ในปี 2543 ราคาน้ำมันดิบสำคัญในตลาดโลก ยังคงเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงต่อเนื่องจากปีก่อน ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปีนี้อยู่ที่ 26.2 ดอลลาร์ สรอ. /บาร์เรล เพิ่มขึ้นจากระดับ 17.2 ดอลลาร์ สรอ. /บาร์เรล ในปี 2542 ร้อยละ 52 ส่งผลให้ราคา ผลิตภัณฑ์น้ำมันในตลาดสิงคโปร์ และราคาขายปลีกน้ำมันภายในประเทศปรับสูงขึ้นร้อยละ 60 และ 39 ตามลำดับ ทั้งนี้ราคาน้ำมันได้เพิ่มขึ้นมากเป็นประวัติการณ์ ในช่วงเดือนกันยายนและตุลาคม 2543
ผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้การบริโภคผลิตภัณฑ์น้ำมันของไทย ในปี 2543 ลดลงร้อยละ 5 โดยมีการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 และยังกดดันให้ผู้ผลิตลดค่าการตลาดลง โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 3 ของปี
การผลิตน้ำมันดิบของไทยในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 70.8 จากแหล่งผลิตใหม่ ทำให้ทดแทนการนำเข้าน้ำมันดิบได้เพิ่มขึ้น โดยไทยนำเข้าน้ำมันดิบลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.4 สำหรับการผลิตและการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.9 และ 37.2 ตามลำดับ ตามการใช้น้ำมันของประเทศ
เมื่อพิจารณาโครงสร้างราคาขายปลีกผลิตภัณฑ์น้ำมันพบว่า ในปี 2543 การเพิ่มขึ้นของราคาขายปลีกผลิตภัณฑ์น้ำมัน (ยกเว้น ก๊าซ LPG) เป็นผลจากต้นทุนน้ำมันดิบที่สูงขึ้น โดยมีสัดส่วน Contribution ประมาณร้อยละ 60 การเพิ่มขึ้นของค่าการกลั่น (Refining Margin) ร้อยละ 22 การอ่อนตัวของค่าเงินบาทร้อยละ 12 รายรับของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 ในขณะที่ค่าการตลาดลดลงร้อยละ 3
ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2544 การผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.7 ส่วนการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 โดยเป็นการผลิตเพื่อส่งออกเป็นสำคัญ ทั้งนี้การใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันของไทยลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.6 โดยมีการใช้ก๊าซธรรมชาติและถ่านหินทดแทนมากขึ้น อย่างไรก็ดี การผลิตก๊าซธรรมชาติได้ลดลงร้อยละ 4.5 เนื่องจากต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่าเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงกว่า 8 เท่าตัวตามสัญญา Take or Pay
สำหรับแนวโน้มในปี 2544 คาดว่าการผลิตและการนำเข้าน้ำมันดิบ จะเพิ่มขึ้นจากปี 2543 โดยเป็นการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปเพื่อการส่งออกมากขึ้น และเพื่อตอบสนองการขยายกำลังการผลิตของโรงกลั่นน้ำมันทีพีไอ แต่การผลิตก๊าซธรรมชาติและก๊าซธรรมชาติเหลว คาดว่าจะลดลง เนื่องจากนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่าเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าราชบุรี สำหรับการใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันมีแนวโน้มลดลง ตามการเพิ่มขึ้นของการใช้ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน ส่วนราคา น้ำมันดิบในตลาดโลกปี 2544 คาดว่าจะลดลงจากปีก่อน โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ อยู่ที่ระดับเฉลี่ย 23 — 25 ดอลลาร์ สรอ. /บาร์เรล ทั้งนี้ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2544 อยู่ที่ระดับ 24.3 ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้การบริโภคผลิตภัณฑ์น้ำมันของไทย ในปี 2543 ลดลงร้อยละ 5 โดยมีการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 และยังกดดันให้ผู้ผลิตลดค่าการตลาดลง โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 3 ของปี
การผลิตน้ำมันดิบของไทยในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 70.8 จากแหล่งผลิตใหม่ ทำให้ทดแทนการนำเข้าน้ำมันดิบได้เพิ่มขึ้น โดยไทยนำเข้าน้ำมันดิบลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.4 สำหรับการผลิตและการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.9 และ 37.2 ตามลำดับ ตามการใช้น้ำมันของประเทศ
เมื่อพิจารณาโครงสร้างราคาขายปลีกผลิตภัณฑ์น้ำมันพบว่า ในปี 2543 การเพิ่มขึ้นของราคาขายปลีกผลิตภัณฑ์น้ำมัน (ยกเว้น ก๊าซ LPG) เป็นผลจากต้นทุนน้ำมันดิบที่สูงขึ้น โดยมีสัดส่วน Contribution ประมาณร้อยละ 60 การเพิ่มขึ้นของค่าการกลั่น (Refining Margin) ร้อยละ 22 การอ่อนตัวของค่าเงินบาทร้อยละ 12 รายรับของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 ในขณะที่ค่าการตลาดลดลงร้อยละ 3
ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2544 การผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.7 ส่วนการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 โดยเป็นการผลิตเพื่อส่งออกเป็นสำคัญ ทั้งนี้การใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันของไทยลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.6 โดยมีการใช้ก๊าซธรรมชาติและถ่านหินทดแทนมากขึ้น อย่างไรก็ดี การผลิตก๊าซธรรมชาติได้ลดลงร้อยละ 4.5 เนื่องจากต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่าเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงกว่า 8 เท่าตัวตามสัญญา Take or Pay
สำหรับแนวโน้มในปี 2544 คาดว่าการผลิตและการนำเข้าน้ำมันดิบ จะเพิ่มขึ้นจากปี 2543 โดยเป็นการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปเพื่อการส่งออกมากขึ้น และเพื่อตอบสนองการขยายกำลังการผลิตของโรงกลั่นน้ำมันทีพีไอ แต่การผลิตก๊าซธรรมชาติและก๊าซธรรมชาติเหลว คาดว่าจะลดลง เนื่องจากนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่าเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าราชบุรี สำหรับการใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันมีแนวโน้มลดลง ตามการเพิ่มขึ้นของการใช้ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน ส่วนราคา น้ำมันดิบในตลาดโลกปี 2544 คาดว่าจะลดลงจากปีก่อน โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ อยู่ที่ระดับเฉลี่ย 23 — 25 ดอลลาร์ สรอ. /บาร์เรล ทั้งนี้ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2544 อยู่ที่ระดับ 24.3 ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-