ข้าวเป็นอาหารหลักของชาวจีน ซึ่งมีจำนวนประชากรถึง 1.3 พันล้านคน ประเทศผู้ส่งออกข้าวต่างมุ่งหวังที่จะขยายการส่งออกสู่ตลาดจีน ซึ่งจะต้องเปิดตลาดตามข้อผูกพันที่ตกลงไว้กับสมาชิก WTO โดยกำหนดปริมาณโควต้านำเข้าข้าวเป็น 2.66 ล้านตันในปีแรกและเพิ่มเป็น 5.32 ล้านตัน ในระยะเวลา 5 ปี ปริมาณโควต้าที่จะเพิ่มสูงขึ้นมากนี้ ทำให้จีนเป็นตลาดข้าวขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
1. ภาวะการผลิตและการตลาดของจีน
1.1 พื้นที่การเพาะปลูกข้าวของจีนส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ และในเขตชลประทาน ในช่วงปี 2538-2539 ผลผลิตข้าวกว่าร้อยละ 93 มาจากเขตชลประทาน ซึ่งพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ ได้แก่ มณฑลเสฉวน (SICHUAN) เจียงซี (JIANGXI) กวางตุ้ง (GUANDONG) กวางสี (GUANGXI) ยูนนาน (YUNAN) ฟูเจี้ยน (FUJIAN) ไหหลำ (HAINAN) และหูเป่ย (HUBEI) ชนิดข้าวที่ปลูกเป็นพันธุ์ผสม (HYBRID)
ผลผลิตข้าวของจีนยังมีคุณภาพต่ำ ซึ่งส่วนใหญ่มีการเพาะปลูกในแถบตอนใต้ของลุ่มน้ำแยงซีเกียง และแม้ว่าการเพาะปลูกข้าวของจีนได้ผลผลิตต่อไร่ต่ำจึงยังต้องมีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วย แต่จีนก็สามารถผลิตข้าวได้พอเพียงกับความต้องการสำหรับการบริโภคภายในประเทศ รายงานผลผลิตประจำปีของ FAO (ปี 2544) ระบุว่าในระยะปี 2538 - 2543 จีนสามารถผลิตข้าวได้เฉลี่ย 190.2 ล้านเมตริกตันต่อปี
ปี 2544 คาดว่าจีนจะสามารถผลิตข้าวได้ประมาณ 190 ล้านเมตริกตัน และมีความต้องการบริโภคในระดับใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ซึ่งในปัจจุบันจีนมิได้มีการประกันราคาขั้นต่ำของผลผลิตเกษตรนับตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา
1.2 ภาวะการตลาด
ข้าวหอมมะลิของไทยเป็นที่นิยมบริโภคในหมู่ชาวจีนที่มีรายได้ค่อนข้างสูง และราคาขายปลีกข้าวหอมมะลิในประเทศจีนค่อนข้างสูงกว่าข้าวชนิดอื่นๆ จากรายงานของสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่ง (เมษายน 2544) ระบุว่า ราคาขายปลีกข้าวหอมมะลิในกรุงปักกิ่งกิโลกรัมละ 35 หยวน (อัตราแลกเปลี่ยน 1 US = 8.27 หยวน) ขณะที่ข้าวที่จีนผลิตได้มีราคาเพียงกิโลกรัมละ 2.20 |2.25 หยวน
ปัจจุบัน จีนเป็นผู้ส่งออกข้าวเช่นกัน แต่มีปริมาณไม่สูงมาก ขณะที่การนำเข้าข้าวของจีนส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเพื่อสนองความต้องการข้าวคุณภาพดีที่ผลิตได้น้อย
ปี พ.ศ. 2539-2543 จีนมีความต้องการบริโภคข้าวโดยเฉลี่ยปีละ 190 ล้านตัน ในจำนวนนี้ร้อยละ 80 ใช้สำหรับการบริโภคโดยตรง ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 20 ใช้ในการผลิตเป็นสินค้าแปรรูป ได้แก่ เหล้า เส้นหมี่ แป้งข้าวจ้าว และขนมขบเคี้ยว เป็นต้น
ชาวจีนซึ่งอาศัยอยู่ทางภาคใต้จะนิยมบริโภคข้าวประเภทเมล็ดยาว ในขณะที่ชาวจีนที่อาศัยในบริเวณภาคกลางและภาคเหนือจะนิยมข้าวประเภทเมล็ดสั้น ซึ่งข้าวประเภทเมล็ดสั้นจะมีความเหนียวมากกว่าข้าวเมล็ดยาว อย่างไรก็ตามจากการที่จีนมีการนำเข้าข้าวจากไทยซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข้าวคุณภาพดีนั้น จะเริ่มเป็นที่นิยมบริโภคกันมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการบริการในภัตตาคารชั้นสูงหรือโรงแรมระดับ 5 ดาว
2. การนำเข้า
จีนนำเข้าข้าวชนิดต่างๆ ประกอบด้วย ข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวกล้อง และปลายข้าว โดยในช่วงปี 2541-2544 จีนนำเข้าข้าวสารมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ปลายข้าวและข้าวกล้อง โดยมีปริมาณการนำเข้า ดังนี้
ข้าวสาร
จีนนำเข้าข้าวสารจากไทยเป็นส่วนใหญ่ และจากสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น และอินเดีย เป็นสัดส่วนน้อยในช่วงปี 2541-2544 จีนนำเข้าข้าวสารจากแหล่งต่างๆ ดังนี้
รัฐบาลจีนจัดสรรโควต้านำเข้าข้าวปีละ 2 ครั้ง โดยไม่มีการกำหนดช่วงระยะเวลาที่แน่นอน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการวางแผนพัฒนาแห่งชาติจีน (State Development Planning Commission : SDPC) เป็นหน่วยงานจัดสรรโควต้านำเข้าให้กับผู้นำเข้าข้าวที่มีใบอนุญาตนำเข้าข้าวสำหรับมณฑลต่างๆ
นอกจากจีนจะนำเข้าข้าวสารแล้ว และนำเข้าข้าวชนิดอื่นๆ อีก เช่น ข้าวกล้อง (จากไทย)ข้าวเปลือก (จากไทย เวียดนาม และญี่ปุ่น) และปลายข้าว (จากสหรัฐฯ)
3. สรุปผลการเจรจาเรื่องข้าวของจีนกับประเทศสมาชิก WTO
3.1 พันธะกรณีของจีน
: จีนตกลงที่จะลดภาษีศุลกากรและขยายโควต้าการนำเข้าข้าว ดังนี้
ปี 2543 เป็นต้นไป ปี 2547 - เปลี่ยนแปลงระบบโควต้าเป็นระบบโควต้าภาษี
- กำหนดโควต้าเริ่มต้น
2.66 ล้านตัน
- โควต้าข้าวเมล็ดยาว
1.33 ล้านตัน และเมล็ดสั้น
1.33 ล้านตัน
- ภาษีนำเข้าในโควต้า
ร้อยละ 1.0
- นำเข้าเกินโควต้าเก็บร้อยละ
40-80 - ใช้ระบบโควต้าภาษีต่อไป
- ขยายโควต้าเป็น 5.32 ล้านตัน
- ภาษีนำเข้าในโควต้า
ร้อยละ 1.0
- นำเข้าเกินโควต้าเก็บร้อยละ
10-65
ชนิดของข้าว ภาษีปี 2543-2547 ในโควต้า(ร้อยละ) นอกโควต้า
(ร้อยละ) - ข้าวเปลือก 1.0 65-80 - ข้าวกล้อง 1.0 65-80 - ข้าวสาร 1.0 65-80 - ปลายข้าว 1.0 10-40
การเจรจากับสหรัฐอเมริกา : อัตราภาษีสินค้าเกษตร (รวมทั้งข้าว) ที่จีนตกลงไว้กับสหรัฐฯ จะลดเหลือร้อยละ 14.5 ในปี 2547
3.2 พันธะกรณีอื่นๆ
- การนำเข้า จีนเปลี่ยนแปลงจากระบบผูกขาดที่รัฐนำเข้าแต่ผู้เดียวเป็นการนำเข้าเสรีโดยเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนนำเข้าข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวได้ถึงร้อยละ 50 ของปริมาณโควต้าทั้งหมด
- โควตา ขยายโควต้านำเข้าข้าวเป็น 2.66 ล้านตัน ในปีแรกที่จีนเข้า WTO และจะเพิ่มทุกปีจนถึงปีที่ 5 เป็น 5.32 ล้านตัน
4. ศักยภาพการแข่งขันของไทย
4.1 ลักษณะข้าวที่ไทยส่งออก
การส่งออกข้าวของไทยประกอบด้วย ข้าวคุณภาพสูง ข้าวคุณภาพปานกลาง และข้าวคุณภาพต่ำ โดยมีลักษณะจำเพาะดังนี้
- ข้าวคุณภาพสูงเป็นข้าวคุณภาพดี เป็นข้าวขาว 100% ไม่มีเมล็ดหักและข้าวขาว 5%ที่มีเมล็ดหักเพียงร้อยละ 5 ของปริมาณข้าวทั้งหมด
- ข้าวคุณภาพปานกลางเป็นข้าวขาว 10-15% และข้าวเหนียว
- ข้าวคุณภาพต่ำเป็นข้าวที่มีเมล็ดหักมากกว่า 20% ซึ่งรวมถึงปลายข้าวและข้าวนึ่งที่จัดอยู่ในข้าวกลุ่มนี้
ข้าวที่มีสัดส่วนการส่งออกสูงที่สุด ได้แก่ ข้าวคุณภาพสูงมีสัดส่วนการส่งออกกว่าร้อยละ 60.0 นอกนั้นเป็นการส่งออกข้าวคุณภาพต่ำร้อยละ 35 และข้าวคุณภาพปานกลางร้อยละ 5
สำหรับข้าวคุณภาพสูงที่มีการส่งออกมาก ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ (HOM MALI RICE) ซึ่งข้าวชนิดนี้มีสัดส่วนการส่งออกสูงถึงร้อยละ 80 ของปริมาณการส่งออกข้าวคุณภาพสูงทั้งหมดของไทย และตลาดส่งออกข้าวคุณภาพสูง ได้แก่ จีน ฮ่องกง อิหร่าน สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์ ส่วนข้าวคุณภาพปานกลางมีตลาดสำคัญ ได้แก่ อินโดนีเซีย แอฟริกาและมาเลเซีย ขณะที่การส่งออกข้าวคุณภาพต่ำ ได้แก่ ประเทศแถบแอฟริกาและตะวันออกกลาง
4.2 การส่งออกข้าวหอมมะลิไปจีน
ในอดีตข้าวที่ไทยส่งออกไปจีน ส่วนใหญ่เป็นข้าวคุณภาพต่ำ แต่ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา จีนนำเข้าข้าวชนิดนี้น้อยลงเพราะส่วนหนึ่งจีนผลิตได้เองมากขึ้น และอีกส่วนหนึ่งนำเข้าจากเวียดนาม เนื่องจากมีราคาถูกกว่าอย่างไรก็ตามจีนได้เพิ่มสัดส่วนการนำเข้าข้าวคุณภาพดีจากไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งได้แก่ข้าวหอมมะลิและมีการนำเข้าอย่างต่อเนื่องตลอดมาจนกลายเป็นสินค้าที่ไทยส่งออกไปจีนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งกว่าร้อยละ 90 ที่ไทยส่งออกข้าวสารไปจีนเป็นการส่งออกข้าวหอมมะลิ
การส่งออกข้าวของไทยไปจีนในปี 2543 มีการส่งออกข้าวชนิดต่างๆ ประกอบด้วย ข้าวสารเจ้า 100% มากที่สุด รองลงมาได้แก่ ชนิด 10% ปลายข้าวเจ้า A-1 ชนิดพิเศษ, A-1 ชนิดเลิศ ข้าวเหนียว 5% ข้าวสารเจ้า 5% และ 25% ตามลำดับ อย่างไรก็ตามจีนกำหนดโควต้าการนำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทยในปี 2542-2543 ในปริมาณไม่เกินปีละ 200,000 ตัน แต่ในปี 2543 มีการนำเข้าข้าวเกินโควต้าที่กำหนดไว้และจีนตั้งภาษีนำเข้าส่วนเกินโควต้าร้อยละ 114.0
การส่งออกในปี 2544 (ม.ค.- มิย.) มีการส่งออกข้าวสารเจ้า 100% มีปริมาณ 71,584.6 ตัน มูลค่า 1,143.3 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ ข้าวหอมมะลิ 6,620.3 ตัน มูลค่า 117.1 ล้านบาท นอกนั้นเป็นการส่งออกข้าวเหนียวชนิด 10% มีปริมาณ 4,100.4 ตัน มูลค่า 50.5 ล้านบาท (ตามตารางที่ 4) โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิเดิมมีจัดอยู่ในกลุ่มข้าวขาว 100% และเริ่มแยกข้าวหอมมะลิออกมาเป็นพิกัดส่งออกต่างหากในปี 2544
4.3 ส่วนแบ่งตลาด
จากสถิติการนำเข้าของจีนที่นำเข้าข้าวจากประเทศต่างๆ ปรากฏว่าในจำนวนข้าวทั้ง 4 ชนิด ที่จีนนำเข้าจากประเทศต่างๆ นั้น ไทยเป็นประเทศที่มีส่วนแบ่งตลาดในจีนสูงที่สุด โดยเฉพาะข้าวสารไทยมีส่วนแบ่งตลาดถึงร้อยละ 99.6 ขณะที่สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ มีส่วนแบ่งตลาดไม่เกินร้อยละ 0.5 (ตามตารางที่ 5)
4.4 คู่แข่งขัน ประเทศคู่แข่งขันของไทยที่มีการส่งออกข้าว ได้แก่ เวียดนาม สหรัฐอเมริกา ปากีสถาน อินเดีย ซึ่งประเทศดังกล่าวมีการผลิตข้าวตามลักษณะ ดังนี้
เวียดนาม ปริมาณผลผลิตส่วนใหญ่ ร้อยละ 67 มาจากพื้นที่เขตชลประทานและอีกร้อยละ 25 มาจากที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงลักษณะของข้าวที่ผลิตได้เป็นข้าวคุณภาพปานกลางถึงต่ำ ซึ่งประเทศที่ผลิตข้าวลักษณะนี้นอกจาก เวียดนาม แล้วยังมี อินเดีย ปากีสถาน พม่า เป็นต้น แต่เวียดนามเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกเช่นเดียวกับไทย และกำลังพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่ปลูกเพื่อผลิตข้าวคุณภาพดี
สหรัฐอเมริกา พื้นที่เพาะปลูกข้าวส่วนใหญ่อยู่ในรัฐ ANKANSAS , CALIFORNIA , LOUISSIANA, MISSOUARI และ TEXAS ซึ่งสหรัฐเองยังสามารถผลิตข้าวชนิดเมล็ดยาวได้จำนวนมากจากรัฐ ANKANSAS, LOUISSIANA และ TEXAS การผลิตข้าวของสหรัฐฯ อยู่ในระดับที่มีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพจากการนำเครื่องจักรเข้ามาเป็นปัจจัยการผลิต
5. ข้อวิเคราะห์
5.1 การขยายโควต้าข้าวของจีนเป็น 2.66 ล้านตันในปีแรกที่จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO (คาดว่าเป็นปี 2545) และเป็น 5.32 ล้านตันในปี 2547 โดยมีโควต้าการนำเข้าข้าวเมล็ดยาวและเมล็ดสั้นอย่างละครึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิก WTO อย่างทัดเทียมกันในการขยายตลาดส่งออกข้าวของตน แต่ไทยมีศักยภาพการในการขยายการส่งออกข้าวเมล็ดยาวเข้าสู่ตลาดจีนมากกว่าประเทศอื่น ๆ เพราะปัจจุบันไทยส่งออกข้าวเมล็ดยาว คือข้าวหอมมะลิเป็นส่วนใหญ่และเป็นที่นิยมบริโภคของชาวจีน
5.2 ประเทศผู้ผลิตข้าวอื่น ๆ เช่น เวียดนาม บังคลาเทศ พม่า อินเดีย มีการผลิตข้าวที่มีคุณภาพปานกลาง และคุณภาพต่ำ ซึ่งประเทศจีนสามารถผลิตข้าวชนิดนี้ได้พอเพียงกับความต้องการและมีเหลือส่งออก โอกาสที่ประเทศดังกล่าวจะขยายการส่งออกไปจีนจึงมีน้อย ดังนั้น เมื่อจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO คู่แข่งสำคัญของไทยในจีน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ผลิตข้าวเมล็ดยาวเช่นเดียวกับไทยและสามารถผลิตได้เป็นจำนวนมาก ทั้งยังผลิตข้าวเมล็ดสั้นด้วย ดังนั้นโอกาสที่สหรัฐฯ จะแบ่งโควต้านำเข้าข้าวเมล็ดสั้นและเมล็ดยาวจึงเป็นไปได้สูงกว่าประเทศอื่นๆ
5.3 โอกาสที่ไทยจะส่งออกข้าวไปจีนได้มากขึ้นอีกทางหนึ่ง ได้แก่การที่จีนเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนสามารถนำเข้าข้าวได้ถึงร้อยละ 50 ของปริมาณโควต้าทั้งหมดจากเดิมที่ผูกขาดการนำเข้าโดยรัฐแต่ผู้เดียวนั้น น่าจะเป็นโอกาสที่ไทยจะสามารถส่งออกได้เพิ่ม นอกเหนือจากการจัดสรรโควต้าของจีนแต่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของราคาและข้อตกลงระหว่างผู้ส่งออกของไทยและผู้นำเข้าภาคเอกชนของจีนด้วยเช่นกัน เพราะราคาขายข้าวหอมมะลิของไทยที่จำหน่ายในจีนมีราคาสูง เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวชนิดอื่นๆ ที่จำหน่ายในจีน ดังนั้น คาดว่าโอกาสที่ไทยจะส่งออกเกินโควต้า จึงมีไม่มากนักเพราะอัตราภาษีแตกต่างกันมากจะมีผลต่อราคาข้าวหอมมะลิของไทยที่จำหน่ายในจีน
6. ความเห็น
6.1 แม้จีนจะมีข้อผูกพันเพื่อเปิดตลาดข้าวของจีนหลังเข้าเป็นสมาชิก WTO ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ไทยสามารถขยายตลาดส่งออกข้าวไปจีนได้ในปริมาณมากขึ้นก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติปัญหาเกี่ยว
กับการจัดสรรและบริหารโควต้าข้าว ( โดยสำนักงานคณะกรรมการวางแผนพัฒนาแห่งชาติ หรือ State Development Planning Commission - SDPC) อาจทำให้การนำเข้าข้าวของจีนมีความล่าช้าโดยเฉพาะในปีที่จีนมีผลผลิตข้าวในประเทศพอเพียงกับความต้องการ นอกจากนี้จีนเองก็ได้เร่งพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าว รวมทั้งสินค้าเกษตรอื่นๆ จึงควรที่ไทยจะติดตามและสอดส่องการดำเนินการในทางปฏิบัติของจีนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นไปตามข้อผูกพัน
6.2 ในส่วนของประเทศผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ของโลกที่เป็นคู่แข่งของไทย เช่น เวียดนามและสหรัฐฯ เมื่อพิจารณาตามศักยภาพการผลิตแล้ว พบว่าสหรัฐฯ สามารถผลิตข้าวเมล็ดยาวและเมล็ดสั้น ได้มาก ซึ่งเป็นชนิดที่มีการแบ่งโควต้าข้าวอย่างละครึ่ง (50 : 50) สหรัฐฯจึงเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทยในตลาดข้าวจีน และน่าจะอยู่ในสถานะที่ได้เปรียบกว่าเมื่อพิจารณาจากประสิทธิภาพการผลิตและการจัดการที่ทำให้มีต้นทุนต่ำ อย่างไรก็ดี การที่ข้าวหอมมะลิของไทยเป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวจีนที่มีรายได้ดีนั้น เป็นข้อได้เปรียบของไทย เนื่องจากขณะนี้ชาวจีนซึ่งเป็นชนชั้นกลางและมีฐานะดีมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ไทยจึงควรเร่งดำเนินการเพื่อแนะนำข้าวหอมมะลิให้เป็นที่รู้จักและนิยมในวงกว้าง โดยมุ่งขยายการส่งออกข้าวคุณภาพดีเมล็ดยาว (หอมมะลิ) ให้เต็มโควต้า 1.33 ล้านตันในปีแรกที่จีนเข้า WTO และขยายต่อไปตามปริมาณโควต้าที่จะขยายถึง 2.66 ล้านตันในปี 2547 สำหรับข้าวเมล็ดยาวตามข้อผูกพันของจีน
6.3 ประเทศไทยควรใช้นโยบายการเจรจาระหว่างรัฐต่อรัฐด้วย เพื่อช่วงชิงโควต้าข้าวจากประเทศคู่แข่งขันซึ่งจะเป็นประโยชน์และเป็นผลดีต่อผู้ส่งออกข้าวของไทย เนื่องจากการส่งออกข้าวไปจีนในระยะที่ผ่านมา การเจรจาของภาครัฐมีส่วนช่วยให้จีนนำเข้าข้าวจากประเทศไทยมากกว่าประเทศอื่นๆ ดังนั้นภาครัฐจึงควรใช้นโยบายนี้อย่างต่อเนื่องสำหรับเจรจากับจีน
6.4 สำหรับประเทศเวียดนามยังอยู่ในช่วงการพัฒนาข้าวเป็นพันธุ์ข้าวคุณภาพดี การส่งออกข้าวของเวียดนามไปจีน จึงยังเป็นข้าวคุณภาพต่ำและไม่น่าจะมีผลกระทบต่อไทยในระยะสั้นแต่ในระยะยาว (4-5 ปี) เมื่อเวียดนามสามารถพัฒนาคุณภาพข้าวที่ปลูกเพื่อส่งออกได้สำเร็จ จากการร่วมทุนการผลิตวิจัยกับนักลงทุนต่างชาติ เช่น สหรัฐฯ ฮ่องกงและฝรั่งเศส เป็นต้น เวียดนามจะกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยทั้งในตลาดจีนและตลาดโลก
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--จบ--
-สส-
1. ภาวะการผลิตและการตลาดของจีน
1.1 พื้นที่การเพาะปลูกข้าวของจีนส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ และในเขตชลประทาน ในช่วงปี 2538-2539 ผลผลิตข้าวกว่าร้อยละ 93 มาจากเขตชลประทาน ซึ่งพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ ได้แก่ มณฑลเสฉวน (SICHUAN) เจียงซี (JIANGXI) กวางตุ้ง (GUANDONG) กวางสี (GUANGXI) ยูนนาน (YUNAN) ฟูเจี้ยน (FUJIAN) ไหหลำ (HAINAN) และหูเป่ย (HUBEI) ชนิดข้าวที่ปลูกเป็นพันธุ์ผสม (HYBRID)
ผลผลิตข้าวของจีนยังมีคุณภาพต่ำ ซึ่งส่วนใหญ่มีการเพาะปลูกในแถบตอนใต้ของลุ่มน้ำแยงซีเกียง และแม้ว่าการเพาะปลูกข้าวของจีนได้ผลผลิตต่อไร่ต่ำจึงยังต้องมีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วย แต่จีนก็สามารถผลิตข้าวได้พอเพียงกับความต้องการสำหรับการบริโภคภายในประเทศ รายงานผลผลิตประจำปีของ FAO (ปี 2544) ระบุว่าในระยะปี 2538 - 2543 จีนสามารถผลิตข้าวได้เฉลี่ย 190.2 ล้านเมตริกตันต่อปี
ปี 2544 คาดว่าจีนจะสามารถผลิตข้าวได้ประมาณ 190 ล้านเมตริกตัน และมีความต้องการบริโภคในระดับใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ซึ่งในปัจจุบันจีนมิได้มีการประกันราคาขั้นต่ำของผลผลิตเกษตรนับตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา
1.2 ภาวะการตลาด
ข้าวหอมมะลิของไทยเป็นที่นิยมบริโภคในหมู่ชาวจีนที่มีรายได้ค่อนข้างสูง และราคาขายปลีกข้าวหอมมะลิในประเทศจีนค่อนข้างสูงกว่าข้าวชนิดอื่นๆ จากรายงานของสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่ง (เมษายน 2544) ระบุว่า ราคาขายปลีกข้าวหอมมะลิในกรุงปักกิ่งกิโลกรัมละ 35 หยวน (อัตราแลกเปลี่ยน 1 US = 8.27 หยวน) ขณะที่ข้าวที่จีนผลิตได้มีราคาเพียงกิโลกรัมละ 2.20 |2.25 หยวน
ปัจจุบัน จีนเป็นผู้ส่งออกข้าวเช่นกัน แต่มีปริมาณไม่สูงมาก ขณะที่การนำเข้าข้าวของจีนส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเพื่อสนองความต้องการข้าวคุณภาพดีที่ผลิตได้น้อย
ปี พ.ศ. 2539-2543 จีนมีความต้องการบริโภคข้าวโดยเฉลี่ยปีละ 190 ล้านตัน ในจำนวนนี้ร้อยละ 80 ใช้สำหรับการบริโภคโดยตรง ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 20 ใช้ในการผลิตเป็นสินค้าแปรรูป ได้แก่ เหล้า เส้นหมี่ แป้งข้าวจ้าว และขนมขบเคี้ยว เป็นต้น
ชาวจีนซึ่งอาศัยอยู่ทางภาคใต้จะนิยมบริโภคข้าวประเภทเมล็ดยาว ในขณะที่ชาวจีนที่อาศัยในบริเวณภาคกลางและภาคเหนือจะนิยมข้าวประเภทเมล็ดสั้น ซึ่งข้าวประเภทเมล็ดสั้นจะมีความเหนียวมากกว่าข้าวเมล็ดยาว อย่างไรก็ตามจากการที่จีนมีการนำเข้าข้าวจากไทยซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข้าวคุณภาพดีนั้น จะเริ่มเป็นที่นิยมบริโภคกันมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการบริการในภัตตาคารชั้นสูงหรือโรงแรมระดับ 5 ดาว
2. การนำเข้า
จีนนำเข้าข้าวชนิดต่างๆ ประกอบด้วย ข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวกล้อง และปลายข้าว โดยในช่วงปี 2541-2544 จีนนำเข้าข้าวสารมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ปลายข้าวและข้าวกล้อง โดยมีปริมาณการนำเข้า ดังนี้
ข้าวสาร
จีนนำเข้าข้าวสารจากไทยเป็นส่วนใหญ่ และจากสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น และอินเดีย เป็นสัดส่วนน้อยในช่วงปี 2541-2544 จีนนำเข้าข้าวสารจากแหล่งต่างๆ ดังนี้
รัฐบาลจีนจัดสรรโควต้านำเข้าข้าวปีละ 2 ครั้ง โดยไม่มีการกำหนดช่วงระยะเวลาที่แน่นอน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการวางแผนพัฒนาแห่งชาติจีน (State Development Planning Commission : SDPC) เป็นหน่วยงานจัดสรรโควต้านำเข้าให้กับผู้นำเข้าข้าวที่มีใบอนุญาตนำเข้าข้าวสำหรับมณฑลต่างๆ
นอกจากจีนจะนำเข้าข้าวสารแล้ว และนำเข้าข้าวชนิดอื่นๆ อีก เช่น ข้าวกล้อง (จากไทย)ข้าวเปลือก (จากไทย เวียดนาม และญี่ปุ่น) และปลายข้าว (จากสหรัฐฯ)
3. สรุปผลการเจรจาเรื่องข้าวของจีนกับประเทศสมาชิก WTO
3.1 พันธะกรณีของจีน
: จีนตกลงที่จะลดภาษีศุลกากรและขยายโควต้าการนำเข้าข้าว ดังนี้
ปี 2543 เป็นต้นไป ปี 2547 - เปลี่ยนแปลงระบบโควต้าเป็นระบบโควต้าภาษี
- กำหนดโควต้าเริ่มต้น
2.66 ล้านตัน
- โควต้าข้าวเมล็ดยาว
1.33 ล้านตัน และเมล็ดสั้น
1.33 ล้านตัน
- ภาษีนำเข้าในโควต้า
ร้อยละ 1.0
- นำเข้าเกินโควต้าเก็บร้อยละ
40-80 - ใช้ระบบโควต้าภาษีต่อไป
- ขยายโควต้าเป็น 5.32 ล้านตัน
- ภาษีนำเข้าในโควต้า
ร้อยละ 1.0
- นำเข้าเกินโควต้าเก็บร้อยละ
10-65
ชนิดของข้าว ภาษีปี 2543-2547 ในโควต้า(ร้อยละ) นอกโควต้า
(ร้อยละ) - ข้าวเปลือก 1.0 65-80 - ข้าวกล้อง 1.0 65-80 - ข้าวสาร 1.0 65-80 - ปลายข้าว 1.0 10-40
การเจรจากับสหรัฐอเมริกา : อัตราภาษีสินค้าเกษตร (รวมทั้งข้าว) ที่จีนตกลงไว้กับสหรัฐฯ จะลดเหลือร้อยละ 14.5 ในปี 2547
3.2 พันธะกรณีอื่นๆ
- การนำเข้า จีนเปลี่ยนแปลงจากระบบผูกขาดที่รัฐนำเข้าแต่ผู้เดียวเป็นการนำเข้าเสรีโดยเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนนำเข้าข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวได้ถึงร้อยละ 50 ของปริมาณโควต้าทั้งหมด
- โควตา ขยายโควต้านำเข้าข้าวเป็น 2.66 ล้านตัน ในปีแรกที่จีนเข้า WTO และจะเพิ่มทุกปีจนถึงปีที่ 5 เป็น 5.32 ล้านตัน
4. ศักยภาพการแข่งขันของไทย
4.1 ลักษณะข้าวที่ไทยส่งออก
การส่งออกข้าวของไทยประกอบด้วย ข้าวคุณภาพสูง ข้าวคุณภาพปานกลาง และข้าวคุณภาพต่ำ โดยมีลักษณะจำเพาะดังนี้
- ข้าวคุณภาพสูงเป็นข้าวคุณภาพดี เป็นข้าวขาว 100% ไม่มีเมล็ดหักและข้าวขาว 5%ที่มีเมล็ดหักเพียงร้อยละ 5 ของปริมาณข้าวทั้งหมด
- ข้าวคุณภาพปานกลางเป็นข้าวขาว 10-15% และข้าวเหนียว
- ข้าวคุณภาพต่ำเป็นข้าวที่มีเมล็ดหักมากกว่า 20% ซึ่งรวมถึงปลายข้าวและข้าวนึ่งที่จัดอยู่ในข้าวกลุ่มนี้
ข้าวที่มีสัดส่วนการส่งออกสูงที่สุด ได้แก่ ข้าวคุณภาพสูงมีสัดส่วนการส่งออกกว่าร้อยละ 60.0 นอกนั้นเป็นการส่งออกข้าวคุณภาพต่ำร้อยละ 35 และข้าวคุณภาพปานกลางร้อยละ 5
สำหรับข้าวคุณภาพสูงที่มีการส่งออกมาก ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ (HOM MALI RICE) ซึ่งข้าวชนิดนี้มีสัดส่วนการส่งออกสูงถึงร้อยละ 80 ของปริมาณการส่งออกข้าวคุณภาพสูงทั้งหมดของไทย และตลาดส่งออกข้าวคุณภาพสูง ได้แก่ จีน ฮ่องกง อิหร่าน สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์ ส่วนข้าวคุณภาพปานกลางมีตลาดสำคัญ ได้แก่ อินโดนีเซีย แอฟริกาและมาเลเซีย ขณะที่การส่งออกข้าวคุณภาพต่ำ ได้แก่ ประเทศแถบแอฟริกาและตะวันออกกลาง
4.2 การส่งออกข้าวหอมมะลิไปจีน
ในอดีตข้าวที่ไทยส่งออกไปจีน ส่วนใหญ่เป็นข้าวคุณภาพต่ำ แต่ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา จีนนำเข้าข้าวชนิดนี้น้อยลงเพราะส่วนหนึ่งจีนผลิตได้เองมากขึ้น และอีกส่วนหนึ่งนำเข้าจากเวียดนาม เนื่องจากมีราคาถูกกว่าอย่างไรก็ตามจีนได้เพิ่มสัดส่วนการนำเข้าข้าวคุณภาพดีจากไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งได้แก่ข้าวหอมมะลิและมีการนำเข้าอย่างต่อเนื่องตลอดมาจนกลายเป็นสินค้าที่ไทยส่งออกไปจีนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งกว่าร้อยละ 90 ที่ไทยส่งออกข้าวสารไปจีนเป็นการส่งออกข้าวหอมมะลิ
การส่งออกข้าวของไทยไปจีนในปี 2543 มีการส่งออกข้าวชนิดต่างๆ ประกอบด้วย ข้าวสารเจ้า 100% มากที่สุด รองลงมาได้แก่ ชนิด 10% ปลายข้าวเจ้า A-1 ชนิดพิเศษ, A-1 ชนิดเลิศ ข้าวเหนียว 5% ข้าวสารเจ้า 5% และ 25% ตามลำดับ อย่างไรก็ตามจีนกำหนดโควต้าการนำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทยในปี 2542-2543 ในปริมาณไม่เกินปีละ 200,000 ตัน แต่ในปี 2543 มีการนำเข้าข้าวเกินโควต้าที่กำหนดไว้และจีนตั้งภาษีนำเข้าส่วนเกินโควต้าร้อยละ 114.0
การส่งออกในปี 2544 (ม.ค.- มิย.) มีการส่งออกข้าวสารเจ้า 100% มีปริมาณ 71,584.6 ตัน มูลค่า 1,143.3 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ ข้าวหอมมะลิ 6,620.3 ตัน มูลค่า 117.1 ล้านบาท นอกนั้นเป็นการส่งออกข้าวเหนียวชนิด 10% มีปริมาณ 4,100.4 ตัน มูลค่า 50.5 ล้านบาท (ตามตารางที่ 4) โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิเดิมมีจัดอยู่ในกลุ่มข้าวขาว 100% และเริ่มแยกข้าวหอมมะลิออกมาเป็นพิกัดส่งออกต่างหากในปี 2544
4.3 ส่วนแบ่งตลาด
จากสถิติการนำเข้าของจีนที่นำเข้าข้าวจากประเทศต่างๆ ปรากฏว่าในจำนวนข้าวทั้ง 4 ชนิด ที่จีนนำเข้าจากประเทศต่างๆ นั้น ไทยเป็นประเทศที่มีส่วนแบ่งตลาดในจีนสูงที่สุด โดยเฉพาะข้าวสารไทยมีส่วนแบ่งตลาดถึงร้อยละ 99.6 ขณะที่สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ มีส่วนแบ่งตลาดไม่เกินร้อยละ 0.5 (ตามตารางที่ 5)
4.4 คู่แข่งขัน ประเทศคู่แข่งขันของไทยที่มีการส่งออกข้าว ได้แก่ เวียดนาม สหรัฐอเมริกา ปากีสถาน อินเดีย ซึ่งประเทศดังกล่าวมีการผลิตข้าวตามลักษณะ ดังนี้
เวียดนาม ปริมาณผลผลิตส่วนใหญ่ ร้อยละ 67 มาจากพื้นที่เขตชลประทานและอีกร้อยละ 25 มาจากที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงลักษณะของข้าวที่ผลิตได้เป็นข้าวคุณภาพปานกลางถึงต่ำ ซึ่งประเทศที่ผลิตข้าวลักษณะนี้นอกจาก เวียดนาม แล้วยังมี อินเดีย ปากีสถาน พม่า เป็นต้น แต่เวียดนามเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกเช่นเดียวกับไทย และกำลังพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่ปลูกเพื่อผลิตข้าวคุณภาพดี
สหรัฐอเมริกา พื้นที่เพาะปลูกข้าวส่วนใหญ่อยู่ในรัฐ ANKANSAS , CALIFORNIA , LOUISSIANA, MISSOUARI และ TEXAS ซึ่งสหรัฐเองยังสามารถผลิตข้าวชนิดเมล็ดยาวได้จำนวนมากจากรัฐ ANKANSAS, LOUISSIANA และ TEXAS การผลิตข้าวของสหรัฐฯ อยู่ในระดับที่มีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพจากการนำเครื่องจักรเข้ามาเป็นปัจจัยการผลิต
5. ข้อวิเคราะห์
5.1 การขยายโควต้าข้าวของจีนเป็น 2.66 ล้านตันในปีแรกที่จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO (คาดว่าเป็นปี 2545) และเป็น 5.32 ล้านตันในปี 2547 โดยมีโควต้าการนำเข้าข้าวเมล็ดยาวและเมล็ดสั้นอย่างละครึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิก WTO อย่างทัดเทียมกันในการขยายตลาดส่งออกข้าวของตน แต่ไทยมีศักยภาพการในการขยายการส่งออกข้าวเมล็ดยาวเข้าสู่ตลาดจีนมากกว่าประเทศอื่น ๆ เพราะปัจจุบันไทยส่งออกข้าวเมล็ดยาว คือข้าวหอมมะลิเป็นส่วนใหญ่และเป็นที่นิยมบริโภคของชาวจีน
5.2 ประเทศผู้ผลิตข้าวอื่น ๆ เช่น เวียดนาม บังคลาเทศ พม่า อินเดีย มีการผลิตข้าวที่มีคุณภาพปานกลาง และคุณภาพต่ำ ซึ่งประเทศจีนสามารถผลิตข้าวชนิดนี้ได้พอเพียงกับความต้องการและมีเหลือส่งออก โอกาสที่ประเทศดังกล่าวจะขยายการส่งออกไปจีนจึงมีน้อย ดังนั้น เมื่อจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO คู่แข่งสำคัญของไทยในจีน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ผลิตข้าวเมล็ดยาวเช่นเดียวกับไทยและสามารถผลิตได้เป็นจำนวนมาก ทั้งยังผลิตข้าวเมล็ดสั้นด้วย ดังนั้นโอกาสที่สหรัฐฯ จะแบ่งโควต้านำเข้าข้าวเมล็ดสั้นและเมล็ดยาวจึงเป็นไปได้สูงกว่าประเทศอื่นๆ
5.3 โอกาสที่ไทยจะส่งออกข้าวไปจีนได้มากขึ้นอีกทางหนึ่ง ได้แก่การที่จีนเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนสามารถนำเข้าข้าวได้ถึงร้อยละ 50 ของปริมาณโควต้าทั้งหมดจากเดิมที่ผูกขาดการนำเข้าโดยรัฐแต่ผู้เดียวนั้น น่าจะเป็นโอกาสที่ไทยจะสามารถส่งออกได้เพิ่ม นอกเหนือจากการจัดสรรโควต้าของจีนแต่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของราคาและข้อตกลงระหว่างผู้ส่งออกของไทยและผู้นำเข้าภาคเอกชนของจีนด้วยเช่นกัน เพราะราคาขายข้าวหอมมะลิของไทยที่จำหน่ายในจีนมีราคาสูง เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวชนิดอื่นๆ ที่จำหน่ายในจีน ดังนั้น คาดว่าโอกาสที่ไทยจะส่งออกเกินโควต้า จึงมีไม่มากนักเพราะอัตราภาษีแตกต่างกันมากจะมีผลต่อราคาข้าวหอมมะลิของไทยที่จำหน่ายในจีน
6. ความเห็น
6.1 แม้จีนจะมีข้อผูกพันเพื่อเปิดตลาดข้าวของจีนหลังเข้าเป็นสมาชิก WTO ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ไทยสามารถขยายตลาดส่งออกข้าวไปจีนได้ในปริมาณมากขึ้นก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติปัญหาเกี่ยว
กับการจัดสรรและบริหารโควต้าข้าว ( โดยสำนักงานคณะกรรมการวางแผนพัฒนาแห่งชาติ หรือ State Development Planning Commission - SDPC) อาจทำให้การนำเข้าข้าวของจีนมีความล่าช้าโดยเฉพาะในปีที่จีนมีผลผลิตข้าวในประเทศพอเพียงกับความต้องการ นอกจากนี้จีนเองก็ได้เร่งพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าว รวมทั้งสินค้าเกษตรอื่นๆ จึงควรที่ไทยจะติดตามและสอดส่องการดำเนินการในทางปฏิบัติของจีนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นไปตามข้อผูกพัน
6.2 ในส่วนของประเทศผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ของโลกที่เป็นคู่แข่งของไทย เช่น เวียดนามและสหรัฐฯ เมื่อพิจารณาตามศักยภาพการผลิตแล้ว พบว่าสหรัฐฯ สามารถผลิตข้าวเมล็ดยาวและเมล็ดสั้น ได้มาก ซึ่งเป็นชนิดที่มีการแบ่งโควต้าข้าวอย่างละครึ่ง (50 : 50) สหรัฐฯจึงเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทยในตลาดข้าวจีน และน่าจะอยู่ในสถานะที่ได้เปรียบกว่าเมื่อพิจารณาจากประสิทธิภาพการผลิตและการจัดการที่ทำให้มีต้นทุนต่ำ อย่างไรก็ดี การที่ข้าวหอมมะลิของไทยเป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวจีนที่มีรายได้ดีนั้น เป็นข้อได้เปรียบของไทย เนื่องจากขณะนี้ชาวจีนซึ่งเป็นชนชั้นกลางและมีฐานะดีมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ไทยจึงควรเร่งดำเนินการเพื่อแนะนำข้าวหอมมะลิให้เป็นที่รู้จักและนิยมในวงกว้าง โดยมุ่งขยายการส่งออกข้าวคุณภาพดีเมล็ดยาว (หอมมะลิ) ให้เต็มโควต้า 1.33 ล้านตันในปีแรกที่จีนเข้า WTO และขยายต่อไปตามปริมาณโควต้าที่จะขยายถึง 2.66 ล้านตันในปี 2547 สำหรับข้าวเมล็ดยาวตามข้อผูกพันของจีน
6.3 ประเทศไทยควรใช้นโยบายการเจรจาระหว่างรัฐต่อรัฐด้วย เพื่อช่วงชิงโควต้าข้าวจากประเทศคู่แข่งขันซึ่งจะเป็นประโยชน์และเป็นผลดีต่อผู้ส่งออกข้าวของไทย เนื่องจากการส่งออกข้าวไปจีนในระยะที่ผ่านมา การเจรจาของภาครัฐมีส่วนช่วยให้จีนนำเข้าข้าวจากประเทศไทยมากกว่าประเทศอื่นๆ ดังนั้นภาครัฐจึงควรใช้นโยบายนี้อย่างต่อเนื่องสำหรับเจรจากับจีน
6.4 สำหรับประเทศเวียดนามยังอยู่ในช่วงการพัฒนาข้าวเป็นพันธุ์ข้าวคุณภาพดี การส่งออกข้าวของเวียดนามไปจีน จึงยังเป็นข้าวคุณภาพต่ำและไม่น่าจะมีผลกระทบต่อไทยในระยะสั้นแต่ในระยะยาว (4-5 ปี) เมื่อเวียดนามสามารถพัฒนาคุณภาพข้าวที่ปลูกเพื่อส่งออกได้สำเร็จ จากการร่วมทุนการผลิตวิจัยกับนักลงทุนต่างชาติ เช่น สหรัฐฯ ฮ่องกงและฝรั่งเศส เป็นต้น เวียดนามจะกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยทั้งในตลาดจีนและตลาดโลก
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--จบ--
-สส-