บรูไนฯ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจของอาเซียน (SEOM) ครั้งที่ 4/32 ระหว่าง วันที่ 14-17 สิงหาคม 2544 ณ กรุงบันดาร์ เสรี เบกาวัน ซึ่งคณะผู้แทนไทยประกอบด้วย ปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นหัวหน้าคณะและประธานในการประชุมอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้า ร่วมประชุม
ผลการประชุมที่สำคัญประกอบด้วยเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้
การกระชับการรวมกลุ่มอาเซียน (The Initiative for ASEAN Integration: IAI) ความคืบหน้าการหารือสองฝ่ายระหว่างไทยกับมาเลเซีย และอินโดนีเซียกับมาเลเซีย กรณีมาเลเซียไม่ลดภาษีสินค้ายานยนต์ในอาฟต้า การดำเนินการของ e-ASEAN Initiative การเปิดเสรีการค้าบริการในอาเซียน ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (AICO Scheme) งานแสดงสินค้าอาเซียน (ASEAN Trade Fair) การรวมกลุ่มภูมิภาคเพื่อกำหนดท่าทีอาเซียนเกี่ยวกับความร่วมมือ/การรวมกลุ่มกับประเทศต่างๆ สาระสำคัญของผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
1. การกระชับการรวมกลุ่มอาเซียน (The Initiative for ASEAN Integration: IAI)
ที่ประชุมรับทราบสถานะการจัดทำโครงการให้สิทธิประโยชน์ทางการค้าอาเซียน (ASEAN GSP Scheme) ซึ่งจะรายงานความคืบหน้าการดำเนินการต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ในเดือนกันยายน ศกนี้ นอกจากนี้ ไทย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ได้แจ้งเรื่องการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการใน รูปแบบทวิภาคีแก่สมาชิกใหม่อาเซียน ในการนี้ สำนักเลขาธิการอาเซียนจะประเมินความต้องการด้านการฝึกอบรมของประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน โดยหารือกับหน่วยงานด้านการค้า การลงทุน บริการ และการเงิน ซึ่งคาดว่าจะเสร็จปลายเดือนสิงหาคม ศกนี้ ซึ่งผลของการประเมินนี้ จะใช้เป็นแนวทางจัดลำดับการให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกใหม่ และเสนอต่อประเทศคู่เจรจาต่างๆ
2. การหารือสองฝ่ายกรณีมาเลเซียชะลอการลดภาษีสินค้ายานยนต์ภายใต้อาฟต้า
ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการหารือสองฝ่ายของมาเลเซีย-อินโดนีเซีย และมาเลเซีย-ไทย กรณีที่มาเลเซียชะลอการลดภาษีสินค้ายานยนต์ภายใต้อาฟต้า ซึ่งการหารือของมาเลเซียและอินโดนีเซียได้ผลสรุปที่เป็นที่พอใจของสองฝ่าย สำหรับมาลเซียกับไทยได้หารือรวม 4 ครั้ง สามารถตกลงกันได้ว่าไทยเป็นผู้ส่งออกรายสำคัญของสินค้าในหมวดยานยนต์ในตลาดมาเลเซีย และจากการหารือในระดับรัฐมนตรีได้ตกลงที่จะหาข้อสรุปด้วยไมตรีจิตฉันมิตร
3. การดำเนินงานตามกรอบความตกลงของอาเซียนว่าด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-ASEAN Framework Agreements)
ไทย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ สนับสนุนข้อเสนอแนะของประธาน e-ASEAN Working Group (EAWG) ในการเร่งรัดการดำเนินงานตามกรอบความตกลง e-ASEAN ในประเด็นต่างๆ ได้แก่ (1) การ จัดตั้ง e-ASEAN project management unit ที่สำนักเลขาธิการอาเซียน และให้ประเทศสมาชิกจัดตั้งบุคลากรทำหน้าที่ "Country Coordinator for e-ASEAN Projects" (2) การปรับปรุงบทบาทของ e-ASEAN Task Force (EATF) เป็น private-sector dialogue/advisory body (3) จัดตั้ง e-ASEAN Fund โดยให้มีกลไกการอนุมัติข้อเสนอโครงการที่รวดเร็ว และ (4) ให้ EAWG ประสานงาน กิจกรรมทั้งหมดภายใต้ e-ASEAN ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ขอกลับไปหารือภายใน และจะพิจารณาในที่ประชุมครั้งหน้า
4. การเปิดเสรีการค้าบริการในอาเซียน
ที่ประชุมให้ความเห็นชอบข้อผูกพันการเปิดเสรีบริการสาขาบริการธุรกิจ ก่อสร้าง โทรคมนาคม และการ ท่องเที่ยว ซึ่งจะเสนอที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 33 ในเดือนกันยายน ศกนี้ ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ให้ความเห็นชอบต่อไปพร้อมกับจะเสนอให้ AEM พิจารณาลงนามพิธีสารเพื่ออนุมัติข้อผูกพันการเปิดเสรีข้างต้น สำหรับ ข้อผูกพันการเปิดเสรีบริการสาขาการขนส่งทางอากาศและทางทะเล หากได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีขนส่ง อาเซียน จะรวม เป็นภาคผนวกของพิธีสารดังกล่าว นอกจากนี้ ที่ประชุมแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องแนวทางการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการต่อไป ซึ่งมีหลายวิธีการ และรับทราบว่าวิธีการที่ให้ประเทศสมาชิกที่มีความพร้อมเจรจาเปิดเสรีไปก่อนนั้น ได้มีการปฏิบัติแล้วในการเจรจาสาขาบริการธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมต้องใช้เวลาในการพิจารณาวิธีการต่างๆ จึงจะหารือเรื่องนี้อีกครั้งในที่ประชุม ครั้งหน้าเพื่อให้แนวทางกับคณะทำงานเจรจาเปิดเสรีบริการสาขาต่างๆ ในการเจรจาเปิดเสรีบริการรอบต่อไป
ในเรื่องข้อเสนอของไทยที่ให้โอนการเจรจาเปิดเสรีบริการสาขาต่างๆ ในการเจรจารอบต่อไปกลับมาอยู่ ภายใต้คณะกรรมการประสานงานด้านบริการ (CCS) นั้น ที่ประชุมทราบว่าคณะทำงานการท่องเที่ยวได้ตกลงที่จะโอนกลับมาอยู่ภายใต้ CCS ขณะที่สาขาการเงินจะอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐมนตรีการคลังต่อไป
5. โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน
ที่ประชุมรับทราบมติของที่ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (WGIC) ครั้งที่ 30 ที่จะพิจารณาขยายเวลาของโครงการ AICO ออกไปหลังปี 2003 และลดอัตราภาษีของสินค้าภายใต้โครงการ AICO ให้ต่ำกว่าอัตรา 0-5% เพื่อให้ AICO เป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนต่อไป เนื่องจากผู้นำอาเซียนได้มีมติให้สมาชิกภายใต้อาฟต้าลงเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2510 สำหรับประเทศสมาชิกเดิม และปี 2015 สำหรับประเทศสมาชิกเป็นข้อผูกพันด้วยอย่างไร ก็ตาม อัตราภาษีร้อยละ 0 ดังกล่าวเป็นมติของผู้นำ อาเซียนซึ่งอาจจำเป็นต้องจัดทำเป็นข้อผูกพันด้วยเอกสารทางกฎหมาย ที่ประชุมจึงมีมติให้คณะกรรมการประสานงานการดำเนินการภายใต้ความตกลง CEPT (CCCA) พิจารณาต่อไป
ที่ประชุมรับรองข้อเสนอของ WGIC ที่จะขยายเวลาการยกเว้นเงื่อนไขสัดส่วนผู้ถือหุ้นคนชาติร้อยละ 30 สำหรับโครงการ AICO ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2545 อย่างไรก็ตาม ต้องรอคำยืนยันจากไทย มาเลเซีย และ เวียดนาม ก่อนเสนอ AEM พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
6. งานแสดงสินค้าอาเซียน
ที่ประชุมรับทราบการแจ้งความคืบหน้าการเตรียมจัดงาน ASEAN Trade Fair ณ กรุงเทพฯ ในวันที่ 14-20 ตุลาคม 2545 โดยผู้แทนไทย และเห็นชอบข้อเสนอโครงการขอความร่วมมือและความช่วยเหลือจากประเทศคู่เจรจาต่างๆ ในการสนับสนุนการจัดงานแสดงสินค้าอาเซียน และการให้ความช่วยเหลือประเทศ CLMV เข้าร่วมงานในที่ประชุม SEOM กับ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี (+3) ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ (CER) สหภาพยุโรป (EU) และสหรัฐฯ ไทยได้แจ้งแผนการให้ความช่วยเหลือ CLMV ของไทยในการจัดฝึกอบรมการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในเดือนกันยายน 2544 ณ กรุงเทพฯ และการส่งผู้เชี่ยวชาญของไทยไปให้คำแนะนำประเทศ CLMV ในเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2544 รวมทั้งขอให้ประเทศ CLMV กำหนดผู้แทนในการประสานจัดงานแสดงสินค้าอาเซียน
7. การริเริ่มการรวมกลุ่มภูมิภาคของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ
ที่ประชุมเห็นชอบข้อเสนอแนะของคณะทำงานอาเซียนด้านการรวมกลุ่มภูมิภาค (Working Group on Regional Integration : WGRI) ครั้งที่ 3 ในการกำหนดท่าทีอาเซียนต่อความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น อาเซียน-ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ และแลกเปลี่ยนความเห็นต่อผลการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญอาเซียน-จีนด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (ASEAN-China Expert Group on Economic Cooperation) ครั้งที่ 2 โดยรับทราบผลการศึกษาเบื้องต้นของทีมวิจัยร่วมอาเซียน-จีน (JRT) เรื่อง "Forging Closer ASEAN-China Economic Relations in the 21st Century" และข้อเสนอแนะให้จัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียน-จีน ภายใน 10 ปี ซึ่งมีบางประเทศ (พม่า) เห็นว่า ขอเวลาในการศึกษารายละเอียดข้อเสนอแนะของกลุ่มผู้ เชี่ยวชาญฯ รวมทั้งขอให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญฯ แสดงเหตุผลสนับสนุนผลดีการจัดตั้ง FTA และกรอบระยะเวลา 10 ปี ด้วย ทั้งนี้ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญฯ จะประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 28 กันยายน 2544 ณ คุนหมิง ประเทศจีน เพื่อสรุปผลการศึกษารายงานสุดท้ายต่อผู้นำอาเซียน-จีนต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
ผลการประชุมที่สำคัญประกอบด้วยเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้
การกระชับการรวมกลุ่มอาเซียน (The Initiative for ASEAN Integration: IAI) ความคืบหน้าการหารือสองฝ่ายระหว่างไทยกับมาเลเซีย และอินโดนีเซียกับมาเลเซีย กรณีมาเลเซียไม่ลดภาษีสินค้ายานยนต์ในอาฟต้า การดำเนินการของ e-ASEAN Initiative การเปิดเสรีการค้าบริการในอาเซียน ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (AICO Scheme) งานแสดงสินค้าอาเซียน (ASEAN Trade Fair) การรวมกลุ่มภูมิภาคเพื่อกำหนดท่าทีอาเซียนเกี่ยวกับความร่วมมือ/การรวมกลุ่มกับประเทศต่างๆ สาระสำคัญของผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
1. การกระชับการรวมกลุ่มอาเซียน (The Initiative for ASEAN Integration: IAI)
ที่ประชุมรับทราบสถานะการจัดทำโครงการให้สิทธิประโยชน์ทางการค้าอาเซียน (ASEAN GSP Scheme) ซึ่งจะรายงานความคืบหน้าการดำเนินการต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ในเดือนกันยายน ศกนี้ นอกจากนี้ ไทย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ได้แจ้งเรื่องการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการใน รูปแบบทวิภาคีแก่สมาชิกใหม่อาเซียน ในการนี้ สำนักเลขาธิการอาเซียนจะประเมินความต้องการด้านการฝึกอบรมของประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน โดยหารือกับหน่วยงานด้านการค้า การลงทุน บริการ และการเงิน ซึ่งคาดว่าจะเสร็จปลายเดือนสิงหาคม ศกนี้ ซึ่งผลของการประเมินนี้ จะใช้เป็นแนวทางจัดลำดับการให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกใหม่ และเสนอต่อประเทศคู่เจรจาต่างๆ
2. การหารือสองฝ่ายกรณีมาเลเซียชะลอการลดภาษีสินค้ายานยนต์ภายใต้อาฟต้า
ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการหารือสองฝ่ายของมาเลเซีย-อินโดนีเซีย และมาเลเซีย-ไทย กรณีที่มาเลเซียชะลอการลดภาษีสินค้ายานยนต์ภายใต้อาฟต้า ซึ่งการหารือของมาเลเซียและอินโดนีเซียได้ผลสรุปที่เป็นที่พอใจของสองฝ่าย สำหรับมาลเซียกับไทยได้หารือรวม 4 ครั้ง สามารถตกลงกันได้ว่าไทยเป็นผู้ส่งออกรายสำคัญของสินค้าในหมวดยานยนต์ในตลาดมาเลเซีย และจากการหารือในระดับรัฐมนตรีได้ตกลงที่จะหาข้อสรุปด้วยไมตรีจิตฉันมิตร
3. การดำเนินงานตามกรอบความตกลงของอาเซียนว่าด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-ASEAN Framework Agreements)
ไทย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ สนับสนุนข้อเสนอแนะของประธาน e-ASEAN Working Group (EAWG) ในการเร่งรัดการดำเนินงานตามกรอบความตกลง e-ASEAN ในประเด็นต่างๆ ได้แก่ (1) การ จัดตั้ง e-ASEAN project management unit ที่สำนักเลขาธิการอาเซียน และให้ประเทศสมาชิกจัดตั้งบุคลากรทำหน้าที่ "Country Coordinator for e-ASEAN Projects" (2) การปรับปรุงบทบาทของ e-ASEAN Task Force (EATF) เป็น private-sector dialogue/advisory body (3) จัดตั้ง e-ASEAN Fund โดยให้มีกลไกการอนุมัติข้อเสนอโครงการที่รวดเร็ว และ (4) ให้ EAWG ประสานงาน กิจกรรมทั้งหมดภายใต้ e-ASEAN ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ขอกลับไปหารือภายใน และจะพิจารณาในที่ประชุมครั้งหน้า
4. การเปิดเสรีการค้าบริการในอาเซียน
ที่ประชุมให้ความเห็นชอบข้อผูกพันการเปิดเสรีบริการสาขาบริการธุรกิจ ก่อสร้าง โทรคมนาคม และการ ท่องเที่ยว ซึ่งจะเสนอที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 33 ในเดือนกันยายน ศกนี้ ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ให้ความเห็นชอบต่อไปพร้อมกับจะเสนอให้ AEM พิจารณาลงนามพิธีสารเพื่ออนุมัติข้อผูกพันการเปิดเสรีข้างต้น สำหรับ ข้อผูกพันการเปิดเสรีบริการสาขาการขนส่งทางอากาศและทางทะเล หากได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีขนส่ง อาเซียน จะรวม เป็นภาคผนวกของพิธีสารดังกล่าว นอกจากนี้ ที่ประชุมแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องแนวทางการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการต่อไป ซึ่งมีหลายวิธีการ และรับทราบว่าวิธีการที่ให้ประเทศสมาชิกที่มีความพร้อมเจรจาเปิดเสรีไปก่อนนั้น ได้มีการปฏิบัติแล้วในการเจรจาสาขาบริการธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมต้องใช้เวลาในการพิจารณาวิธีการต่างๆ จึงจะหารือเรื่องนี้อีกครั้งในที่ประชุม ครั้งหน้าเพื่อให้แนวทางกับคณะทำงานเจรจาเปิดเสรีบริการสาขาต่างๆ ในการเจรจาเปิดเสรีบริการรอบต่อไป
ในเรื่องข้อเสนอของไทยที่ให้โอนการเจรจาเปิดเสรีบริการสาขาต่างๆ ในการเจรจารอบต่อไปกลับมาอยู่ ภายใต้คณะกรรมการประสานงานด้านบริการ (CCS) นั้น ที่ประชุมทราบว่าคณะทำงานการท่องเที่ยวได้ตกลงที่จะโอนกลับมาอยู่ภายใต้ CCS ขณะที่สาขาการเงินจะอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐมนตรีการคลังต่อไป
5. โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน
ที่ประชุมรับทราบมติของที่ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (WGIC) ครั้งที่ 30 ที่จะพิจารณาขยายเวลาของโครงการ AICO ออกไปหลังปี 2003 และลดอัตราภาษีของสินค้าภายใต้โครงการ AICO ให้ต่ำกว่าอัตรา 0-5% เพื่อให้ AICO เป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนต่อไป เนื่องจากผู้นำอาเซียนได้มีมติให้สมาชิกภายใต้อาฟต้าลงเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2510 สำหรับประเทศสมาชิกเดิม และปี 2015 สำหรับประเทศสมาชิกเป็นข้อผูกพันด้วยอย่างไร ก็ตาม อัตราภาษีร้อยละ 0 ดังกล่าวเป็นมติของผู้นำ อาเซียนซึ่งอาจจำเป็นต้องจัดทำเป็นข้อผูกพันด้วยเอกสารทางกฎหมาย ที่ประชุมจึงมีมติให้คณะกรรมการประสานงานการดำเนินการภายใต้ความตกลง CEPT (CCCA) พิจารณาต่อไป
ที่ประชุมรับรองข้อเสนอของ WGIC ที่จะขยายเวลาการยกเว้นเงื่อนไขสัดส่วนผู้ถือหุ้นคนชาติร้อยละ 30 สำหรับโครงการ AICO ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2545 อย่างไรก็ตาม ต้องรอคำยืนยันจากไทย มาเลเซีย และ เวียดนาม ก่อนเสนอ AEM พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
6. งานแสดงสินค้าอาเซียน
ที่ประชุมรับทราบการแจ้งความคืบหน้าการเตรียมจัดงาน ASEAN Trade Fair ณ กรุงเทพฯ ในวันที่ 14-20 ตุลาคม 2545 โดยผู้แทนไทย และเห็นชอบข้อเสนอโครงการขอความร่วมมือและความช่วยเหลือจากประเทศคู่เจรจาต่างๆ ในการสนับสนุนการจัดงานแสดงสินค้าอาเซียน และการให้ความช่วยเหลือประเทศ CLMV เข้าร่วมงานในที่ประชุม SEOM กับ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี (+3) ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ (CER) สหภาพยุโรป (EU) และสหรัฐฯ ไทยได้แจ้งแผนการให้ความช่วยเหลือ CLMV ของไทยในการจัดฝึกอบรมการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในเดือนกันยายน 2544 ณ กรุงเทพฯ และการส่งผู้เชี่ยวชาญของไทยไปให้คำแนะนำประเทศ CLMV ในเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2544 รวมทั้งขอให้ประเทศ CLMV กำหนดผู้แทนในการประสานจัดงานแสดงสินค้าอาเซียน
7. การริเริ่มการรวมกลุ่มภูมิภาคของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ
ที่ประชุมเห็นชอบข้อเสนอแนะของคณะทำงานอาเซียนด้านการรวมกลุ่มภูมิภาค (Working Group on Regional Integration : WGRI) ครั้งที่ 3 ในการกำหนดท่าทีอาเซียนต่อความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น อาเซียน-ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ และแลกเปลี่ยนความเห็นต่อผลการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญอาเซียน-จีนด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (ASEAN-China Expert Group on Economic Cooperation) ครั้งที่ 2 โดยรับทราบผลการศึกษาเบื้องต้นของทีมวิจัยร่วมอาเซียน-จีน (JRT) เรื่อง "Forging Closer ASEAN-China Economic Relations in the 21st Century" และข้อเสนอแนะให้จัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียน-จีน ภายใน 10 ปี ซึ่งมีบางประเทศ (พม่า) เห็นว่า ขอเวลาในการศึกษารายละเอียดข้อเสนอแนะของกลุ่มผู้ เชี่ยวชาญฯ รวมทั้งขอให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญฯ แสดงเหตุผลสนับสนุนผลดีการจัดตั้ง FTA และกรอบระยะเวลา 10 ปี ด้วย ทั้งนี้ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญฯ จะประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 28 กันยายน 2544 ณ คุนหมิง ประเทศจีน เพื่อสรุปผลการศึกษารายงานสุดท้ายต่อผู้นำอาเซียน-จีนต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-