บทสรุปสำหรับนักลงทุน
ถ่านกัมมันต์ (Activated Carbon) ผลิตจากวัตถุดิบหลัก คือ กะลามะพร้าว แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ชนิดผงละเอียด และชนิดเม็ดหรือเกล็ด โดยชนิดผงละเอียดสามารถกระจายในน้ำได้ดีจึงนำไปใช้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสารละลายหรือของเหลว เช่น ใช้ฟอกสีและดูดกลิ่นในอุตสาหกรรมน้ำตาล การผลิตน้ำมันพืช อุตสาหกรรมอาหาร และการทำน้ำให้บริสุทธิ์ ส่วนชนิดเม็ดหรือเกล็ด ใช้ในอุตสาหกรรมการทำก๊าซให้บริสุทธิ์ เช่น เครื่องกรองอากาศ เครื่องกันก๊าซพิษ ก้นกรองบุหรี่ เป็นต้น
การเติบโตของตลาดถ่านกัมมันต์แปรตามการใช้งานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องซึ่งมีอยู่มากมายดังกล่าวข้างต้น ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องกรองอากาศ อุตสาหกรรมน้ำดื่มและน้ำประปา อุตสาหกรรมชุบโลหะ อุตสาหกรรมอาหาร นอกจากนี้แล้วยังมีการใช้ถ่านกัมมันต์ในครัวเรือนโดยเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ดูดซับกลิ่น เช่น กลิ่นอับในตู้เย็น ตู้เสื้อผ้า ตู้รองเท้า ฯลฯ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตลาดของถ่านกัมมันต์มีอยู่อย่างกว้างขวาง และมีแนวโน้มในการใช้งานอย่างสม่ำเสมอในประเทศ และยังสามารถส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ อย่างไรก็ตามยังต้องมีการนำเข้าถ่านกัมมันต์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการคุณภาพของถ่านกัมมันต์ระดับสูง เช่น ในอุปกรณ์ฟอกอากาศบางชนิด จึงทำให้ยังมีมูลค่าการนำเข้ามาสูงกว่ามูลค่าการส่งออกไปในปัจจุบัน
ปัจจุบันมีผู้ผลิตถ่านกัมมันต์ในประเทศจำนวน 5 ราย โดยเป็นผู้ผลิตขนาดเล็ก มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 10 ล้านบาท 3 ราย และขนาดกลางมีทุนจดทะเบียน 50-60 ล้านบาท 2 ราย โดยวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสามารถหาได้ภายในประเทศทั้งหมดที่สำคัญ คือ กะลามะพร้าว กะลาปาล์มน้ำมัน แกลบ ขี้เลื่อย เป็นต้น ซึ่งต้องนำไปเผาให้เป็นถ่านก่อนนำไปใช้ในการผลิตถ่านกัมมันต์ และสารเคมีบางชนิด เช่น ซิงค์คลอไรด์ กรดฟอสฟอริก ฯลฯ ส่วนเครื่องจักรที่ใช้ คือ เตาเผาแบบหมุน ซึ่งต้องออกแบบสร้างโดยทีมวิศวกรและนักเคมีผู้เชี่ยวชาญถ่านกัมมันต์เป็นสินค้าที่มีการใช้งานในหลายๆ อุตสาหกรรม ดังนั้นการจำหน่ายส่วนใหญ่เป็นลักษณะการขายตรงเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีการใช้ถ่านกัมมันต์ โดยมีระดับราคาชนิดผงตันละประมาณ 1 แสนบาท ส่วนชนิดเม็ดราคาตันละประมาณ 2 หมื่นถึง 6 หมื่นบาท
ด้านการลงทุนนั้นส่วนใหญ่เงินทุนจะใช้ในการลงทุนด้านสินทรัพย์ถาวร ถึง 80% ประกอบด้วยค่าเครื่องจักร ยานพาหนะและอุปกรณ์สำนักงาน ส่วนอีก 20% เป็นเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการดำเนินงานกิจการ ซึ่งเป็นทั้งค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าและค่าใช้จ่ายในการขายและการตลาด ณ การลงทุนขั้นต้น 50 ล้านบาท ทำการผลิตและจำหน่ายถ่านกัมมันต์ 8,000 ตัน/ปี ในระดับราคาจำหน่าย 30,000 บาท/ตัน จะมีระยะเวลาคืนทุน 2-3 ปี โดยได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน 38.6% ณ อายุโครงการ 5 ปี ซึ่งได้รับผลตอบแทนสุทธิเท่ากันโดยตลอด จากกำไรสุทธิ 10% ของยอดขาย
ผู้ประกอบการที่สนใจดำเนินการผลิตถ่านกัมมันต์ สามารถรับทราบข้อมูลด้านวิธีการและเทคนิคการผลิตได้จากกรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่คิดค้นด้านการพัฒนาถ่านกัมมันต์ที่ผลิตโดยใช้กะลาปาล์มน้ำมัน ซึ่งพบว่าเป็นวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีสำหรับใช้ในการผลิตถ่านกัมมันต์
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
ถ่านกัมมันต์ (Activated Carbon) ผลิตจากวัตถุดิบหลัก คือ กะลามะพร้าว แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ชนิดผงละเอียด และชนิดเม็ดหรือเกล็ด โดยชนิดผงละเอียดสามารถกระจายในน้ำได้ดีจึงนำไปใช้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสารละลายหรือของเหลว เช่น ใช้ฟอกสีและดูดกลิ่นในอุตสาหกรรมน้ำตาล การผลิตน้ำมันพืช อุตสาหกรรมอาหาร และการทำน้ำให้บริสุทธิ์ ส่วนชนิดเม็ดหรือเกล็ด ใช้ในอุตสาหกรรมการทำก๊าซให้บริสุทธิ์ เช่น เครื่องกรองอากาศ เครื่องกันก๊าซพิษ ก้นกรองบุหรี่ เป็นต้น
การเติบโตของตลาดถ่านกัมมันต์แปรตามการใช้งานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องซึ่งมีอยู่มากมายดังกล่าวข้างต้น ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องกรองอากาศ อุตสาหกรรมน้ำดื่มและน้ำประปา อุตสาหกรรมชุบโลหะ อุตสาหกรรมอาหาร นอกจากนี้แล้วยังมีการใช้ถ่านกัมมันต์ในครัวเรือนโดยเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ดูดซับกลิ่น เช่น กลิ่นอับในตู้เย็น ตู้เสื้อผ้า ตู้รองเท้า ฯลฯ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตลาดของถ่านกัมมันต์มีอยู่อย่างกว้างขวาง และมีแนวโน้มในการใช้งานอย่างสม่ำเสมอในประเทศ และยังสามารถส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ อย่างไรก็ตามยังต้องมีการนำเข้าถ่านกัมมันต์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการคุณภาพของถ่านกัมมันต์ระดับสูง เช่น ในอุปกรณ์ฟอกอากาศบางชนิด จึงทำให้ยังมีมูลค่าการนำเข้ามาสูงกว่ามูลค่าการส่งออกไปในปัจจุบัน
ปัจจุบันมีผู้ผลิตถ่านกัมมันต์ในประเทศจำนวน 5 ราย โดยเป็นผู้ผลิตขนาดเล็ก มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 10 ล้านบาท 3 ราย และขนาดกลางมีทุนจดทะเบียน 50-60 ล้านบาท 2 ราย โดยวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสามารถหาได้ภายในประเทศทั้งหมดที่สำคัญ คือ กะลามะพร้าว กะลาปาล์มน้ำมัน แกลบ ขี้เลื่อย เป็นต้น ซึ่งต้องนำไปเผาให้เป็นถ่านก่อนนำไปใช้ในการผลิตถ่านกัมมันต์ และสารเคมีบางชนิด เช่น ซิงค์คลอไรด์ กรดฟอสฟอริก ฯลฯ ส่วนเครื่องจักรที่ใช้ คือ เตาเผาแบบหมุน ซึ่งต้องออกแบบสร้างโดยทีมวิศวกรและนักเคมีผู้เชี่ยวชาญถ่านกัมมันต์เป็นสินค้าที่มีการใช้งานในหลายๆ อุตสาหกรรม ดังนั้นการจำหน่ายส่วนใหญ่เป็นลักษณะการขายตรงเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีการใช้ถ่านกัมมันต์ โดยมีระดับราคาชนิดผงตันละประมาณ 1 แสนบาท ส่วนชนิดเม็ดราคาตันละประมาณ 2 หมื่นถึง 6 หมื่นบาท
ด้านการลงทุนนั้นส่วนใหญ่เงินทุนจะใช้ในการลงทุนด้านสินทรัพย์ถาวร ถึง 80% ประกอบด้วยค่าเครื่องจักร ยานพาหนะและอุปกรณ์สำนักงาน ส่วนอีก 20% เป็นเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการดำเนินงานกิจการ ซึ่งเป็นทั้งค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าและค่าใช้จ่ายในการขายและการตลาด ณ การลงทุนขั้นต้น 50 ล้านบาท ทำการผลิตและจำหน่ายถ่านกัมมันต์ 8,000 ตัน/ปี ในระดับราคาจำหน่าย 30,000 บาท/ตัน จะมีระยะเวลาคืนทุน 2-3 ปี โดยได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน 38.6% ณ อายุโครงการ 5 ปี ซึ่งได้รับผลตอบแทนสุทธิเท่ากันโดยตลอด จากกำไรสุทธิ 10% ของยอดขาย
ผู้ประกอบการที่สนใจดำเนินการผลิตถ่านกัมมันต์ สามารถรับทราบข้อมูลด้านวิธีการและเทคนิคการผลิตได้จากกรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่คิดค้นด้านการพัฒนาถ่านกัมมันต์ที่ผลิตโดยใช้กะลาปาล์มน้ำมัน ซึ่งพบว่าเป็นวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีสำหรับใช้ในการผลิตถ่านกัมมันต์
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--