ข้อมูลประกอบประเด็นสนทนา เรื่อง “ ทิศทางส่งออก-นำเข้าสินค้า ” สำหรับ นางบุญทิพา สิมะสกุล อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
ในรายการทิศทางเศรษฐกิจ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 11 วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2544
ข้อ 1. ปี 2543 ที่ผ่านมา ยอดส่งออกสินค้าต่าง ๆ เป็นอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับยอดนำเข้า
แนวคำตอบ
ปี 2543 ปี 2543
ล้าน US $ % เพิ่ม/ลด ล้านบาท % เพิ่ม/ลด
การส่งออก 69,872 19.5 2,777,733 25.4
การนำเข้า 62,181 24.6 2,494,158 30.8
ดุลการค้า 7,691 -10.0 283,575 -7.6
- ปี 2543 การส่งออก มีมูลค่า 69,872 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 19.5 สูงกว่าเป้าหมายการส่งออก
ที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ถึงร้อยละ 12.7 (ตั้งเป้าไว้ 62,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) คิดในรูปเงินบาทมีมูลค่า 2,777,733 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
จากปี 2542 ร้อยละ 25.4
- ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกขยายตัวในอัตราสูง ได้แก่
- ความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย
เช่น ญี่ปุ่น อาเซียน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ฮ่องกง และจีน เป็นต้น รวมทั้งค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง (ปี 2543 เฉลี่ยอยู่ที่ 39.65 บาท/$)
ทำให้สินค้าไทยมีราคาถูกลง
- สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญหลายรายการที่เป็นการลงทุนหรือร่วมทุนกับต่างประเทศ ได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทแม่ในการขยาย
ตลาดทำให้ส่งออกได้เพิ่มขึ้น เช่น เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและยานยนต์ เป็นต้น
- ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นมาก จากการขยายตัวของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- การร่วมกันแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า รวมทั้งการเจาะและขยายตลาดอย่างจริงจังและต่อเนื่องของทางภาครัฐและเอกชน
- ปี 2544 กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าหมายการส่งออกไว้ มูลค่า 77,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2543 ร้อยละ 11.3
ซึ่งในเดือนมกราคม 2544 ส่งออกได้ 5,187 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 3.8 เป็นการส่งออกที่ลดลงเป็น
เดือนแรกหลังจากที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม การส่งออกที่ลดลงในเดือนแรกของปีนี้ ก็ไม่น่าวิตกมากนัก
เพราะเป็นช่วงวัฎจักรขาลงของการส่งออกที่มีคำสั่งซื้อน้อยในช่วงต้นปี ประกอบกับเป็นเดือนที่มีวันหยุดมากทั้งวันปีใหม่และวันตรุษจีนการดำเนิน
กิจกรรมของการส่งออกจึงน้อยลง แต่รัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์ก็มิได้นิ่งนอนใจ ได้สั่งการให้สำนักงานการค้าในต่างประเทศติดตาม
สถานการณ์การนำเข้าของแต่ละประเทศอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งได้หารือร่วมกับผู้ส่งออกเพื่อสอบถามเกี่ยวกับปริมาณคำสั่งซื้อสินค้าและปัญหาอุปสรรค
ต่างๆ เพื่อที่จะได้ดำเนินการแก้ไขและเร่งผลักดันการส่งออกให้เพิ่มมากขึ้น
- ในส่วนของการนำเข้า ปี 2543 มีมูลค่า 62,181 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 24.6 คิดในรูปเงินบาทมีมูลค่า
2,494,158 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 30.8
- การนำเข้าที่เพิ่มมากในปีนี้ เป็นการเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของการส่งออกที่นำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปมาผลิตเพื่อ
การส่งออกเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
- สำหรับเดือนมกราคม 2544 การนำเข้ามีมูลค่า 5,556 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 34.6
สินค้าที่นำเข้าเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทเครื่องจักรถึง 21% ซึ่งนำมาใช้ในการผลิตสินค้า เป็นน้ำมันดิบ 9% ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการเพิ่มของ
ระดับราคาน้ำมัน และที่เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ คือ การนำเข้าเครื่องบินของบริษัทการบินไทย จำกัด
ข้อ 2. การส่งออกสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทอะไร
แนวคำตอบ
ปี 2543
ล้าน US $ % เพิ่ม/ลด % สัดส่วน
สินค้าออกรวม 69,872 19.5 100
สินค้าเกษตรกรรม 7,395 5 10.6
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 5,752 6.3 8.2
สินค้าอุตสาหกรรม 52,303 21.4 74.9
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 2,532 100.2 3.6
สินค้าอื่น ๆ 1,890 13.3 2.7
สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม มีสัดส่วนถึงร้อยละ 74.9 ของการส่งออกรวม ซึ่งในสินค้าส่งออก 20 อันดับแรกของไทย
เป็นสินค้าอุตสาหกรรมถึง 16 รายการ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (เป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งถึงสี่ของไทย) อัญมณี และเครื่องประดับ เม็ดพลาสติก เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และ
ส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น
- สำหรับสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ กุ้งสด แช่เย็น แช่แข็ง ข้าว ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง
อาหารทะเลกระป๋อง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และน้ำตาลทราย เป็นต้น
ข้อ 3. อุปสรรคสำคัญคืออะไร
แนวคำตอบ
- แม้ว่าการส่งออกของไทยจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่ก็มีปัญหาอุปสรรคสำคัญหลายประการ ได้แก่
การแข่งขันกับประเทศคู่แข่งที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทย เช่น
- จีน เป็นคู่แข่งในสินค้าสิ่งทอ รองเท้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก ของเล่นเด็ก สินค้าอาหาร
- มาเลเซีย คู่แข่งในสินค้าผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าอาหาร
- เวียดนาม คู่แข่งในสินค้าข้าวคุณภาพต่ำ และในอนาคตจะเป็นคู่แข่งในการส่งออกสินค้ากุ้งสด และยางพารา อีกประเทศหนึ่ง
- อินเดีย คู่แข่งในสินค้าสิ่งทอ อัญมณี และเครื่องประดับ อาหาร
ฟิลิปปินส์ คู่แข่งในสินค้าอาหาร
การกีดกันทางการค้าของประเทศผู้นำเข้า โดยเฉพาะการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษี เช่น การ
กำหนดมาตรฐานสินค้าที่สูงกว่ามาตรฐานสากล มาตรฐานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มาตรฐานสิ่งแวดล้อมมาตรการต่อต้านการทุ่ม
ตลาดและตอบโต้การอุดหนุน (AD/CVD) เป็นต้น สินค้าส่งออกของไทยที่ประสบปัญหาการกีดกันทางการค้า ได้แก่
* ปัญหามาตรฐานสุขอนามัยในสินค้าอาหาร ประสบปัญหาในหลายตลาด เช่น ไก่ ในตลาดออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์
สาธารณรัฐเช็ก และไต้หวัน ผัก ผลไม้สด ในตลาดฟิลิปปินส์ ฝรั่งเศส สเปน และเกาหลีใต้ เนื้อสุกร ในตลาดญี่ปุ่น และฮ่องกง เป็นต้น
* ปัญหา AD เช่น สินค้าสับปะรดสดกระป๋อง เส้นด้ายและผ้าผืน ข้อต่อเหล็ก ท่อเหล็ก ในตลาดสหรัฐอเมริกา สินค้าโทรทัศน์สี
เตาไมโครเวฟ รถจักรยาน ข้อต่อท่อเหล็ก เครื่องโทรสาร รองเท้า
ในตลาดสหภาพยุโรป สินค้าเสื่อปูพื้น PVC ในตลาดฟิลิปปินส์ สินค้าพลาสเตอร์บอร์ดในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เป็นต้น
นอกจากนี้ ในอนาคตอันใกล้สหภาพยุโรปจะออกมาตรการใหม่ ๆ กับสินค้านำเข้าอีก เช่น นโยบายความปลอดภัยด้านอาหาร
(White Paper in Food Safety) กฎหมายว่าด้วยเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายว่าด้วยการห้ามใช้สาร
อันตรายบางชนิดในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสินค้าอาหารและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทยอย่างมาก
3) ปัญหาอุปสรรคภายในประเทศที่สำคัญ ได้แก่
* ปัญหาต้นทุนการผลิตสูง เนื่องจากภาษีนำเข้าวัตถุดิบมีอัตราสูง ค่าจ้างแรงงาน
สูงแต่ศักยภาพแรงงานต่ำ ค่าขนส่งสูงโดยเฉพาะค่าขนส่งทางเรือ และการเพิ่มขึ้นของค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่นไฟฟ้า น้ำประปา
และที่มีผลกระทบมากต่อต้นทุนการผลิตในปัจจุบัน คือ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มมากขึ้น
* ปัญหาด้านการเงิน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและ
ขนาดย่อม ซึ่งมักจะประสบปัญหาการขอกู้เงินจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่ไม่ปล่อยเงินกู้ให้เพราะเกรงว่าจะเกิดปัญหา NPL ทำให้
ขาดเงินทุนหมุนเวียนและเงินทุนในการพัฒนาการผลิตสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
* ปัญหาที่เกิดจากภาครัฐ เช่น กฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งออก อยู่ในความรับผิดชอบหลายหน่วยงาน ก่อให้เกิดความล่าช้า
ในการส่งออก และเกิดต้นทุนซ้อนเร้น การคืนภาษีล่าช้าทำให้ขาดเงินสดหมุนเวียน เป็นต้น
ข้อ 4. ในด้านสินค้าประเภทอาหารมียอดส่งออกและนำเข้ามากน้อยแค่ไหน
แนวคำตอบ
- สินค้าอาหารส่งออกสำคัญของไทย ประกอบด้วยสินค้า 4 กลุ่ม คือ
1) สินค้าอาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป
2) สินค้าปศุสัตว์ (ไก่ เป็ด)
3) ผัก ผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป
4) อาหารอื่น ๆ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี และอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ สิ่งปรุงรสอาหาร เครื่องดื่มและอื่นๆ
- ในปี 2543 การส่งออกสินค้าอาหารขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่มากนักเพียงร้อยละ 3.9 มีมูลค่า 6,471 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วน
คิดเป็นร้อยละ 9.3 ของมูลค่าส่งออกรวม สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง (มูลค่า 1,512 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
18.7) อาหารทะเลกระป๋อง และแปรรูป (มูลค่า 2,024 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4) ไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป
(มูลค่า 614 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8) ผัก ผลไม้สดแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป (มูลค่า 836 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.6)
ผลิตภัณฑ์ข้าว (มูลค่า 121 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ (มูลค่า 205 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9)
- สินค้าอาหารส่งออกของไทยหลายชนิดเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในอันดับต้น ๆ อาทิ ปลาทูน่ากระป๋อง กุ้งสดแช่เย็น
แช่แข็ง ไก่แช่เย็นแข็ง ผัก ผลไม้กระป๋อง และผลิตภัณฑ์ข้าว เป็นต้น อย่างเช่นในตลาดสหรัฐอเมริกา นำเข้าสินค้าอาหารทะเลกระป๋อง และกุ้ง
ปูสดแช่เย็นแช่แข็ง จากไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง ในตลาดญี่ปุ่นนำเข้าสินค้าอาหารทะเลแปรรูป และไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง จากไทยมากเป็นอันดับสอง
และนำเข้าเนื้อปลาสดแช่เย็นแช่แข็งมากเป็นอันดับสาม เป็นต้น
- แม้ว่าสินค้าอาหารส่งออกของไทยจะเป็นที่ต้องการของตลาดโลก แต่ก็ประสบปัญหาอุปสรรคในการส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการ เช่น
* อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป
- สหรัฐอเมริกา สินค้าปลาทูน่ากระป๋องของไทยเสียภาษีนำเข้าในโควตาอัตรา 6% นอกโควตา 12.5% ขณะที่ประเทศคู่แข่งขัน เช่น
เม็กซิโก และแคนาดา ได้สิทธิพิเศษ GSP เสียภาษีในอัตรา 4.4% และ0.6% ตามลำดับ อีกทั้งจะต้องปิดฉลาก “dolphin safe ” อีกด้วย
นอกจากนี้สินค้าประมงที่จะส่งเข้าสหรัฐฯ จะต้องมีกระบวนการผลิตตามระบบ HACCP ด้วย
- สหภาพยุโรป เก็บภาษีในโควตาปลาทูน่ากระป๋องจากไทย ร้อยละ 24-25 ในขณะที่ประเทศโคลัมเบีย และกลุ่มประเทศ A.P.C.
ได้รับยกเว้นภาษีนำเข้า
* ไก่
- ญี่ปุ่น เก็บภาษีนำเข้าไก่สดแช่แข็งติดกระดูกจากสหรัฐอเมริกาเพียงร้อยละ 10 แต่เก็บภาษีจากไทยในสินค้าน่องไก่ติดกระดูกแช่แข็งร้อยละ
10 และผลิตภัณฑ์ไก่อื่น ๆ ร้อยละ 12
- ไต้หวัน กำหนดว่าสินยค้าไก่ที่จะนำเข้าจะต้องได้รับการตรวจรับรองจากทางการไต้หวันก่อนว่าปราศจากโรค New Castle
- ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ กำหนดอุณหภูมิไก่ต้มสุกสูงมาก และใช้เวลานาน โดยอ้างว่ามีโรค New Castle ซึ่งไทยไม่สามารถทำได้
- ฟิลิปปินส์ ต้องมีการตรวจสอบโรงงานผลิตไก่ เพื่อให้การรับรองก่อนจึงอนุญาตให้นำเข้าขณะนี้ยังไม่มีการออกใบรับรองให้กับโรงงาน
ผลิตไก่ของไทย
- สาธารณรัฐเช็ก สินค้าต้องมีการตรวจรับรองจากกรมปศุสัตว์ไทยตามมาตรฐานที่กำหนด (มีสารหนูตกค้าง ไม่เกิน 0.1 mg/kg)
และสาธารณรัฐเช็กจะต้องสอบอีกครั้ง และกำหนดให้นำเข้าผ่านด่าน 3 ด่านชายแดนติดกับเยอรมันเท่านั้น
* ผักผลไม้ สด กระป๋องและแปรรูป
- สหรัฐอเมริกา จัดเก็นอากร AD ในสินค้าสับปะรดกระป๋องของไทย
- สเปน กักกันเพื่อตรวจสินค้าข้าวโพดฝักอ่อนจากไทย โดยอ้างว่าเดนมาร์กตรวจพบเชื้อ Shigella Sonnei
- ฟิลิปปินส์ ห้ามนำเข้าผักผลไม้จากไทย เนื่องจากปัญหาแมลงวันผลไม้
- เกาหลีใต้ ห้ามนำเข้ามะม่วงจากไทย เนื่องจากมีแมลงศัตรูพืชชนิด Fruit Flies
- ในส่วนของการนำเข้าสินค้าอาหาร แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1) สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ที่ส่วนใหญ่นำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออก คือ สัตว์น้ำสด แช่เย็นแช่แข็งและสำเร็จรูป (ปลาทูน่าสด
กุ้งสด ปลาหมึกสด ปลาสำเร็จรูป และสัตว์น้ำอื่น ๆ) ปี 2543 การนำเข้ามีมูลค่า 728 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2542 ร้อยละ 5.5
2) สินค้าอุปโภคบริโภค ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ผลิตไม่เพียงพอหรือผลิตไม่ได้ภายในประเทศ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นม ธัญพืชและธัญญพืชสำเร็จรูป
ผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ กาแฟ ชา เครื่องเทศ เครื่องดื่มประเภทน้ำแร่ น้ำอัดลมและสุรา เป็นต้น ปี 2543 การนำเข้ามีมูลค่า
833 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 11.4
ข้อ 5. ปัญหาของการกีดกันสินค้าที่มี GMO มีวิธีป้องกันและแก้ไขอย่างไร
แนวคำตอบ
- GMO : Genetically Modified Organisms เป็นกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพ (Bio-technology) ในการทำให้สาร
อินทรีย์มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ซึ่งขณะนี้เป็นเรื่องใหม่ และยังไม่มีการให้คำจำกัดความของสินค้า GMOs ที่ชัดเจน แต่ตามคำจำกัดความของ
ประเทศพัฒนาแล้ว สินค้าที่จะเข้าข่ายเป็น GMOs มีอยู่มากมาย ทั้งในรูปสินค้าเกษตรขั้นปฐมและสินค้าเกษตรแปรรูป
- ตั้งแต่ประมาณปี 2541-2542 GMOs ได้กลายเป็นประเด็นทางการค้าระหว่างประเทศ โดยเริ่มจากการขัดแย้งระหว่างประเทศสหรัฐฯ
ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้า GMOs รายใหญ่ที่สุดของโลก และสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นผู้นำเข้าที่มีมาตรการกำกับสินค้า GMOs โดยเฉพาะการมีกฎระเบียบให้ติด
ฉลากสินค้า GMOs และต่อมาก็มีหลายประเทศที่ตามอย่างสหภาพยุโรป อาทิ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ซึ่งได้ออกกฎหมายให้ติดฉลาก สินค้า GMOs โดย
จะมีผลบังคับใช้ในปี 2544
- ปัญหาเกี่ยวกับ GMOs ยังได้ส่งผลกระทบถึงประเทศไทยเนื่องจากไทยมีการนำเข้าวัตถุดิบ เช่น ถั่วเหลือง และข้าวโพด GMOs ซึ่ง
บางส่วนจะถูกนำมาแปรรูปและส่งออกไปยังสหภาพยุโรปและประเทศต่าง ๆ เพราะฉะนั้นผู้ส่งออกไทยจึงถูกผลกระทบจากมาตรการที่เกี่ยวกับสินค้า
GMOs เช่นกัน
- การกำหนด กฎเกณฑ์ระหว่างประเทศเกี่ยวกับสินค้า GMOs ในอนาคต จะเชื่อมโยงกับกฎหมายภายในของประเทศต่าง ๆ ในหลายด้าน
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมาตรฐานด้านสุขอนามัย มาตรฐานในการผลิตอาหาร การปิดฉลากสินค้า รวมถึงการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เพราะสินค้าที่ผ่าน
กระบวนการเทคโนโลยีชีวภาพนับเป็นสินค้าใหม่ ซึ่งประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรเป็นหลักอย่างไทย ได้ให้ความสนใจในประเด็นทางการค้าที่
จะมีการหยิบยกขึ้นหารือในเวที WTO ซึ่งจะเริ่มจากการกำหนดคำจำกัดความของ GMO ก่อนที่จะไปถึงขั้นการวางกติกาการค้า สำหรับผลกระทบจาก
กฎเกณฑ์เกี่ยวกับ GMO ต่อการส่งออกของไทย อาจสรุปเบื้องต้นได้ 2 ด้าน คือ การเข้าสู่ตลาด (Market Access) และความสามารถในการแข่งขัน
(Competitiveness)
- โดยที่เรื่อง GMOs เป็นเรื่องใหม่และเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน กนศ. จึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการนโยบายสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพขึ้น
เพื่อกำหนดนโยบายทั้งระยะสั้นและระยะยาวเกี่ยวกับสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ ทั้งในแง่การพัฒนาเทคโนโลยี การผลิต การค้า ความปลอดภัยของผู้บริโภค
สิ่งแวดล้อม และหลักคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ ได้เสนอแนวทางนโยบายและยุทธศาสตร์สินค้าเทคโนโลยีชีวภาพต่อ กนศ.
เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2542 ซึ่ง กนศ. มีมติให้ดำเนินการดังนี้
การผลิต
1.1 ไม่ยินยอมให้มีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ GMOs มาเพาะปลูกในเชิงพาณิชย์ จนกว่าจะมีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่ามีความปลอดภัยทั้ง
ด้านชีวภาพและด้านอาหาร แต่ยินยอมให้นำเข้ามาเฉพาะเพื่อทำการวิจัยเท่านั้น
1.2 ให้กรมวิชาการเกษตรดูแลการรั่วไหลของเมล็ดพันธุ์ GMOs ไปสู่แปลงเพาะปลูก โดยใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.กักพืช พ.ศ. 2507
การส่งออก
2.1 ใช้ความตกลงโดยสมัครใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายภาคเอกชนในการออกมาตรการด้าน
ใบรับรอง (certificate) หรือติดฉลาก (labeling)
2.2 หากประเทศผู้นำเข้าต้องการการตรวจสอบและออกใบรับรองจากภาครัฐให้หน่วยงานที่มีหน้าที่อำนาจดูแลอยู่แล้ว เช่น กรมประมง
กรมปศุสัตว์ เป็นผู้ออกใบรับรอง โดยให้ศูนย์พันธุ์วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติเป็นผู้ตรวจสอบ
3. การนำเข้า
ปัจจุบันยังไม่มีการพิสูจน์จากคณะผู้วิจัยจากประเทศต่าง ๆ หรือแม้แต่ Codex ว่า สินค้า GMOs มีผลกระทบต่อผู้บริโภคหรือไม่
ดังนั้นเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค จึงให้ดำเนินการ ดังนี้
(1) ให้กระทรวงพาณิชย์ ใช้อำนาจกำกับการนำเข้าสินค้า GMOs ในกรณีที่เห็นว่ามีผลกระทบต่อผู้บริโภค
(2) ในกรณีเนื้อไก่ที่เลี้ยงโดยวัตถุดิบ GMOs ภาคเอกชนได้ตรวจสอบกฎระเบียบของประเทศผู้นำเข้าแล้วว่าไม่มีข้อกำหนดให้ติดฉลาก
ว่าเลี้ยงโดยอาหาร GMOs ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ว่ามีสารตัดแต่งพันธุกรรม แต่จะมีเฉพาะกรณีของสินค้าที่ต้องการ
ติดฉลากว่าเป็นสินค้าชีวภาพ เช่น เนื้อไก่ชีวภาพ (bio-chicken) จะมีการตรวจสอบอย่างชัดเจนว่าใช้ non-GMOs หรือไม่ ซึ่งเป็นการดำเนิน
การโดยสมัครใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
(3) ให้ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติให้บริการตรวจสอบว่าสินค้านำเข้าใดเป็นสินค้าตัดแต่งพันธุกรรม
(4) ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นผู้ติดตามข้อมูลข่าวสารการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ทั้งจากต่างประเทศและภาย
ในประเทศ เพื่อดูแลอย่างใกล้ชิดว่าสินค้า GMOs ใดจะมีผลกระทบต่อสุขอนามัยและความปลอดภัยของผู้บริโภค
4. การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ให้เผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชนให้มากที่สุด และกระจายข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเพียงพอและเป็นธรรมแก่ผู้ผลิต ผู้บริโภคในแง่มุมต่าง ๆ
ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม การผลิต ความปลอดภัย มาตรฐาน รวมทั้งกฎเกณฑ์ด้านการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้ภาคเอกชนและภาครัฐ ได้มีโอกาสแสดง
ความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--
-สส-
ในรายการทิศทางเศรษฐกิจ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 11 วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2544
ข้อ 1. ปี 2543 ที่ผ่านมา ยอดส่งออกสินค้าต่าง ๆ เป็นอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับยอดนำเข้า
แนวคำตอบ
ปี 2543 ปี 2543
ล้าน US $ % เพิ่ม/ลด ล้านบาท % เพิ่ม/ลด
การส่งออก 69,872 19.5 2,777,733 25.4
การนำเข้า 62,181 24.6 2,494,158 30.8
ดุลการค้า 7,691 -10.0 283,575 -7.6
- ปี 2543 การส่งออก มีมูลค่า 69,872 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 19.5 สูงกว่าเป้าหมายการส่งออก
ที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ถึงร้อยละ 12.7 (ตั้งเป้าไว้ 62,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) คิดในรูปเงินบาทมีมูลค่า 2,777,733 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
จากปี 2542 ร้อยละ 25.4
- ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกขยายตัวในอัตราสูง ได้แก่
- ความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย
เช่น ญี่ปุ่น อาเซียน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ฮ่องกง และจีน เป็นต้น รวมทั้งค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง (ปี 2543 เฉลี่ยอยู่ที่ 39.65 บาท/$)
ทำให้สินค้าไทยมีราคาถูกลง
- สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญหลายรายการที่เป็นการลงทุนหรือร่วมทุนกับต่างประเทศ ได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทแม่ในการขยาย
ตลาดทำให้ส่งออกได้เพิ่มขึ้น เช่น เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและยานยนต์ เป็นต้น
- ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นมาก จากการขยายตัวของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- การร่วมกันแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า รวมทั้งการเจาะและขยายตลาดอย่างจริงจังและต่อเนื่องของทางภาครัฐและเอกชน
- ปี 2544 กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าหมายการส่งออกไว้ มูลค่า 77,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2543 ร้อยละ 11.3
ซึ่งในเดือนมกราคม 2544 ส่งออกได้ 5,187 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 3.8 เป็นการส่งออกที่ลดลงเป็น
เดือนแรกหลังจากที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม การส่งออกที่ลดลงในเดือนแรกของปีนี้ ก็ไม่น่าวิตกมากนัก
เพราะเป็นช่วงวัฎจักรขาลงของการส่งออกที่มีคำสั่งซื้อน้อยในช่วงต้นปี ประกอบกับเป็นเดือนที่มีวันหยุดมากทั้งวันปีใหม่และวันตรุษจีนการดำเนิน
กิจกรรมของการส่งออกจึงน้อยลง แต่รัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์ก็มิได้นิ่งนอนใจ ได้สั่งการให้สำนักงานการค้าในต่างประเทศติดตาม
สถานการณ์การนำเข้าของแต่ละประเทศอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งได้หารือร่วมกับผู้ส่งออกเพื่อสอบถามเกี่ยวกับปริมาณคำสั่งซื้อสินค้าและปัญหาอุปสรรค
ต่างๆ เพื่อที่จะได้ดำเนินการแก้ไขและเร่งผลักดันการส่งออกให้เพิ่มมากขึ้น
- ในส่วนของการนำเข้า ปี 2543 มีมูลค่า 62,181 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 24.6 คิดในรูปเงินบาทมีมูลค่า
2,494,158 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 30.8
- การนำเข้าที่เพิ่มมากในปีนี้ เป็นการเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของการส่งออกที่นำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปมาผลิตเพื่อ
การส่งออกเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
- สำหรับเดือนมกราคม 2544 การนำเข้ามีมูลค่า 5,556 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 34.6
สินค้าที่นำเข้าเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทเครื่องจักรถึง 21% ซึ่งนำมาใช้ในการผลิตสินค้า เป็นน้ำมันดิบ 9% ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการเพิ่มของ
ระดับราคาน้ำมัน และที่เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ คือ การนำเข้าเครื่องบินของบริษัทการบินไทย จำกัด
ข้อ 2. การส่งออกสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทอะไร
แนวคำตอบ
ปี 2543
ล้าน US $ % เพิ่ม/ลด % สัดส่วน
สินค้าออกรวม 69,872 19.5 100
สินค้าเกษตรกรรม 7,395 5 10.6
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 5,752 6.3 8.2
สินค้าอุตสาหกรรม 52,303 21.4 74.9
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 2,532 100.2 3.6
สินค้าอื่น ๆ 1,890 13.3 2.7
สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม มีสัดส่วนถึงร้อยละ 74.9 ของการส่งออกรวม ซึ่งในสินค้าส่งออก 20 อันดับแรกของไทย
เป็นสินค้าอุตสาหกรรมถึง 16 รายการ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (เป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งถึงสี่ของไทย) อัญมณี และเครื่องประดับ เม็ดพลาสติก เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และ
ส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น
- สำหรับสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ กุ้งสด แช่เย็น แช่แข็ง ข้าว ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง
อาหารทะเลกระป๋อง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และน้ำตาลทราย เป็นต้น
ข้อ 3. อุปสรรคสำคัญคืออะไร
แนวคำตอบ
- แม้ว่าการส่งออกของไทยจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่ก็มีปัญหาอุปสรรคสำคัญหลายประการ ได้แก่
การแข่งขันกับประเทศคู่แข่งที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทย เช่น
- จีน เป็นคู่แข่งในสินค้าสิ่งทอ รองเท้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก ของเล่นเด็ก สินค้าอาหาร
- มาเลเซีย คู่แข่งในสินค้าผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าอาหาร
- เวียดนาม คู่แข่งในสินค้าข้าวคุณภาพต่ำ และในอนาคตจะเป็นคู่แข่งในการส่งออกสินค้ากุ้งสด และยางพารา อีกประเทศหนึ่ง
- อินเดีย คู่แข่งในสินค้าสิ่งทอ อัญมณี และเครื่องประดับ อาหาร
ฟิลิปปินส์ คู่แข่งในสินค้าอาหาร
การกีดกันทางการค้าของประเทศผู้นำเข้า โดยเฉพาะการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษี เช่น การ
กำหนดมาตรฐานสินค้าที่สูงกว่ามาตรฐานสากล มาตรฐานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มาตรฐานสิ่งแวดล้อมมาตรการต่อต้านการทุ่ม
ตลาดและตอบโต้การอุดหนุน (AD/CVD) เป็นต้น สินค้าส่งออกของไทยที่ประสบปัญหาการกีดกันทางการค้า ได้แก่
* ปัญหามาตรฐานสุขอนามัยในสินค้าอาหาร ประสบปัญหาในหลายตลาด เช่น ไก่ ในตลาดออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์
สาธารณรัฐเช็ก และไต้หวัน ผัก ผลไม้สด ในตลาดฟิลิปปินส์ ฝรั่งเศส สเปน และเกาหลีใต้ เนื้อสุกร ในตลาดญี่ปุ่น และฮ่องกง เป็นต้น
* ปัญหา AD เช่น สินค้าสับปะรดสดกระป๋อง เส้นด้ายและผ้าผืน ข้อต่อเหล็ก ท่อเหล็ก ในตลาดสหรัฐอเมริกา สินค้าโทรทัศน์สี
เตาไมโครเวฟ รถจักรยาน ข้อต่อท่อเหล็ก เครื่องโทรสาร รองเท้า
ในตลาดสหภาพยุโรป สินค้าเสื่อปูพื้น PVC ในตลาดฟิลิปปินส์ สินค้าพลาสเตอร์บอร์ดในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เป็นต้น
นอกจากนี้ ในอนาคตอันใกล้สหภาพยุโรปจะออกมาตรการใหม่ ๆ กับสินค้านำเข้าอีก เช่น นโยบายความปลอดภัยด้านอาหาร
(White Paper in Food Safety) กฎหมายว่าด้วยเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายว่าด้วยการห้ามใช้สาร
อันตรายบางชนิดในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสินค้าอาหารและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทยอย่างมาก
3) ปัญหาอุปสรรคภายในประเทศที่สำคัญ ได้แก่
* ปัญหาต้นทุนการผลิตสูง เนื่องจากภาษีนำเข้าวัตถุดิบมีอัตราสูง ค่าจ้างแรงงาน
สูงแต่ศักยภาพแรงงานต่ำ ค่าขนส่งสูงโดยเฉพาะค่าขนส่งทางเรือ และการเพิ่มขึ้นของค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่นไฟฟ้า น้ำประปา
และที่มีผลกระทบมากต่อต้นทุนการผลิตในปัจจุบัน คือ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มมากขึ้น
* ปัญหาด้านการเงิน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและ
ขนาดย่อม ซึ่งมักจะประสบปัญหาการขอกู้เงินจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่ไม่ปล่อยเงินกู้ให้เพราะเกรงว่าจะเกิดปัญหา NPL ทำให้
ขาดเงินทุนหมุนเวียนและเงินทุนในการพัฒนาการผลิตสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
* ปัญหาที่เกิดจากภาครัฐ เช่น กฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งออก อยู่ในความรับผิดชอบหลายหน่วยงาน ก่อให้เกิดความล่าช้า
ในการส่งออก และเกิดต้นทุนซ้อนเร้น การคืนภาษีล่าช้าทำให้ขาดเงินสดหมุนเวียน เป็นต้น
ข้อ 4. ในด้านสินค้าประเภทอาหารมียอดส่งออกและนำเข้ามากน้อยแค่ไหน
แนวคำตอบ
- สินค้าอาหารส่งออกสำคัญของไทย ประกอบด้วยสินค้า 4 กลุ่ม คือ
1) สินค้าอาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป
2) สินค้าปศุสัตว์ (ไก่ เป็ด)
3) ผัก ผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป
4) อาหารอื่น ๆ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี และอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ สิ่งปรุงรสอาหาร เครื่องดื่มและอื่นๆ
- ในปี 2543 การส่งออกสินค้าอาหารขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่มากนักเพียงร้อยละ 3.9 มีมูลค่า 6,471 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วน
คิดเป็นร้อยละ 9.3 ของมูลค่าส่งออกรวม สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง (มูลค่า 1,512 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
18.7) อาหารทะเลกระป๋อง และแปรรูป (มูลค่า 2,024 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4) ไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป
(มูลค่า 614 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8) ผัก ผลไม้สดแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป (มูลค่า 836 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.6)
ผลิตภัณฑ์ข้าว (มูลค่า 121 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ (มูลค่า 205 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9)
- สินค้าอาหารส่งออกของไทยหลายชนิดเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในอันดับต้น ๆ อาทิ ปลาทูน่ากระป๋อง กุ้งสดแช่เย็น
แช่แข็ง ไก่แช่เย็นแข็ง ผัก ผลไม้กระป๋อง และผลิตภัณฑ์ข้าว เป็นต้น อย่างเช่นในตลาดสหรัฐอเมริกา นำเข้าสินค้าอาหารทะเลกระป๋อง และกุ้ง
ปูสดแช่เย็นแช่แข็ง จากไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง ในตลาดญี่ปุ่นนำเข้าสินค้าอาหารทะเลแปรรูป และไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง จากไทยมากเป็นอันดับสอง
และนำเข้าเนื้อปลาสดแช่เย็นแช่แข็งมากเป็นอันดับสาม เป็นต้น
- แม้ว่าสินค้าอาหารส่งออกของไทยจะเป็นที่ต้องการของตลาดโลก แต่ก็ประสบปัญหาอุปสรรคในการส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการ เช่น
* อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป
- สหรัฐอเมริกา สินค้าปลาทูน่ากระป๋องของไทยเสียภาษีนำเข้าในโควตาอัตรา 6% นอกโควตา 12.5% ขณะที่ประเทศคู่แข่งขัน เช่น
เม็กซิโก และแคนาดา ได้สิทธิพิเศษ GSP เสียภาษีในอัตรา 4.4% และ0.6% ตามลำดับ อีกทั้งจะต้องปิดฉลาก “dolphin safe ” อีกด้วย
นอกจากนี้สินค้าประมงที่จะส่งเข้าสหรัฐฯ จะต้องมีกระบวนการผลิตตามระบบ HACCP ด้วย
- สหภาพยุโรป เก็บภาษีในโควตาปลาทูน่ากระป๋องจากไทย ร้อยละ 24-25 ในขณะที่ประเทศโคลัมเบีย และกลุ่มประเทศ A.P.C.
ได้รับยกเว้นภาษีนำเข้า
* ไก่
- ญี่ปุ่น เก็บภาษีนำเข้าไก่สดแช่แข็งติดกระดูกจากสหรัฐอเมริกาเพียงร้อยละ 10 แต่เก็บภาษีจากไทยในสินค้าน่องไก่ติดกระดูกแช่แข็งร้อยละ
10 และผลิตภัณฑ์ไก่อื่น ๆ ร้อยละ 12
- ไต้หวัน กำหนดว่าสินยค้าไก่ที่จะนำเข้าจะต้องได้รับการตรวจรับรองจากทางการไต้หวันก่อนว่าปราศจากโรค New Castle
- ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ กำหนดอุณหภูมิไก่ต้มสุกสูงมาก และใช้เวลานาน โดยอ้างว่ามีโรค New Castle ซึ่งไทยไม่สามารถทำได้
- ฟิลิปปินส์ ต้องมีการตรวจสอบโรงงานผลิตไก่ เพื่อให้การรับรองก่อนจึงอนุญาตให้นำเข้าขณะนี้ยังไม่มีการออกใบรับรองให้กับโรงงาน
ผลิตไก่ของไทย
- สาธารณรัฐเช็ก สินค้าต้องมีการตรวจรับรองจากกรมปศุสัตว์ไทยตามมาตรฐานที่กำหนด (มีสารหนูตกค้าง ไม่เกิน 0.1 mg/kg)
และสาธารณรัฐเช็กจะต้องสอบอีกครั้ง และกำหนดให้นำเข้าผ่านด่าน 3 ด่านชายแดนติดกับเยอรมันเท่านั้น
* ผักผลไม้ สด กระป๋องและแปรรูป
- สหรัฐอเมริกา จัดเก็นอากร AD ในสินค้าสับปะรดกระป๋องของไทย
- สเปน กักกันเพื่อตรวจสินค้าข้าวโพดฝักอ่อนจากไทย โดยอ้างว่าเดนมาร์กตรวจพบเชื้อ Shigella Sonnei
- ฟิลิปปินส์ ห้ามนำเข้าผักผลไม้จากไทย เนื่องจากปัญหาแมลงวันผลไม้
- เกาหลีใต้ ห้ามนำเข้ามะม่วงจากไทย เนื่องจากมีแมลงศัตรูพืชชนิด Fruit Flies
- ในส่วนของการนำเข้าสินค้าอาหาร แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1) สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ที่ส่วนใหญ่นำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออก คือ สัตว์น้ำสด แช่เย็นแช่แข็งและสำเร็จรูป (ปลาทูน่าสด
กุ้งสด ปลาหมึกสด ปลาสำเร็จรูป และสัตว์น้ำอื่น ๆ) ปี 2543 การนำเข้ามีมูลค่า 728 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2542 ร้อยละ 5.5
2) สินค้าอุปโภคบริโภค ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ผลิตไม่เพียงพอหรือผลิตไม่ได้ภายในประเทศ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นม ธัญพืชและธัญญพืชสำเร็จรูป
ผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ กาแฟ ชา เครื่องเทศ เครื่องดื่มประเภทน้ำแร่ น้ำอัดลมและสุรา เป็นต้น ปี 2543 การนำเข้ามีมูลค่า
833 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 11.4
ข้อ 5. ปัญหาของการกีดกันสินค้าที่มี GMO มีวิธีป้องกันและแก้ไขอย่างไร
แนวคำตอบ
- GMO : Genetically Modified Organisms เป็นกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพ (Bio-technology) ในการทำให้สาร
อินทรีย์มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ซึ่งขณะนี้เป็นเรื่องใหม่ และยังไม่มีการให้คำจำกัดความของสินค้า GMOs ที่ชัดเจน แต่ตามคำจำกัดความของ
ประเทศพัฒนาแล้ว สินค้าที่จะเข้าข่ายเป็น GMOs มีอยู่มากมาย ทั้งในรูปสินค้าเกษตรขั้นปฐมและสินค้าเกษตรแปรรูป
- ตั้งแต่ประมาณปี 2541-2542 GMOs ได้กลายเป็นประเด็นทางการค้าระหว่างประเทศ โดยเริ่มจากการขัดแย้งระหว่างประเทศสหรัฐฯ
ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้า GMOs รายใหญ่ที่สุดของโลก และสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นผู้นำเข้าที่มีมาตรการกำกับสินค้า GMOs โดยเฉพาะการมีกฎระเบียบให้ติด
ฉลากสินค้า GMOs และต่อมาก็มีหลายประเทศที่ตามอย่างสหภาพยุโรป อาทิ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ซึ่งได้ออกกฎหมายให้ติดฉลาก สินค้า GMOs โดย
จะมีผลบังคับใช้ในปี 2544
- ปัญหาเกี่ยวกับ GMOs ยังได้ส่งผลกระทบถึงประเทศไทยเนื่องจากไทยมีการนำเข้าวัตถุดิบ เช่น ถั่วเหลือง และข้าวโพด GMOs ซึ่ง
บางส่วนจะถูกนำมาแปรรูปและส่งออกไปยังสหภาพยุโรปและประเทศต่าง ๆ เพราะฉะนั้นผู้ส่งออกไทยจึงถูกผลกระทบจากมาตรการที่เกี่ยวกับสินค้า
GMOs เช่นกัน
- การกำหนด กฎเกณฑ์ระหว่างประเทศเกี่ยวกับสินค้า GMOs ในอนาคต จะเชื่อมโยงกับกฎหมายภายในของประเทศต่าง ๆ ในหลายด้าน
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมาตรฐานด้านสุขอนามัย มาตรฐานในการผลิตอาหาร การปิดฉลากสินค้า รวมถึงการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เพราะสินค้าที่ผ่าน
กระบวนการเทคโนโลยีชีวภาพนับเป็นสินค้าใหม่ ซึ่งประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรเป็นหลักอย่างไทย ได้ให้ความสนใจในประเด็นทางการค้าที่
จะมีการหยิบยกขึ้นหารือในเวที WTO ซึ่งจะเริ่มจากการกำหนดคำจำกัดความของ GMO ก่อนที่จะไปถึงขั้นการวางกติกาการค้า สำหรับผลกระทบจาก
กฎเกณฑ์เกี่ยวกับ GMO ต่อการส่งออกของไทย อาจสรุปเบื้องต้นได้ 2 ด้าน คือ การเข้าสู่ตลาด (Market Access) และความสามารถในการแข่งขัน
(Competitiveness)
- โดยที่เรื่อง GMOs เป็นเรื่องใหม่และเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน กนศ. จึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการนโยบายสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพขึ้น
เพื่อกำหนดนโยบายทั้งระยะสั้นและระยะยาวเกี่ยวกับสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ ทั้งในแง่การพัฒนาเทคโนโลยี การผลิต การค้า ความปลอดภัยของผู้บริโภค
สิ่งแวดล้อม และหลักคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ ได้เสนอแนวทางนโยบายและยุทธศาสตร์สินค้าเทคโนโลยีชีวภาพต่อ กนศ.
เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2542 ซึ่ง กนศ. มีมติให้ดำเนินการดังนี้
การผลิต
1.1 ไม่ยินยอมให้มีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ GMOs มาเพาะปลูกในเชิงพาณิชย์ จนกว่าจะมีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่ามีความปลอดภัยทั้ง
ด้านชีวภาพและด้านอาหาร แต่ยินยอมให้นำเข้ามาเฉพาะเพื่อทำการวิจัยเท่านั้น
1.2 ให้กรมวิชาการเกษตรดูแลการรั่วไหลของเมล็ดพันธุ์ GMOs ไปสู่แปลงเพาะปลูก โดยใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.กักพืช พ.ศ. 2507
การส่งออก
2.1 ใช้ความตกลงโดยสมัครใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายภาคเอกชนในการออกมาตรการด้าน
ใบรับรอง (certificate) หรือติดฉลาก (labeling)
2.2 หากประเทศผู้นำเข้าต้องการการตรวจสอบและออกใบรับรองจากภาครัฐให้หน่วยงานที่มีหน้าที่อำนาจดูแลอยู่แล้ว เช่น กรมประมง
กรมปศุสัตว์ เป็นผู้ออกใบรับรอง โดยให้ศูนย์พันธุ์วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติเป็นผู้ตรวจสอบ
3. การนำเข้า
ปัจจุบันยังไม่มีการพิสูจน์จากคณะผู้วิจัยจากประเทศต่าง ๆ หรือแม้แต่ Codex ว่า สินค้า GMOs มีผลกระทบต่อผู้บริโภคหรือไม่
ดังนั้นเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค จึงให้ดำเนินการ ดังนี้
(1) ให้กระทรวงพาณิชย์ ใช้อำนาจกำกับการนำเข้าสินค้า GMOs ในกรณีที่เห็นว่ามีผลกระทบต่อผู้บริโภค
(2) ในกรณีเนื้อไก่ที่เลี้ยงโดยวัตถุดิบ GMOs ภาคเอกชนได้ตรวจสอบกฎระเบียบของประเทศผู้นำเข้าแล้วว่าไม่มีข้อกำหนดให้ติดฉลาก
ว่าเลี้ยงโดยอาหาร GMOs ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ว่ามีสารตัดแต่งพันธุกรรม แต่จะมีเฉพาะกรณีของสินค้าที่ต้องการ
ติดฉลากว่าเป็นสินค้าชีวภาพ เช่น เนื้อไก่ชีวภาพ (bio-chicken) จะมีการตรวจสอบอย่างชัดเจนว่าใช้ non-GMOs หรือไม่ ซึ่งเป็นการดำเนิน
การโดยสมัครใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
(3) ให้ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติให้บริการตรวจสอบว่าสินค้านำเข้าใดเป็นสินค้าตัดแต่งพันธุกรรม
(4) ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นผู้ติดตามข้อมูลข่าวสารการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ทั้งจากต่างประเทศและภาย
ในประเทศ เพื่อดูแลอย่างใกล้ชิดว่าสินค้า GMOs ใดจะมีผลกระทบต่อสุขอนามัยและความปลอดภัยของผู้บริโภค
4. การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ให้เผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชนให้มากที่สุด และกระจายข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเพียงพอและเป็นธรรมแก่ผู้ผลิต ผู้บริโภคในแง่มุมต่าง ๆ
ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม การผลิต ความปลอดภัย มาตรฐาน รวมทั้งกฎเกณฑ์ด้านการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้ภาคเอกชนและภาครัฐ ได้มีโอกาสแสดง
ความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--
-สส-