กรุงเทพฯ--28 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้(27 กรกฎาคม) ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือทางการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. ที่ประชุมฯ ได้แลกเปลี่ยนทรรศนะในภาพรวมเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองและความมั่นคงที่มีผลกระทบต่อสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก อาทิ สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี ปัญหาในทะเลจีนใต้ สถานการณ์ในอินโดนีเซีย ติมอร์ตะวันออก แปซิฟิกใต้ และเอเซียใต้ และการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ตลอดจนประเด็นปัญหาเกี่ยวกับอาชญากรรมข้ามชาติ ทั้งนี้ บรรยากาศในการหารือเป็นไปอย่างเปิดเผย เต็มไปด้วยมิตรภาพ ซึ่งส่งผลให้ประเทศสมาชิกมีความเข้าใจและเกิดความเชื่อมั่นต่อกันมากยิ่งขึ้น
2. สำหรับสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี ที่ประชุมแสดงความพอใจต่อพัฒนาการในด้านบวกบนคาบสมุทรเกาหลี โดยเฉพาะต่อการประชุมสุดยอดครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างผู้นำเกาหลีเหนือ-และเกาหลีใต้ที่มีขึ้น ณ กรุงเปียงยาง ระหว่าง 13-15 มิถุนายน 2543 และเห็นควรที่จะสนับสนุนให้การหารือและปฎิสัมพันธ์ดังกล่าวมีความคืบหน้าเพื่อจะนำไปสู่สันติภาพอันถาวรและการปรับความสัมพันธ์เข้าสู่สภาพปกติต่อไป
3. ส่วนสถานการณ์ในทะเลจีนใต้ ที่ประชุมแสดงความยินดีต่อความพยายามอันต่อเนื่องระหว่างอาเซียน-จีนที่จะพัฒนาและรับรอง Regional Code of Conduct in the South China Sea รวมทั้งความพยายามของประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยสันติวิธี
4. ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในอินโดนีเซีย โดยได้ย้ำว่า อินโดนีเซียที่มีความเป็นเอกภาพ ประชาธิปไตย และความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจมีความสำคัญอย่างยิ่งความมั่นคงในภูมิภาค และสนับสนุนบูรณภาพแห่งดินแดนของอินโดนีเซีย
5. ที่ประชุมเห็นความจำเป็นที่นานาชาติจะต้องให้ความสนใจและส่งเสริมการบูรณะ การฟื้นฟู และการสร้างชาติของติมอร์ตะวันออก รวมทั้งความร่วมมือกับ UNTAET ด้วย
6. ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์ในแปซิฟิกใต้และหวังที่จะเห็นความคืบหน้าในการแก้ไขสถานการณ์ให้กลับคืนสู่ปกติ
7. สำหรับประเด็นเกี่ยวกับพม่า ที่ประชุมได้แสดงความยินดีที่นาย Razali Ismail ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการองค์การสหประชาติสำหรับพม่าที่ได้เดินทางไปเยือนพม่า และหวังว่าการเยือนดังกล่าวจะช่วยเกื้อหนุนต่อพัฒนาการในเชิงบวกภายในพม่า
8. ที่ประชุมยังได้หารือในประเด็นเกี่ยวกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง รวมทั้งผลกระทบของระบบป้องกันขีปนาวุธ
9. นอกจากนั้น ที่ประชุมได้หารือประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเฉพาะเรื่องโจรสลัด การเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย การลักลอบค้าอาวุธขนาดเล็ก ยาเสพติด และการก่อการร้าย และรับทราบว่า ประเด็นข้ามชาติเหล่านี้ไม่เพียงแต่ท้าทายความมั่นคงและเสถียรภาพของภูมิภาค แต่ยังบั่นทอนความพยายามของแต่ละประเทศในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติและการปรับปรุงคุณภาพชีวิต จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันและกระตุ้นการรับรู้เกี่ยวกับความร้ายแรงของปัญหาเหล่านั้น
10. ในส่วนที่เกี่ยวกับทิศทางในอนาคตของ FRF ที่ประชุมเห็นชอบให้ขยายบทบาทของประธาน ARF ได้ประสานงานติดต่อกับองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ อาทิ สหประชาติ (OAS) และองค์กรว่าด้วยความร่วมมือและความมั่นคงยุโรป (OSCE) ที่ประชุมแสดงความยินดีที่ ARF มีความคืบหน้ามาก การนำข้อเสนอเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำระหว่างมาตรการการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับการฑูตเชิงป้องกัน รวมทั้งการจัดทำแนวโน้มความมั่นคงประจำปีของ ARF กระบวนการ ARF สมควรเดินหน้าต่อไป และการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจยังคงเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการ ARF อีกทั้งอาเซียนจะยังคงมีบทบาทนำในกรอบของ ARF
ความสำเร็จของการประชุมครั้งนี้อันเป็นผลมาจากการมีส่วนร่วมและร่วมมืออย่างดียิ่งของประเทศสมาชิกได้ทำให้กระบวนการ ARF ซึ่งนอกจากจะเป็นเวทีของการเจรจาหารือแล้วยังจะเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงร่วมกัน ของภูมิภาคต่อไป--จบ--
-ยก-
วันนี้(27 กรกฎาคม) ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือทางการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. ที่ประชุมฯ ได้แลกเปลี่ยนทรรศนะในภาพรวมเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองและความมั่นคงที่มีผลกระทบต่อสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก อาทิ สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี ปัญหาในทะเลจีนใต้ สถานการณ์ในอินโดนีเซีย ติมอร์ตะวันออก แปซิฟิกใต้ และเอเซียใต้ และการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ตลอดจนประเด็นปัญหาเกี่ยวกับอาชญากรรมข้ามชาติ ทั้งนี้ บรรยากาศในการหารือเป็นไปอย่างเปิดเผย เต็มไปด้วยมิตรภาพ ซึ่งส่งผลให้ประเทศสมาชิกมีความเข้าใจและเกิดความเชื่อมั่นต่อกันมากยิ่งขึ้น
2. สำหรับสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี ที่ประชุมแสดงความพอใจต่อพัฒนาการในด้านบวกบนคาบสมุทรเกาหลี โดยเฉพาะต่อการประชุมสุดยอดครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างผู้นำเกาหลีเหนือ-และเกาหลีใต้ที่มีขึ้น ณ กรุงเปียงยาง ระหว่าง 13-15 มิถุนายน 2543 และเห็นควรที่จะสนับสนุนให้การหารือและปฎิสัมพันธ์ดังกล่าวมีความคืบหน้าเพื่อจะนำไปสู่สันติภาพอันถาวรและการปรับความสัมพันธ์เข้าสู่สภาพปกติต่อไป
3. ส่วนสถานการณ์ในทะเลจีนใต้ ที่ประชุมแสดงความยินดีต่อความพยายามอันต่อเนื่องระหว่างอาเซียน-จีนที่จะพัฒนาและรับรอง Regional Code of Conduct in the South China Sea รวมทั้งความพยายามของประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยสันติวิธี
4. ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในอินโดนีเซีย โดยได้ย้ำว่า อินโดนีเซียที่มีความเป็นเอกภาพ ประชาธิปไตย และความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจมีความสำคัญอย่างยิ่งความมั่นคงในภูมิภาค และสนับสนุนบูรณภาพแห่งดินแดนของอินโดนีเซีย
5. ที่ประชุมเห็นความจำเป็นที่นานาชาติจะต้องให้ความสนใจและส่งเสริมการบูรณะ การฟื้นฟู และการสร้างชาติของติมอร์ตะวันออก รวมทั้งความร่วมมือกับ UNTAET ด้วย
6. ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์ในแปซิฟิกใต้และหวังที่จะเห็นความคืบหน้าในการแก้ไขสถานการณ์ให้กลับคืนสู่ปกติ
7. สำหรับประเด็นเกี่ยวกับพม่า ที่ประชุมได้แสดงความยินดีที่นาย Razali Ismail ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการองค์การสหประชาติสำหรับพม่าที่ได้เดินทางไปเยือนพม่า และหวังว่าการเยือนดังกล่าวจะช่วยเกื้อหนุนต่อพัฒนาการในเชิงบวกภายในพม่า
8. ที่ประชุมยังได้หารือในประเด็นเกี่ยวกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง รวมทั้งผลกระทบของระบบป้องกันขีปนาวุธ
9. นอกจากนั้น ที่ประชุมได้หารือประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเฉพาะเรื่องโจรสลัด การเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย การลักลอบค้าอาวุธขนาดเล็ก ยาเสพติด และการก่อการร้าย และรับทราบว่า ประเด็นข้ามชาติเหล่านี้ไม่เพียงแต่ท้าทายความมั่นคงและเสถียรภาพของภูมิภาค แต่ยังบั่นทอนความพยายามของแต่ละประเทศในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติและการปรับปรุงคุณภาพชีวิต จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันและกระตุ้นการรับรู้เกี่ยวกับความร้ายแรงของปัญหาเหล่านั้น
10. ในส่วนที่เกี่ยวกับทิศทางในอนาคตของ FRF ที่ประชุมเห็นชอบให้ขยายบทบาทของประธาน ARF ได้ประสานงานติดต่อกับองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ อาทิ สหประชาติ (OAS) และองค์กรว่าด้วยความร่วมมือและความมั่นคงยุโรป (OSCE) ที่ประชุมแสดงความยินดีที่ ARF มีความคืบหน้ามาก การนำข้อเสนอเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำระหว่างมาตรการการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับการฑูตเชิงป้องกัน รวมทั้งการจัดทำแนวโน้มความมั่นคงประจำปีของ ARF กระบวนการ ARF สมควรเดินหน้าต่อไป และการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจยังคงเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการ ARF อีกทั้งอาเซียนจะยังคงมีบทบาทนำในกรอบของ ARF
ความสำเร็จของการประชุมครั้งนี้อันเป็นผลมาจากการมีส่วนร่วมและร่วมมืออย่างดียิ่งของประเทศสมาชิกได้ทำให้กระบวนการ ARF ซึ่งนอกจากจะเป็นเวทีของการเจรจาหารือแล้วยังจะเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงร่วมกัน ของภูมิภาคต่อไป--จบ--
-ยก-