สหรัฐอเมริกา
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายนยังมีความอ่อนแอ โดยผลการสำรวจความ เชื่อมั่นของผู้บริโภคซึ่งจัดทำโดย University of Michigan (ถึงแม้จะจัดทำก่อนการโจมตีของกลุ่มก่อการร้าย เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544) ได้ปรับลดลงไป อย่างมากและอยู่ที่ระดับ 83.6 ต่ำสุดตั้งแต่ปี 2537 ซึ่งปัจจัยหลักมาจากการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้นและข่าวการปลดพนักงานของบริษัทต่างๆ อัตราการว่างงาน ในเดือนสิงหาคมปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.9 จากร้อยละ 4.5 ในเดือนก่อน ดัชนียอดขายปลีกในเดือนสิงหาคมปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า อย่างไร ก็ตาม ยังไม่สามารถเห็นผลจาก Tax Rebate ได้ชัดเจนในตัวเลขยอดขายปลีกประจำเดือนสิงหาคม ส่วนภาค การผลิตยังคงอ่อนแอ โดยในเดือนสิงหาคมผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 11 อย่างไรก็ตาม ดัชนีการสำรวจความคิดเห็นของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (NAPM Purchasing Manager Index) ภาค อุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ระดับ 47.9 เพิ่มขึ้นจากระดับ 43.6 ในเดือนกรกฎาคม และเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2543
เมื่อประเมินภาพเศรษฐกิจโดยรวม แม้ว่า ก่อนที่จะเกิดวินาศกรรมในวันที่ 11 กันยายน 2544 ภาคการจ้างงาน ภาคการผลิต และการลงทุนของภาคธุรกิจยังคงอ่อนแอ และสถานการณ์ดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อความมั่นใจของผู้บริโภคและอาจทำให้การ ใช้จ่ายลดลงอีก ธนาคารกลางสหรัฐฯ จึงได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ลงอีก 50 basis points เป็นร้อยละ 3.00 ในวันที่ 17 กันยายน 2544 ซึ่งเป็นการ ลดอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 8 ของปีนี้ ยุโรป
เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรยังคงชะลอตัว โดยในไตรมาสที่ 2 ตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ที่ร้อยละ 0.1 (qoq) และร้อยละ 1.7 ต่อปี(yoy) เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 0.5 (qoq) และร้อยละ 2.4 ต่อปีในไตรมาสแรก ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ต่ำสุด นับจากไตรมาสแรกปี 2540 ทั้งนี้ เป็นผลจากการลงทุนที่หดตัว ประกอบกับการส่งออกที่ชะลอตัวลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
อัตราการขยายตัวของปริมาณเงิน M3 (3m avg.) สูงขึ้นจากร้อยละ 5.5 ในเดือนก่อน เป็นร้อยละ 6.0 ในเดือนสิงหาคม ทั้งนี้ เนื่องจากนักลงทุนได้มีการ โยกย้ายเงินลงทุนจากตลาดหุ้นและตราสารระยะยาวมายังตราสารระยะสั้นเพื่อรอหาจังหวะลงทุนต่อ ในอนาคตอัตราเงินเฟ้อปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่สอง ติดต่อกัน มาอยู่ที่ร้อยละ 2.8 ต่อปีในเดือนกรกฎาคม ตามการลดลงของราคาพลังงานและราคาอาหารเป็น ส่วนใหญ่ ส่วน Core Inflation ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยทางการลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.25 ในการประชุมเมื่อวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา ตามที่ นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ ปัจจัยที่มีผลให้ ECB ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ได้แก่ การปรับลดลงของอัตราเงินเฟ้อที่ค่อนข้างเร็ว การแข็งค่าขึ้นของค่าเงินยูโร และการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรในช่วงที่ผ่านมา
ต่อมา เมื่อวันที่ 17 กันยายน ECB ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ตามการลดดอกเบี้ยของสหรัฐฯ หลังเหตุก่อการร้าย และเนื่องจาก มีความ ไม่แน่นอนในระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลก โดยได้ปรับลด (1) อัตราดอกเบี้ย Refinancing rate ลงร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 3.75 (2) อัตราดอกเบี้ย Marginal Lending Facility ลงร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 4.75 และ (3) อัตราดอกเบี้ย Deposit Facility ลงร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 2.75 โดย ECB ให้เหตุผลว่าสถานการณ์ในสหรัฐฯ อาจส่งผลลบต่อความ เชื่อมั่น ตลอดจนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาคพื้น ยุโรป ขณะที่ความเสี่ยงในด้านราคาลดลง แต่ยังเชื่อมั่นว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจจะเป็นเพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้น เอเชียตะวันออก
เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังแสดงสัญญาณถดถอย โดย Real GDP หดตัวร้อยละ 0.8 (qoq) เป็นผลจากอุปสงค์ทั้งภายในเเละภายนอกประเทศที่ลดลง ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่ตลาดแรงงานอยู่ในภาวะ ซบเซาและยังไม่มีแนวโน้มที่จะดีขึ้น ตลอดจนการใช้จ่ายในภาคครัวเรือนก็ยังคงปรับตัวลดลง
อนึ่ง ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ประกาศที่จะ เพิ่มปริมาณ Current Account ที่สถาบันการเงินต่างๆ มีกับธนาคารกลางให้เกินกว่าที่เคยกำหนดไว้ที่ 6 ล้านล้านเยน แต่ไม่ได้กำหนดเป้าหมายของปริมาณที่ชัดเจนเช่นที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม นับจากวันที่ 11 กันยายน 2544 หลังเกิดความไม่สงบในสหรัฐฯ เป็นต้นมา ธนาคารกลางได้เพิ่มปริมาณเงินในระบบมากกว่า เป้าหมาย โดยดำรงระดับ Current Account ที่ 8 ล้านล้านเยน และปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 9.5 ล้านล้านเยน
นอกจากนี้ หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารกลางยุโรปได้ปรับลดดอกเบี้ยมาตรฐานลง ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ปรับลดดอกเบี้ย Official Discount Rate หรือ Lombard-type rate ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นปล่อยกู้กับสถาบันการเงินต่างๆ ลงจากร้อยละ 0.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 0.1 ต่อปี นอกจากนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังได้ขยายระยะเวลาการให้กู้จากเดิมที่ระยะสูงสุด 5 วันติดต่อกันเป็น 10 วันติดต่อกัน เศรษฐกิจจีนในเดือนกรกฎาคม 2544 ยังคงได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากการขยายตัวของอุปสงค์รวมในประเทศ โดยการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 (yoy) ขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2542 ขณะที่ value-added industrial output ชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการ ส่งออกที่ชะลอลงในช่วงที่ผ่านมาและฐานคำนวณสูง ในปีที่แล้ว เเม้การส่งออกในเดือนกรกฎาคมจะขยายตัว ดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า นักวิเคราะห์ยังคง คาดว่าการส่งออกมีแนวโน้มชะลอลงในไตรมาสที่ 3
สำหรับอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 (yoy) ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 1.2 (yoy) ในเดือนมิถุนายน
ค่าเงินหยวนมีเสถียรภาพอยู่ที่เฉลี่ย 8.28 ต่อดอลลาร์สรอ. และมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเนื่องจากการ อ่อนตัวลงของเงินดอลลาร์สรอ. ขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์จีนปรับตัวลดลง เนื่องจากทางการจีนเร่งปราบปรามการซื้อขายหุ้นอย่างผิดกฎหมาย และเร่งปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อสร้างเสถียรภาพและพัฒนาตลาดหุ้นจีน
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2544 ทางการจีนยังกล่าวย้ำว่าจะดำเนินนโยบายเน้นการใช้จ่ายเงินของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปีหน้า แม้ว่าจีนจะมีปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สำคัญ อันได้แก่ ความเป็นไปได้ที่จะเข้าเป็นสมาชิก WTO ในปีนี้ และการได้เป็นเจ้าภาพจัดกีฬาโอลิมปิกในปี 2551 แต่เหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐฯ ที่อาจนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 3 อาจส่งผลกระทบด้านลบต่อการไหลเข้าของเงิน ลงทุนจากต่างประเทศและการเติบโตทางเศรษฐกิจในจีน
เศรษฐกิจฮ่องกงในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 0.5 (yoy) ชะลอลงมากจากไตรมาสแรกซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.3 เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของฮ่องกง และการชะลอตัวของการลงทุนในประเทศ รวมทั้งอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอลงตามอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น
ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวดังกล่าว ส่งผลให้ทางการฮ่องกงปรับลดอัตราคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2544 จากร้อยละ 3.0 เหลือเพียง ร้อยละ 1.0 ซึ่งเป็นการปรับลดครั้งที่ 2 ในปีนี้ ขณะที่ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่แสดงความเห็นว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ฮ่องกงจะตกอยู่ในภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ อีกรอบหนึ่งหากเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ยังคงหดตัว ต่อเนื่อง นอกจากนี้ คาดว่าฮ่องกงจะยังคงประสบปัญหาภาวะเงินฝืดเช่นนี้ต่อไปอีกระยะหนึ่ง และน่าจะเริ่ม คลี่คลายดีขึ้นในช่วงปลายปี โดยอัตราเงินเฟ้อล่าสุด ในเดือนกรกฎาคมติดลบร้อยละ 0.9 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งติดลบร้อยละ 1.1
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2544 ธนาคารกลางฮ่องกง (HKMA) ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานสำหรับการให้กู้ยืมแก่ธนาคารพาณิชย์ประเภทข้ามคืน (base rate) ลงร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 5.00 เป็นร้อยละ 4.50 ซึ่งเป็นการปรับลดครั้งที่ 8 นับจากต้นปี ทั้งนี้ เป็นการปรับลดตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Fund ของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2544 เนื่องจากเงินดอลลาร์ฮ่องกงผูกค่ากับเงินดอลลาร์สรอ. ภายใต้ระบบ currency board และคาดว่าธนาคารพาณิชย์ ในฮ่องกงจะประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และเงินฝากออมทรัพย์ลงเช่นกัน อนึ่ง ธนาคารกลางฮ่องกงให้เหตุผลต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ว่าเพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินในประเทศ และ เรียกคืนความเชื่อมั่นของประชาชนภายหลังการ ก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ นักวิเคราะห์เห็นว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว อาจไม่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากนัก โดยนักวิเคราะห์จากธนาคาร HSBC เห็นว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ฮ่องกงขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ ในประเทศเป็นสำคัญ
เศรษฐกิจไต้หวันในไตรมาสที่ 2 ปีนี้หดตัวร้อยละ 2.4 (yoy) เทียบกับไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 (yoy) ส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในช่วงครึ่งแรกปีนี้ติดลบร้อยละ 0.7 (yoy) เนื่องจากปัจจัยทั้งภายในและนอกประเทศชะลอตัวลงมาก ด้าน ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 3.7 พันล้านดอลลาร์สรอ. แต่มีเงินทุนสุทธิไหลออก 3.3 พันล้านดอลลาร์สรอ. ส่วนอัตราการว่างงานทำสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่องเป็นร้อยละ 4.9เมื่อวันที่ 20 สิงหาคมทางการไต้หวันได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของทั้งปี 2544 เป็นติดลบร้อยละ 0.4 (yoy) พร้อมกันนี้ ธนาคารกลางไต้หวันได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลงอีกร้อยละ 0.25 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ทำให้อัตราดอกเบี้ย discount rate และ accommodation with collateral rate ลดลงไปอยู่ที่ร้อยละ 3.25 และ 3.625 ตามลำดับ รวมทั้งเร่งปฏิรูปภาคการเงินไต้หวัน โดยส่งเจ้าหน้าที่ของทางการเข้าไปควบคุมการดำเนินกิจการของสหกรณ์สินเชื่อเกษตรกรที่มีปัญหาทางการเงินจำนวน 36 แห่ง และให้ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่เข้าควบรวมสถาบันการเงินที่มีปัญหา อีกทั้งประกาศจะดำเนินนโยบาย การคลังที่ผ่อนคลายมากขึ้น โดยจะจัดทำงบประมาณขาดดุล 258.8 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน (7.5 พันล้านดอลลาร์สรอ.) ในปีหน้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.5 (yoy) จาก ปีนี้ และมีแผนการที่จะใช้จ่ายเงินพิเศษในโครงการ ก่อสร้างระบบพื้นฐานอีกปีละ 100 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน (2.9 พันล้านดอลลาร์สรอ.) ในระยะ 5 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ รัฐบาลไต้หวันจะผ่อนคลายการควบคุมทางด้านการค้าและการลงทุนกับจีนมากขึ้น เพื่อรักษา ผลประโยชน์และเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของ นักธุรกิจที่เข้าไปทำการค้าและลงทุนในจีน
ต่อมา เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2544 ธนาคารกลางไต้หวันประกาศจะลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลงอีกร้อยละ 0.5 โดยให้เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2544 ภายหลังจากที่สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.5 หลังเหตุการณ์ ก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ ทำให้อัตราดอกเบี้ย discount rate และ accommodation with collateral rate ของไต้หวันลดลงเป็นร้อยละ 2.75 และ 3.125 ตามลำดับ ซึ่งทำสถิติใหม่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ธนาคารกลางไต้หวันให้เหตุผลการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ว่าต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศและสะท้อนถึงภาวะสภาพคล่องที่สูงในตลาดทุนไต้หวัน
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2544 ขยายตัวร้อยละ 2.7 (yoy) หรือร้อยละ 0.5 (qoq) โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการบริโภคภาคเอกชนที่ ขยายตัวชดเชยการหดตัวของภาคการลงทุนและการชะลอตัวของการส่งออกโดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นสินค้าหลักทุนสำรองระหว่างประเทศในเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 99.03 พันล้านดอลลาร์สรอ. แม้ว่าจะมีการจ่ายคืนเงินกู้ IMF รอบสุดท้ายในส่วนของวงเงิน Stand-by Arrangement จำนวน 140 ล้านดอลลาร์สรอ. (ซึ่งเป็นหนี้ที่ครบกำหนดในเดือนพฤษภาคม 2547
แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องคณะกรรมการนโยบายการเงินของเกาหลีใต้ในเดือนกันยายนมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ย overnight call rate ไว้ที่ร้อยละ 4.5 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในประเทศยังคง สูงกว่าเป้าหมาย กอปรกับต้องการรอดูผลของนโยบายการเงินและการคลังที่ได้ดำเนินไปแล้ว อย่างไรก็ตามสภาแห่งชาติได้อนุมัติแผนการปรับลดอัตราภาษี ส่วนบุคคลและภาษีอื่นๆ (เริ่มมีผลบังคับใช้ในต้นปี 2545) เพื่อกระตุ้นภาคการบริโภคอันเป็นส่วนหนึ่งของแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการอนุมัติการใช้จ่ายเงิน supplementary budget จำนวน 5.05 ล้านล้านวอน (3.95 พันล้านดอลลาร์สรอ.) ในส่วนของแผนเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐบาลจำนวน 10 ล้านล้านวอน (7.8 พันล้านดอลลาร์สรอ.)อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2544 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย overnight call rate ลงร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 4.5 เป็นร้อยละ 4.0 (นับเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 4 ในปีนี้) ตามการปรับลดของอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ยุโรป และของประเทศในภูมิภาค และเพื่อเรียกความเชื่อมั่นของประชาชนหลังเหตุการณ์การ ก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ นอกจากนี้ ธนาคารกลางยังจะขยายเงินกู้ให้กับธนาคารพาณิชย์เพื่อปล่อยกู้ให้กับกิจการต่างๆ เป็นจำนวน 2 ล้านล้านวอน (1.54 พันล้านดอลลาร์สรอ.) และปรับลดอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมลงเหลือร้อยละ 2.5 จากเดิมร้อยละ 3.0
อาเซียน
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 3.3 (yoy) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสแรก ซึ่งขยายตัวร้อยละ 3.2 (yoy) เป็นผลจากภาค เกษตรกรรมที่ยังคงขยายตัวได้ดี และการเติบโตของ อุปสงค์ภายในประเทศโดยเฉพาะการใช้จ่ายภาคเอกชน ซึ่งช่วยชดเชยภาวะซบเซาของการส่งออก อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ ได้แก่ สถานการณ์ความรุนแรงในสหรัฐฯ (11 กันยายน 2544) ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของฟิลิปปินส์เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกสินค้ารายใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์ (การส่งออกไปสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 30 ของการส่งออกรวมของประเทศ) รวมทั้งปัญหาการขาดดุลงบประมาณสูงซึ่งเป็นปัญหาที่ท้าทายความสามารถของ รัฐบาลชุดปัจจุบันอีกด้วยสำหรับดัชนีเศรษฐกิจสำคัญส่วนใหญ่ยังคงชะลอลงต่อเนื่อง โดยการส่งออกสินค้าล่าสุดในเดือนกรกฎาคมหดตัวร้อยละ 19.4 (yoy) นับเป็นการหดตัว ต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 6 ส่งผลให้การส่งออกของฟิลิปปินส์ในช่วง 7 เดือนแรกปีนี้หดตัวร้อยละ 10.8 (yoy) อัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 6.3 (yoy) ชะลอลงจากร้อยละ 6.8 ในเดือนกรกฎาคม จากการลดลงของราคาอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบซึ่งมีสัดส่วนสูงที่สุดในตะกร้าเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์
อนึ่ง ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ยังคง overnight borrowing rate และ lending rate ที่ร้อยละ 9.0 และ 11.25 เช่นเดิม โดยธนาคารกลางจะติดตามสถานการณ์ภายในและภายนอกประเทศอย่างใกล้ชิดเพื่อปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป GDP ของมาเลเซียในไตรมาสที่ 2 ปี 2544เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 (yoy) ชะลอตัวลงจากร้อยละ 3.1 (yoy) ในไตรมาสแรก เป็นผลจากการชะลอตัวของภาคการผลิต โดยเฉพาะในภาคสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ สำหรับทั้งปี 2544 Reuters Poll ในเดือนสิงหาคม คาดว่า GDP จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 เทียบกับร้อยละ 3.6 ที่สำรวจในเดือนมิถุนายน (ธนาคารกลางจะปรับอัตราการขยายตัวของ GDP ที่คาดไว้เดิมที่ร้อยละ 5.0-6.0 ใหม่ในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลเสนอแผนงบประมาณ)
ผู้ว่าการธนาคารกลางมาเลเซียกล่าวว่า เเม้ธนาคารกลางจะสามารถผ่อนคลายนโยบายการเงินมากขึ้น (เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อต่ำ และส่วนต่างอัตรา ดอกเบี้ยระหว่างมาเลเซียและสหรัฐฯ ที่แคบลง รวมทั้ง มีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น) แต่ก็ยังไม่จำเป็นต้องผ่อนคลายนโยบายการเงินในขณะนี้ เนื่องจากระดับอัตราดอกเบี้ยต่ำอยู่แล้ว และการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวได้ดี อีกทั้งมีนโยบายการคลัง ที่ผ่อนคลายที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางเห็นว่ารัฐบาลควรเร่งใช้จ่ายให้มากกว่านี้ ในครึ่งหลังของปี เพราะเเม้ว่ารัฐบาลได้ประกาศเพิ่ม งบประมาณอีก 3 พันล้านริงกิต (789 ล้านดอลลาร์สรอ.) เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาเพื่อลดผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง แต่ในไตรมาสที่ 2 มาเลเซีย กลับเกินดุลการคลัง 1.83 พันล้านริงกิต (482 ล้านดอลลาร์สรอ.) อันเป็นผลจากการเก็บภาษีได้มากขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในปี 2543 (ฐานการคำนวณภาษีในปี 2544) และภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เก็บได้ เพิ่มขึ้น
ด้านการปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 Danaharta ได้ปรับโครงสร้างหรืออนุมัติการปรับโครงสร้างหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ทั้งสิ้น 39 พันล้านริงกิต (10.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 81 จาก NPLs ที่รับมาบริหารทั้งหมด 48 พันล้านริงกิต อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของมาเลเซียส่งผลกระทบอย่างเห็นได้ชัดในช่วงครึ่งเเรกของปีนี้ โดยมีลูกหนี้ที่ปรับ โครงสร้างไปแล้วไม่สามารถชำระหนี้ได้ตรงตามกำหนดเวลาเพิ่มขึ้นเป็น 3.7 พันล้านริงกิต จาก 1.0 พันล้าน ริงกิต ณ สิ้นปี 2543 ทำให้ default rate ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 สูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 14 เทียบกับร้อยละ 6 ณ สิ้นปี 2543
GDP ของอินโดนีเซียในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 3.52 (yoy) และ 0.18 (qoq) เป็นผลจากการขยายตัวในภาคการผลิต ส่งผลให้เศรษฐกิจในครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 3.37 (yoy)
ในวันที่ 27 สิงหาคม 2544 รัฐบาลอินโดนีเซียและ IMF ได้บรรลุข้อตกลงที่จะลงนามใน LOI ฉบับที่ 5 หลังจากล่าช้าจากกำหนดเดิมกว่า 8 เดือนเนื่องจากปัญหาการเมืองภายในประเทศ ซึ่ง IMF ได้ผ่อนปรนเป้าหมายทางเศรษฐกิจโดย (1) ขยายช่วงเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อเป็นร้อยละ 9 - 11 จากเดิมที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 9.3 (2) ปรับลดอัตราการขยายตัวของ GDP จากเดิม ร้อยละ 4.8 เป็นร้อยละ 3.5 (3) ตั้งเป้าการขาดดุล งบประมาณไว้ที่ร้อยละ 3.7 ของ GDP และ (4) ปรับเพิ่มฐานเงินจาก 108 ล้านล้านรูเปียห์เป็น 110.5 ล้านล้าน รูเปียห์ และตั้งเป้าการขยายตัวของฐานเงินที่ร้อยละ 12.5
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 4 กันยายน รัฐบาลอินโดนีเซียได้เปิดเผยร่างงบประมาณปี 2545 ซึ่งมีเป้าขาดดุลร้อยละ 2.5 ของ GDP โดยคาดว่า (1) เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 5.0 (2) อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 8.0 (3) อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 8,500 รูเปียห์ต่อดอลลาร์สรอ. (4) ราคาน้ำมันเฉลี่ย 22 ดอลลาร์สรอ.ต่อบาเรล ทั้งนี้ IMF ได้กล่าวยอมรับร่างงบประมาณดังกล่าวว่าสอดคล้องกับ เป้าหมายการปฏิรูปเศรษฐกิจของรัฐบาล ในเดือนกรกฎาคม เศรษฐกิจสิงคโปร์ซบเซาอย่างต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า ปัจจัยสำคัญยังคงเป็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และภาวะซบเซาของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 13.2 (yoy) ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หดตัวร้อยละ 32.7 (yoy) โดยเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ขณะที่สินค้า biomedical sciences (ซึ่งทางการสิงคโปร์กำลังหันมา ให้ความสำคัญในฐานะที่เป็นอุตสาหกรรมหลักกลุ่มที่ 4 นอกเหนือจากอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ และวิศวกรรม) ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 67.2 เทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึ่งหดตัวร้อยละ 1.1 อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 1.3 (yoy) สูงขึ้นเล็กน้อย จากการปรับเพิ่มราคาเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเทียบกับร้อยละ 1.2 (yoy) ของเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ในช่วงเทศกาล Great Singapore Sale ขณะที่ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในครัวเรือนปรับตัวลดลงตามระดับราคาก๊าซหุงต้มที่มีแนวโน้มลดลงในช่วงดังกล่าว
การส่งออกสินค้าในเดือนกรกฎาคมลดลงร้อยละ 18 (yoy) ขณะที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 16.3 (yoy) ทั้งนี้ สินค้า domestic exports ที่มิใช่น้ำมันลดลงร้อยละ 27.6 (yoy) โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ลดลงถึงร้อยละ 35.6 และสินค้า non-electronics ลดลงร้อยละ 11.9 เงินให้กู้ของธนาคารพาณิชย์ชะลอลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 โดยขยายตัวเพียงร้อยละ 6.1 (yoy) เทียบกับเดือนมิถุนายนที่ขยายตัวร้อยละ 6.8 และการลงทุนในตลาดตลาดหลักทรัพย์ค่อนข้างซบเซา ทั้งในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม
สำหรับมาตรการของสิงคโปร์หลังเกิดเหตุ ก่อการร้ายในสหรัฐฯ นั้น เมื่อวันที่ 12 กันยายน ธนาคารกลางสิงคโปร์เเถลงว่าได้เตรียมพร้อมที่จะเสริม สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ในประเทศได้ อย่างเพียงพอ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายนยังมีความอ่อนแอ โดยผลการสำรวจความ เชื่อมั่นของผู้บริโภคซึ่งจัดทำโดย University of Michigan (ถึงแม้จะจัดทำก่อนการโจมตีของกลุ่มก่อการร้าย เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544) ได้ปรับลดลงไป อย่างมากและอยู่ที่ระดับ 83.6 ต่ำสุดตั้งแต่ปี 2537 ซึ่งปัจจัยหลักมาจากการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้นและข่าวการปลดพนักงานของบริษัทต่างๆ อัตราการว่างงาน ในเดือนสิงหาคมปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.9 จากร้อยละ 4.5 ในเดือนก่อน ดัชนียอดขายปลีกในเดือนสิงหาคมปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า อย่างไร ก็ตาม ยังไม่สามารถเห็นผลจาก Tax Rebate ได้ชัดเจนในตัวเลขยอดขายปลีกประจำเดือนสิงหาคม ส่วนภาค การผลิตยังคงอ่อนแอ โดยในเดือนสิงหาคมผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 11 อย่างไรก็ตาม ดัชนีการสำรวจความคิดเห็นของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (NAPM Purchasing Manager Index) ภาค อุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ระดับ 47.9 เพิ่มขึ้นจากระดับ 43.6 ในเดือนกรกฎาคม และเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2543
เมื่อประเมินภาพเศรษฐกิจโดยรวม แม้ว่า ก่อนที่จะเกิดวินาศกรรมในวันที่ 11 กันยายน 2544 ภาคการจ้างงาน ภาคการผลิต และการลงทุนของภาคธุรกิจยังคงอ่อนแอ และสถานการณ์ดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อความมั่นใจของผู้บริโภคและอาจทำให้การ ใช้จ่ายลดลงอีก ธนาคารกลางสหรัฐฯ จึงได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ลงอีก 50 basis points เป็นร้อยละ 3.00 ในวันที่ 17 กันยายน 2544 ซึ่งเป็นการ ลดอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 8 ของปีนี้ ยุโรป
เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรยังคงชะลอตัว โดยในไตรมาสที่ 2 ตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ที่ร้อยละ 0.1 (qoq) และร้อยละ 1.7 ต่อปี(yoy) เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 0.5 (qoq) และร้อยละ 2.4 ต่อปีในไตรมาสแรก ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ต่ำสุด นับจากไตรมาสแรกปี 2540 ทั้งนี้ เป็นผลจากการลงทุนที่หดตัว ประกอบกับการส่งออกที่ชะลอตัวลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
อัตราการขยายตัวของปริมาณเงิน M3 (3m avg.) สูงขึ้นจากร้อยละ 5.5 ในเดือนก่อน เป็นร้อยละ 6.0 ในเดือนสิงหาคม ทั้งนี้ เนื่องจากนักลงทุนได้มีการ โยกย้ายเงินลงทุนจากตลาดหุ้นและตราสารระยะยาวมายังตราสารระยะสั้นเพื่อรอหาจังหวะลงทุนต่อ ในอนาคตอัตราเงินเฟ้อปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่สอง ติดต่อกัน มาอยู่ที่ร้อยละ 2.8 ต่อปีในเดือนกรกฎาคม ตามการลดลงของราคาพลังงานและราคาอาหารเป็น ส่วนใหญ่ ส่วน Core Inflation ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยทางการลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.25 ในการประชุมเมื่อวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา ตามที่ นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ ปัจจัยที่มีผลให้ ECB ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ได้แก่ การปรับลดลงของอัตราเงินเฟ้อที่ค่อนข้างเร็ว การแข็งค่าขึ้นของค่าเงินยูโร และการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรในช่วงที่ผ่านมา
ต่อมา เมื่อวันที่ 17 กันยายน ECB ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ตามการลดดอกเบี้ยของสหรัฐฯ หลังเหตุก่อการร้าย และเนื่องจาก มีความ ไม่แน่นอนในระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลก โดยได้ปรับลด (1) อัตราดอกเบี้ย Refinancing rate ลงร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 3.75 (2) อัตราดอกเบี้ย Marginal Lending Facility ลงร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 4.75 และ (3) อัตราดอกเบี้ย Deposit Facility ลงร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 2.75 โดย ECB ให้เหตุผลว่าสถานการณ์ในสหรัฐฯ อาจส่งผลลบต่อความ เชื่อมั่น ตลอดจนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาคพื้น ยุโรป ขณะที่ความเสี่ยงในด้านราคาลดลง แต่ยังเชื่อมั่นว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจจะเป็นเพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้น เอเชียตะวันออก
เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังแสดงสัญญาณถดถอย โดย Real GDP หดตัวร้อยละ 0.8 (qoq) เป็นผลจากอุปสงค์ทั้งภายในเเละภายนอกประเทศที่ลดลง ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่ตลาดแรงงานอยู่ในภาวะ ซบเซาและยังไม่มีแนวโน้มที่จะดีขึ้น ตลอดจนการใช้จ่ายในภาคครัวเรือนก็ยังคงปรับตัวลดลง
อนึ่ง ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ประกาศที่จะ เพิ่มปริมาณ Current Account ที่สถาบันการเงินต่างๆ มีกับธนาคารกลางให้เกินกว่าที่เคยกำหนดไว้ที่ 6 ล้านล้านเยน แต่ไม่ได้กำหนดเป้าหมายของปริมาณที่ชัดเจนเช่นที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม นับจากวันที่ 11 กันยายน 2544 หลังเกิดความไม่สงบในสหรัฐฯ เป็นต้นมา ธนาคารกลางได้เพิ่มปริมาณเงินในระบบมากกว่า เป้าหมาย โดยดำรงระดับ Current Account ที่ 8 ล้านล้านเยน และปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 9.5 ล้านล้านเยน
นอกจากนี้ หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารกลางยุโรปได้ปรับลดดอกเบี้ยมาตรฐานลง ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ปรับลดดอกเบี้ย Official Discount Rate หรือ Lombard-type rate ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นปล่อยกู้กับสถาบันการเงินต่างๆ ลงจากร้อยละ 0.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 0.1 ต่อปี นอกจากนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังได้ขยายระยะเวลาการให้กู้จากเดิมที่ระยะสูงสุด 5 วันติดต่อกันเป็น 10 วันติดต่อกัน เศรษฐกิจจีนในเดือนกรกฎาคม 2544 ยังคงได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากการขยายตัวของอุปสงค์รวมในประเทศ โดยการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 (yoy) ขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2542 ขณะที่ value-added industrial output ชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการ ส่งออกที่ชะลอลงในช่วงที่ผ่านมาและฐานคำนวณสูง ในปีที่แล้ว เเม้การส่งออกในเดือนกรกฎาคมจะขยายตัว ดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า นักวิเคราะห์ยังคง คาดว่าการส่งออกมีแนวโน้มชะลอลงในไตรมาสที่ 3
สำหรับอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 (yoy) ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 1.2 (yoy) ในเดือนมิถุนายน
ค่าเงินหยวนมีเสถียรภาพอยู่ที่เฉลี่ย 8.28 ต่อดอลลาร์สรอ. และมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเนื่องจากการ อ่อนตัวลงของเงินดอลลาร์สรอ. ขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์จีนปรับตัวลดลง เนื่องจากทางการจีนเร่งปราบปรามการซื้อขายหุ้นอย่างผิดกฎหมาย และเร่งปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อสร้างเสถียรภาพและพัฒนาตลาดหุ้นจีน
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2544 ทางการจีนยังกล่าวย้ำว่าจะดำเนินนโยบายเน้นการใช้จ่ายเงินของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปีหน้า แม้ว่าจีนจะมีปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สำคัญ อันได้แก่ ความเป็นไปได้ที่จะเข้าเป็นสมาชิก WTO ในปีนี้ และการได้เป็นเจ้าภาพจัดกีฬาโอลิมปิกในปี 2551 แต่เหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐฯ ที่อาจนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 3 อาจส่งผลกระทบด้านลบต่อการไหลเข้าของเงิน ลงทุนจากต่างประเทศและการเติบโตทางเศรษฐกิจในจีน
เศรษฐกิจฮ่องกงในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 0.5 (yoy) ชะลอลงมากจากไตรมาสแรกซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.3 เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของฮ่องกง และการชะลอตัวของการลงทุนในประเทศ รวมทั้งอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอลงตามอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น
ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวดังกล่าว ส่งผลให้ทางการฮ่องกงปรับลดอัตราคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2544 จากร้อยละ 3.0 เหลือเพียง ร้อยละ 1.0 ซึ่งเป็นการปรับลดครั้งที่ 2 ในปีนี้ ขณะที่ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่แสดงความเห็นว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ฮ่องกงจะตกอยู่ในภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ อีกรอบหนึ่งหากเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ยังคงหดตัว ต่อเนื่อง นอกจากนี้ คาดว่าฮ่องกงจะยังคงประสบปัญหาภาวะเงินฝืดเช่นนี้ต่อไปอีกระยะหนึ่ง และน่าจะเริ่ม คลี่คลายดีขึ้นในช่วงปลายปี โดยอัตราเงินเฟ้อล่าสุด ในเดือนกรกฎาคมติดลบร้อยละ 0.9 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งติดลบร้อยละ 1.1
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2544 ธนาคารกลางฮ่องกง (HKMA) ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานสำหรับการให้กู้ยืมแก่ธนาคารพาณิชย์ประเภทข้ามคืน (base rate) ลงร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 5.00 เป็นร้อยละ 4.50 ซึ่งเป็นการปรับลดครั้งที่ 8 นับจากต้นปี ทั้งนี้ เป็นการปรับลดตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Fund ของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2544 เนื่องจากเงินดอลลาร์ฮ่องกงผูกค่ากับเงินดอลลาร์สรอ. ภายใต้ระบบ currency board และคาดว่าธนาคารพาณิชย์ ในฮ่องกงจะประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และเงินฝากออมทรัพย์ลงเช่นกัน อนึ่ง ธนาคารกลางฮ่องกงให้เหตุผลต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ว่าเพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินในประเทศ และ เรียกคืนความเชื่อมั่นของประชาชนภายหลังการ ก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ นักวิเคราะห์เห็นว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว อาจไม่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากนัก โดยนักวิเคราะห์จากธนาคาร HSBC เห็นว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ฮ่องกงขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ ในประเทศเป็นสำคัญ
เศรษฐกิจไต้หวันในไตรมาสที่ 2 ปีนี้หดตัวร้อยละ 2.4 (yoy) เทียบกับไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 (yoy) ส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในช่วงครึ่งแรกปีนี้ติดลบร้อยละ 0.7 (yoy) เนื่องจากปัจจัยทั้งภายในและนอกประเทศชะลอตัวลงมาก ด้าน ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 3.7 พันล้านดอลลาร์สรอ. แต่มีเงินทุนสุทธิไหลออก 3.3 พันล้านดอลลาร์สรอ. ส่วนอัตราการว่างงานทำสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่องเป็นร้อยละ 4.9เมื่อวันที่ 20 สิงหาคมทางการไต้หวันได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของทั้งปี 2544 เป็นติดลบร้อยละ 0.4 (yoy) พร้อมกันนี้ ธนาคารกลางไต้หวันได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลงอีกร้อยละ 0.25 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ทำให้อัตราดอกเบี้ย discount rate และ accommodation with collateral rate ลดลงไปอยู่ที่ร้อยละ 3.25 และ 3.625 ตามลำดับ รวมทั้งเร่งปฏิรูปภาคการเงินไต้หวัน โดยส่งเจ้าหน้าที่ของทางการเข้าไปควบคุมการดำเนินกิจการของสหกรณ์สินเชื่อเกษตรกรที่มีปัญหาทางการเงินจำนวน 36 แห่ง และให้ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่เข้าควบรวมสถาบันการเงินที่มีปัญหา อีกทั้งประกาศจะดำเนินนโยบาย การคลังที่ผ่อนคลายมากขึ้น โดยจะจัดทำงบประมาณขาดดุล 258.8 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน (7.5 พันล้านดอลลาร์สรอ.) ในปีหน้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.5 (yoy) จาก ปีนี้ และมีแผนการที่จะใช้จ่ายเงินพิเศษในโครงการ ก่อสร้างระบบพื้นฐานอีกปีละ 100 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน (2.9 พันล้านดอลลาร์สรอ.) ในระยะ 5 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ รัฐบาลไต้หวันจะผ่อนคลายการควบคุมทางด้านการค้าและการลงทุนกับจีนมากขึ้น เพื่อรักษา ผลประโยชน์และเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของ นักธุรกิจที่เข้าไปทำการค้าและลงทุนในจีน
ต่อมา เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2544 ธนาคารกลางไต้หวันประกาศจะลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลงอีกร้อยละ 0.5 โดยให้เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2544 ภายหลังจากที่สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.5 หลังเหตุการณ์ ก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ ทำให้อัตราดอกเบี้ย discount rate และ accommodation with collateral rate ของไต้หวันลดลงเป็นร้อยละ 2.75 และ 3.125 ตามลำดับ ซึ่งทำสถิติใหม่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ธนาคารกลางไต้หวันให้เหตุผลการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ว่าต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศและสะท้อนถึงภาวะสภาพคล่องที่สูงในตลาดทุนไต้หวัน
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2544 ขยายตัวร้อยละ 2.7 (yoy) หรือร้อยละ 0.5 (qoq) โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการบริโภคภาคเอกชนที่ ขยายตัวชดเชยการหดตัวของภาคการลงทุนและการชะลอตัวของการส่งออกโดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นสินค้าหลักทุนสำรองระหว่างประเทศในเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 99.03 พันล้านดอลลาร์สรอ. แม้ว่าจะมีการจ่ายคืนเงินกู้ IMF รอบสุดท้ายในส่วนของวงเงิน Stand-by Arrangement จำนวน 140 ล้านดอลลาร์สรอ. (ซึ่งเป็นหนี้ที่ครบกำหนดในเดือนพฤษภาคม 2547
แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องคณะกรรมการนโยบายการเงินของเกาหลีใต้ในเดือนกันยายนมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ย overnight call rate ไว้ที่ร้อยละ 4.5 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในประเทศยังคง สูงกว่าเป้าหมาย กอปรกับต้องการรอดูผลของนโยบายการเงินและการคลังที่ได้ดำเนินไปแล้ว อย่างไรก็ตามสภาแห่งชาติได้อนุมัติแผนการปรับลดอัตราภาษี ส่วนบุคคลและภาษีอื่นๆ (เริ่มมีผลบังคับใช้ในต้นปี 2545) เพื่อกระตุ้นภาคการบริโภคอันเป็นส่วนหนึ่งของแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการอนุมัติการใช้จ่ายเงิน supplementary budget จำนวน 5.05 ล้านล้านวอน (3.95 พันล้านดอลลาร์สรอ.) ในส่วนของแผนเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐบาลจำนวน 10 ล้านล้านวอน (7.8 พันล้านดอลลาร์สรอ.)อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2544 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย overnight call rate ลงร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 4.5 เป็นร้อยละ 4.0 (นับเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 4 ในปีนี้) ตามการปรับลดของอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ยุโรป และของประเทศในภูมิภาค และเพื่อเรียกความเชื่อมั่นของประชาชนหลังเหตุการณ์การ ก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ นอกจากนี้ ธนาคารกลางยังจะขยายเงินกู้ให้กับธนาคารพาณิชย์เพื่อปล่อยกู้ให้กับกิจการต่างๆ เป็นจำนวน 2 ล้านล้านวอน (1.54 พันล้านดอลลาร์สรอ.) และปรับลดอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมลงเหลือร้อยละ 2.5 จากเดิมร้อยละ 3.0
อาเซียน
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 3.3 (yoy) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสแรก ซึ่งขยายตัวร้อยละ 3.2 (yoy) เป็นผลจากภาค เกษตรกรรมที่ยังคงขยายตัวได้ดี และการเติบโตของ อุปสงค์ภายในประเทศโดยเฉพาะการใช้จ่ายภาคเอกชน ซึ่งช่วยชดเชยภาวะซบเซาของการส่งออก อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ ได้แก่ สถานการณ์ความรุนแรงในสหรัฐฯ (11 กันยายน 2544) ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของฟิลิปปินส์เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกสินค้ารายใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์ (การส่งออกไปสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 30 ของการส่งออกรวมของประเทศ) รวมทั้งปัญหาการขาดดุลงบประมาณสูงซึ่งเป็นปัญหาที่ท้าทายความสามารถของ รัฐบาลชุดปัจจุบันอีกด้วยสำหรับดัชนีเศรษฐกิจสำคัญส่วนใหญ่ยังคงชะลอลงต่อเนื่อง โดยการส่งออกสินค้าล่าสุดในเดือนกรกฎาคมหดตัวร้อยละ 19.4 (yoy) นับเป็นการหดตัว ต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 6 ส่งผลให้การส่งออกของฟิลิปปินส์ในช่วง 7 เดือนแรกปีนี้หดตัวร้อยละ 10.8 (yoy) อัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 6.3 (yoy) ชะลอลงจากร้อยละ 6.8 ในเดือนกรกฎาคม จากการลดลงของราคาอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบซึ่งมีสัดส่วนสูงที่สุดในตะกร้าเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์
อนึ่ง ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ยังคง overnight borrowing rate และ lending rate ที่ร้อยละ 9.0 และ 11.25 เช่นเดิม โดยธนาคารกลางจะติดตามสถานการณ์ภายในและภายนอกประเทศอย่างใกล้ชิดเพื่อปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป GDP ของมาเลเซียในไตรมาสที่ 2 ปี 2544เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 (yoy) ชะลอตัวลงจากร้อยละ 3.1 (yoy) ในไตรมาสแรก เป็นผลจากการชะลอตัวของภาคการผลิต โดยเฉพาะในภาคสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ สำหรับทั้งปี 2544 Reuters Poll ในเดือนสิงหาคม คาดว่า GDP จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 เทียบกับร้อยละ 3.6 ที่สำรวจในเดือนมิถุนายน (ธนาคารกลางจะปรับอัตราการขยายตัวของ GDP ที่คาดไว้เดิมที่ร้อยละ 5.0-6.0 ใหม่ในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลเสนอแผนงบประมาณ)
ผู้ว่าการธนาคารกลางมาเลเซียกล่าวว่า เเม้ธนาคารกลางจะสามารถผ่อนคลายนโยบายการเงินมากขึ้น (เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อต่ำ และส่วนต่างอัตรา ดอกเบี้ยระหว่างมาเลเซียและสหรัฐฯ ที่แคบลง รวมทั้ง มีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น) แต่ก็ยังไม่จำเป็นต้องผ่อนคลายนโยบายการเงินในขณะนี้ เนื่องจากระดับอัตราดอกเบี้ยต่ำอยู่แล้ว และการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวได้ดี อีกทั้งมีนโยบายการคลัง ที่ผ่อนคลายที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางเห็นว่ารัฐบาลควรเร่งใช้จ่ายให้มากกว่านี้ ในครึ่งหลังของปี เพราะเเม้ว่ารัฐบาลได้ประกาศเพิ่ม งบประมาณอีก 3 พันล้านริงกิต (789 ล้านดอลลาร์สรอ.) เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาเพื่อลดผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง แต่ในไตรมาสที่ 2 มาเลเซีย กลับเกินดุลการคลัง 1.83 พันล้านริงกิต (482 ล้านดอลลาร์สรอ.) อันเป็นผลจากการเก็บภาษีได้มากขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในปี 2543 (ฐานการคำนวณภาษีในปี 2544) และภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เก็บได้ เพิ่มขึ้น
ด้านการปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 Danaharta ได้ปรับโครงสร้างหรืออนุมัติการปรับโครงสร้างหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ทั้งสิ้น 39 พันล้านริงกิต (10.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 81 จาก NPLs ที่รับมาบริหารทั้งหมด 48 พันล้านริงกิต อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของมาเลเซียส่งผลกระทบอย่างเห็นได้ชัดในช่วงครึ่งเเรกของปีนี้ โดยมีลูกหนี้ที่ปรับ โครงสร้างไปแล้วไม่สามารถชำระหนี้ได้ตรงตามกำหนดเวลาเพิ่มขึ้นเป็น 3.7 พันล้านริงกิต จาก 1.0 พันล้าน ริงกิต ณ สิ้นปี 2543 ทำให้ default rate ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 สูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 14 เทียบกับร้อยละ 6 ณ สิ้นปี 2543
GDP ของอินโดนีเซียในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 3.52 (yoy) และ 0.18 (qoq) เป็นผลจากการขยายตัวในภาคการผลิต ส่งผลให้เศรษฐกิจในครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 3.37 (yoy)
ในวันที่ 27 สิงหาคม 2544 รัฐบาลอินโดนีเซียและ IMF ได้บรรลุข้อตกลงที่จะลงนามใน LOI ฉบับที่ 5 หลังจากล่าช้าจากกำหนดเดิมกว่า 8 เดือนเนื่องจากปัญหาการเมืองภายในประเทศ ซึ่ง IMF ได้ผ่อนปรนเป้าหมายทางเศรษฐกิจโดย (1) ขยายช่วงเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อเป็นร้อยละ 9 - 11 จากเดิมที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 9.3 (2) ปรับลดอัตราการขยายตัวของ GDP จากเดิม ร้อยละ 4.8 เป็นร้อยละ 3.5 (3) ตั้งเป้าการขาดดุล งบประมาณไว้ที่ร้อยละ 3.7 ของ GDP และ (4) ปรับเพิ่มฐานเงินจาก 108 ล้านล้านรูเปียห์เป็น 110.5 ล้านล้าน รูเปียห์ และตั้งเป้าการขยายตัวของฐานเงินที่ร้อยละ 12.5
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 4 กันยายน รัฐบาลอินโดนีเซียได้เปิดเผยร่างงบประมาณปี 2545 ซึ่งมีเป้าขาดดุลร้อยละ 2.5 ของ GDP โดยคาดว่า (1) เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 5.0 (2) อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 8.0 (3) อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 8,500 รูเปียห์ต่อดอลลาร์สรอ. (4) ราคาน้ำมันเฉลี่ย 22 ดอลลาร์สรอ.ต่อบาเรล ทั้งนี้ IMF ได้กล่าวยอมรับร่างงบประมาณดังกล่าวว่าสอดคล้องกับ เป้าหมายการปฏิรูปเศรษฐกิจของรัฐบาล ในเดือนกรกฎาคม เศรษฐกิจสิงคโปร์ซบเซาอย่างต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า ปัจจัยสำคัญยังคงเป็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และภาวะซบเซาของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 13.2 (yoy) ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หดตัวร้อยละ 32.7 (yoy) โดยเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ขณะที่สินค้า biomedical sciences (ซึ่งทางการสิงคโปร์กำลังหันมา ให้ความสำคัญในฐานะที่เป็นอุตสาหกรรมหลักกลุ่มที่ 4 นอกเหนือจากอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ และวิศวกรรม) ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 67.2 เทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึ่งหดตัวร้อยละ 1.1 อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 1.3 (yoy) สูงขึ้นเล็กน้อย จากการปรับเพิ่มราคาเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเทียบกับร้อยละ 1.2 (yoy) ของเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ในช่วงเทศกาล Great Singapore Sale ขณะที่ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในครัวเรือนปรับตัวลดลงตามระดับราคาก๊าซหุงต้มที่มีแนวโน้มลดลงในช่วงดังกล่าว
การส่งออกสินค้าในเดือนกรกฎาคมลดลงร้อยละ 18 (yoy) ขณะที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 16.3 (yoy) ทั้งนี้ สินค้า domestic exports ที่มิใช่น้ำมันลดลงร้อยละ 27.6 (yoy) โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ลดลงถึงร้อยละ 35.6 และสินค้า non-electronics ลดลงร้อยละ 11.9 เงินให้กู้ของธนาคารพาณิชย์ชะลอลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 โดยขยายตัวเพียงร้อยละ 6.1 (yoy) เทียบกับเดือนมิถุนายนที่ขยายตัวร้อยละ 6.8 และการลงทุนในตลาดตลาดหลักทรัพย์ค่อนข้างซบเซา ทั้งในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม
สำหรับมาตรการของสิงคโปร์หลังเกิดเหตุ ก่อการร้ายในสหรัฐฯ นั้น เมื่อวันที่ 12 กันยายน ธนาคารกลางสิงคโปร์เเถลงว่าได้เตรียมพร้อมที่จะเสริม สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ในประเทศได้ อย่างเพียงพอ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-