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมของผู้บริโภคในเดือน พ.ค. 44 มีค่าเท่ากับ 69.7 ลดลงจากเดือน เม.ย. 44 ที่อยู่ที่ระดับ 71 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำอยู่ที่ระดับ 63.2 ลดลงจากเดือน เม.ย. 44 ที่ระดับ 64.7 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 98.9 ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 100.3 ซึ่งการที่ดัชนีทุกตัวมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคสูญเสียความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ และคาดว่าในอีก 6 เดือนข้างหน้าผู้บริโภคจะยังคงชะลอการบริโภคเช่นเดิม (ไทยรัฐ, มติชนรายวัน 13)
ข่าวต่างประเทศ
1. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงร้อยละ 24.4 ในเดือน เม.ย. 44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 13 มิ.ย. 44 ก. คลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือน เม.ย. 44 ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ก่อนปรับตัวเลขตามฤดูกาล ลดลงร้อยละ 24.4 อยู่ที่มูลค่า 877.6 พัน ล. เยน (7.20 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) จากมูลค่า 1,303.6 พัน ล. เยนในเดือน มี.ค. 44 ซึ่งลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ขณะเดียวกัน การเกินดุลการค้าในเดือน เม.ย. ลดลงร้อยละ 35 อยู่ที่มูลค่า 837.2 พัน ล. เยน จากมูลค่า 1,103.3 พัน ล. เยนในเดือน มี.ค. โดยการส่งออก ลดลงเหลือมูลค่า 4,115.4 พัน ล. เยน จากมูลค่า 4,675.2 พัน ล. เยน และการนำเข้าลดลงเหลือมูลค่า 3,278.2 พัน ล. เยน จากมูลค่า 3,571.9 พัน ล. เยน ทั้งนี้ การลดลงดังกล่าว เป็นผลจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวของ สรอ. และเอเชีย ซึ่งประเทศคู่ค้าที่สำคัญของญี่ปุ่น (รอยเตอร์13)
2. คำสั่งซื้อเครื่องมือกลจากผู้ผลิตของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน เม.ย.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 12 มิ.ย.44 สมาคมผู้ผลิตเครื่องมือกล เปิดเผยว่า ปริมาณคำสั่งซื้อเครื่องมือกลจากผู้ผลิตญี่ปุ่นในเดือน เม.ย.44 มีมูลค่า 74.60 พัน ล. เยน (612.10 ล. ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี43 และนับเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 16 เดือนเมื่อเทียบปีต่อปี โดยความต้องการในประเทศลดลงร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี43 และลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 17 เดือน ขณะที่ความต้องการจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 ซึ่งเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15 (รอยเตอร์ 12)
3. เยอรมนีเกินดุลการค้าจำนวน 10.2 พัน ล. ดอยซ์มาร์กในเดือน เม.ย.44 รายงานจาก Wiesbaden เมื่อ 12 มิ.ย.44 สำนักสถิติกลางรายงานว่า ยอดเกินดุลการค้าซึ่งเป็นตัวเลขเบื้องต้นในเดือน เม.ย.44 มีจำนวน 10.2 พัน ล. มาร์ก เทียบกับตัวเลขหลังปรับฤดูกาลจำนวน 17.4 พัน ล. มาร์ก ในเดือน มี.ค.44 และ 10.0 พัน ล. มาร์กในเดือน เม.ย.43 และเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน เม.ย.มีจำนวน 2.9 พัน ล. มาร์ก เทียบกับจำนวน 6.2 พัน ล. มาร์ก ในเดือน มี.ค.44 สำหรับในช่วง 4 เดือนแรกของปี 44 (ม.ค.-เม.ย.) ยอดเกินดุลการค้ามีจำนวน 49.0 พัน ล.มาร์ก และเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวน 1.4 พัน ล. มาร์ก (รอยเตอร์ 12)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีในเดือน พ.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ต่อปี รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 12 มิ.ย.44 สำนักสถิติกลางรายงานว่า เดือน พ.ค.44 เงินเฟ้อเมื่อเทียบต่อปีได้เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.36 โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เทียบต่อปี และร้อยละ 0.5 เทียบต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตราที่เร่งขึ้นมากจากเดือน เม.ย.44 ที่ดัชนีฯ เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.9 เทียบต่อปี และร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน สำหรับ CPI ที่ใช้เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรปนั้น CPI ในเดือน พ.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ต่อปี และ 0.6 ต่อเดือน แต่หากไม่รวมราคาน้ำมันและเชื้อเพลิงสำหรับทำความร้อน CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ต่อปี สูงขึ้นจากร้อยละ 2.6 ในเดือน เม.ย (รอยเตอร์ 12)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 12 มิ.ย. 44 45.213 (45.156)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 12 มิ.ย. 44ซื้อ 44.9852 (44.9366) ขาย 45.3045 (45.2535)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,650 (5,700) ขาย 5,750 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 26.88 (26.81)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.99 (15.99) ดีเซลหมุนเร็ว 14.14 (14.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. นรม. ให้ ธปท. ศึกษากรณีที่เอดีบีเสนอให้ไทยเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา นรม. เปิดเผยภายหลังการประชุม "Asia Development Forum" (ADF) ครั้งที่ 3 เกี่ยวกับกรณีที่ ธ. เพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เสนอให้ไทยเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบลอยตัวเป็นระบบตระกร้าเงินว่า คงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ศึกษาก่อน แต่ปัจจุบันยืนยันว่าไทยยังไม่มีความคิดที่จะเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยน เพราะค่าเงินทุกสกุลยกเว้นดอลลาร์ สรอ. ขณะนี้อยู่ในภาวะผันผวนทั้งหมด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ของรัฐบาลต้องทำด้วยหลักการและเหตุผล แต่หากมีสิ่งที่ดีกว่าก็พร้อมที่จะเปลี่ยน (ไทยรัฐ 13)
2. ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.รายงานการประมาณการตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกปี 44 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจไทยในการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.44 ว่า ธปท.คาดการณ์ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจไตรมาสแรกปี 44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5-2.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) โดยในวันที่ 18 มิ.ย.44 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะมีการประกาศตัวเลขอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ทั้งนี้ มีความเป็นห่วงว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ปี 44 อาจจะต่ำกว่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 43 เนื่องจากฐานการคำนวณตัวเลขของปี 43 มีอัตราที่สูงกว่า (เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด 13)
3. ครม.มีมติเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการ บสท. รมว.คลัง เปิดเผยว่า ครม.มีมติเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) โดยมีนายเชาว์ สายเชื้อ เป็นประธานกรรมการ ส่วนคณะกรรมการประกอบด้วย นายทนง พิทยะ นายสมใจนึก เองตระกูล นายมนู เลียวไพโรจน์ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล นายสุชาติ ไตรประสิทธิ์ นายวิษณุ เครืองาม นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล นายจุลกร สิงหโกวินท์ นายทวี บุตรสุนทร และนายอาชว์ เตาลานนท์ ทั้งนี้ คณะกรรมการจะมีการประชุมเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารอีก 1 ชุดจำนวน 4 คน หลังจากนั้น บสท.ก็จะสามารถดำเนินการได้ทันที ในส่วนของคณะกรรมการติดตามการบริหารหนี้ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินจะถูกยุบเพื่อให้คณะกรรมการชุดใหม่ทำงานต่อ (โลกวันนี้ 13)
4. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงในเดือน พ.ค. 44 ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมของผู้บริโภคในเดือน พ.ค. 44 มีค่าเท่ากับ 69.7 ลดลงจากเดือน เม.ย. 44 ที่อยู่ที่ระดับ 71 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำอยู่ที่ระดับ 63.2 ลดลงจากเดือน เม.ย. 44 ที่ระดับ 64.7 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 98.9 ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 100.3 ซึ่งการที่ดัชนีทุกตัวมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคสูญเสียความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ และคาดว่าในอีก 6 เดือนข้างหน้าผู้บริโภคจะยังคงชะลอการบริโภคเช่นเดิม (ไทยรัฐ, มติชนรายวัน 13)
ข่าวต่างประเทศ
1. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงร้อยละ 24.4 ในเดือน เม.ย. 44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 13 มิ.ย. 44 ก. คลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือน เม.ย. 44 ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ก่อนปรับตัวเลขตามฤดูกาล ลดลงร้อยละ 24.4 อยู่ที่มูลค่า 877.6 พัน ล. เยน (7.20 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) จากมูลค่า 1,303.6 พัน ล. เยนในเดือน มี.ค. 44 ซึ่งลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ขณะเดียวกัน การเกินดุลการค้าในเดือน เม.ย. ลดลงร้อยละ 35 อยู่ที่มูลค่า 837.2 พัน ล. เยน จากมูลค่า 1,103.3 พัน ล. เยนในเดือน มี.ค. โดยการส่งออก ลดลงเหลือมูลค่า 4,115.4 พัน ล. เยน จากมูลค่า 4,675.2 พัน ล. เยน และการนำเข้าลดลงเหลือมูลค่า 3,278.2 พัน ล. เยน จากมูลค่า 3,571.9 พัน ล. เยน ทั้งนี้ การลดลงดังกล่าว เป็นผลจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวของ สรอ. และเอเชีย ซึ่งประเทศคู่ค้าที่สำคัญของญี่ปุ่น (รอยเตอร์13)
2. คำสั่งซื้อเครื่องมือกลจากผู้ผลิตของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน เม.ย.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 12 มิ.ย.44 สมาคมผู้ผลิตเครื่องมือกล เปิดเผยว่า ปริมาณคำสั่งซื้อเครื่องมือกลจากผู้ผลิตญี่ปุ่นในเดือน เม.ย.44 มีมูลค่า 74.60 พัน ล. เยน (612.10 ล. ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี43 และนับเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 16 เดือนเมื่อเทียบปีต่อปี โดยความต้องการในประเทศลดลงร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี43 และลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 17 เดือน ขณะที่ความต้องการจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 ซึ่งเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15 (รอยเตอร์ 12)
3. เยอรมนีเกินดุลการค้าจำนวน 10.2 พัน ล. ดอยซ์มาร์กในเดือน เม.ย.44 รายงานจาก Wiesbaden เมื่อ 12 มิ.ย.44 สำนักสถิติกลางรายงานว่า ยอดเกินดุลการค้าซึ่งเป็นตัวเลขเบื้องต้นในเดือน เม.ย.44 มีจำนวน 10.2 พัน ล. มาร์ก เทียบกับตัวเลขหลังปรับฤดูกาลจำนวน 17.4 พัน ล. มาร์ก ในเดือน มี.ค.44 และ 10.0 พัน ล. มาร์กในเดือน เม.ย.43 และเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน เม.ย.มีจำนวน 2.9 พัน ล. มาร์ก เทียบกับจำนวน 6.2 พัน ล. มาร์ก ในเดือน มี.ค.44 สำหรับในช่วง 4 เดือนแรกของปี 44 (ม.ค.-เม.ย.) ยอดเกินดุลการค้ามีจำนวน 49.0 พัน ล.มาร์ก และเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวน 1.4 พัน ล. มาร์ก (รอยเตอร์ 12)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีในเดือน พ.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ต่อปี รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 12 มิ.ย.44 สำนักสถิติกลางรายงานว่า เดือน พ.ค.44 เงินเฟ้อเมื่อเทียบต่อปีได้เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.36 โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เทียบต่อปี และร้อยละ 0.5 เทียบต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตราที่เร่งขึ้นมากจากเดือน เม.ย.44 ที่ดัชนีฯ เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.9 เทียบต่อปี และร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน สำหรับ CPI ที่ใช้เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรปนั้น CPI ในเดือน พ.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ต่อปี และ 0.6 ต่อเดือน แต่หากไม่รวมราคาน้ำมันและเชื้อเพลิงสำหรับทำความร้อน CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ต่อปี สูงขึ้นจากร้อยละ 2.6 ในเดือน เม.ย (รอยเตอร์ 12)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 12 มิ.ย. 44 45.213 (45.156)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 12 มิ.ย. 44ซื้อ 44.9852 (44.9366) ขาย 45.3045 (45.2535)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,650 (5,700) ขาย 5,750 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 26.88 (26.81)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.99 (15.99) ดีเซลหมุนเร็ว 14.14 (14.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-