กรุงเทพฯ--14 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
พิธีลงนามความตกลงเพื่อยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
วันนี้ (13 มิถุนายน 2544) นายนรชิต สิงหเสนี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลง ข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ในวันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน 2544 ณ ห้องเลิศวนาลัย โรงแรมฮิลตัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุงเทพ ฯ ปาร์ค นายเลิศ จะมีพิธีลงนามความตกลงเพื่อยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการ เลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ (Signing of the Agreement on the Avoidance of Double Taxation and the Prevention of Fiscal Evasion with Respect to Taxes on Income) ระหว่างรัฐบาลแห่ง ราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยมี ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลไทย และนาย Alwi Shihab รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
ทั้งนี้ ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่ 49 ที่ประเทศไทยได้ลงนามความตกลงเพื่อยกเว้น การเก็บภาษีซ้อนฯ
ประเทศไทยและสาธารณรัฐอินโดนีเซียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2493 สำหรับความสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่างไทยกับอินโดนีเซียนั้น ในปี 2543 (11 เดือนแรก) ปริมาณการค้าระหว่างไทยกับอินโดนีเซียมีมูลค่า 2,434.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า 114.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปอินโดนีเซีย ได้แก่ น้ำตาลทราย เคมีภัณฑ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันดิบ เป็นต้น ส่วนสินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจาก อินโดนีเซีย ได้แก่ เคมีภัณฑ์ น้ำมันหล่อลื่นและนำมันเบรก สินแร่ โลหะอื่น ๆ และเศษโลหะ ถ่านหิน เป็นต้น
สำหรับความสัมพันธ์ด้านการลงทุน ในปี 2542 (7 เดือนแรก) ปริมาณการลงทุน ของไทยในอินโดนีเซียมีมูลค่า 7.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่ การลงทุนในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์และ ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ การผลิตยิปซั่ม กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องปูพื้น โครงการปิโตรเคมี เหมืองแร่ ถ่านหิน การประมง การโทรคมนาคม และการพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาตินาทูน่า เป็นต้น ส่วนการ ลงทุนของอินโดนีเซียในไทยนั้น ในช่วงปี 2541-2543 อินโดนีเซียเป็นประเทศอาเซียนที่ลงทุนในไทย เป็นลำดับที่สาม รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย โดยมีโครงการซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 11 โครงการ มีมูลค่ารวม 3,929 ล้านบาท ในสาขาอุตสาหกรรมและผลผลิตการเกษตร อุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ กระดาษ พลาสติก อุตสาหกรรมเหมืองแร่ เซรามิกส์ โลหะขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมเบา และอุตสาหกรรมเครื่องจักร เป็นต้น
ผลประโยชน์ที่ประเทศไทยและอินโดนีเซียจะได้รับจากความตกลงฯ
1. ช่วยขจัดหรือบรรเทาภาระภาษีซ้ำซ้อนอันเป็นอุปสรรคของการลงทุนระหว่างประเทศให้หมดไป ในระดับหนึ่ง จึงทำให้ภาระภาษีซึ่งถือเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งของนักลงทุนลดต่ำลงด้วย
2. การมีความตกลง ฯ เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนจะทำให้เกิดหลักประกันในการเสียภาษีที่แน่นอนและชัดเจน ซึ่งเป็นการช่วยเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนและทำให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจใน การลงทุนระหว่างประเทศ ความตกลง ฯ จึงช่วยดึงดูดหรือจูงใจให้มีการลงทุนระหว่างประเทศ มากยิ่งขึ้น
3. ความตกลง ฯ จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนและเทคโนโลยีระหว่างประเทศมาก ยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากความตกลงฯ ได้มีการจำกัดเพดานอัตราภาษีสำหรับเงินปันผล ดอกเบี้ย และค่าสิทธิไว้ด้วย
4. การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่การบินระหว่างประเทศ และลดอัตราภาษีลงครึ่งหนึ่งให้แก่การเดินเรือระหว่างประเทศ ตามข้อกำหนดของความตกลง ฯ นี้ นอกจากจะเป็นการช่วยส่งเสริมการ ประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศ อันเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของการค้าและการลงทุน ระหว่างประเทศแล้ว ยังเป็นการช่วยส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวระหว่างประเทศให้ขยายตัว เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากต้นทุนของการขนส่งระหว่างประเทศจะลดต่ำลงใน ระดับหนึ่ง อันเป็นผลมาจากการประหยัดรายจ่ายด้านภาษีของกิจการขนส่งระหว่างประเทศ และในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการขนส่งของไทยได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีในประเทศคู่สัญญา ก็จะมีผลให้ผู้ประกอบกิจการดังกล่าวมีเงินได้เพื่อเสียภาษีในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
5. การที่ความตกลง ฯ กำหนดให้หน่วยจัดเก็บภาษีของประเทศคู่สัญญาสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ทางภาษีระหว่างกัน ทำให้การหลีกเลี่ยงภาษีอากรระหว่างประเทศทั้งสองเป็นไปได้ยาก จึงช่วยให้ประเทศคู่สัญญาสามารถเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยยิ่งขึ้น
6. การมีความตกลง ฯ นอกจากจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ คู่สัญญาแล้ว ยังเป็นการช่วยกระชับความสัมพันธ์ทางการทูตอีกทางหนึ่งด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
พิธีลงนามความตกลงเพื่อยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
วันนี้ (13 มิถุนายน 2544) นายนรชิต สิงหเสนี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลง ข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ในวันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน 2544 ณ ห้องเลิศวนาลัย โรงแรมฮิลตัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุงเทพ ฯ ปาร์ค นายเลิศ จะมีพิธีลงนามความตกลงเพื่อยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการ เลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ (Signing of the Agreement on the Avoidance of Double Taxation and the Prevention of Fiscal Evasion with Respect to Taxes on Income) ระหว่างรัฐบาลแห่ง ราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยมี ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลไทย และนาย Alwi Shihab รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
ทั้งนี้ ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่ 49 ที่ประเทศไทยได้ลงนามความตกลงเพื่อยกเว้น การเก็บภาษีซ้อนฯ
ประเทศไทยและสาธารณรัฐอินโดนีเซียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2493 สำหรับความสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่างไทยกับอินโดนีเซียนั้น ในปี 2543 (11 เดือนแรก) ปริมาณการค้าระหว่างไทยกับอินโดนีเซียมีมูลค่า 2,434.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า 114.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปอินโดนีเซีย ได้แก่ น้ำตาลทราย เคมีภัณฑ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันดิบ เป็นต้น ส่วนสินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจาก อินโดนีเซีย ได้แก่ เคมีภัณฑ์ น้ำมันหล่อลื่นและนำมันเบรก สินแร่ โลหะอื่น ๆ และเศษโลหะ ถ่านหิน เป็นต้น
สำหรับความสัมพันธ์ด้านการลงทุน ในปี 2542 (7 เดือนแรก) ปริมาณการลงทุน ของไทยในอินโดนีเซียมีมูลค่า 7.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่ การลงทุนในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์และ ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ การผลิตยิปซั่ม กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องปูพื้น โครงการปิโตรเคมี เหมืองแร่ ถ่านหิน การประมง การโทรคมนาคม และการพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาตินาทูน่า เป็นต้น ส่วนการ ลงทุนของอินโดนีเซียในไทยนั้น ในช่วงปี 2541-2543 อินโดนีเซียเป็นประเทศอาเซียนที่ลงทุนในไทย เป็นลำดับที่สาม รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย โดยมีโครงการซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 11 โครงการ มีมูลค่ารวม 3,929 ล้านบาท ในสาขาอุตสาหกรรมและผลผลิตการเกษตร อุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ กระดาษ พลาสติก อุตสาหกรรมเหมืองแร่ เซรามิกส์ โลหะขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมเบา และอุตสาหกรรมเครื่องจักร เป็นต้น
ผลประโยชน์ที่ประเทศไทยและอินโดนีเซียจะได้รับจากความตกลงฯ
1. ช่วยขจัดหรือบรรเทาภาระภาษีซ้ำซ้อนอันเป็นอุปสรรคของการลงทุนระหว่างประเทศให้หมดไป ในระดับหนึ่ง จึงทำให้ภาระภาษีซึ่งถือเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งของนักลงทุนลดต่ำลงด้วย
2. การมีความตกลง ฯ เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนจะทำให้เกิดหลักประกันในการเสียภาษีที่แน่นอนและชัดเจน ซึ่งเป็นการช่วยเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนและทำให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจใน การลงทุนระหว่างประเทศ ความตกลง ฯ จึงช่วยดึงดูดหรือจูงใจให้มีการลงทุนระหว่างประเทศ มากยิ่งขึ้น
3. ความตกลง ฯ จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนและเทคโนโลยีระหว่างประเทศมาก ยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากความตกลงฯ ได้มีการจำกัดเพดานอัตราภาษีสำหรับเงินปันผล ดอกเบี้ย และค่าสิทธิไว้ด้วย
4. การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่การบินระหว่างประเทศ และลดอัตราภาษีลงครึ่งหนึ่งให้แก่การเดินเรือระหว่างประเทศ ตามข้อกำหนดของความตกลง ฯ นี้ นอกจากจะเป็นการช่วยส่งเสริมการ ประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศ อันเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของการค้าและการลงทุน ระหว่างประเทศแล้ว ยังเป็นการช่วยส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวระหว่างประเทศให้ขยายตัว เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากต้นทุนของการขนส่งระหว่างประเทศจะลดต่ำลงใน ระดับหนึ่ง อันเป็นผลมาจากการประหยัดรายจ่ายด้านภาษีของกิจการขนส่งระหว่างประเทศ และในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการขนส่งของไทยได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีในประเทศคู่สัญญา ก็จะมีผลให้ผู้ประกอบกิจการดังกล่าวมีเงินได้เพื่อเสียภาษีในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
5. การที่ความตกลง ฯ กำหนดให้หน่วยจัดเก็บภาษีของประเทศคู่สัญญาสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ทางภาษีระหว่างกัน ทำให้การหลีกเลี่ยงภาษีอากรระหว่างประเทศทั้งสองเป็นไปได้ยาก จึงช่วยให้ประเทศคู่สัญญาสามารถเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยยิ่งขึ้น
6. การมีความตกลง ฯ นอกจากจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ คู่สัญญาแล้ว ยังเป็นการช่วยกระชับความสัมพันธ์ทางการทูตอีกทางหนึ่งด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-