นายการุณ กิตติสถาพร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ รักษาราชการปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผย ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2544 ถึงนโยบายการบริหารงานหลังมติครม.อนุมัติให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพาณิชย์คนใหม่ว่า ตอนนี้ยังอยู่ระหว่างรอโปรดเกล้าฯ เพราะฉะนั้นโดยตำแหน่งจริงจึงยังคงรักษาการปลัดกระทรวงพาณิชย์ไปก่อน แต่ขณะนี้ได้วางแนวทางการบริหารงานรวมถึงการตั้งปณิธานการทำงานไว้แล้วว่า จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต รวมทั้งเน้นย้ำการทำงานให้เกิดความโปร่งใสในทุกเรื่องสามารถตรวจสอบได้เพื่อให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง
“การบริหารงานของกระทรวงพาณิชย์ หลังจากนี้ไป ผมจะทำทุกเรื่องให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่ายและพร้อมที่จะเปิดรับฟังความคิดเห็นไม่ว่าจะเป็นข้าราชการประจำกระทรวงพาณิชย์ หน่วยงานภาครัฐ จากประชาชนและเกษตรกร”
นอกจากนี้ในส่วนของข้าราชการกระทรวงพาณิชย์นั้น นายการุณกล่าวว่า “ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ ได้วางระบบด้านความสามัคคีไว้เป็นอย่างดีแล้วแต่ก็จะพยายามทำให้ทุกอย่างดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานแบบเป็นทีม(Team Work) ในระดับซี 9และซี10 มีความตั้งใจคือต้องการให้เกิด Team Work ส่วนตำแหน่ง Project Manager ซึ่งมีหน้าที่ในการประสานงานนั้นเมื่อเกิดปัญหาจะต้องร่วมแก้ไขกับระดับอธิบดีได้”
ขณะเดียวกันก็จะยึดหลักการสั่งงานแบบลดขั้นตอน ลดการเสนอรายงานเป็นหน้ากระดาษ ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นจะต้องออกเป็นคำสั่งแต่สามารถพูดคุยกันเพื่อให้งานเป็นไปอย่างรวดเร็วก่อนแล้วค่อยนำเสนอรายงานก็ได้”
ส่วนหลักในการทำงานระหว่างข้าราชการประจำกับข้าราชการการเมืองจะต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่หากนโยบายทางการเมืองไม่ถูกต้อง ข้าราชการประจำก็สามารถที่จะทักท้วงหรือเสนอความเห็น เพื่อให้นโยบายดังกล่าวเกิดประโยชน์มากที่สุด
ส่วนงานหลักๆสำคัญ คือ เรื่องสินค้าเกษตร เรื่องการส่งออก เรื่องการนำเข้า และเรื่องการเจรจาการค้านั้น นายการุณกล่าวว่า ในส่วนของสินค้าเกษตรต้องการให้ศึกษาแบบครบวงจร เป้าหมายของสินค้าเกษตรคือ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม และให้มีการแข่งขันในทุกขั้นตอน ขณะที่เรื่องการส่งออกจะมีการกำหนดมาตรฐานสินค้าส่งออก โดยเฉพาะอาหารจะยกระดับมาตรฐานสินค้าอาหารโดยจะทำให้เกิดผลอย่างจริงจัง
การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์จะเข้าไปดูแลและติดตาม เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีหน่วยงานใดกำกับดูแลการนำเข้าอย่างแท้จริงโดยบางครั้งมีการนำเข้าเครื่องจักร แต่ส่วนราชการก็ไม่ทราบว่าเครื่องจักรที่นำเข้ามาถูกนำไปใช้ในกิจการอะไรและมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน ดังนั้นตาม พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 มีการให้อำนาจปลัดกระทรวงพาณิชย์เกี่ยวกับการควบคุมการนำเข้าไว้ซึ่งถือว่าเป็นการควบคุม แต่ไม่ใช่เป็นการกีดกันทางการค้าซึ่งหากสามารถควบคุมการนำเข้าที่ไม่จำเป็นจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในอนาคตซึ่งในแต่ละปีปริมาณการนำเข้ามีปริมาณสูงมาก
ส่วนเรื่องการเจรจาการค้านั้น กระทรวงพาณิชย์จะให้ความสำคัญกับการปกป้องรักษาตลาด มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยรับทราบข่าวสารจากประเทศคู่ค้าล่าช้า ทำให้ไทยถูกคู่ค้าดำเนินมาตรการกีดกัน ดังนั้น แนวทางในการดำเนินการจะต้องเป็นเชิงรุกโดยจะต้องมีหน่วยข่าวกรองเพื่อเข้าไปดูว่าสินค้าประเภทใดของไทยที่มีแนวโน้มว่าประเทศคู่ค้าจะใช้มาตรการตอบโต้ การทุ่มตลาด ซึ่งหากไทยทราบข้อมูลก่อนก็จะจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปเจรจาและชี้แจงข้อเท็จจริงให้ประเทศคู่ค้ารับทราบ ขณะเดียวกันภาคเอกชนก็ต้องจัดเตรียมข้อมูลให้กับส่วนราชการหากมีการถูกกล่าวหาว่าทุ่มตลาดด้วย นายการุณกล่าวในที่สุด
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ตุลาคม 2544--
-ปส-
“การบริหารงานของกระทรวงพาณิชย์ หลังจากนี้ไป ผมจะทำทุกเรื่องให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่ายและพร้อมที่จะเปิดรับฟังความคิดเห็นไม่ว่าจะเป็นข้าราชการประจำกระทรวงพาณิชย์ หน่วยงานภาครัฐ จากประชาชนและเกษตรกร”
นอกจากนี้ในส่วนของข้าราชการกระทรวงพาณิชย์นั้น นายการุณกล่าวว่า “ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ ได้วางระบบด้านความสามัคคีไว้เป็นอย่างดีแล้วแต่ก็จะพยายามทำให้ทุกอย่างดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานแบบเป็นทีม(Team Work) ในระดับซี 9และซี10 มีความตั้งใจคือต้องการให้เกิด Team Work ส่วนตำแหน่ง Project Manager ซึ่งมีหน้าที่ในการประสานงานนั้นเมื่อเกิดปัญหาจะต้องร่วมแก้ไขกับระดับอธิบดีได้”
ขณะเดียวกันก็จะยึดหลักการสั่งงานแบบลดขั้นตอน ลดการเสนอรายงานเป็นหน้ากระดาษ ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นจะต้องออกเป็นคำสั่งแต่สามารถพูดคุยกันเพื่อให้งานเป็นไปอย่างรวดเร็วก่อนแล้วค่อยนำเสนอรายงานก็ได้”
ส่วนหลักในการทำงานระหว่างข้าราชการประจำกับข้าราชการการเมืองจะต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่หากนโยบายทางการเมืองไม่ถูกต้อง ข้าราชการประจำก็สามารถที่จะทักท้วงหรือเสนอความเห็น เพื่อให้นโยบายดังกล่าวเกิดประโยชน์มากที่สุด
ส่วนงานหลักๆสำคัญ คือ เรื่องสินค้าเกษตร เรื่องการส่งออก เรื่องการนำเข้า และเรื่องการเจรจาการค้านั้น นายการุณกล่าวว่า ในส่วนของสินค้าเกษตรต้องการให้ศึกษาแบบครบวงจร เป้าหมายของสินค้าเกษตรคือ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม และให้มีการแข่งขันในทุกขั้นตอน ขณะที่เรื่องการส่งออกจะมีการกำหนดมาตรฐานสินค้าส่งออก โดยเฉพาะอาหารจะยกระดับมาตรฐานสินค้าอาหารโดยจะทำให้เกิดผลอย่างจริงจัง
การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์จะเข้าไปดูแลและติดตาม เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีหน่วยงานใดกำกับดูแลการนำเข้าอย่างแท้จริงโดยบางครั้งมีการนำเข้าเครื่องจักร แต่ส่วนราชการก็ไม่ทราบว่าเครื่องจักรที่นำเข้ามาถูกนำไปใช้ในกิจการอะไรและมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน ดังนั้นตาม พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 มีการให้อำนาจปลัดกระทรวงพาณิชย์เกี่ยวกับการควบคุมการนำเข้าไว้ซึ่งถือว่าเป็นการควบคุม แต่ไม่ใช่เป็นการกีดกันทางการค้าซึ่งหากสามารถควบคุมการนำเข้าที่ไม่จำเป็นจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในอนาคตซึ่งในแต่ละปีปริมาณการนำเข้ามีปริมาณสูงมาก
ส่วนเรื่องการเจรจาการค้านั้น กระทรวงพาณิชย์จะให้ความสำคัญกับการปกป้องรักษาตลาด มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยรับทราบข่าวสารจากประเทศคู่ค้าล่าช้า ทำให้ไทยถูกคู่ค้าดำเนินมาตรการกีดกัน ดังนั้น แนวทางในการดำเนินการจะต้องเป็นเชิงรุกโดยจะต้องมีหน่วยข่าวกรองเพื่อเข้าไปดูว่าสินค้าประเภทใดของไทยที่มีแนวโน้มว่าประเทศคู่ค้าจะใช้มาตรการตอบโต้ การทุ่มตลาด ซึ่งหากไทยทราบข้อมูลก่อนก็จะจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปเจรจาและชี้แจงข้อเท็จจริงให้ประเทศคู่ค้ารับทราบ ขณะเดียวกันภาคเอกชนก็ต้องจัดเตรียมข้อมูลให้กับส่วนราชการหากมีการถูกกล่าวหาว่าทุ่มตลาดด้วย นายการุณกล่าวในที่สุด
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ตุลาคม 2544--
-ปส-