_การประกาศเขตปลอดโรคระบาด _ การประกาศเขคปลอดโรคระบาด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ใช้อำนาจ ตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบััติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ในการประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา โดยเจตนารมย์ทางกฎหมายนั้นก็เพื่อป้องกันมิให้เกิดโรคระบาดสำหรับ สัตว์ชนิดใด ในท้องที่ใด
ปัจจุบันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศกระทรวงเกษตร และ สหกรณ์ เรื่อง กำหนดเขตปลอดโรคตามพระราชบััติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 จำนวน 2 ฉบับ ด้วยกันคือ
1. ประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดเขตปลอดโรคระบาดตามพระราชบััติโรค ระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2499 โดยกำหนดท้องที่ตั้งแต่เขตจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ต่อเขตจังหวัดเพชรบุรีลงไปทางใต้ จนสุดชายแดนราชอาณาเขตเป็นเขต ปลอดโรคระบาดชนิดรินเดอร์เปสต์และชนิดปากและเท้าเปื่อยของโค กระบือ แพะ แกะ สุกร 2.ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเขตปลอดโรคระบาด ตามพระราช บััติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ลงวันที่ 6 มีนาคม2540โดยกำหนดท้องที่จังหวัดในเขต 2 (ภาคตะวันออก) ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัด จันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดนครนายก เป็นเขตปลอดโรค ระบาดชนิดปากและเท้าเปื่อยของ โค กระบือ แพะ แกะ และสุกร
ซึ่งจากการประกาศเขต ปลอดโรคระบาดดังกล่าว ก่อให้เกิดผลดีแก่การปศุสัตว์ของประเทศ ไทย รวม 3 ด้าน คือ _1. ด้านความรัดกุมในการควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ _ กรณีการเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ ภายในประเทศนั้นตามพระราชบัญ ัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 มี 3 กรณี คือ 1.1 การเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์เข้าในหรือผ่านเขตปลอดโรคระบาด ตามมาตรา 12
เป็นอำนาจของอธิบดีกรมปศุสัตว์หรือสัตวแพทย์ซึ่งอธิบดีกรมปศุสัตว์มอบ หมาย 1.2 การเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ภายในเขตเข้าในหรือออกนอกเขต โรคระบาด หรือเขต
สงสัยว่ามีโรคระบาด หรือเขตโรคระบาดชั่วคราว ตามมาตรา17 เป็นอำนาจของสัตวแพทย์ 1.3 การเคลื่อนย้ายสัตว์ไปยังท้องที่ต่างจังหวัดตามมาตรา 34เป็นอำนาจของสัตวแพทย์ประจำ
ท้องที่
จากทั้ง 3 กรณีข้างต้นจะพบว่ามีความแตกต่างในการควบคุมการเคลื่อนย้ายในแต่ละเขต โดย เฉพาะในเขตปลอดเขตโรคระบาดนั้น เป็นเขตที่จะมีขั้นตอนในการควบคุมป้องกันโรคเข้ม งวดกว่าเขตอื่น ๆ และผู้มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติให้มีการเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ คือ อธิบดีกรมปศุสัตว์หรือสัตวแพทย์ ซึ่งอธิบดีกรมปศุสัตว์มอบหมาย ในขณะที่กรณีอื่น อำนาจใน การพิจารณาเป็นของปศุสัตว์อำเภอหรือปศุสัตว์จังหวัด รวมไปถึงขั้นตอนในการกักตรวจสัตว์เพื่อ ดูอาการก่อนการเคลื่อนย้ายเข้าเขตปลอดโรคระบาด จะใช้ระยะเวลานานกว่าเขตอื่น ๆ
_2. ด้านการส่งเสริมการส่งออก_
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ได้กำหนดให้เขต 2 เป็นเขตปลอดโรค จะสนับสนุนการ ส่งออกสินค้าปศุสัตว์ได้ ดังนี้ 2.1 สินค้าปศุสัตว์โดยเฉพาะสุกรมีชีวิต และผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรประเภทต่าง ๆ ซึ่งขณะนี้ประเทศ ไทยมีตลาดในการส่งออกอยู่แล้ว ได้รับความเชื่อมั่นจากประเทศคู่ค้าว่า
มาจากแหล่งผลิต สุกรที่รัฐบาลไทยรับรองว่าปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ยังผ่านขบวน การฆ่าสัตว์และขบวนการแปรรูปที่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตจากโรงงานแปรรูปสุกร ของกรมปศุสัตว์ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตที่รัฐบาลไทยรับรองว่าปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย เช่นเดีย วกัน 2.2การดำเนินการสร้างพื้นที่ปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยตามหลักเกณฑ์ OIE ในพื้นที่ส่วนหนึ่ง ของอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี จะได้ความเชื่อมั่นมากขึ้นหากใช้พื้นที่ ที่เหลือทั้งหมด ของเขต 2 เป็นพื้นที่กันชน ซึ่งหมายถึงพื้นที่ปลอดโรค และมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและ เท้าเปื่อยอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์สามารถอาศัยอำนาจตามกฎหมายพระราชบััติโรค ร ะบาดสัตว์ พ.ศ.2499 ในการกำหนดเงื่อนไขของการควบคุมโรคหรือการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์อ ย่างเข้มงวดในพื้นที่ดังกล่าวและพื้นที่ปลอดโรคที่เหลือ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์
_3. ด้านความเชื่อมั่นในระดับสากล _
ด้วยสำนักงานโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (Office of International des Epizooties, OIE) ซึ่งได้มีข้อตกลงกับรัฐบาลไทย โดยการลงนามระหว่าง ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ และ Director General ของ OIE ให้จัดตั้งหน่วยประสานงานระดับภูมิภาค (Regional Coordination Unit, RCU) ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เพื่อประสานงานการควบคุม และ กำจัดโรคปากและเท้าเปื่อยในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเล็งเห็นว่าพื้นที่ของภูมิภาคที่ จะเป็นไปได้มากที่สุดในการดำเนินการกำจัดโรคปากและเท้าเปื่อย คือ ประเทศฟิลิปปินส์ และพื้น ที่ตั้งแต่เขต 8 ของประเทศไทยรวมไปถึงประเทศมาเลเซีย และ OIE ประสงค์จะเริ่มดำเนินการ ให้เร็วที่สุด ดังนั้น ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการกำหนดเขต 8 และ 9 เป็นเขตปลอด โรคจะช่วยสนับสนุนและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนานาประเทศถึงความตั้งใจจริ งของประเทศไทยใน การดำเนินการควบคุมและกำจัดโรคปากและเท้าเปื่อย ...............--จบ--
ปัจจุบันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศกระทรวงเกษตร และ สหกรณ์ เรื่อง กำหนดเขตปลอดโรคตามพระราชบััติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 จำนวน 2 ฉบับ ด้วยกันคือ
1. ประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดเขตปลอดโรคระบาดตามพระราชบััติโรค ระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2499 โดยกำหนดท้องที่ตั้งแต่เขตจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ต่อเขตจังหวัดเพชรบุรีลงไปทางใต้ จนสุดชายแดนราชอาณาเขตเป็นเขต ปลอดโรคระบาดชนิดรินเดอร์เปสต์และชนิดปากและเท้าเปื่อยของโค กระบือ แพะ แกะ สุกร 2.ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเขตปลอดโรคระบาด ตามพระราช บััติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ลงวันที่ 6 มีนาคม2540โดยกำหนดท้องที่จังหวัดในเขต 2 (ภาคตะวันออก) ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัด จันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดนครนายก เป็นเขตปลอดโรค ระบาดชนิดปากและเท้าเปื่อยของ โค กระบือ แพะ แกะ และสุกร
ซึ่งจากการประกาศเขต ปลอดโรคระบาดดังกล่าว ก่อให้เกิดผลดีแก่การปศุสัตว์ของประเทศ ไทย รวม 3 ด้าน คือ _1. ด้านความรัดกุมในการควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ _ กรณีการเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ ภายในประเทศนั้นตามพระราชบัญ ัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 มี 3 กรณี คือ 1.1 การเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์เข้าในหรือผ่านเขตปลอดโรคระบาด ตามมาตรา 12
เป็นอำนาจของอธิบดีกรมปศุสัตว์หรือสัตวแพทย์ซึ่งอธิบดีกรมปศุสัตว์มอบ หมาย 1.2 การเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ภายในเขตเข้าในหรือออกนอกเขต โรคระบาด หรือเขต
สงสัยว่ามีโรคระบาด หรือเขตโรคระบาดชั่วคราว ตามมาตรา17 เป็นอำนาจของสัตวแพทย์ 1.3 การเคลื่อนย้ายสัตว์ไปยังท้องที่ต่างจังหวัดตามมาตรา 34เป็นอำนาจของสัตวแพทย์ประจำ
ท้องที่
จากทั้ง 3 กรณีข้างต้นจะพบว่ามีความแตกต่างในการควบคุมการเคลื่อนย้ายในแต่ละเขต โดย เฉพาะในเขตปลอดเขตโรคระบาดนั้น เป็นเขตที่จะมีขั้นตอนในการควบคุมป้องกันโรคเข้ม งวดกว่าเขตอื่น ๆ และผู้มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติให้มีการเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ คือ อธิบดีกรมปศุสัตว์หรือสัตวแพทย์ ซึ่งอธิบดีกรมปศุสัตว์มอบหมาย ในขณะที่กรณีอื่น อำนาจใน การพิจารณาเป็นของปศุสัตว์อำเภอหรือปศุสัตว์จังหวัด รวมไปถึงขั้นตอนในการกักตรวจสัตว์เพื่อ ดูอาการก่อนการเคลื่อนย้ายเข้าเขตปลอดโรคระบาด จะใช้ระยะเวลานานกว่าเขตอื่น ๆ
_2. ด้านการส่งเสริมการส่งออก_
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ได้กำหนดให้เขต 2 เป็นเขตปลอดโรค จะสนับสนุนการ ส่งออกสินค้าปศุสัตว์ได้ ดังนี้ 2.1 สินค้าปศุสัตว์โดยเฉพาะสุกรมีชีวิต และผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรประเภทต่าง ๆ ซึ่งขณะนี้ประเทศ ไทยมีตลาดในการส่งออกอยู่แล้ว ได้รับความเชื่อมั่นจากประเทศคู่ค้าว่า
มาจากแหล่งผลิต สุกรที่รัฐบาลไทยรับรองว่าปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ยังผ่านขบวน การฆ่าสัตว์และขบวนการแปรรูปที่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตจากโรงงานแปรรูปสุกร ของกรมปศุสัตว์ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตที่รัฐบาลไทยรับรองว่าปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย เช่นเดีย วกัน 2.2การดำเนินการสร้างพื้นที่ปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยตามหลักเกณฑ์ OIE ในพื้นที่ส่วนหนึ่ง ของอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี จะได้ความเชื่อมั่นมากขึ้นหากใช้พื้นที่ ที่เหลือทั้งหมด ของเขต 2 เป็นพื้นที่กันชน ซึ่งหมายถึงพื้นที่ปลอดโรค และมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและ เท้าเปื่อยอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์สามารถอาศัยอำนาจตามกฎหมายพระราชบััติโรค ร ะบาดสัตว์ พ.ศ.2499 ในการกำหนดเงื่อนไขของการควบคุมโรคหรือการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์อ ย่างเข้มงวดในพื้นที่ดังกล่าวและพื้นที่ปลอดโรคที่เหลือ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์
_3. ด้านความเชื่อมั่นในระดับสากล _
ด้วยสำนักงานโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (Office of International des Epizooties, OIE) ซึ่งได้มีข้อตกลงกับรัฐบาลไทย โดยการลงนามระหว่าง ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ และ Director General ของ OIE ให้จัดตั้งหน่วยประสานงานระดับภูมิภาค (Regional Coordination Unit, RCU) ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เพื่อประสานงานการควบคุม และ กำจัดโรคปากและเท้าเปื่อยในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเล็งเห็นว่าพื้นที่ของภูมิภาคที่ จะเป็นไปได้มากที่สุดในการดำเนินการกำจัดโรคปากและเท้าเปื่อย คือ ประเทศฟิลิปปินส์ และพื้น ที่ตั้งแต่เขต 8 ของประเทศไทยรวมไปถึงประเทศมาเลเซีย และ OIE ประสงค์จะเริ่มดำเนินการ ให้เร็วที่สุด ดังนั้น ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการกำหนดเขต 8 และ 9 เป็นเขตปลอด โรคจะช่วยสนับสนุนและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนานาประเทศถึงความตั้งใจจริ งของประเทศไทยใน การดำเนินการควบคุมและกำจัดโรคปากและเท้าเปื่อย ...............--จบ--