ภูเก็ต
ภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตในช่วงครึ่งปีแรกของปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยรายได้หลักมาจากภาคการท่องเที่ยวมีการขยายตัวอย่างมาก และส่งผลต่อเนื่องให้ภาคธุรกิจการค้า และการลงทุนของเอกชนในจังหวัดขยายตัวดีขึ้น ขณะเดียวกันการปรับโครงสร้างหนี้สถาบันการเงินมีความคืบหน้าตามลำดับ
ภาคการเกษตร
ปริมาณสัตว์น้ำจากการทำประมงของจังหวัดภูเก็ตในช่วงครึ่งแรกของปีเพิ่มขึ้นทั้งมูลค่าและปริมาณ โดยมีปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือประมงองค์การสะพานปลา 12,752 เมตริกตัน มูลค่า 238.0 ล้านบาท เมื่อเทียบกับในช่วงครึ่งแรกของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.6 และ 5.9 ตามลำดับ โดยจำนวนสัตว์น้ำที่นำขึ้นที่ท่าเทียบเรือเป็นปลาเป็ดมากถึงจำนวน 6,405 เมตริกตัน มูลค่า 29.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 158.4 และ 183.7 นอกจากนี้ มีกองเรือประมงปลาทูน่าของต่างชาติเข้ามาใช้บริการที่ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเรือประมงทูน่าเบ็ดราว เพราะเป็นท่าเทียบเรือที่ใกล้กับแหล่งประมง มีเส้นทางการคมนาคมที่สะดวกในการนำสินค้าส่งออก โดยเฉพาะสนามบินซึ่งมีเที่ยวบินตรงไปยังประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดหลัก ประกอบกับกองเรือที่ใช้ท่าเรือในประเทศอินโดนีเซียได้ย้ายฐานมาที่ท่าภูเก็ต เนื่องจากอินโดนีเซียมีปัญหาการเมืองภายในประเทศ
สำหรับผลผลิตยางพาราในช่วงครึ่งปีแรกมีไม่มากนัก เนื่องจากเป็นช่วงต้นยางผลัดใบ ประกอบกับฝนตกชุกในแหล่งผลิตติดต่อกัน ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย ที่ระดับราคามีการปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน โดยราคาเฉลี่ยยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 กิโลกรัมละ 20.84 บาท เปรียบเทียบกับราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.14 บาทในระยะเดียวกันในปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6
ส่วนผลผลิตมะพร้าวผลแห้งชนิดคละจากที่ราคาได้สูงขึ้นโดยตลอดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกษตรกรเริ่มหันมาเพิ่มพื้นที่การเพาะปลูก และมีผลผลิตออกสู่ตลาดมากในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ เป็นผลให้ราคาตกลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม ประกอบกับราคาพืชน้ำมันชนิดอื่นที่สามารถทดแทนกันได้ลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน อาทิ ปาล์มน้ำมัน และถั่วเหลืองซึ่งมีการนำเข้ามาก ทั้งนี้ราคาจำหน่ายเฉลี่ยในช่วง 6 เดือนแรก ร้อยผลละ 293.33 บาท ลดลงจากร้อยผลละ 709.50 บาทในระยะเดียวกันปีก่อน หรือลดลง ร้อยละ 58.7
นอกภาคการเกษตร
การท่องเที่ยว การท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีปริมาณนัก ท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาพักผ่อนจำนวนมากโดยเฉพาะช่วงไตรมาสแรกของปี แม้ว่าในช่วงเดือนมกราคมจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาลดลง เนื่องจากกระแสความไม่แน่ใจในปัญหา Y2K ก็ตาม แต่นักท่องเที่ยวเริ่มเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ส่วนใหญ่เป็น นักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียและยุโรป โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ตในช่วงครึ่งแรกปีนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 405,442 คน เพิ่มขึ้นจากระยะเวลาเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 17.1 ทั้งนี้กิจกรรมท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมและทำรายได้ให้กับเมืองภูเก็ตในขณะนี้ คือ ธุรกิจดำน้ำ ซึ่งเป็นที่นิยมทั้งสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ โดยคาดว่าสามารถทำรายได้เข้าจังหวัดภูเก็ตกว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี
เหมืองแร่ ผลผลิตดีบุกที่ผลิตได้ในจังหวัดภูเก็ตในช่วงครึ่งปีแรกได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผลิตได้ 576.6 ตัน เปรียบเทียบกับผลผลิตในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว 466.6 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6
การค้า ภาวะการค้าโดยทั่วไปในจังหวัดภูเก็ตเริ่มปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเป็นผล ต่อเนื่องมาจากภาคการท่องเที่ยว ทั้งนี้พิจารณาจากการจดทะเบียนรถใหม่ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัด ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จำนวน 707 คัน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 783 คัน และรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ 6,009 คัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันในปีก่อนร้อยละ 46.7 38.8 และ 25.7 ตามลำดับ
ทางด้านการค้าระหว่างประเทศผ่านด่านศุลกากรในจังหวัดภูเก็ตในช่วง 6 เดือนแรกของปี มีมูลค่าการส่งออก 5,269.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าในช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 83.2 ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกยางพารา และน้ำมันเชื้อเพลิง ขณะที่มูลค่านำเข้ามีเพียง 1,570.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.4 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าประเภทเครื่องมือ เครื่องจักรต่างๆ
การลงทุน การลงทุนของภาคเอกชนมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้มีธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลรายใหม่ 426 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 884.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้าร้อยละ 27.5 และ 42.1 ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการต่อเนื่องกับการท่องเที่ยว อาทิเช่น บริษัทนำเที่ยว ภัตตาคาร ร้านอาหาร สถานบริการต่างๆ และธุรกิจดำน้ำ สำหรับกิจการที่ได้รับการ ส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีจำนวน 1 ราย เงินลงทุนรวม 40.0 ล้านบาท และมีการจ้างงาน 67 คน
ด้านการก่อสร้างภายในจังหวัดยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ได้รับการอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเมืองภูเก็ตรวม 56,096 ตารางเมตร เปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 โดยแบ่งเป็นพื้นที่ก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัย 41,429 ตารางเมตร เพื่อการพาณิชย์ 5,664 ตารางเมตร เพื่อการบริการ 6,885 ตารางเมตร และอื่นๆ 2,118 ตารางเมตร
จากการที่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตขยายตัวมาก จนเป็นผลให้ปริมาณห้องพักไม่เพียงพอกับความต้องการของนักท่องเที่ยว จึงเริ่มมีการก่อสร้าง ปรับปรุงและขยายห้องพักของ โรงแรมตามชายหาดทั้งขนาดเล็ก และขนาดกลาง เพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่เติบโตขึ้น นอกจากนี้ยังมีการขยายห้องพักของโรงแรมขนาดใหญ่บ้าง เช่น โรงแรมภูเก็ตอาคาเดียที่ขยายการลงทุนสร้างที่พักเพิ่มอีก 220 ห้อง ด้วยงบประมาณประมาณ 600 ล้านบาท เพื่อรองรับการประชุม สัมมนาขนาดใหญ่
นอกจากนี้ ผลจากปริมาณห้องพักไม่เพียงพอกับความต้องการ ทำให้มีบริษัทนำเที่ยวต่างประเทศได้ให้ทุนแก่เจ้าของโรงแรมเพื่อนำไปขยายห้องพัก เพื่อแลกกับเงื่อนไขให้ได้ห้องพักในช่วง High Season โดยการหักบัญชีกันภายหลัง เพื่อให้ผู้ประกอบการโรงแรมมีเงินทุนหมุนเวียนในการขยายกิจการ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาสถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ
สำหรับโครงการของภาครัฐ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปีนี้ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเห็นชอบกับแผนปฏิบัติการภูเก็ตเมืองนานาชาติ (ปี 2542-2554) โดยจะพัฒนาเมืองภูเก็ตให้เป็นเมืองที่ดำรงรักษาความมี วัฒนธรรม อนุรักษ์ธรรมชาติ และพัฒนาให้เป็นเมืองที่มีความพร้อมทางโครงสร้างพื้นฐาน ให้ได้มาตรฐานสากล รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของภาคใต้ตอนบน ทั้งนี้สาระสำคัญของแผนจะกำหนดยุทธศาสตร์ 5 ประเด็นคือ การพัฒนาพื้นที่ควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการให้ได้มาตรฐาน พัฒนาคนและสังคม พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริหารจัดการภูเก็ตเมืองนานาชาติ
การจ้างงาน จากรายงานของสำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ตพบว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2543 มีตำแหน่งงานว่างที่แจ้งผ่านสำนักงานจัดหางานทั้งสิ้น 651 อัตรา เปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 59.3 โดยมีผู้สมัครงานจำนวน 546 คน และได้การรับบรรจุงานจำนวน 260 คน ลดลงจากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 24.1 และ 10.3 ตามลำดับ
การคลัง ครึ่งปีแรกของปี 2543 ส่วนราชการต่างๆ ในจังหวัดภูเก็ตเบิกเงินงบประมาณจากคลังจังหวัดจำนวน 1,273.0 ล้านบาท ลดลงจากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.1 ขณะที่การจัดเก็บภาษีในช่วงเวลาเดียวกันนี้สามารถจัดเก็บได้ 1,468.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเวลาของปีก่อนร้อยละ 3.8 ในจำนวนนี้เป็นการจัดเก็บภาษีสรรพากรจำนวน 1,327.6 ล้านบาท ภาษีสรรพสามิต 131.3 ล้านบาท และภาษีศุลกากร 9.7 ล้านบาท
สาขาการเงินการธนาคาร ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2543 ผลจากเม็ดเงินที่เข้ามาจากภาคการ ท่องเที่ยว ทำให้ปริมาณเงินสดที่สถาบันการเงินนำฝากผ่านผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยมียอดรวม 8,617.3 ล้านบาท เปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีก่อนเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 23.7 ขณะที่ปริมาณเงินสดที่สถาบันการเงินเบิกจ่ายมีจำนวนรวม 7,505.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2
ขณะเดียวกันปริมาณเงินโอนเข้า และโอนออกระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยกับผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยมีปริมาณที่เพิ่มด้วยเช่นกันโดยมีจำนวนเงินโอนรวม 21,050.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เป็นเงินโอนเข้า 9,282.3 ล้านบาท และเงินโอนออกจำนวนรวม 11,767.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และ 25.2 ตามลำดับ
สำหรับปริมาณการใช้เช็คในจังหวัดภูเก็ตขยายตัวอย่างต่อเนื่องทั้งด้านปริมาณและมูลค่า จากข้อมูลเช็คที่ผ่านสำนักหักบัญชีในครึ่งปีแรกมีจำนวน 468,030 ฉบับ มูลค่ารวม 32,687.2 ล้านบาท เปรียบเทียบกับปีก่อนในช่วงเวลาเดียวกัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 และ 14.2 ตามลำดับ
ธุรกรรมของสาขาธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดภูเก็ต ยังเน้นเร่งการปรับโครงสร้างหนี้ซึ่งมีความ คืบหน้าไปพอสมควร อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าจังหวัดภูเก็ตมีปริมาณเงินการให้สินเชื่อมากกว่าจำนวนเงินฝากเล็กน้อย โดยมียอดเงินฝาก ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 จำนวน 33,296.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.7 เป็นเงินฝากประจำ 23,000.3 ล้านบาท และเงินฝากออมทรัพย์ 9,417.6 ล้านบาท เงินฝากกระแสรายวัน 877.2 ล้านบาท และอื่นๆ 1.0 ล้านบาท
ขณะที่การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์มีจำนวน 34,903.8 ล้านบาท เทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 6.3 ในจำนวนนี้จำแนกเป็นสินเชื่อเงินให้กู้ 21,847.4 ล้านบาท เงินกู้ เบิกเกินบัญชี 8,811.6 ล้นบาท และตั๋วเงินและอื่นๆ 3,659.9 ล้านบาท ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อเพื่อบริการ เพื่อค้าปลีก ค้าส่ง และเพื่อทำธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
ส่วนบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2543 มีให้สินเชื่อแก่ธุรกิจจำนวน 6 ราย ปริมาณเงินให้สินเชื่อรวม 260.7 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว ซึ่งมีจำนวน 4 ราย และจำนวนเงินให้สินเชื่อรวมเพียง 78.6 ล้านบาท ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจโรงแรม ที่พักตากอากาศ
นอกจากนี้ในเดือนมกราคม ปี 2543 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้เปิดให้บริการกองทุนอิสลามขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ตในช่วงครึ่งหลังของปี 2543
ในช่วงครึ่งปีหลังเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตน่าจะปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากช่วงปลายปีเป็นฤดูการท่องเที่ยว เนื่องจากโรงแรมส่วนใหญ่มีลูกค้าเก่าอยู่ในมือ และเริ่มมีคำสั่งจองห้องพักจาก ต่างประเทศเข้ามาแล้ว ประกอบกับภาครัฐมีการส่งเสริมการท่องเที่ยว อย่างต่อเนื่อง และมีการจัดทำแผนพัฒนาเมืองภูเก็ตนานาชาต ิเพื่อพัฒนาศักยภาพของจังหวัดภูเก็ตให้เติบโตขึ้นในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สาธารณูปโภค และสิ่งแวดล้อม
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตในช่วงครึ่งปีแรกของปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยรายได้หลักมาจากภาคการท่องเที่ยวมีการขยายตัวอย่างมาก และส่งผลต่อเนื่องให้ภาคธุรกิจการค้า และการลงทุนของเอกชนในจังหวัดขยายตัวดีขึ้น ขณะเดียวกันการปรับโครงสร้างหนี้สถาบันการเงินมีความคืบหน้าตามลำดับ
ภาคการเกษตร
ปริมาณสัตว์น้ำจากการทำประมงของจังหวัดภูเก็ตในช่วงครึ่งแรกของปีเพิ่มขึ้นทั้งมูลค่าและปริมาณ โดยมีปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือประมงองค์การสะพานปลา 12,752 เมตริกตัน มูลค่า 238.0 ล้านบาท เมื่อเทียบกับในช่วงครึ่งแรกของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.6 และ 5.9 ตามลำดับ โดยจำนวนสัตว์น้ำที่นำขึ้นที่ท่าเทียบเรือเป็นปลาเป็ดมากถึงจำนวน 6,405 เมตริกตัน มูลค่า 29.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 158.4 และ 183.7 นอกจากนี้ มีกองเรือประมงปลาทูน่าของต่างชาติเข้ามาใช้บริการที่ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเรือประมงทูน่าเบ็ดราว เพราะเป็นท่าเทียบเรือที่ใกล้กับแหล่งประมง มีเส้นทางการคมนาคมที่สะดวกในการนำสินค้าส่งออก โดยเฉพาะสนามบินซึ่งมีเที่ยวบินตรงไปยังประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดหลัก ประกอบกับกองเรือที่ใช้ท่าเรือในประเทศอินโดนีเซียได้ย้ายฐานมาที่ท่าภูเก็ต เนื่องจากอินโดนีเซียมีปัญหาการเมืองภายในประเทศ
สำหรับผลผลิตยางพาราในช่วงครึ่งปีแรกมีไม่มากนัก เนื่องจากเป็นช่วงต้นยางผลัดใบ ประกอบกับฝนตกชุกในแหล่งผลิตติดต่อกัน ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย ที่ระดับราคามีการปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน โดยราคาเฉลี่ยยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 กิโลกรัมละ 20.84 บาท เปรียบเทียบกับราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.14 บาทในระยะเดียวกันในปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6
ส่วนผลผลิตมะพร้าวผลแห้งชนิดคละจากที่ราคาได้สูงขึ้นโดยตลอดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกษตรกรเริ่มหันมาเพิ่มพื้นที่การเพาะปลูก และมีผลผลิตออกสู่ตลาดมากในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ เป็นผลให้ราคาตกลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม ประกอบกับราคาพืชน้ำมันชนิดอื่นที่สามารถทดแทนกันได้ลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน อาทิ ปาล์มน้ำมัน และถั่วเหลืองซึ่งมีการนำเข้ามาก ทั้งนี้ราคาจำหน่ายเฉลี่ยในช่วง 6 เดือนแรก ร้อยผลละ 293.33 บาท ลดลงจากร้อยผลละ 709.50 บาทในระยะเดียวกันปีก่อน หรือลดลง ร้อยละ 58.7
นอกภาคการเกษตร
การท่องเที่ยว การท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีปริมาณนัก ท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาพักผ่อนจำนวนมากโดยเฉพาะช่วงไตรมาสแรกของปี แม้ว่าในช่วงเดือนมกราคมจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาลดลง เนื่องจากกระแสความไม่แน่ใจในปัญหา Y2K ก็ตาม แต่นักท่องเที่ยวเริ่มเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ส่วนใหญ่เป็น นักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียและยุโรป โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ตในช่วงครึ่งแรกปีนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 405,442 คน เพิ่มขึ้นจากระยะเวลาเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 17.1 ทั้งนี้กิจกรรมท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมและทำรายได้ให้กับเมืองภูเก็ตในขณะนี้ คือ ธุรกิจดำน้ำ ซึ่งเป็นที่นิยมทั้งสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ โดยคาดว่าสามารถทำรายได้เข้าจังหวัดภูเก็ตกว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี
เหมืองแร่ ผลผลิตดีบุกที่ผลิตได้ในจังหวัดภูเก็ตในช่วงครึ่งปีแรกได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผลิตได้ 576.6 ตัน เปรียบเทียบกับผลผลิตในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว 466.6 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6
การค้า ภาวะการค้าโดยทั่วไปในจังหวัดภูเก็ตเริ่มปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเป็นผล ต่อเนื่องมาจากภาคการท่องเที่ยว ทั้งนี้พิจารณาจากการจดทะเบียนรถใหม่ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัด ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จำนวน 707 คัน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 783 คัน และรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ 6,009 คัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันในปีก่อนร้อยละ 46.7 38.8 และ 25.7 ตามลำดับ
ทางด้านการค้าระหว่างประเทศผ่านด่านศุลกากรในจังหวัดภูเก็ตในช่วง 6 เดือนแรกของปี มีมูลค่าการส่งออก 5,269.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าในช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 83.2 ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกยางพารา และน้ำมันเชื้อเพลิง ขณะที่มูลค่านำเข้ามีเพียง 1,570.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.4 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าประเภทเครื่องมือ เครื่องจักรต่างๆ
การลงทุน การลงทุนของภาคเอกชนมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้มีธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลรายใหม่ 426 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 884.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้าร้อยละ 27.5 และ 42.1 ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการต่อเนื่องกับการท่องเที่ยว อาทิเช่น บริษัทนำเที่ยว ภัตตาคาร ร้านอาหาร สถานบริการต่างๆ และธุรกิจดำน้ำ สำหรับกิจการที่ได้รับการ ส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีจำนวน 1 ราย เงินลงทุนรวม 40.0 ล้านบาท และมีการจ้างงาน 67 คน
ด้านการก่อสร้างภายในจังหวัดยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ได้รับการอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเมืองภูเก็ตรวม 56,096 ตารางเมตร เปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 โดยแบ่งเป็นพื้นที่ก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัย 41,429 ตารางเมตร เพื่อการพาณิชย์ 5,664 ตารางเมตร เพื่อการบริการ 6,885 ตารางเมตร และอื่นๆ 2,118 ตารางเมตร
จากการที่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตขยายตัวมาก จนเป็นผลให้ปริมาณห้องพักไม่เพียงพอกับความต้องการของนักท่องเที่ยว จึงเริ่มมีการก่อสร้าง ปรับปรุงและขยายห้องพักของ โรงแรมตามชายหาดทั้งขนาดเล็ก และขนาดกลาง เพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่เติบโตขึ้น นอกจากนี้ยังมีการขยายห้องพักของโรงแรมขนาดใหญ่บ้าง เช่น โรงแรมภูเก็ตอาคาเดียที่ขยายการลงทุนสร้างที่พักเพิ่มอีก 220 ห้อง ด้วยงบประมาณประมาณ 600 ล้านบาท เพื่อรองรับการประชุม สัมมนาขนาดใหญ่
นอกจากนี้ ผลจากปริมาณห้องพักไม่เพียงพอกับความต้องการ ทำให้มีบริษัทนำเที่ยวต่างประเทศได้ให้ทุนแก่เจ้าของโรงแรมเพื่อนำไปขยายห้องพัก เพื่อแลกกับเงื่อนไขให้ได้ห้องพักในช่วง High Season โดยการหักบัญชีกันภายหลัง เพื่อให้ผู้ประกอบการโรงแรมมีเงินทุนหมุนเวียนในการขยายกิจการ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาสถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ
สำหรับโครงการของภาครัฐ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปีนี้ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเห็นชอบกับแผนปฏิบัติการภูเก็ตเมืองนานาชาติ (ปี 2542-2554) โดยจะพัฒนาเมืองภูเก็ตให้เป็นเมืองที่ดำรงรักษาความมี วัฒนธรรม อนุรักษ์ธรรมชาติ และพัฒนาให้เป็นเมืองที่มีความพร้อมทางโครงสร้างพื้นฐาน ให้ได้มาตรฐานสากล รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของภาคใต้ตอนบน ทั้งนี้สาระสำคัญของแผนจะกำหนดยุทธศาสตร์ 5 ประเด็นคือ การพัฒนาพื้นที่ควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการให้ได้มาตรฐาน พัฒนาคนและสังคม พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริหารจัดการภูเก็ตเมืองนานาชาติ
การจ้างงาน จากรายงานของสำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ตพบว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2543 มีตำแหน่งงานว่างที่แจ้งผ่านสำนักงานจัดหางานทั้งสิ้น 651 อัตรา เปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 59.3 โดยมีผู้สมัครงานจำนวน 546 คน และได้การรับบรรจุงานจำนวน 260 คน ลดลงจากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 24.1 และ 10.3 ตามลำดับ
การคลัง ครึ่งปีแรกของปี 2543 ส่วนราชการต่างๆ ในจังหวัดภูเก็ตเบิกเงินงบประมาณจากคลังจังหวัดจำนวน 1,273.0 ล้านบาท ลดลงจากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.1 ขณะที่การจัดเก็บภาษีในช่วงเวลาเดียวกันนี้สามารถจัดเก็บได้ 1,468.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเวลาของปีก่อนร้อยละ 3.8 ในจำนวนนี้เป็นการจัดเก็บภาษีสรรพากรจำนวน 1,327.6 ล้านบาท ภาษีสรรพสามิต 131.3 ล้านบาท และภาษีศุลกากร 9.7 ล้านบาท
สาขาการเงินการธนาคาร ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2543 ผลจากเม็ดเงินที่เข้ามาจากภาคการ ท่องเที่ยว ทำให้ปริมาณเงินสดที่สถาบันการเงินนำฝากผ่านผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยมียอดรวม 8,617.3 ล้านบาท เปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีก่อนเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 23.7 ขณะที่ปริมาณเงินสดที่สถาบันการเงินเบิกจ่ายมีจำนวนรวม 7,505.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2
ขณะเดียวกันปริมาณเงินโอนเข้า และโอนออกระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยกับผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยมีปริมาณที่เพิ่มด้วยเช่นกันโดยมีจำนวนเงินโอนรวม 21,050.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เป็นเงินโอนเข้า 9,282.3 ล้านบาท และเงินโอนออกจำนวนรวม 11,767.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และ 25.2 ตามลำดับ
สำหรับปริมาณการใช้เช็คในจังหวัดภูเก็ตขยายตัวอย่างต่อเนื่องทั้งด้านปริมาณและมูลค่า จากข้อมูลเช็คที่ผ่านสำนักหักบัญชีในครึ่งปีแรกมีจำนวน 468,030 ฉบับ มูลค่ารวม 32,687.2 ล้านบาท เปรียบเทียบกับปีก่อนในช่วงเวลาเดียวกัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 และ 14.2 ตามลำดับ
ธุรกรรมของสาขาธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดภูเก็ต ยังเน้นเร่งการปรับโครงสร้างหนี้ซึ่งมีความ คืบหน้าไปพอสมควร อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าจังหวัดภูเก็ตมีปริมาณเงินการให้สินเชื่อมากกว่าจำนวนเงินฝากเล็กน้อย โดยมียอดเงินฝาก ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 จำนวน 33,296.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.7 เป็นเงินฝากประจำ 23,000.3 ล้านบาท และเงินฝากออมทรัพย์ 9,417.6 ล้านบาท เงินฝากกระแสรายวัน 877.2 ล้านบาท และอื่นๆ 1.0 ล้านบาท
ขณะที่การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์มีจำนวน 34,903.8 ล้านบาท เทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 6.3 ในจำนวนนี้จำแนกเป็นสินเชื่อเงินให้กู้ 21,847.4 ล้านบาท เงินกู้ เบิกเกินบัญชี 8,811.6 ล้นบาท และตั๋วเงินและอื่นๆ 3,659.9 ล้านบาท ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อเพื่อบริการ เพื่อค้าปลีก ค้าส่ง และเพื่อทำธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
ส่วนบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2543 มีให้สินเชื่อแก่ธุรกิจจำนวน 6 ราย ปริมาณเงินให้สินเชื่อรวม 260.7 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว ซึ่งมีจำนวน 4 ราย และจำนวนเงินให้สินเชื่อรวมเพียง 78.6 ล้านบาท ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจโรงแรม ที่พักตากอากาศ
นอกจากนี้ในเดือนมกราคม ปี 2543 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้เปิดให้บริการกองทุนอิสลามขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ตในช่วงครึ่งหลังของปี 2543
ในช่วงครึ่งปีหลังเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตน่าจะปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากช่วงปลายปีเป็นฤดูการท่องเที่ยว เนื่องจากโรงแรมส่วนใหญ่มีลูกค้าเก่าอยู่ในมือ และเริ่มมีคำสั่งจองห้องพักจาก ต่างประเทศเข้ามาแล้ว ประกอบกับภาครัฐมีการส่งเสริมการท่องเที่ยว อย่างต่อเนื่อง และมีการจัดทำแผนพัฒนาเมืองภูเก็ตนานาชาต ิเพื่อพัฒนาศักยภาพของจังหวัดภูเก็ตให้เติบโตขึ้นในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สาธารณูปโภค และสิ่งแวดล้อม
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-