กรุงเทพฯ--25 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
OSCE และ UN/ODCCP เชิญให้รัฐบาลไทยเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการเสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของภูมิภาคเอเชียกลาง โดยการต่อต้านยาเสพติด กระบวนการอาชญากรรม และการก่อการร้าย ระหว่างวันที่ 19 — 20 ตุลาคม 2543 ที่กรุงทาชเคนท์ ประเทศอุซเบกิซถาน
สืบเนื่องจากการประชุมระหว่างประเทศในระดับรัฐมนตรีว่าด้วยยาเสพติด (International Congress : In Pursuit of a Drug Free ASEAN 2015 : Sharing the Vision, Leading the Change) ระหว่างวันที่ 11 — 13 ตุลาคม 2543 กรุงเทพฯ ซึ่งรัฐบาลไทยร่วมกับสำนักงานควบคุมยาเสพติดและป้องกันอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Drug Control and Crime Prevention — UN/ODCCP) เป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ
นาง Benita Ferrero-Waldner รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของออสเตรีย ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานขององค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (Organization for Security and Cooperation in Europe — OSCE) และนาย Pino Arlacchi ผู้อำนวยการบริหารของ UN/ODCCP ได้มีหนังสือเชิญมายัง ฯพณฯ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศ ขอให้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการเสริมสร้างความมั่นคงและ เสถียรภาพของภูมิภาคเอเชียกลางโดยการต่อต้านยาเสพติด กระบวนการอาชญากรรมและการก่อ การร้าย (International Conference on Enhancing Security and Stability in Central Asia : An Integrated Approach to Counter Drugs, Organized Crime and Terrorism) ระหว่างวันที่ 19 — 20 ตุลาคม 2543 ณ กรุงทาชเคนท์ ประเทศอุซเบกิซถาน เพื่อสรุปผลการประชุมระหว่างประเทศที่กรุงเทพฯ เพื่อเป็นตัวอย่างของความร่วมมือระหว่างประเทศในการต่อต้านยาเสพติด โดยเฉพาะความสำเร็จของโครงการปลูกพืชทดแทนในภูมิภาคโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการของไทย
ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจึงได้มอบหมายให้นางลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมที่กรุง ทาชเคนท์ พร้อมด้วยนายสรยุตม์ พรหมพจน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา ตามคำเชิญของ OSCE และ UN/ODCCP โดยหัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้กล่าวถ้อยแถลงเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2543 โดยแจ้งให้ที่ ประชุมทราบถึงผลการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยยาเสพติด ซึ่งประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ จีน อินเดีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และประเทศผู้บริจาค รวม 34 ประเทศ ได้แสดงเจตนารมณ์ทาง การเมืองร่วมกันดังปรากฏในแถลงการณ์ทางการเมืองแห่งกรุงเทพฯ (Bangkok Political Declaration) ซึ่งแสดงถึงพันธะผูกพันและความรับผิดชอบร่วมกันในหมู่ประชาคมระหว่างประเทศที่จะแก้ไขปัญหา ยาเสพติดของภูมิภาคเพื่อให้อาเซียนเป็นเขตปลอดยาเสพติดภายในปี พ.ศ. 2558 และยังได้รับรองแผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือของภูมิภาคระหว่างอาเซียนและจีนเพื่อต่อต้านภัยจากยาเสพติด (ACCORD Plan of Action) โดยมีมาตรการรองรับและกำหนดเวลาที่ชัดเจน
ทั้งนี้ ผลของการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยยาเสพติดที่กรุงเทพฯ อาจนำมาเป็น ตัวอย่างของความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคและประเทศนอกภูมิภาคร่วมกับองค์การระหว่างประเทศ ในการต่อสู้กับปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะโครงการปลูกพืชทดแทนการปลูกฝิ่น ซึ่งภูมิภาค เอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการในประเทศไทยตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากนั้น ผู้แทนไทยยังได้ถือโอกาสนี้ ย้ำถึงความร่วมมือและความรับผิดชอบ ร่วมกันของประชาคมโลกในการต่อสู้กับปัญหายาเสพติด และที่สำคัญยิ่งคือการแพร่ระบาดของ ATS (Amphetamine-Type Stimulant — ATS) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ใหม่สำหรับประเทศไทย และเป็นภัยคุกคามต่อเด็กและเยาวชนอย่างร้ายแรง ซึ่งได้รับความสนใจจากประเทศที่เข้าร่วมการประชุมทั้งจาก ภูมิภาคเอเชียกลางและประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมนี สวีเดน ออสเตรีย เป็นต้น
นอกจากนั้น ผู้แทนไทยยังได้เน้นถึงความสำคัญของความมั่นคงของปัจเจกชน ( human security) ที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการเสริมสร้างความมั่นคงของรัฐ และที่สำคัญยิ่งคือ เราจะต้องไม่ปล่อยให้ ยาเสพติดเป็นต้วบั่นทอนทำลายความมั่นคงทั้งของปัจเจกชนและของรัฐ ไทยจึงให้ความสำคัญต่อความ ร่วมมือระหว่างภูมิภาคในการส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงของปัจเจกชนรวมทั้งโอกาสที่ไทยจะพัฒนาความร่วมมือกับองค์การ OSCE ในด้านต่างๆ ในอนาคต (สำเนาถ้อยแถลงของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยดังแนบมา)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
OSCE และ UN/ODCCP เชิญให้รัฐบาลไทยเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการเสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของภูมิภาคเอเชียกลาง โดยการต่อต้านยาเสพติด กระบวนการอาชญากรรม และการก่อการร้าย ระหว่างวันที่ 19 — 20 ตุลาคม 2543 ที่กรุงทาชเคนท์ ประเทศอุซเบกิซถาน
สืบเนื่องจากการประชุมระหว่างประเทศในระดับรัฐมนตรีว่าด้วยยาเสพติด (International Congress : In Pursuit of a Drug Free ASEAN 2015 : Sharing the Vision, Leading the Change) ระหว่างวันที่ 11 — 13 ตุลาคม 2543 กรุงเทพฯ ซึ่งรัฐบาลไทยร่วมกับสำนักงานควบคุมยาเสพติดและป้องกันอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Drug Control and Crime Prevention — UN/ODCCP) เป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ
นาง Benita Ferrero-Waldner รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของออสเตรีย ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานขององค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (Organization for Security and Cooperation in Europe — OSCE) และนาย Pino Arlacchi ผู้อำนวยการบริหารของ UN/ODCCP ได้มีหนังสือเชิญมายัง ฯพณฯ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศ ขอให้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการเสริมสร้างความมั่นคงและ เสถียรภาพของภูมิภาคเอเชียกลางโดยการต่อต้านยาเสพติด กระบวนการอาชญากรรมและการก่อ การร้าย (International Conference on Enhancing Security and Stability in Central Asia : An Integrated Approach to Counter Drugs, Organized Crime and Terrorism) ระหว่างวันที่ 19 — 20 ตุลาคม 2543 ณ กรุงทาชเคนท์ ประเทศอุซเบกิซถาน เพื่อสรุปผลการประชุมระหว่างประเทศที่กรุงเทพฯ เพื่อเป็นตัวอย่างของความร่วมมือระหว่างประเทศในการต่อต้านยาเสพติด โดยเฉพาะความสำเร็จของโครงการปลูกพืชทดแทนในภูมิภาคโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการของไทย
ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจึงได้มอบหมายให้นางลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมที่กรุง ทาชเคนท์ พร้อมด้วยนายสรยุตม์ พรหมพจน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา ตามคำเชิญของ OSCE และ UN/ODCCP โดยหัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้กล่าวถ้อยแถลงเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2543 โดยแจ้งให้ที่ ประชุมทราบถึงผลการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยยาเสพติด ซึ่งประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ จีน อินเดีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และประเทศผู้บริจาค รวม 34 ประเทศ ได้แสดงเจตนารมณ์ทาง การเมืองร่วมกันดังปรากฏในแถลงการณ์ทางการเมืองแห่งกรุงเทพฯ (Bangkok Political Declaration) ซึ่งแสดงถึงพันธะผูกพันและความรับผิดชอบร่วมกันในหมู่ประชาคมระหว่างประเทศที่จะแก้ไขปัญหา ยาเสพติดของภูมิภาคเพื่อให้อาเซียนเป็นเขตปลอดยาเสพติดภายในปี พ.ศ. 2558 และยังได้รับรองแผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือของภูมิภาคระหว่างอาเซียนและจีนเพื่อต่อต้านภัยจากยาเสพติด (ACCORD Plan of Action) โดยมีมาตรการรองรับและกำหนดเวลาที่ชัดเจน
ทั้งนี้ ผลของการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยยาเสพติดที่กรุงเทพฯ อาจนำมาเป็น ตัวอย่างของความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคและประเทศนอกภูมิภาคร่วมกับองค์การระหว่างประเทศ ในการต่อสู้กับปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะโครงการปลูกพืชทดแทนการปลูกฝิ่น ซึ่งภูมิภาค เอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการในประเทศไทยตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากนั้น ผู้แทนไทยยังได้ถือโอกาสนี้ ย้ำถึงความร่วมมือและความรับผิดชอบ ร่วมกันของประชาคมโลกในการต่อสู้กับปัญหายาเสพติด และที่สำคัญยิ่งคือการแพร่ระบาดของ ATS (Amphetamine-Type Stimulant — ATS) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ใหม่สำหรับประเทศไทย และเป็นภัยคุกคามต่อเด็กและเยาวชนอย่างร้ายแรง ซึ่งได้รับความสนใจจากประเทศที่เข้าร่วมการประชุมทั้งจาก ภูมิภาคเอเชียกลางและประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมนี สวีเดน ออสเตรีย เป็นต้น
นอกจากนั้น ผู้แทนไทยยังได้เน้นถึงความสำคัญของความมั่นคงของปัจเจกชน ( human security) ที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการเสริมสร้างความมั่นคงของรัฐ และที่สำคัญยิ่งคือ เราจะต้องไม่ปล่อยให้ ยาเสพติดเป็นต้วบั่นทอนทำลายความมั่นคงทั้งของปัจเจกชนและของรัฐ ไทยจึงให้ความสำคัญต่อความ ร่วมมือระหว่างภูมิภาคในการส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงของปัจเจกชนรวมทั้งโอกาสที่ไทยจะพัฒนาความร่วมมือกับองค์การ OSCE ในด้านต่างๆ ในอนาคต (สำเนาถ้อยแถลงของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยดังแนบมา)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-