ไทย-แอฟริกาใต้จับมือลงนามความตกลงทางการค้าร่วมกัน
นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เปิดเผยภายหลังจากเดินทางกลับจากแอฟริกาใต้ว่า ได้เป็นประธานงานเลี้ยงเพื่อแนะนำและเผยแพร่ข้าวหอมมะลิไทย "A luncheon to introduce Thai Hom Mali Rice" ณ ห้องศาลาไทย โรงแรมคราวน์ พลาซ่า ณ เมืองโจฮันเนสเบอร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม 2544 โดยแขกรับเชิญในงานประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ของแอฟริกาใต้ สถานทูตประเทศต่าง ๆ ที่ประจำอยู่ในแอฟริกาใต้ ผู้นำเข้าข้าว ผู้ประกอบการภัตตาคารและร้านอาหารโดยเฉพาะอาหารไทยและอาหารของประเทศในแถบเอเซีย โรงเรียนสอนทำอาหาร รวมทั้งสื่อมวลชน จำนวน 100 คน ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่จัดงานเผยแพร่ข้าวหอมมะลิไทยในภูมิภาคแอฟริกาและเป็นครั้งแรกของปี 2544 หลังจากได้จัดที่เมืองฮ่องกงเมื่อปีที่ผ่านมาแล้ว และได้รับความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง
การจัดงานเลี้ยงดังกล่าวกระทรวงพาณิชย์มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิไทยและส่งเสริมให้มีการบริโภคข้าวหอมมะลิไทยประเทศแอฟริกาใต้ในวงกว้างขึ้น นอกจากนี้พบว่าในอดีตจนถึงปัจจุบันผู้บริโภคชาวแอฟริกาใต้ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการหุงข้าวหอมมะลิไทยที่ถูกวิธี ซึ่งจะทำให้ข้าวมีความนุ่มและหอมน่ารับประทาน ดังนั้น จึงจัดให้มีการสาธิตวิธีการหุงข้าวหอมมะลิไทยด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าอย่างถูกวิธี ซึ่งเป็นวิธีที่กระทำได้ง่ายในงานเลี้ยงดังกล่าว พร้อมทั้งแจกหม้อหุงข้าวไฟฟ้าพร้อมข้าวหอมมะลิไทยเป็นที่ระลึกแก่แขกผู้เข้าร่วมงานด้วย ในปี 2543 ไทยส่งออกข้าวไปแอฟริกาใต้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 428,910 ตัน และในช่วง 3 เดือนแรก (มกราคม — มีนาคม) ของปี 2544 ส่งออกเป็นจำนวน 72,877 ตัน ลดลงร้อยละ 17.2 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 ที่มีจำนวน 85,383 ตัน และชนิดข้าวที่ส่งออกไปแอฟริกาใต้มากที่สุด คือ ข้าวนึ่ง ปลายข้าว ข้าวขาว 15% ข้าวขาว 100% สำหรับข้าวหอมมะลิไทยมีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ตลาดแอฟริกาใต้เป็นตลาดข้าวที่มีศักยภาพสูงในภูมิภาคแอฟริกา เพราะนอกจากจะนำเข้าข้าวเพื่อการบริโภคแล้ว ยังนำเข้าเพื่อการส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านด้วย และขณะนี้ผู้บริโภคชาวแอฟริกาใต้ให้ความสนใจและบริโภคข้าวคุณภาพดี เช่น ข้าวหอมมะลิไทยเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะสั่งซื้อข้าวคุณภาพดีจากประเทศไทยเพิ่มขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ ผู้บริโภคชาวแอฟริกาใต้ให้ความสำคัญและคำนึงถึงคุณภาพข้าวมากกว่าราคา ดังนั้น หากผู้ส่งออกไทยพยายามรักษาคุณภาพข้าวให้ได้มาตรฐานก็จะทำให้ข้าวคุณภาพดีของไทย เช่น ข้าวหอมมะลิไทย ข้าวขาว 5% และปลายข้าว สามารถครองตลาดส่วนแบ่งในแอฟริกาใต้เพิ่มขึ้นได้
การจัดงานครั้งนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้ผู้นำเข้าข้าวแอฟริกาใต้เกิดความรู้ความเข้าใจในคุณภาพของข้าวหอมมะลิไทยที่ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศภายใต้เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทยว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในทุกภูมิภาคทั่วโลก และไม่มีประเทศใดในโลกที่สามารถผลิตข้าวหอมมะลิไทยทัดเทียมข้าวหอมมะลิจากประเทศไทย อีกทั้งเป็นการพบปะหารือระหว่างผู้แทนทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีบทบาทสำคัญในการนำเข้าข้าวของแอฟริกาใต้และของไทย อันจะนำไปสู่การกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ และมีผลต่อเนื่องไปถึงการขยายตลาดสินค้าประเภทอื่นๆ ของไทยในแอฟริกาใต้ เช่น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า อาหารสำเร็จรูป สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ และสินค้าเกษตรอื่น ๆ ในอนาคตด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการนี้ ประเทศไทยและประเทศแอฟริกาใต้ได้ร่วมลงนามในความตกลงทางการค้า (Trade Agreement) เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2544 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย และนาย Alec Erwin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมเป็นผู้ลงนามฝ่ายแอฟริกาใต้ สาระสำคัญของความตกลงทางการค้าครอบคลุมความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจการค้าเป็นหลัก อันจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมและขยายตลาดการค้าระหว่างทั้งสองประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และหากประเทศทั้งสองสามารถบรรลุความตกลงดังกล่าวได้แล้ว จะเป็นพื้นฐานนำไปสู่ความตกลงอื่นๆ ที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับทั้งสองฝ่ายในอนาคต
การค้าระหว่างไทยกับแอฟริกาใต้ ในช่วงปี 2539 — 2543 มีมูลค่าเฉลี่ย 494.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 0.4 ของมูลค่าการค้ารวมของไทย โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ามาตลอด ในช่วง ม.ค. - ก.พ. 2544 ไทยส่งออกมูลค่า 47.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยสินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ ยานพาหนะ (พร้อมอุปกรณ์และส่วนประกอบ) ข้าว เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้านำเข้าจากแอฟริกาใต้ที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
--กรมการค้าต่างประเทศ 2544--
-อน-
นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เปิดเผยภายหลังจากเดินทางกลับจากแอฟริกาใต้ว่า ได้เป็นประธานงานเลี้ยงเพื่อแนะนำและเผยแพร่ข้าวหอมมะลิไทย "A luncheon to introduce Thai Hom Mali Rice" ณ ห้องศาลาไทย โรงแรมคราวน์ พลาซ่า ณ เมืองโจฮันเนสเบอร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม 2544 โดยแขกรับเชิญในงานประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ของแอฟริกาใต้ สถานทูตประเทศต่าง ๆ ที่ประจำอยู่ในแอฟริกาใต้ ผู้นำเข้าข้าว ผู้ประกอบการภัตตาคารและร้านอาหารโดยเฉพาะอาหารไทยและอาหารของประเทศในแถบเอเซีย โรงเรียนสอนทำอาหาร รวมทั้งสื่อมวลชน จำนวน 100 คน ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่จัดงานเผยแพร่ข้าวหอมมะลิไทยในภูมิภาคแอฟริกาและเป็นครั้งแรกของปี 2544 หลังจากได้จัดที่เมืองฮ่องกงเมื่อปีที่ผ่านมาแล้ว และได้รับความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง
การจัดงานเลี้ยงดังกล่าวกระทรวงพาณิชย์มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิไทยและส่งเสริมให้มีการบริโภคข้าวหอมมะลิไทยประเทศแอฟริกาใต้ในวงกว้างขึ้น นอกจากนี้พบว่าในอดีตจนถึงปัจจุบันผู้บริโภคชาวแอฟริกาใต้ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการหุงข้าวหอมมะลิไทยที่ถูกวิธี ซึ่งจะทำให้ข้าวมีความนุ่มและหอมน่ารับประทาน ดังนั้น จึงจัดให้มีการสาธิตวิธีการหุงข้าวหอมมะลิไทยด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าอย่างถูกวิธี ซึ่งเป็นวิธีที่กระทำได้ง่ายในงานเลี้ยงดังกล่าว พร้อมทั้งแจกหม้อหุงข้าวไฟฟ้าพร้อมข้าวหอมมะลิไทยเป็นที่ระลึกแก่แขกผู้เข้าร่วมงานด้วย ในปี 2543 ไทยส่งออกข้าวไปแอฟริกาใต้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 428,910 ตัน และในช่วง 3 เดือนแรก (มกราคม — มีนาคม) ของปี 2544 ส่งออกเป็นจำนวน 72,877 ตัน ลดลงร้อยละ 17.2 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 ที่มีจำนวน 85,383 ตัน และชนิดข้าวที่ส่งออกไปแอฟริกาใต้มากที่สุด คือ ข้าวนึ่ง ปลายข้าว ข้าวขาว 15% ข้าวขาว 100% สำหรับข้าวหอมมะลิไทยมีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ตลาดแอฟริกาใต้เป็นตลาดข้าวที่มีศักยภาพสูงในภูมิภาคแอฟริกา เพราะนอกจากจะนำเข้าข้าวเพื่อการบริโภคแล้ว ยังนำเข้าเพื่อการส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านด้วย และขณะนี้ผู้บริโภคชาวแอฟริกาใต้ให้ความสนใจและบริโภคข้าวคุณภาพดี เช่น ข้าวหอมมะลิไทยเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะสั่งซื้อข้าวคุณภาพดีจากประเทศไทยเพิ่มขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ ผู้บริโภคชาวแอฟริกาใต้ให้ความสำคัญและคำนึงถึงคุณภาพข้าวมากกว่าราคา ดังนั้น หากผู้ส่งออกไทยพยายามรักษาคุณภาพข้าวให้ได้มาตรฐานก็จะทำให้ข้าวคุณภาพดีของไทย เช่น ข้าวหอมมะลิไทย ข้าวขาว 5% และปลายข้าว สามารถครองตลาดส่วนแบ่งในแอฟริกาใต้เพิ่มขึ้นได้
การจัดงานครั้งนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้ผู้นำเข้าข้าวแอฟริกาใต้เกิดความรู้ความเข้าใจในคุณภาพของข้าวหอมมะลิไทยที่ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศภายใต้เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทยว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในทุกภูมิภาคทั่วโลก และไม่มีประเทศใดในโลกที่สามารถผลิตข้าวหอมมะลิไทยทัดเทียมข้าวหอมมะลิจากประเทศไทย อีกทั้งเป็นการพบปะหารือระหว่างผู้แทนทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีบทบาทสำคัญในการนำเข้าข้าวของแอฟริกาใต้และของไทย อันจะนำไปสู่การกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ และมีผลต่อเนื่องไปถึงการขยายตลาดสินค้าประเภทอื่นๆ ของไทยในแอฟริกาใต้ เช่น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า อาหารสำเร็จรูป สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ และสินค้าเกษตรอื่น ๆ ในอนาคตด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการนี้ ประเทศไทยและประเทศแอฟริกาใต้ได้ร่วมลงนามในความตกลงทางการค้า (Trade Agreement) เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2544 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย และนาย Alec Erwin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมเป็นผู้ลงนามฝ่ายแอฟริกาใต้ สาระสำคัญของความตกลงทางการค้าครอบคลุมความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจการค้าเป็นหลัก อันจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมและขยายตลาดการค้าระหว่างทั้งสองประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และหากประเทศทั้งสองสามารถบรรลุความตกลงดังกล่าวได้แล้ว จะเป็นพื้นฐานนำไปสู่ความตกลงอื่นๆ ที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับทั้งสองฝ่ายในอนาคต
การค้าระหว่างไทยกับแอฟริกาใต้ ในช่วงปี 2539 — 2543 มีมูลค่าเฉลี่ย 494.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 0.4 ของมูลค่าการค้ารวมของไทย โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ามาตลอด ในช่วง ม.ค. - ก.พ. 2544 ไทยส่งออกมูลค่า 47.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยสินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ ยานพาหนะ (พร้อมอุปกรณ์และส่วนประกอบ) ข้าว เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้านำเข้าจากแอฟริกาใต้ที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
--กรมการค้าต่างประเทศ 2544--
-อน-