ข่าวในประเทศ
1. ธปท. เตรียมพิจารณาทบทวนบทลงโทษในเรื่องการปล่อยสินเชื่อเงินบาทให้กับต่างประเทศ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ฝ่ายป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาททำรายงานธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศของ ธพ. เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาทบทวนบทลงโทษ ธพ. ที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบการปล่อยสินเชื่อเงินบาทให้กับต่างประเทศ หรือยินยอมให้มีการนำเงินบาทออกนอกประเทศเกิน 50 ล.บาท โดยไม่มีธุรกรรมรองรับซึ่งถือเป็นความผิดนั้น ในช่วงที่ผ่านมาจะถูกลงโทษด้วยการไม่ให้ทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนพันธบัตร แต่ปรากฎว่า ธพ. บางแห่งมิได้มีเจตนา จึงเห็นว่าควรมีการพิจารณาทบทวนเปลี่ยนบทลงโทษใหม่ให้เน้นเฉพาะกรณีที่มีการกระทำผิดอย่างชัดเจนและเจตนากระทำผิดจริง (เดลินิวส์, ไทยรัฐ 2)
2. ก.คลังและ ธปท. กำลังเจรจาโครงการแลกเปลี่ยนเงินตราทวิภาคีกับรัฐบาลญี่ปุ่น ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ก.คลังและ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำลังเจรจาโครงการแลกเปลี่ยนเงินตราทวิภาคีกับรัฐบาลญี่ปุ่นและตกลงในเงื่อนไขที่สำคัญเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจำนวนเงินที่จะตกลงกันในครั้งนี้มีจำนวน 3 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยเงื่อนไขโครงการดังกล่าวเป็นลักษณะที่ไทยสามารถกู้จากญี่ปุ่นฝ่ายเดียวในรูปการแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลดอลลาร์ สรอ. กับเงินบาท ซึ่งดำเนินการโดย ธปท. และ ธ.กลางญี่ปุ่น การแลกเปลี่ยนแต่ละครั้งมีอายุ 90 วัน สามารถต่ออายุได้ 7 ครั้ง การเบิกถอนหรือต่ออายุจะต้องดำเนินการภายใน 3 ปีนับจากสัญญามีผลบังคับใช้ (โลกวันนี้, ข่าวสด 2)
3. ธปท.เตรียมลงนามในสัญญาทวิภาคีเพื่อขอแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการซื้อขายเงินบาทในตลาดต่างประเทศ ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจต่างประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.จะมีการลงนามในสัญญาทวิภาคีกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งประกอบด้วย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง เพื่อขอแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการซื้อขายเงินบาทในตลาดต่างประเทศ(Off-shore) เนื่องจากขณะนี้มีธุรกรรมประมาณร้อยละ 80 ของบัญชีเงินบาทผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศที่ไม่ได้รายงานว่านำเงินไปทำธุรกรรมใด ทำให้ ธปท.ไม่สามารถทราบความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศได้ชัดเจน ทั้งนี้ ธปท.จะออกหนังสือเวียน ธ.ต.40 ถึงธนาคารพาณิชย์ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ไอเอฟซีที) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) และบริษัทเงินทุนสินเอเชีย ให้รายงานรายละเอียดการทำธุรกรรมในบัญชีผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศ เพื่อติดตามการทำธุรกรรมของลูกค้าสถาบันการเงิน (กรุงเทพธุรกิจ 2)
ข่าวต่างประเทศ
1. NAPM รายงานดัชนีธุรกรรมทางธุรกิจของ สรอ. ในเดือน เม.ย.44 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 1 พ.ค.44 National Association of Purchasing Management (NAPM) เปิดเผยว่า เดือน เม.ย.44 ดัชนีธุรกรรมทางธุรกิจ (business activity index) อยู่ที่ระดับ 43.2 เพิ่มขึ้นจากระดับ 43.1 ในเดือน มี.ค.44 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 แต่ยังกว่าต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งแสดงถึงธุรกรรมทางธุรกิจที่ยังคงหดตัว คำสั่งซื้อสินค้าใหม่เพิ่มขึ้นมากจากระดับ 42.3 ในเดือน มี.ค. มาอยู่ที่ระดับ 45.9 ในเดือน เม.ย. เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าคำสั่งซื้อฯ จะฟื้นตัวขึ้นในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า และการที่คำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นดังกล่าวส่งผลให้สินค้าคงคลังลดลงมาอยู่ที่ระดับ 39.6 จากระดับ 44.2 ในเดือนก่อน ส่วนดัชนีการจ้างงานลดลงจากระดับ 40.4 มาอยู่ที่ระดับ 38.1 ดัชนีราคาซึ่งเป็นส่วนประกอบของดัชนีฯ ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 48.9 ในเดือน เม.ย.จากระดับ 49.9 ในเดือน มี.ค. อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความไม่แน่นอนทางด้านราคา เนื่องจากการขาดแคลนพลังงานในฤดูร้อนจะเพิ่มแรงกดดันต่อระดับราคาได้ (รอยเตอร์ 1,2)
2. การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้างของ สรอ. เพิ่มขึ้นในเดือน มี.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 1 พ.ค. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้าง เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ในเดือน มี.ค. 44 อยู่ที่มูลค่า 854.4 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. จากตัวเลขที่ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือน ก.พ. 44 นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 และเพิ่มขึ้นสูงกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นร้ยอละ 0.3 ขณะเดียวกัน เมื่อเทียบปีต่อปี การใช้จ่ายฯในเดือน มี.ค. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 การใช้จ่ายฯที่เพิ่มขึ้นครั้งนี้ นำโดยการสร้างที่อยู่อาศัยของผู้ที่ไม่มีถิ่นฐานใน สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 อยู่ที่มูลค่า 239.3 พัน ล. ดอลลาร์ จากมูลค่า 231.5 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน ก.พ. 44 นักวิเคราะห์ กล่าวว่า ภาคที่อยู่อาศัยของ สรอ. ได้แจ่มใสในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวก็ตาม เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองอยู่ในระดับต่ำ จึงล่อใจให้ผู้ซื้อเข้าตลาดตลาดที่อยู่อาศัยและส่งผลให้การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้างเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์1)
3. การจ่ายเงินค่าล่วงเวลาของญี่ปุ่นลดลงในเดือน มี.ค. 44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ1 พ.ค. 44 รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า การจ่ายเงินค่าล่วงเวลา ซึ่งเป็นเครื่องชี้ภาวะรายได้ที่สำคัญของผู้มีรายได้เป็นค่าจ้าง เมื่อเทียบปีต่อปี ลดลงร้อยละ 1.3 ในเดือน มี.ค. 44 นับเป็นการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 23 เดือน และส่งผลให้รายได้รวมต่อเดือนลดลงร้อยละ 0.3 อยู่ที่เฉลี่ยเดือนละ 303,821 เยน ทั้งนี้ ภาวะรายได้ที่ลดลง นับเป็นสัญญาณที่ไม่ดีสำหรับการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งได้อยู่ในภาวะที่อ่อนแอที่สุดและเป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดของระบบเศรษฐกิจญี่ปุ่น (รอยเตอร์1)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 30 เม.ย.44 45.584 (45.720)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 30 เม.ย. 44ซื้อ 45.3889 (45.5385) ขาย 45.6917 (45.8369)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,600 (5,600) ขาย 5,700 (5,700)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.82 (25.37)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.29 (17.59) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. เตรียมพิจารณาทบทวนบทลงโทษในเรื่องการปล่อยสินเชื่อเงินบาทให้กับต่างประเทศ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ฝ่ายป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาททำรายงานธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศของ ธพ. เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาทบทวนบทลงโทษ ธพ. ที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบการปล่อยสินเชื่อเงินบาทให้กับต่างประเทศ หรือยินยอมให้มีการนำเงินบาทออกนอกประเทศเกิน 50 ล.บาท โดยไม่มีธุรกรรมรองรับซึ่งถือเป็นความผิดนั้น ในช่วงที่ผ่านมาจะถูกลงโทษด้วยการไม่ให้ทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนพันธบัตร แต่ปรากฎว่า ธพ. บางแห่งมิได้มีเจตนา จึงเห็นว่าควรมีการพิจารณาทบทวนเปลี่ยนบทลงโทษใหม่ให้เน้นเฉพาะกรณีที่มีการกระทำผิดอย่างชัดเจนและเจตนากระทำผิดจริง (เดลินิวส์, ไทยรัฐ 2)
2. ก.คลังและ ธปท. กำลังเจรจาโครงการแลกเปลี่ยนเงินตราทวิภาคีกับรัฐบาลญี่ปุ่น ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ก.คลังและ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำลังเจรจาโครงการแลกเปลี่ยนเงินตราทวิภาคีกับรัฐบาลญี่ปุ่นและตกลงในเงื่อนไขที่สำคัญเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจำนวนเงินที่จะตกลงกันในครั้งนี้มีจำนวน 3 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยเงื่อนไขโครงการดังกล่าวเป็นลักษณะที่ไทยสามารถกู้จากญี่ปุ่นฝ่ายเดียวในรูปการแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลดอลลาร์ สรอ. กับเงินบาท ซึ่งดำเนินการโดย ธปท. และ ธ.กลางญี่ปุ่น การแลกเปลี่ยนแต่ละครั้งมีอายุ 90 วัน สามารถต่ออายุได้ 7 ครั้ง การเบิกถอนหรือต่ออายุจะต้องดำเนินการภายใน 3 ปีนับจากสัญญามีผลบังคับใช้ (โลกวันนี้, ข่าวสด 2)
3. ธปท.เตรียมลงนามในสัญญาทวิภาคีเพื่อขอแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการซื้อขายเงินบาทในตลาดต่างประเทศ ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจต่างประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.จะมีการลงนามในสัญญาทวิภาคีกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งประกอบด้วย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง เพื่อขอแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการซื้อขายเงินบาทในตลาดต่างประเทศ(Off-shore) เนื่องจากขณะนี้มีธุรกรรมประมาณร้อยละ 80 ของบัญชีเงินบาทผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศที่ไม่ได้รายงานว่านำเงินไปทำธุรกรรมใด ทำให้ ธปท.ไม่สามารถทราบความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศได้ชัดเจน ทั้งนี้ ธปท.จะออกหนังสือเวียน ธ.ต.40 ถึงธนาคารพาณิชย์ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ไอเอฟซีที) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) และบริษัทเงินทุนสินเอเชีย ให้รายงานรายละเอียดการทำธุรกรรมในบัญชีผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศ เพื่อติดตามการทำธุรกรรมของลูกค้าสถาบันการเงิน (กรุงเทพธุรกิจ 2)
ข่าวต่างประเทศ
1. NAPM รายงานดัชนีธุรกรรมทางธุรกิจของ สรอ. ในเดือน เม.ย.44 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 1 พ.ค.44 National Association of Purchasing Management (NAPM) เปิดเผยว่า เดือน เม.ย.44 ดัชนีธุรกรรมทางธุรกิจ (business activity index) อยู่ที่ระดับ 43.2 เพิ่มขึ้นจากระดับ 43.1 ในเดือน มี.ค.44 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 แต่ยังกว่าต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งแสดงถึงธุรกรรมทางธุรกิจที่ยังคงหดตัว คำสั่งซื้อสินค้าใหม่เพิ่มขึ้นมากจากระดับ 42.3 ในเดือน มี.ค. มาอยู่ที่ระดับ 45.9 ในเดือน เม.ย. เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าคำสั่งซื้อฯ จะฟื้นตัวขึ้นในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า และการที่คำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นดังกล่าวส่งผลให้สินค้าคงคลังลดลงมาอยู่ที่ระดับ 39.6 จากระดับ 44.2 ในเดือนก่อน ส่วนดัชนีการจ้างงานลดลงจากระดับ 40.4 มาอยู่ที่ระดับ 38.1 ดัชนีราคาซึ่งเป็นส่วนประกอบของดัชนีฯ ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 48.9 ในเดือน เม.ย.จากระดับ 49.9 ในเดือน มี.ค. อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความไม่แน่นอนทางด้านราคา เนื่องจากการขาดแคลนพลังงานในฤดูร้อนจะเพิ่มแรงกดดันต่อระดับราคาได้ (รอยเตอร์ 1,2)
2. การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้างของ สรอ. เพิ่มขึ้นในเดือน มี.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 1 พ.ค. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้าง เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ในเดือน มี.ค. 44 อยู่ที่มูลค่า 854.4 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. จากตัวเลขที่ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือน ก.พ. 44 นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 และเพิ่มขึ้นสูงกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นร้ยอละ 0.3 ขณะเดียวกัน เมื่อเทียบปีต่อปี การใช้จ่ายฯในเดือน มี.ค. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 การใช้จ่ายฯที่เพิ่มขึ้นครั้งนี้ นำโดยการสร้างที่อยู่อาศัยของผู้ที่ไม่มีถิ่นฐานใน สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 อยู่ที่มูลค่า 239.3 พัน ล. ดอลลาร์ จากมูลค่า 231.5 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน ก.พ. 44 นักวิเคราะห์ กล่าวว่า ภาคที่อยู่อาศัยของ สรอ. ได้แจ่มใสในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวก็ตาม เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองอยู่ในระดับต่ำ จึงล่อใจให้ผู้ซื้อเข้าตลาดตลาดที่อยู่อาศัยและส่งผลให้การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้างเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์1)
3. การจ่ายเงินค่าล่วงเวลาของญี่ปุ่นลดลงในเดือน มี.ค. 44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ1 พ.ค. 44 รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า การจ่ายเงินค่าล่วงเวลา ซึ่งเป็นเครื่องชี้ภาวะรายได้ที่สำคัญของผู้มีรายได้เป็นค่าจ้าง เมื่อเทียบปีต่อปี ลดลงร้อยละ 1.3 ในเดือน มี.ค. 44 นับเป็นการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 23 เดือน และส่งผลให้รายได้รวมต่อเดือนลดลงร้อยละ 0.3 อยู่ที่เฉลี่ยเดือนละ 303,821 เยน ทั้งนี้ ภาวะรายได้ที่ลดลง นับเป็นสัญญาณที่ไม่ดีสำหรับการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งได้อยู่ในภาวะที่อ่อนแอที่สุดและเป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดของระบบเศรษฐกิจญี่ปุ่น (รอยเตอร์1)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 30 เม.ย.44 45.584 (45.720)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 30 เม.ย. 44ซื้อ 45.3889 (45.5385) ขาย 45.6917 (45.8369)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,600 (5,600) ขาย 5,700 (5,700)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.82 (25.37)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.29 (17.59) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-