แท็ก
แลกเปลี่ยนเงินตรา
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการลงทุน
ตามกฎหมายของสวีเดน บริษัทสาขาของบริษัทต่างประเทศที่เปิดทำการในสวีเดนจะถือเสมือนกับเป็นบริษัทของสวีเดนเอง และไม่มีการกำหนดกฎระเบียบเป็นการเฉพาะเพื่อแยกระหว่างบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นเป็นชาวต่างชาติกับบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นเป็นชาวสวีเดน นอกจากนี้ สวีเดนไม่มีการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และไม่มีการกำหนดข้อจำกัดในการถ่ายเทกำไรจากกิจการหรือจากการลงทุน รวมถึงการจ่ายค่าธรรมเนียมในการใช้สัมปทานหรือสิทธิบัตร (Royalty and License) และอื่น ๆ ให้บริษัทแม่ในต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังอนุญาตให้บริษัทที่มีชาวต่างชาติเป็นเจ้าของสามารถกู้ยืมเงินตราต่างประเทศจากบริษัทแม่และสถาบันการเงินในต่างประเทศ
พิธีการศุลกากร
นับตั้งแต่สวีเดนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปอย่างเต็มตัว สวีเดนได้มีการกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับและภาษีตามที่สหภาพยุโรปกำหนดต่อการนำเข้าสินค้าจากประเทศที่มิใช่สมาชิก ดังนี้.-
ระบบภาษีศุลกากร
ระบบภาษีศุลกากรของสหภาพยุโรปเป็นระบบร่วม (Combined Nomenclature : CN) โดยเพิ่มรหัสอีก 2 หลักใน HS ซึ่งนำมาใช้เพื่อการส่งออก และเพื่อการเก็บสถิติในด้านการนำเข้า สหภาพยุโรปได้ใช้ระบบ Intergrated Customs Tariff : TARIC เพื่อควบคุมให้สินค้านำเข้าจากประเทศที่มิใช่สมาชิกเป็นไปตามกฎระเบียบที่กำหนด TARIC มีรายละเอียดปลีกย่อยมากกว่า 20,000 รายการ เนื่องจากความแตกต่างกันในเรื่องภาระหน้าที่ โควตา สิทธิพิเศษ และกฎระเบียบต่าง ๆ ในการนำเข้าและส่งออก นอกจากนี้ TARIC ยังแสดงรายชื่อประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษสำหรับสินค้าชนิดต่าง ๆ ไว้อีกด้วยสำหรับสินค้าที่ขายเพื่อส่งออกมาที่สวีเดนโดยคำนวณรวมกับต้นทุนที่ต้องเกิดขึ้นแน่นอน เช่น ค่าระวางและค่าประกันภัยสินค้า ทั้งนี้จะใช้ราคา CIF เป็นมูลค่าของสินค้าในการคำนวณอากร โดยปกติสินค้าเกษตรจะกำหนดอากรขาเข้าตามเกณฑ์น้ำหนัก ส่วนผลไม้ ผัก และพืชสวน (Horticultural Products) ต่าง ๆ จะมีการกำหนด Seasonal Duties ซึ่งมีอัตราเทียบเคียงที่สูงเมื่อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถหาซื้อขายได้จากท้องถิ่นในประเทศ อย่างไรก็ตาม อัตราอากรสำหรับสินค้าเกษตรหรือพืชสวนมักมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้น ผู้ส่งออกควรตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่เป็นระยะ นอกจากนี้ การนำเข้าสินค้าเกษตรส่วนใหญ่กำหนดให้ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าในบางกรณีการนำเข้า
สินค้าบางชนิดได้รับการยกเว้นภาษีอากรและค่าธรรมเนียมการนำเข้าต่าง ๆ เช่น สินค้าตัวอย่าง สินค้าที่ใช้แสดงในงานแสดงสินค้า (Exhibitions หรือ Trade Fairs) สินค้าที่ใช้ในวิชาชีพ (Professional Equipment) เช่น เครื่องมือต่าง ๆ ของกำนัลหรือวัตถุประกอบการเรียนการสอนบางชนิด เป็นต้น
ส่วนกฎระเบียบข้อบังคับในการส่งออกสินค้ามีอยู่น้อยมาก ยกเว้นในส่วนที่เกี่ยวข้องการควบคุมการส่งออกอาวุธ และกฎหมายที่ควบคุมการส่งออกและการส่งออกไปขายใหม่ (Re-export) สำหรับสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงบางชนิด
อัตราภาษีอากร
สินค้านำเข้าจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยทั่วไปภาษีมูลค่าเพิ่มจะอยู่ที่ร้อยละ 25 ของมูลค่าที่ต้องเสียภาษี ยก-เว้นสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารหรือสิ่งปรุงแต่งอาหารจะเสียภาษีในอัตราร้อยละ 12 ส่วนหนังสือพิมพ์และวัตถุประกอบเสียภาษีร้อยละ 6 มูลค่าที่ต้องเสียภาษีมักมีมูลค่าเท่ากับมูลค่าสินค้าในการคำนวณอากรรวมกับค่าภาษีอากรและค่าธรรมเนียมในการนำเข้าอื่น ๆค่าธรรมเนียมและภาษีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า
สินค้าบางชนิดซึ่งขายในราคาต่ำกว่าราคาซื้อปกติจะต้องถูกเรียกเก็บภาษีอัตราตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping Duty Rate) ซึ่งเป็นเงินที่เรียกเก็บเพิ่มเติมจากภาษีอากรปกติ นอกจากนี้ ยังมีการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิต (Excise Duties) สำหรับสินค้าเฉพาะชนิดที่นำเข้าจากประเทศที่มิใช่สมาชิก เช่น แอลกอฮอล์ ยาสูบ และพลังงาน ส่วนค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ในการนำเข้า เช่น ค่าธรรมเนียมในการสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling Fees) ค่าธรรมเนียมในการคุ้มครองพืชพรรณ (Plant Protection Fees) และค่าธรรมเนียมในการควบคุมคุณภาพจะต้องถูกเรียกเก็บเมื่อมีการนำเข้าพืชพรรณ (Plants) หรือ Fresh Products ที่นำเข้าเพื่อบริโภคหรือใช้ภายในประเทศ
การจัดการเอกสาร
ก่อนที่จะส่งสินค้าเข้าสวีเดน ผู้ส่งออกควรตรวจสอบกับผู้นำเข้าหรือตัวแทนต่าง ๆ ว่าจำเป็นต้องมีเอกสารพิเศษในการดำเนินการตามพิธีการศุลกากรหรือไม่ โดยปกติเอกสารที่ผู้ส่งออกต้องใช้ในการดำเนินการพิธีการศุลกากรประกอบด้วย ใบกำกับสินค้า ใบขนสินค้าซึ่งบริษัทเรือออกให้ (Bill of Lading) หรือเอกสารการขนส่งอื่น ๆ (Other Shipping Documents)
การนำเข้าอาจจำเป็นต้องมีเอกสารอื่น ๆ หรืออาจมีข้อกำหนดอื่น ๆ ที่ต้องปฏิบัติตามขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า CITES
การนำเข้าสัตว์ป่าหรือรุกขชาติที่ใกล้จะสูญพันธุ์ซึ่งถูกควบคุมโดย The Washington Convention (CITES) จำเป็นต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจากประเทศผู้สี่งออก และได้รับอนุญาตในการนำเข้าจาก The Swedish Board of Agriculture ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์รองเท้าและเข็มขัดซึ่งทำจากจระเข้
บรรจุภัณฑ์
ประเทศในสหภาพยุโรปส่วนใหญ่ รวมถึงสวีเดนถือว่าหีบห่อสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของสินค้า การมีบรรจุภัณฑ์ที่ดีทำให้สะดวกต่อการขนส่งและสามารถหยิบจับสินค้าได้อย่างปลอดภัย รวมถึงการปกป้องสินค้าภายในบรรจุภัณฑ์มิให้เกิดการเสียหาย นอกจากนี้ ควรมีข้อมูลที่จำเป็นอีกด้วย ในสวีเดนมีสถาบัน Packforsk ให้คำแนะนำแนวทางและให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทต่าง ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ สถาบันดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐและบริษัทสมาชิกต่าง ๆ จำนวนมาก
กฎระเบียบและข้อตกลงทางการค้า
Conventional Rate of Duty ถือเป็นอัตราภาษีศุลกากรปกติที่เรียกเก็บจากประเทศที่มิใช่สมาชิกของสหภาพยุโรป แต่เป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) หรือเป็นประเทศที่มีข้อตกลงในการประติบัติเยี่ยงคนชาติด้วยความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-favoured-nation Agreement) ประเทศที่ต้องเสียภาษีในอัตราปกติส่วนใหญ่คือประเทศที่ร่ำรวยซึ่งมิได้เป็นสมาชิกของสหภาพ เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
สิทธิประโยชน์ทางการค้า (The Generalized System of Preferences : GSP)
ระบบ GSP เป็นการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่งในการส่งออกสินค้าให้แก่ประเทศอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมในประเทศกำลังพัฒนาและเพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออกของอุตสาหกรรมการผลิตดังกล่าว ในปัจจุบันระบบ GSP ได้ให้สิทธิประโยชน์แก่ประเทศต่าง ๆ มากกว่า 170 ประเทศ แต่มีประเทศกำลังพัฒนาเพียงไม่มากนักที่ได้ใช้ประโยชน์ของ GSP อย่างแท้จริง ทั้งนี้เพราะประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่มีข้อตกลงพิเศษโดยตรงกับสหภาพยุโรป
ข้อตกลงพิเศษ (Preferential Agreements)
สวีเสดนให้การสนับสนุนการค้าเสรีและการลดข้อกำหนดทางการค้าและให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ตามข้อตกลงของสหภาพ ทั้งนี้ไม่เพียงพอเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการค้าระหว่างประเทศเท่านั้น แต่เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่มากขึ้น ข้อตกลงพิเศษของสหภาพมีทั้งที่เป็น Bilateral, Multilateral และ Unilateral โดยข้อตกลง ATC (Agreements of Textiles and Clothing) เช่น การได้รับยกเว้นภาษีขาเข้าหรือเสียภาษีขาเข้าในอัตราที่ต่ำกว่าหากนำสินค้าเข้าใน สหภาพ
ข้อตกลง ATC (Agreements on Textiles and Clothing)
การซื้อขายสินค้าประเภทสินค้าสิ่งทอจะตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขตามข้อตกลงของ GATT หรือที่เรียกว่า Multifibre Arrangement และหลังจากการเจรจาของ GATT รอบอุรุกวัย ประเทศสมาชิกได้เข้าร่วมลงลายมือชื่อในข้อตกลง ATC ซึ่งกำหนดให้ถอดถอนระบบโควต้าออกจากการค้าสิ่งทอภายในระยะเวลา 10 ปี ทั้งนี้ข้อตกลงดังกล่าวจะมีผลบังคับเฉพาะกับประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลก
สินค้าสิ่งทอนี้สามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 8 ประเภท ขึ้นอยู่กับความอ่อนไหวของสินค้าต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอของสหภาพ โดยกลุ่ม IA หมายถึงกลุ่มที่มีความอ่อนไหวมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่ม IB จนกระทั่งถึงกลุ่ม V ซึ่งมีความอ่อนไหวน้อยที่สุด โดยรวมแล้วครอบคลุมสินค้ากว่า 163 ประเภทผลิตภัณฑ์ที่ประดิษฐ์หรือทำขึ้นด้วยมือ
สหภาพยุโรปได้มีการทำข้อตกลงพิเศษร่วมกับอีกหลายประเทศเพื่อให้สิทธิพิเศษผลิตภัณฑ์ที่ประดิษฐ์หรือทำขึ้นด้วยมือ ซึ่งโดยปกติจะหมายถึงการให้โควต้านำเข้าที่มิต้องเสียภาษี โดยที่
HANDI หมายถึง กลุ่มประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษสำหรับสินค้าประเภทที่ทำขึ้นด้วยมือ
LOOMS หมายถึง กลุ่มประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษสำหรับสินค้าสิ่งทอที่ทอด้วยมือ
โควตา
สหภาพยุโรปได้นำระบบโควต้ามาใช้กับสินค้าจำนวนมากนอกเหนือไปจากผลิตภัณฑ์ที่ประดิษฐ์หรือทำขึ้นด้วยมือ สินค้าภายใต้ระบบโควต้าส่วนใหญ่ ได้แก่ เสื้อผ้าอาภรณ์ สิ่งทอ สินค้าเกษตร และสินค้าประเภทสัตว์น้ำ
โดยปกติระบบโควต้าจะจัดสรรให้แก่ผู้ส่งออกที่ต้องการส่งสินค้าเข้าสู่สวีเดนโดยใช้ข้อมูลพื้นฐานจากผลดำเนินงานในอดีตของผู้ส่งออก นั่นคือ โควต้าส่งออกจะถูกจัดสรรตามสัดส่วนจากประวัติหรือปริมาณการส่งออกที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ปริมาณโควต้าจำนวนหนึ่งจะต้องถูกจัดสรรให้แก่ผู้ส่งออกรายใหม่โดยใช้ First-come First-served Basis จนกว่าจะครบโควต้า
โควต้าสำหรับสินค้าเกษตรและสินค้าประเภทสัตว์น้ำจะได้สิทธิในการเสียภาษีในอัตราพิเศษหรืออาจได้รับยกเว้นภาษีสำหรับปริมาณการนำเข้าที่กำหนดไว้ตามระบบโควต้า โดยที่ระบบโควต้าดังกล่าวนี้อาจใช้กับทุกประเทศหรือใช้เป็นการเฉพาะเจาะจงก็เป็นได้ ทั้งนี้ประเทศสมาชิกของสหภาพทั้งหมดมักมีระบบโควต้าที่คล้ายกัน
A.T.A. Carnet
สวีเดนให้การสนับสนุนการใช้ระบบ A.T.A. Carnet ซึ่งเป็นระบบเอกสารพิธีการศุลกากรระหว่างประเทศซึ่งออกแบบขึ้นมาเพื่อให้การผ่านพิธีการศุลกากรสำหรับการนำเข้าสินค้าบางชนิดเป็นการชั่วคราวไปสู่ประเทศที่มีข้อตกลงมีความสะดวกและง่ายขึ้น เช่น สินค้าตัวอย่าง สื่อโฆษณา ฟิล์ม ผลิตภัณฑ์ยา อุปกรณ์ที่ใช้เฉพาะทางวิชาชีพ ในปัจจุบันมีประเทศผู้เข้าร่วมประมาณ 55 ประเทศ รวมทั้งไทยด้วย
มาตรฐานสินค้าและกฎระเบียบต่าง ๆ
กฎระเบียบกลาง (Directives) สำหรับสินค้าหลาย ๆ ชนิดมีข้อกำหนดให้สินค้าที่จำหน่ายในสหภาพมีการทำเครื่องหมาย CE Marking ซึ่งถือเป็นการแสดงตนของผู้ผลิตและผู้นำเข้าต่อเจ้าหน้าที่ว่าสินค้านั้น ๆ เป็นไปตามข้อกำหนดที่มีขึ้นทุกประการ และบริษัทต่าง ๆ ต้องมีเอกสารหลักฐานที่สมบูรณ์ ได้แก่ Declaration of Conformity (Manufacturer's Declaration) และ Technical File ซึ่งควรมี Test Report ประกอบด้วย ในอนาคตคาดว่าก่อนที่จะทำการวางตลาดสินค้าในสหภาพ สินค้าทุกชนิดต้องมี CE Marking แต่ทั้งนี้กฎระเบียบดังกล่าวอาจมีกำหนดเริ่มบังคับใช้สำหรับสินค้าแต่ละชนิดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับกฎระเบียบกลางที่เกี่ยวข้อง ผู้ขายสินค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลให้ สินค้ามีการทำเครื่องหมาย การกำหนดให้มีหนังสือรับรองความปลอดภัยดังกล่าว (The Certification of Safety : CE) ให้บังคับใช้กับสินค้าเครื่องจักร วัตถุดิบเพื่อการก่อสร้าง อุปกรณ์เพื่อการสื่อสาร อุปกรณ์ทางการแพทย์และเพื่อการกีฬา วัตถุระเบิด และสินค้าของเล่น อย่างไรก็ตาม การมี CE Label นั้นถือเป็นการบรรลุข้อกำหนดของสหภาพเฉพาะ
อย่างเท่านั้น แต่ไม่ใช่การรับรองคุณภาพหรือมาตรฐาน และ CE Label นั้นจะออกให้แก่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือตัวแทนในสหภาพเท่านั้น นอกจากนี้ สวีเดนยังมีข้อกำหนดในเรื่องของการติดฉลาก, สิทธิบัตร, ลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้า
(ที่มา : กระทรวงพาณิชย์)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3/2544 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544--
-อน-
ตามกฎหมายของสวีเดน บริษัทสาขาของบริษัทต่างประเทศที่เปิดทำการในสวีเดนจะถือเสมือนกับเป็นบริษัทของสวีเดนเอง และไม่มีการกำหนดกฎระเบียบเป็นการเฉพาะเพื่อแยกระหว่างบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นเป็นชาวต่างชาติกับบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นเป็นชาวสวีเดน นอกจากนี้ สวีเดนไม่มีการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และไม่มีการกำหนดข้อจำกัดในการถ่ายเทกำไรจากกิจการหรือจากการลงทุน รวมถึงการจ่ายค่าธรรมเนียมในการใช้สัมปทานหรือสิทธิบัตร (Royalty and License) และอื่น ๆ ให้บริษัทแม่ในต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังอนุญาตให้บริษัทที่มีชาวต่างชาติเป็นเจ้าของสามารถกู้ยืมเงินตราต่างประเทศจากบริษัทแม่และสถาบันการเงินในต่างประเทศ
พิธีการศุลกากร
นับตั้งแต่สวีเดนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปอย่างเต็มตัว สวีเดนได้มีการกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับและภาษีตามที่สหภาพยุโรปกำหนดต่อการนำเข้าสินค้าจากประเทศที่มิใช่สมาชิก ดังนี้.-
ระบบภาษีศุลกากร
ระบบภาษีศุลกากรของสหภาพยุโรปเป็นระบบร่วม (Combined Nomenclature : CN) โดยเพิ่มรหัสอีก 2 หลักใน HS ซึ่งนำมาใช้เพื่อการส่งออก และเพื่อการเก็บสถิติในด้านการนำเข้า สหภาพยุโรปได้ใช้ระบบ Intergrated Customs Tariff : TARIC เพื่อควบคุมให้สินค้านำเข้าจากประเทศที่มิใช่สมาชิกเป็นไปตามกฎระเบียบที่กำหนด TARIC มีรายละเอียดปลีกย่อยมากกว่า 20,000 รายการ เนื่องจากความแตกต่างกันในเรื่องภาระหน้าที่ โควตา สิทธิพิเศษ และกฎระเบียบต่าง ๆ ในการนำเข้าและส่งออก นอกจากนี้ TARIC ยังแสดงรายชื่อประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษสำหรับสินค้าชนิดต่าง ๆ ไว้อีกด้วยสำหรับสินค้าที่ขายเพื่อส่งออกมาที่สวีเดนโดยคำนวณรวมกับต้นทุนที่ต้องเกิดขึ้นแน่นอน เช่น ค่าระวางและค่าประกันภัยสินค้า ทั้งนี้จะใช้ราคา CIF เป็นมูลค่าของสินค้าในการคำนวณอากร โดยปกติสินค้าเกษตรจะกำหนดอากรขาเข้าตามเกณฑ์น้ำหนัก ส่วนผลไม้ ผัก และพืชสวน (Horticultural Products) ต่าง ๆ จะมีการกำหนด Seasonal Duties ซึ่งมีอัตราเทียบเคียงที่สูงเมื่อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถหาซื้อขายได้จากท้องถิ่นในประเทศ อย่างไรก็ตาม อัตราอากรสำหรับสินค้าเกษตรหรือพืชสวนมักมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้น ผู้ส่งออกควรตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่เป็นระยะ นอกจากนี้ การนำเข้าสินค้าเกษตรส่วนใหญ่กำหนดให้ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าในบางกรณีการนำเข้า
สินค้าบางชนิดได้รับการยกเว้นภาษีอากรและค่าธรรมเนียมการนำเข้าต่าง ๆ เช่น สินค้าตัวอย่าง สินค้าที่ใช้แสดงในงานแสดงสินค้า (Exhibitions หรือ Trade Fairs) สินค้าที่ใช้ในวิชาชีพ (Professional Equipment) เช่น เครื่องมือต่าง ๆ ของกำนัลหรือวัตถุประกอบการเรียนการสอนบางชนิด เป็นต้น
ส่วนกฎระเบียบข้อบังคับในการส่งออกสินค้ามีอยู่น้อยมาก ยกเว้นในส่วนที่เกี่ยวข้องการควบคุมการส่งออกอาวุธ และกฎหมายที่ควบคุมการส่งออกและการส่งออกไปขายใหม่ (Re-export) สำหรับสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงบางชนิด
อัตราภาษีอากร
สินค้านำเข้าจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยทั่วไปภาษีมูลค่าเพิ่มจะอยู่ที่ร้อยละ 25 ของมูลค่าที่ต้องเสียภาษี ยก-เว้นสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารหรือสิ่งปรุงแต่งอาหารจะเสียภาษีในอัตราร้อยละ 12 ส่วนหนังสือพิมพ์และวัตถุประกอบเสียภาษีร้อยละ 6 มูลค่าที่ต้องเสียภาษีมักมีมูลค่าเท่ากับมูลค่าสินค้าในการคำนวณอากรรวมกับค่าภาษีอากรและค่าธรรมเนียมในการนำเข้าอื่น ๆค่าธรรมเนียมและภาษีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า
สินค้าบางชนิดซึ่งขายในราคาต่ำกว่าราคาซื้อปกติจะต้องถูกเรียกเก็บภาษีอัตราตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping Duty Rate) ซึ่งเป็นเงินที่เรียกเก็บเพิ่มเติมจากภาษีอากรปกติ นอกจากนี้ ยังมีการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิต (Excise Duties) สำหรับสินค้าเฉพาะชนิดที่นำเข้าจากประเทศที่มิใช่สมาชิก เช่น แอลกอฮอล์ ยาสูบ และพลังงาน ส่วนค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ในการนำเข้า เช่น ค่าธรรมเนียมในการสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling Fees) ค่าธรรมเนียมในการคุ้มครองพืชพรรณ (Plant Protection Fees) และค่าธรรมเนียมในการควบคุมคุณภาพจะต้องถูกเรียกเก็บเมื่อมีการนำเข้าพืชพรรณ (Plants) หรือ Fresh Products ที่นำเข้าเพื่อบริโภคหรือใช้ภายในประเทศ
การจัดการเอกสาร
ก่อนที่จะส่งสินค้าเข้าสวีเดน ผู้ส่งออกควรตรวจสอบกับผู้นำเข้าหรือตัวแทนต่าง ๆ ว่าจำเป็นต้องมีเอกสารพิเศษในการดำเนินการตามพิธีการศุลกากรหรือไม่ โดยปกติเอกสารที่ผู้ส่งออกต้องใช้ในการดำเนินการพิธีการศุลกากรประกอบด้วย ใบกำกับสินค้า ใบขนสินค้าซึ่งบริษัทเรือออกให้ (Bill of Lading) หรือเอกสารการขนส่งอื่น ๆ (Other Shipping Documents)
การนำเข้าอาจจำเป็นต้องมีเอกสารอื่น ๆ หรืออาจมีข้อกำหนดอื่น ๆ ที่ต้องปฏิบัติตามขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า CITES
การนำเข้าสัตว์ป่าหรือรุกขชาติที่ใกล้จะสูญพันธุ์ซึ่งถูกควบคุมโดย The Washington Convention (CITES) จำเป็นต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจากประเทศผู้สี่งออก และได้รับอนุญาตในการนำเข้าจาก The Swedish Board of Agriculture ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์รองเท้าและเข็มขัดซึ่งทำจากจระเข้
บรรจุภัณฑ์
ประเทศในสหภาพยุโรปส่วนใหญ่ รวมถึงสวีเดนถือว่าหีบห่อสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของสินค้า การมีบรรจุภัณฑ์ที่ดีทำให้สะดวกต่อการขนส่งและสามารถหยิบจับสินค้าได้อย่างปลอดภัย รวมถึงการปกป้องสินค้าภายในบรรจุภัณฑ์มิให้เกิดการเสียหาย นอกจากนี้ ควรมีข้อมูลที่จำเป็นอีกด้วย ในสวีเดนมีสถาบัน Packforsk ให้คำแนะนำแนวทางและให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทต่าง ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ สถาบันดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐและบริษัทสมาชิกต่าง ๆ จำนวนมาก
กฎระเบียบและข้อตกลงทางการค้า
Conventional Rate of Duty ถือเป็นอัตราภาษีศุลกากรปกติที่เรียกเก็บจากประเทศที่มิใช่สมาชิกของสหภาพยุโรป แต่เป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) หรือเป็นประเทศที่มีข้อตกลงในการประติบัติเยี่ยงคนชาติด้วยความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-favoured-nation Agreement) ประเทศที่ต้องเสียภาษีในอัตราปกติส่วนใหญ่คือประเทศที่ร่ำรวยซึ่งมิได้เป็นสมาชิกของสหภาพ เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
สิทธิประโยชน์ทางการค้า (The Generalized System of Preferences : GSP)
ระบบ GSP เป็นการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่งในการส่งออกสินค้าให้แก่ประเทศอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมในประเทศกำลังพัฒนาและเพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออกของอุตสาหกรรมการผลิตดังกล่าว ในปัจจุบันระบบ GSP ได้ให้สิทธิประโยชน์แก่ประเทศต่าง ๆ มากกว่า 170 ประเทศ แต่มีประเทศกำลังพัฒนาเพียงไม่มากนักที่ได้ใช้ประโยชน์ของ GSP อย่างแท้จริง ทั้งนี้เพราะประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่มีข้อตกลงพิเศษโดยตรงกับสหภาพยุโรป
ข้อตกลงพิเศษ (Preferential Agreements)
สวีเสดนให้การสนับสนุนการค้าเสรีและการลดข้อกำหนดทางการค้าและให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ตามข้อตกลงของสหภาพ ทั้งนี้ไม่เพียงพอเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการค้าระหว่างประเทศเท่านั้น แต่เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่มากขึ้น ข้อตกลงพิเศษของสหภาพมีทั้งที่เป็น Bilateral, Multilateral และ Unilateral โดยข้อตกลง ATC (Agreements of Textiles and Clothing) เช่น การได้รับยกเว้นภาษีขาเข้าหรือเสียภาษีขาเข้าในอัตราที่ต่ำกว่าหากนำสินค้าเข้าใน สหภาพ
ข้อตกลง ATC (Agreements on Textiles and Clothing)
การซื้อขายสินค้าประเภทสินค้าสิ่งทอจะตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขตามข้อตกลงของ GATT หรือที่เรียกว่า Multifibre Arrangement และหลังจากการเจรจาของ GATT รอบอุรุกวัย ประเทศสมาชิกได้เข้าร่วมลงลายมือชื่อในข้อตกลง ATC ซึ่งกำหนดให้ถอดถอนระบบโควต้าออกจากการค้าสิ่งทอภายในระยะเวลา 10 ปี ทั้งนี้ข้อตกลงดังกล่าวจะมีผลบังคับเฉพาะกับประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลก
สินค้าสิ่งทอนี้สามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 8 ประเภท ขึ้นอยู่กับความอ่อนไหวของสินค้าต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอของสหภาพ โดยกลุ่ม IA หมายถึงกลุ่มที่มีความอ่อนไหวมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่ม IB จนกระทั่งถึงกลุ่ม V ซึ่งมีความอ่อนไหวน้อยที่สุด โดยรวมแล้วครอบคลุมสินค้ากว่า 163 ประเภทผลิตภัณฑ์ที่ประดิษฐ์หรือทำขึ้นด้วยมือ
สหภาพยุโรปได้มีการทำข้อตกลงพิเศษร่วมกับอีกหลายประเทศเพื่อให้สิทธิพิเศษผลิตภัณฑ์ที่ประดิษฐ์หรือทำขึ้นด้วยมือ ซึ่งโดยปกติจะหมายถึงการให้โควต้านำเข้าที่มิต้องเสียภาษี โดยที่
HANDI หมายถึง กลุ่มประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษสำหรับสินค้าประเภทที่ทำขึ้นด้วยมือ
LOOMS หมายถึง กลุ่มประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษสำหรับสินค้าสิ่งทอที่ทอด้วยมือ
โควตา
สหภาพยุโรปได้นำระบบโควต้ามาใช้กับสินค้าจำนวนมากนอกเหนือไปจากผลิตภัณฑ์ที่ประดิษฐ์หรือทำขึ้นด้วยมือ สินค้าภายใต้ระบบโควต้าส่วนใหญ่ ได้แก่ เสื้อผ้าอาภรณ์ สิ่งทอ สินค้าเกษตร และสินค้าประเภทสัตว์น้ำ
โดยปกติระบบโควต้าจะจัดสรรให้แก่ผู้ส่งออกที่ต้องการส่งสินค้าเข้าสู่สวีเดนโดยใช้ข้อมูลพื้นฐานจากผลดำเนินงานในอดีตของผู้ส่งออก นั่นคือ โควต้าส่งออกจะถูกจัดสรรตามสัดส่วนจากประวัติหรือปริมาณการส่งออกที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ปริมาณโควต้าจำนวนหนึ่งจะต้องถูกจัดสรรให้แก่ผู้ส่งออกรายใหม่โดยใช้ First-come First-served Basis จนกว่าจะครบโควต้า
โควต้าสำหรับสินค้าเกษตรและสินค้าประเภทสัตว์น้ำจะได้สิทธิในการเสียภาษีในอัตราพิเศษหรืออาจได้รับยกเว้นภาษีสำหรับปริมาณการนำเข้าที่กำหนดไว้ตามระบบโควต้า โดยที่ระบบโควต้าดังกล่าวนี้อาจใช้กับทุกประเทศหรือใช้เป็นการเฉพาะเจาะจงก็เป็นได้ ทั้งนี้ประเทศสมาชิกของสหภาพทั้งหมดมักมีระบบโควต้าที่คล้ายกัน
A.T.A. Carnet
สวีเดนให้การสนับสนุนการใช้ระบบ A.T.A. Carnet ซึ่งเป็นระบบเอกสารพิธีการศุลกากรระหว่างประเทศซึ่งออกแบบขึ้นมาเพื่อให้การผ่านพิธีการศุลกากรสำหรับการนำเข้าสินค้าบางชนิดเป็นการชั่วคราวไปสู่ประเทศที่มีข้อตกลงมีความสะดวกและง่ายขึ้น เช่น สินค้าตัวอย่าง สื่อโฆษณา ฟิล์ม ผลิตภัณฑ์ยา อุปกรณ์ที่ใช้เฉพาะทางวิชาชีพ ในปัจจุบันมีประเทศผู้เข้าร่วมประมาณ 55 ประเทศ รวมทั้งไทยด้วย
มาตรฐานสินค้าและกฎระเบียบต่าง ๆ
กฎระเบียบกลาง (Directives) สำหรับสินค้าหลาย ๆ ชนิดมีข้อกำหนดให้สินค้าที่จำหน่ายในสหภาพมีการทำเครื่องหมาย CE Marking ซึ่งถือเป็นการแสดงตนของผู้ผลิตและผู้นำเข้าต่อเจ้าหน้าที่ว่าสินค้านั้น ๆ เป็นไปตามข้อกำหนดที่มีขึ้นทุกประการ และบริษัทต่าง ๆ ต้องมีเอกสารหลักฐานที่สมบูรณ์ ได้แก่ Declaration of Conformity (Manufacturer's Declaration) และ Technical File ซึ่งควรมี Test Report ประกอบด้วย ในอนาคตคาดว่าก่อนที่จะทำการวางตลาดสินค้าในสหภาพ สินค้าทุกชนิดต้องมี CE Marking แต่ทั้งนี้กฎระเบียบดังกล่าวอาจมีกำหนดเริ่มบังคับใช้สำหรับสินค้าแต่ละชนิดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับกฎระเบียบกลางที่เกี่ยวข้อง ผู้ขายสินค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลให้ สินค้ามีการทำเครื่องหมาย การกำหนดให้มีหนังสือรับรองความปลอดภัยดังกล่าว (The Certification of Safety : CE) ให้บังคับใช้กับสินค้าเครื่องจักร วัตถุดิบเพื่อการก่อสร้าง อุปกรณ์เพื่อการสื่อสาร อุปกรณ์ทางการแพทย์และเพื่อการกีฬา วัตถุระเบิด และสินค้าของเล่น อย่างไรก็ตาม การมี CE Label นั้นถือเป็นการบรรลุข้อกำหนดของสหภาพเฉพาะ
อย่างเท่านั้น แต่ไม่ใช่การรับรองคุณภาพหรือมาตรฐาน และ CE Label นั้นจะออกให้แก่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือตัวแทนในสหภาพเท่านั้น นอกจากนี้ สวีเดนยังมีข้อกำหนดในเรื่องของการติดฉลาก, สิทธิบัตร, ลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้า
(ที่มา : กระทรวงพาณิชย์)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3/2544 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544--
-อน-