สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้สรุปผลการหารือเพื่อประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันและแนวโน้ม ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) ภาพรวมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ 2) เศรษฐกิจมหภาค 3) ภาคการผลิตและบริการ 4) แนวทางการสร้างเศรษฐกิจให้เข้มแข็งในระยะต่อไป ดังมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้.-
1. ภาพรวมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ต้นปี 2542 มีความชัดเจนมากขึ้นในครึ่งหลังของปี และต่อเนื่องมาตลอดช่วง 4 เดือนแรกของปี 2543 โดยเป็นการฟื้นตัวที่มีการใช้จ่ายภาครัฐ และการขยายตัวของการส่งออกเป็นปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญ ตามด้วยการปรับตัวดีขึ้นของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ปัจจัยเหล่านี้มีแนวโน้มว่าจะสนับสนุนการฟื้นตัวในระยะต่อจากนี้ไป ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนเริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนตามการขยายตัวของการส่งออกและการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชน รวมทั้งความต้องการลงทุนเพื่อปรับปรุงเทคโนโลยีและประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ในระยะต่อไป
ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2543 มีปัจจัยลบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ได้แก่ ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกา การปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ยังอยู่ในระดับสูง และระบบสถาบันการเงินยังไม่สามารถดำเนินการได้เป็นปกติ รวมทั้งปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ แต่ไม่คาดว่าปัจจัยดังกล่าวจะรุนแรงจนกระทั่งทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจได้อีก
อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปี 2543 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2542 ในอัตราร้อยละ 4.4 - 5.0 ปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ ได้แก่ การส่งออก การลงทุน และการบริโภคภาคเอกชน เงินเฟ้อจะอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 2.0 - 2.5 โดยที่ปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวในระดับที่ประมาณการนี้ประกอบด้วย การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ที่อาจจะทำให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างรวดเร็ว (Hard Landing) แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ยังมีความไม่แน่นอนค่อนข้างมาก และความล่าช้าของการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่อาจจะมีผลกระทบต่อความมั่นใจของผู้บริโภคและนักลงทุน
ที่มา : ข่าวทำเนียบรัฐบาล--จบ--
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 10/2543 วันที่ 31 พฤษภาคม 2543--
-อน-
1. ภาพรวมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ต้นปี 2542 มีความชัดเจนมากขึ้นในครึ่งหลังของปี และต่อเนื่องมาตลอดช่วง 4 เดือนแรกของปี 2543 โดยเป็นการฟื้นตัวที่มีการใช้จ่ายภาครัฐ และการขยายตัวของการส่งออกเป็นปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญ ตามด้วยการปรับตัวดีขึ้นของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ปัจจัยเหล่านี้มีแนวโน้มว่าจะสนับสนุนการฟื้นตัวในระยะต่อจากนี้ไป ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนเริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนตามการขยายตัวของการส่งออกและการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชน รวมทั้งความต้องการลงทุนเพื่อปรับปรุงเทคโนโลยีและประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ในระยะต่อไป
ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2543 มีปัจจัยลบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ได้แก่ ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกา การปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ยังอยู่ในระดับสูง และระบบสถาบันการเงินยังไม่สามารถดำเนินการได้เป็นปกติ รวมทั้งปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ แต่ไม่คาดว่าปัจจัยดังกล่าวจะรุนแรงจนกระทั่งทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจได้อีก
อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปี 2543 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2542 ในอัตราร้อยละ 4.4 - 5.0 ปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ ได้แก่ การส่งออก การลงทุน และการบริโภคภาคเอกชน เงินเฟ้อจะอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 2.0 - 2.5 โดยที่ปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวในระดับที่ประมาณการนี้ประกอบด้วย การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ที่อาจจะทำให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างรวดเร็ว (Hard Landing) แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ยังมีความไม่แน่นอนค่อนข้างมาก และความล่าช้าของการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่อาจจะมีผลกระทบต่อความมั่นใจของผู้บริโภคและนักลงทุน
ที่มา : ข่าวทำเนียบรัฐบาล--จบ--
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 10/2543 วันที่ 31 พฤษภาคม 2543--
-อน-