กรุงเทพฯ--2 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
นางสาวสุจิตรา หิรัญพฤกษ์ อธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศจะเป็น หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน-จีน (ASEAN-China Joint Cooperation Committee- ACJCC) ครั้งที่ 3 ที่รัฐบาลจีนจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ดังกล่าว ระหว่างวันที่ 5-7 มีนาคม 2544 ณ เมืองเฉิงตู
ในการประชุมครั้งนี้ ประเทศไทยมีประเด็นสำคัญ 3 เรื่องที่จะผลักดันได้แก่
1. การเร่งรัดการดำเนินความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ระหว่างอาเซียน-จีนให้มี ความก้าวหน้า โดยเฉพาะให้มีการจัดประชุมคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจและการค้า (ล่าสุดมีเมื่อปี 2540) และการประชุมคณะกรรมการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ล่าสุดมีเมื่อปี 2538) โดยเร็ว เนื่องจากว่างเว้นการประชุมมาเป็นเวลานาน ทำให้ความร่วมมือในด้านดังกล่าวไม่คืบหน้าเท่าที่ควร รวมทั้งให้มีการพบปะกันของภาคเอกชนของทั้งสองฝ่ายในกรอบสภาธุรกิจอาเซียน-จีน
2. การเสนอความร่วมมือในอนาคตโดยเน้นสาขาความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาประเทศของไทยและอาเซียนโดยรวม อาทิ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งไทยในฐานะประธานคณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ASEAN Committee on Science and Technology — ASEAN COST) ในปัจจุบัน จะมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้จีนมีบทบาทที่แข็งขัน ในการพัฒนาความร่วมมือด้านนี้ ซึ่งจีนเองมีความเชี่ยวชาญ ด้านการค้าและการลงทุน ส่งเสริมและ เพิ่มพูนปริมาณการค้าและการลงทุนทั้งสองฝ่ายให้ขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะภายหลังที่จีนเข้าเป็นสมาชิก องค์การการค้าโลกแล้ว ความร่วมมือด้านการพัฒนาอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะด้านการศึกษาผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน และด้านการเกษตร ให้มีการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีทางการเกษตร
3. การพัฒนาความร่วมมือที่มีอยู่กับจีนให้ขยายไปในกรอบอาเซียน+3 อาทิ สนับสนุน ให้มีการประชุม ASEAN COST+3 และการประชุมรัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยวอาเซียน+3
สำหรับประเด็นที่จีนจะหยิบยกขึ้นนั้น คาดว่าจีนจะแจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงการดำเนินงานของจีนตามมติที่ประชุมผู้นำอาเซียน-จีน ที่สิงคโปร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับข้อเสนอของ นายกรัฐมนตรีจีน อาทิ การจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจอาเซียน-จีน การพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง เส้นทางคมนาคมทางบก ทางรถไฟ และทางน้ำ และข้อเสนอการจัดสัมมนาด้านสื่อสารและโทรคมนาคม
ทั้งนี้ คาดหวังว่าการประชุมครั้งนี้ จะนำประโยชน์มาสู่ประชาชนชาวไทย และประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งจีนโดยรวม โดยเฉพาะการคมนาคมเชื่อมโยงไปมาหาสู่กันได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการค้าขายระหว่างกัน
คณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน-จีน จัดตั้งขึ้นในปี 2539 เมื่อจีนได้รับการสถาปนาความสัมพันธ์เป็นประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ACJCC มีหน้าที่ทบทวนความคืบหน้าและพัฒนาการที่สำคัญของความสัมพันธ์ โดยเฉพาะความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและความร่วมมือเฉพาะด้าน นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่เป็นหน่วยกลางประสานงานกลไกความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-จีนในระดับคณะทำงานทั้งหมด โครงการต่าง ๆ จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ACJCC ก่อนเริ่มดำเนินการ
อนึ่ง การประชุม ACJCC จัดขึ้นทุก 18-24 เดือน โดยประเทศผู้ประสานงานและประเทศคู่เจรจาสลับกันเป็นเจ้าภาพ ดังนั้น อินโดนีเซียจะเป็นเจ้าภาพการประชุม ครั้งที่ 4 นอกจาก ACJCC แล้ว อาเซียนและจีนยังมีกลไกความร่วมมือในกรอบการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน-จีน ซึ่งเป็นเวทีในการหารือด้านการเมืองและความมั่นคง คณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าอาเซียน-จีน และคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
นางสาวสุจิตรา หิรัญพฤกษ์ อธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศจะเป็น หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน-จีน (ASEAN-China Joint Cooperation Committee- ACJCC) ครั้งที่ 3 ที่รัฐบาลจีนจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ดังกล่าว ระหว่างวันที่ 5-7 มีนาคม 2544 ณ เมืองเฉิงตู
ในการประชุมครั้งนี้ ประเทศไทยมีประเด็นสำคัญ 3 เรื่องที่จะผลักดันได้แก่
1. การเร่งรัดการดำเนินความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ระหว่างอาเซียน-จีนให้มี ความก้าวหน้า โดยเฉพาะให้มีการจัดประชุมคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจและการค้า (ล่าสุดมีเมื่อปี 2540) และการประชุมคณะกรรมการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ล่าสุดมีเมื่อปี 2538) โดยเร็ว เนื่องจากว่างเว้นการประชุมมาเป็นเวลานาน ทำให้ความร่วมมือในด้านดังกล่าวไม่คืบหน้าเท่าที่ควร รวมทั้งให้มีการพบปะกันของภาคเอกชนของทั้งสองฝ่ายในกรอบสภาธุรกิจอาเซียน-จีน
2. การเสนอความร่วมมือในอนาคตโดยเน้นสาขาความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาประเทศของไทยและอาเซียนโดยรวม อาทิ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งไทยในฐานะประธานคณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ASEAN Committee on Science and Technology — ASEAN COST) ในปัจจุบัน จะมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้จีนมีบทบาทที่แข็งขัน ในการพัฒนาความร่วมมือด้านนี้ ซึ่งจีนเองมีความเชี่ยวชาญ ด้านการค้าและการลงทุน ส่งเสริมและ เพิ่มพูนปริมาณการค้าและการลงทุนทั้งสองฝ่ายให้ขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะภายหลังที่จีนเข้าเป็นสมาชิก องค์การการค้าโลกแล้ว ความร่วมมือด้านการพัฒนาอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะด้านการศึกษาผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน และด้านการเกษตร ให้มีการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีทางการเกษตร
3. การพัฒนาความร่วมมือที่มีอยู่กับจีนให้ขยายไปในกรอบอาเซียน+3 อาทิ สนับสนุน ให้มีการประชุม ASEAN COST+3 และการประชุมรัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยวอาเซียน+3
สำหรับประเด็นที่จีนจะหยิบยกขึ้นนั้น คาดว่าจีนจะแจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงการดำเนินงานของจีนตามมติที่ประชุมผู้นำอาเซียน-จีน ที่สิงคโปร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับข้อเสนอของ นายกรัฐมนตรีจีน อาทิ การจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจอาเซียน-จีน การพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง เส้นทางคมนาคมทางบก ทางรถไฟ และทางน้ำ และข้อเสนอการจัดสัมมนาด้านสื่อสารและโทรคมนาคม
ทั้งนี้ คาดหวังว่าการประชุมครั้งนี้ จะนำประโยชน์มาสู่ประชาชนชาวไทย และประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งจีนโดยรวม โดยเฉพาะการคมนาคมเชื่อมโยงไปมาหาสู่กันได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการค้าขายระหว่างกัน
คณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน-จีน จัดตั้งขึ้นในปี 2539 เมื่อจีนได้รับการสถาปนาความสัมพันธ์เป็นประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ACJCC มีหน้าที่ทบทวนความคืบหน้าและพัฒนาการที่สำคัญของความสัมพันธ์ โดยเฉพาะความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและความร่วมมือเฉพาะด้าน นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่เป็นหน่วยกลางประสานงานกลไกความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-จีนในระดับคณะทำงานทั้งหมด โครงการต่าง ๆ จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ACJCC ก่อนเริ่มดำเนินการ
อนึ่ง การประชุม ACJCC จัดขึ้นทุก 18-24 เดือน โดยประเทศผู้ประสานงานและประเทศคู่เจรจาสลับกันเป็นเจ้าภาพ ดังนั้น อินโดนีเซียจะเป็นเจ้าภาพการประชุม ครั้งที่ 4 นอกจาก ACJCC แล้ว อาเซียนและจีนยังมีกลไกความร่วมมือในกรอบการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน-จีน ซึ่งเป็นเวทีในการหารือด้านการเมืองและความมั่นคง คณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าอาเซียน-จีน และคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-