ข่าวในประเทศ
1. ธปท. ต้องรอข้อมูลที่ชัดเจนในไตรมาสที่ 3 ก่อนการประเมินภาพรวมเศรษฐกิจใหม่ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ยังไม่ได้สรุปภาพเศรษฐกิจใหม่หลังจากเกิดเหตุการณ์การโจมตีอัฟกานิสถานของ สรอ. ให้ ครม. ทราบ เนื่องจากต้องรอข้อมูลเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 และผลกระทบที่ชัดเจนจากสถานการณ์ดังกล่าวก่อน โดยจะประเมินและรายงานในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อปลายเดือน พ.ย. 44 นี้ สำหรับสถานการณ์ตลาดเงินและตลาดทุนภายในประเทศสงบเรียบร้อยดี และยังไม่มีความจำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืน พธบ. (ไทยรัฐ, ไทยโพสต์ 10)
2. ที่ประชุม คปน. มีมติให้คงการทำงานของ คปน. ต่อไป รองประธานคณะกรรมการส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า แม้จะมีการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จาก ธพ.ของรัฐไปยังบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) แล้ว แต่ที่ประชุม คปน. มีมติให้คงการทำงานของ คปน. ต่อไป เนื่องจากยังมีเอ็นพีแอลเหลืออยู่และต้องดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ต่อภายใต้การดูแลของ คปน. นอกจากนี้ยังมีมติให้ยืดอายุการให้สิทธิพิเศษทางภาษีของการโอนขายหลักทรัพย์ค้ำประกันของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่อไปอีก 2 ปี ถึงปี 46 เพื่อให้การปรับโครงสร้างหนี้สามารถดำเนินการต่อไปได้ (ข่าวสด, ผู้จัดการรายวัน 10)
3. ความคืบหน้าการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ณ สิ้นเดือน ส.ค.44 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของระบบสถาบันการเงิน ว่า ณ สิ้นเดือน ส.ค.44 สถาบันการเงินปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 439,276 ราย รวมเป็นมูลหนี้ 2,312,562 ล.บาท เป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างสำเร็จในเดือน ส.ค.44 จำนวน 10,560 ราย มูลหนี้ 24,376 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ค.คิดเป็นร้อยละ 2.46 ของจำนวนราย และร้อยละ 1.07 ของจำนวนมูลหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีจำนวน 56,746 ราย มูลหนี้ 209,095 ล.บาท ลดลงจากเดือน ก.ค.จำนวน 1,285 ราย หรือลดลง 2,577 ล.บาท (โลกวันนี้ 10)
4. บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ตัวเลขเช็คเด้งช่วง 8 เดือนแรกปี 44 ว่าเป็นสัญญาณเตือนภาวะเศรษฐกิจถดถอย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด วิเคราะห์ตัวเลขเช็คคืนอันเนื่องจากไม่มีเงินหรือเช็คเด้ง จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยช่วง 8 เดือนแรกปี 44 ที่มีมูลค่าสูง 4.5 หมื่น ล.บาท หรือเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.9 ว่า เป็นตัวเลขที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนทิศทางอย่างสิ้นเชิง หลังจากที่ตัวเลขเช็คเด้งได้ลดลงจาก 7.1 หมื่น ล.บาทในปี 42 เหลือ 6.6 หมื่น ล.บาทในปี 43 โดยการปรับเพิ่มขึ้นของตัวเลขดังกล่าว สอดคล้องกับภาพการถดถอยของอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 44 ที่คาดว่าจะลดลงเหลือร้อยละ 1 จากที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 ในปี 43 นอกจากนี้ยังอาจบ่งชี้ถึงความเชื่อมั่นที่ธุรกิจหรือประชาชนมีต่ออนาคตทางเศรษฐกิจของตนในช่วงข้างหน้าในแง่ลบ (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้ 10)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีธุรกรรมในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ.ลดลงอยู่ที่ระดับ 0 ในเดือน ก.ย. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 9 ต.ค.44 Federal Reserve Bank of Kansas City รายงานว่า เดือน ก.ย.44 ดัชนีธุรกรรมในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. ลดลงอยู่ที่ระดับ 0 จากระดับ 22 ในเดือน ส.ค.44 แสดงถึงสัญญาณการอ่อนตัวลงครั้งใหม่ของธุรกรรมการผลิต เช่นเดียวกับสัญญาณอื่นๆ เช่น การใช้จ่ายลงทุนที่โน้มต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีสาเหตุจากการถูกโจมตีเมื่อ 11 ก.ย.44 ขณะเดียวกัน Richmond Fed รายงานว่า เดือน ก.ย.44 ดัชนีการส่งมอบสินค้าอุตสาหกรรมการผลิตอยู่ที่ระดับ 3 ลดลงจากระดับ 13 ในเดือน ส.ค.44 ส่วนผู้จัดการโรงงานก็ปรับลดความคาดหวังเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตเช่นกัน ซึ่งดัชนีความคาดหวังดังกล่าวแสดงถึงความคาดหวังในช่วง 6 เดือนข้างหน้า โดยดัชนีฯ ลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ มาอยู่ที่ระดับ 4 ในเดือน ก.ย.44 จากระดับ 13 ในเดือน ส.ค.44 ทั้งนี้ ดัชนีความคาดหวังฯ ดังกล่าวประกอบด้วย ดัชนีการผลิต การส่งมอบสินค้า และคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ ได้ลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่าระดับต่ำครั้งก่อนเมื่อเดือน ก.ค.44 และช่วงวิกฤตการณ์การเงินในเอเชียเมื่อปี 41 โดยดัชนีความคาดหวังฯ เกี่ยวกับการส่งมอบสินค้าในเดือน ก.ย.อยู่ที่ระดับ 26 ลดลงจากระดับ 27 ในเดือน ส.ค. และระดับ 40 ใน ก.ค.44 (รอยเตอร์ 9)
2. คำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในเดือน ส.ค. 44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 9 ต.ค. 44 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 44 คำสั่งซื้อเครื่องจักรโดยรวมของภาคเอกชน ที่ปรับฤดูกาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 1.5 ในเดือน ก.ค.44 ขณะเดียวกัน คำสั่งซื้อเครื่องจักรที่เป็นแกนของภาคเอกชน ที่ไม่รวมคำสั่งซื้อของบริษัทผลิตไฟฟ้าและต่อเรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 1.6 ในเดือน ก.ค. 44 และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน โดยมีช่วงระหว่างเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ถึงลดลงร้อยละ 6.9 อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของคณะรัฐบาลกล่าวว่า แนวโน้มคำสั่งซื้อเครื่องจักรโดยรวมจะลดลง แม้ว่าตัวเลขคำสั่งซื้อฯจะดีขึ้นเมื่อเทียบเดือนต่อเดือน แต่ตัวเลขดังกล่าวมีความผันผวนและไม่น่าเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของการใช้จ่ายสินค้าทุน (รอยเตอร์9)
3. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ในเดือน ส.ค.44 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 9 ต.ค.44 รมว.เศรษฐกิจของเยอรมนีเปิดเผยว่า เดือน ส.ค.44 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial output index) ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 หลังจากที่เดือน ก.ค.44 ลดลงร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน และเมื่อเทียบปีต่อปี ดัชนีฯ เดือน ส.ค.44 ลดลงร้อยละ 1.3 ขณะที่ผลการสำรวจความคิดเห็นของนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน และลดลงเฉลี่ยร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบปีต่อปี รมว.เศรษฐกิจยังเปิดเผยเพิ่มเติมว่า ตัวเลขการเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ส.ค.44 อาจมีคลาดเคลื่อนเนื่องจากจำนวนวันหยุดในเดือน ก.ค.44 มีมากกว่าปกติ (รอยเตอร์ 9)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 9 ต.ค.44 44.800 (44.766)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 9 ต.ค. 44ซื้อ 44.6159(44.5512) ขาย 44.9088 (44.8484)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 6,100 (6,100) 6,200 (6,200)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 20.15 (19.74)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 14.79 (14.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.19 (13.19)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. ต้องรอข้อมูลที่ชัดเจนในไตรมาสที่ 3 ก่อนการประเมินภาพรวมเศรษฐกิจใหม่ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ยังไม่ได้สรุปภาพเศรษฐกิจใหม่หลังจากเกิดเหตุการณ์การโจมตีอัฟกานิสถานของ สรอ. ให้ ครม. ทราบ เนื่องจากต้องรอข้อมูลเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 และผลกระทบที่ชัดเจนจากสถานการณ์ดังกล่าวก่อน โดยจะประเมินและรายงานในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อปลายเดือน พ.ย. 44 นี้ สำหรับสถานการณ์ตลาดเงินและตลาดทุนภายในประเทศสงบเรียบร้อยดี และยังไม่มีความจำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืน พธบ. (ไทยรัฐ, ไทยโพสต์ 10)
2. ที่ประชุม คปน. มีมติให้คงการทำงานของ คปน. ต่อไป รองประธานคณะกรรมการส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า แม้จะมีการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จาก ธพ.ของรัฐไปยังบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) แล้ว แต่ที่ประชุม คปน. มีมติให้คงการทำงานของ คปน. ต่อไป เนื่องจากยังมีเอ็นพีแอลเหลืออยู่และต้องดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ต่อภายใต้การดูแลของ คปน. นอกจากนี้ยังมีมติให้ยืดอายุการให้สิทธิพิเศษทางภาษีของการโอนขายหลักทรัพย์ค้ำประกันของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่อไปอีก 2 ปี ถึงปี 46 เพื่อให้การปรับโครงสร้างหนี้สามารถดำเนินการต่อไปได้ (ข่าวสด, ผู้จัดการรายวัน 10)
3. ความคืบหน้าการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ณ สิ้นเดือน ส.ค.44 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของระบบสถาบันการเงิน ว่า ณ สิ้นเดือน ส.ค.44 สถาบันการเงินปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 439,276 ราย รวมเป็นมูลหนี้ 2,312,562 ล.บาท เป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างสำเร็จในเดือน ส.ค.44 จำนวน 10,560 ราย มูลหนี้ 24,376 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ค.คิดเป็นร้อยละ 2.46 ของจำนวนราย และร้อยละ 1.07 ของจำนวนมูลหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีจำนวน 56,746 ราย มูลหนี้ 209,095 ล.บาท ลดลงจากเดือน ก.ค.จำนวน 1,285 ราย หรือลดลง 2,577 ล.บาท (โลกวันนี้ 10)
4. บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ตัวเลขเช็คเด้งช่วง 8 เดือนแรกปี 44 ว่าเป็นสัญญาณเตือนภาวะเศรษฐกิจถดถอย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด วิเคราะห์ตัวเลขเช็คคืนอันเนื่องจากไม่มีเงินหรือเช็คเด้ง จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยช่วง 8 เดือนแรกปี 44 ที่มีมูลค่าสูง 4.5 หมื่น ล.บาท หรือเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.9 ว่า เป็นตัวเลขที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนทิศทางอย่างสิ้นเชิง หลังจากที่ตัวเลขเช็คเด้งได้ลดลงจาก 7.1 หมื่น ล.บาทในปี 42 เหลือ 6.6 หมื่น ล.บาทในปี 43 โดยการปรับเพิ่มขึ้นของตัวเลขดังกล่าว สอดคล้องกับภาพการถดถอยของอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 44 ที่คาดว่าจะลดลงเหลือร้อยละ 1 จากที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 ในปี 43 นอกจากนี้ยังอาจบ่งชี้ถึงความเชื่อมั่นที่ธุรกิจหรือประชาชนมีต่ออนาคตทางเศรษฐกิจของตนในช่วงข้างหน้าในแง่ลบ (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้ 10)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีธุรกรรมในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ.ลดลงอยู่ที่ระดับ 0 ในเดือน ก.ย. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 9 ต.ค.44 Federal Reserve Bank of Kansas City รายงานว่า เดือน ก.ย.44 ดัชนีธุรกรรมในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. ลดลงอยู่ที่ระดับ 0 จากระดับ 22 ในเดือน ส.ค.44 แสดงถึงสัญญาณการอ่อนตัวลงครั้งใหม่ของธุรกรรมการผลิต เช่นเดียวกับสัญญาณอื่นๆ เช่น การใช้จ่ายลงทุนที่โน้มต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีสาเหตุจากการถูกโจมตีเมื่อ 11 ก.ย.44 ขณะเดียวกัน Richmond Fed รายงานว่า เดือน ก.ย.44 ดัชนีการส่งมอบสินค้าอุตสาหกรรมการผลิตอยู่ที่ระดับ 3 ลดลงจากระดับ 13 ในเดือน ส.ค.44 ส่วนผู้จัดการโรงงานก็ปรับลดความคาดหวังเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตเช่นกัน ซึ่งดัชนีความคาดหวังดังกล่าวแสดงถึงความคาดหวังในช่วง 6 เดือนข้างหน้า โดยดัชนีฯ ลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ มาอยู่ที่ระดับ 4 ในเดือน ก.ย.44 จากระดับ 13 ในเดือน ส.ค.44 ทั้งนี้ ดัชนีความคาดหวังฯ ดังกล่าวประกอบด้วย ดัชนีการผลิต การส่งมอบสินค้า และคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ ได้ลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่าระดับต่ำครั้งก่อนเมื่อเดือน ก.ค.44 และช่วงวิกฤตการณ์การเงินในเอเชียเมื่อปี 41 โดยดัชนีความคาดหวังฯ เกี่ยวกับการส่งมอบสินค้าในเดือน ก.ย.อยู่ที่ระดับ 26 ลดลงจากระดับ 27 ในเดือน ส.ค. และระดับ 40 ใน ก.ค.44 (รอยเตอร์ 9)
2. คำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในเดือน ส.ค. 44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 9 ต.ค. 44 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 44 คำสั่งซื้อเครื่องจักรโดยรวมของภาคเอกชน ที่ปรับฤดูกาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 1.5 ในเดือน ก.ค.44 ขณะเดียวกัน คำสั่งซื้อเครื่องจักรที่เป็นแกนของภาคเอกชน ที่ไม่รวมคำสั่งซื้อของบริษัทผลิตไฟฟ้าและต่อเรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 1.6 ในเดือน ก.ค. 44 และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน โดยมีช่วงระหว่างเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ถึงลดลงร้อยละ 6.9 อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของคณะรัฐบาลกล่าวว่า แนวโน้มคำสั่งซื้อเครื่องจักรโดยรวมจะลดลง แม้ว่าตัวเลขคำสั่งซื้อฯจะดีขึ้นเมื่อเทียบเดือนต่อเดือน แต่ตัวเลขดังกล่าวมีความผันผวนและไม่น่าเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของการใช้จ่ายสินค้าทุน (รอยเตอร์9)
3. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ในเดือน ส.ค.44 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 9 ต.ค.44 รมว.เศรษฐกิจของเยอรมนีเปิดเผยว่า เดือน ส.ค.44 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial output index) ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 หลังจากที่เดือน ก.ค.44 ลดลงร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน และเมื่อเทียบปีต่อปี ดัชนีฯ เดือน ส.ค.44 ลดลงร้อยละ 1.3 ขณะที่ผลการสำรวจความคิดเห็นของนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน และลดลงเฉลี่ยร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบปีต่อปี รมว.เศรษฐกิจยังเปิดเผยเพิ่มเติมว่า ตัวเลขการเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ส.ค.44 อาจมีคลาดเคลื่อนเนื่องจากจำนวนวันหยุดในเดือน ก.ค.44 มีมากกว่าปกติ (รอยเตอร์ 9)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 9 ต.ค.44 44.800 (44.766)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 9 ต.ค. 44ซื้อ 44.6159(44.5512) ขาย 44.9088 (44.8484)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 6,100 (6,100) 6,200 (6,200)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 20.15 (19.74)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 14.79 (14.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.19 (13.19)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-