นายการุณ กิตติสถาพร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้เปิดเผยว่าจากการที่สำนักมาตรฐานและตรวจสอบสินค้าของไต้หวัน (BSMI) ได้ออกระเบียบเมื่อเดือนสิงหาคม 2543 กำหนดให้แป้งมันสำปะหลังเป็นสินค้าที่ต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพก่อนการนำเข้า โดยกำหนดให้แป้งมันสำปะหลังมีสารตกค้างซัลเฟอร์ไดอ็อกไซด์ SO2 ไม่เกิน 30 ppm และจะทำการสุ่มตรวจสินค้า 1 ล็อต จากปริมาณนำเข้าทุก 20 ล็อต ใช้เวลาตรวจสอบ 6 วัน โดยผ่อนปรนให้ผู้นำเข้าสามารถแสดงเอกสารรับรองคุณภาพจากหน่วยงานที่รัฐมอบหมายและมีวิธีการตรวจสอบถูกต้องตามกำหนดของไต้หวัน สามารถตรวจปล่อยสินค้าได้โดยไม่ต้องรอผลการสุ่มตรวจ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกแป้งมันสำปะหลังของไทยเป็นอย่างมาก
กรมการค้าต่างประเทศ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วยมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย สมาคมการค้าอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดคณะผู้แทนการค้าเดินทางไปเจรจาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวเมื่อเดือนตุลาคม 2543 พร้อมทั้งได้ชี้แจงถึงคุณลักษณะของแป้งมันสำปะหลังซึ่งนำไปใช้ในขบวนการแปรรูป จึงจำเป็นต้องใช้สาร SO2 เพื่อฟอกสีและเพิ่มความเหนียว จึงขอให้สำนักมาตรฐานและตรวจสอบสินค้า (BSMI) และกระทรวงสาธารณสุข (DOH) ของไต้หวันพิจารณากำหนดให้สาร SO2 ตกค้างไม่เกิน 150 ppm และให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ของไทยเป็นหน่วยงานตรวจสอบวิเคราะห์และออกหนังสือรับรองคุณภาพแป้งมันสำปะหลังของไทย และได้เชิญหน่วยงานที่รับผิดชอบในการควบคุมคุณภาพการนำเข้าแป้งมันสำปะหลังมาเยือนไทยเพื่อจะได้เยี่ยมชมโรงงานแป้งมันสำปะหลัง กรรมวิธีการผลิตและการตรวจสอบคุณภาพสินค้าของไทยระหว่างวันที่ 12 — 17 กุมภาพันธ์ 2544 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงของไต้หวันได้ร่วมประชุมหารือกับอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวด้วย
ผลจากการดำเนินการผลักดันของทั้งภาครัฐบาลและเอกชนของไทย สามารถชี้ให้ทางการไต้หวันเห็นถึงคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าแป้งมันสำปะหลังเป็นอย่างดี และในที่สุดคณะกรรมการพิจารณามาตรฐานอาหารของไต้หวันได้ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงมาตรฐานสานตกค้าง SO2 ในแป้งมันสำปะหลังเป็นไม่เกิน 150 ppm ตามที่ฝ่ายไทยเสนอ อันเป็นการส่งผลดีต่อการส่งออกแป้งมันสำปะหลังของไทยไปไต้หวันซึ่งเป็นตลาดใหญ่ มีปริมาณส่งออกประมาณปีละ 3 แสนตัน หรือร้อยละ 30 ของการส่งออกแป้งมันสำปะหลังของไทยไปตลาดโลก
--กรมการค้าต่างประเทศ มีนาคม 2544--
-อน-
กรมการค้าต่างประเทศ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วยมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย สมาคมการค้าอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดคณะผู้แทนการค้าเดินทางไปเจรจาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวเมื่อเดือนตุลาคม 2543 พร้อมทั้งได้ชี้แจงถึงคุณลักษณะของแป้งมันสำปะหลังซึ่งนำไปใช้ในขบวนการแปรรูป จึงจำเป็นต้องใช้สาร SO2 เพื่อฟอกสีและเพิ่มความเหนียว จึงขอให้สำนักมาตรฐานและตรวจสอบสินค้า (BSMI) และกระทรวงสาธารณสุข (DOH) ของไต้หวันพิจารณากำหนดให้สาร SO2 ตกค้างไม่เกิน 150 ppm และให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ของไทยเป็นหน่วยงานตรวจสอบวิเคราะห์และออกหนังสือรับรองคุณภาพแป้งมันสำปะหลังของไทย และได้เชิญหน่วยงานที่รับผิดชอบในการควบคุมคุณภาพการนำเข้าแป้งมันสำปะหลังมาเยือนไทยเพื่อจะได้เยี่ยมชมโรงงานแป้งมันสำปะหลัง กรรมวิธีการผลิตและการตรวจสอบคุณภาพสินค้าของไทยระหว่างวันที่ 12 — 17 กุมภาพันธ์ 2544 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงของไต้หวันได้ร่วมประชุมหารือกับอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวด้วย
ผลจากการดำเนินการผลักดันของทั้งภาครัฐบาลและเอกชนของไทย สามารถชี้ให้ทางการไต้หวันเห็นถึงคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าแป้งมันสำปะหลังเป็นอย่างดี และในที่สุดคณะกรรมการพิจารณามาตรฐานอาหารของไต้หวันได้ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงมาตรฐานสานตกค้าง SO2 ในแป้งมันสำปะหลังเป็นไม่เกิน 150 ppm ตามที่ฝ่ายไทยเสนอ อันเป็นการส่งผลดีต่อการส่งออกแป้งมันสำปะหลังของไทยไปไต้หวันซึ่งเป็นตลาดใหญ่ มีปริมาณส่งออกประมาณปีละ 3 แสนตัน หรือร้อยละ 30 ของการส่งออกแป้งมันสำปะหลังของไทยไปตลาดโลก
--กรมการค้าต่างประเทศ มีนาคม 2544--
-อน-