คำบรรยายพิเศษของ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร) เรื่อง “สถานการณ์และแนวโน้มเศรษฐกิจไทย และนโยบายการส่งออกที่สำคัญ”วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2544 ณ เมืองฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย
ผมรู้สึกเป็นเกียรติและมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาพบกับท่านทั้งหลายในวันนี้ ปีนี้นับว่าเป็นปีสุดท้ายของโครงการ Fukuoka & Thailand Economic Exchange Promoting Activities ซึ่งตลอด 3 ปีที่ผ่านมาการดำเนินกิจกรรมตามโครงการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความร่วมมือ และความเข้าใจอันดีระหว่างกันมีผลให้การค้าของทั้งสองฝ่ายดำเนินไปอย่างราบรื่น และขยายตัวเพิ่มมากขึ้น และผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างนี้จะเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต
เป็นที่ทราบกันดีว่า วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยเมื่อ 3 ปีก่อนส่งผลกระทบต่อประเทศเป็นอย่างมาก ซึ่งรัฐบาลได้พยายามแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในทุกวิถีทางโดยเร่งขยายการส่งออกและเพิ่มการใช้จ่ายของภาครัฐเป็นปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญ ทั้งนี้รัฐบาลญี่ปุ่นได้มีส่วนช่วยเป็นอย่างมากโดยการให้เงินกู้ในโครงการมิยาซาเป็นเงินถึง 1,900 ล้านเหรียญสหรัฐ
2 ปีหลังเกิดวิกฤต สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยได้เริ่มปรากฏขึ้นในต้นปี 1999 โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เริ่มขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นเป็นอันดับ ตั้งแต่ไตรมาสแรกจนถึงไตรมาสสุดท้าย ทำให้ปี 1999 เศรษฐกิจไทยขยายตัวขึ้นร้อยละ 4.2 และขยายตัวต่อเนื่องถึงครึ่งแรกของปี 2000 แต่เริ่มชะลอตัวลงในไตรมาสที่สามและไตรมาสที่สี่ เนื่องจากมีปัจจัยลบที่เป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ คือ การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ภาวะน้ำท่วมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำต่อเนื่อง ความซบเซาของตลาดหลักทรัพย์ และความไม่แน่นอนทางการเมืองที่อยู่ในช่วงการเตรียมการเลือกตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ตลอดปี 2000 เศรษฐกิจขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 4.5
สำหรับปี 2001 นี้ คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 4-4.5 ชะลอตัวลงกว่าปี 2000 และอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับร้อยละ 2.6 การลงทุนของภาคเอกชนยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในอัตราประมาณร้อยละ 9.4 จากการที่มีโครงการลงทุนที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนที่เพิ่มขึ้น และการขยายตัวของการส่งออกจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการลงทุนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคาดว่าการส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 ในส่วนของรัฐบาลยังมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินนโยบายการคลังขาดดุลและคงรักษาอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐและเอกชน และการขยายการผลิตเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อไป
แม้จะคาดว่าเศรษฐกิจยังคงขยายตัวต่อเนื่องในปีนี้ แต่ยังมีปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ปัจจัยสำคัญปัจจัยแรก คือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่ง IMF คาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.2 ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 4.7 ในปี 2000 จากการที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเริ่มเข้าสู่ช่วงขาลงของวัฏจักรเศรษฐกิจ และเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียที่มีแนวโน้มชะลอลงตามทิศทางของเศรษฐกิจโลก ปัจจัยที่สอง ราคาน้ำมันที่จะยังคงอยู่ในระดับสูงในช่วงครึ่งแรกของปี จะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและการใช้จ่ายของประชาชน ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงที่เลวร้ายกว่าที่คาด ก็จะมีผลทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
ตามที่ผมได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า การที่เศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัวขึ้นจากวิกฤตได้นั้น ตัวจักรสำคัญในการพลิกฟื้น คือ รายได้จากการส่งออกสินค้าของไทย ซึ่งในปี 2000 สามารถส่งออกได้ประมาณ 70 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 1999 ร้อยละ 20 สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้เดิมว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 มูลค่า 62 พันล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2001 คาดว่าไทยจะสามารถส่งออกได้มูลค่า 77.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2000 ร้อยละ 11.3 อย่างไรก็ตามการที่จะขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นนั้น จำเป็นต้องมีการพัฒนาด้านการค้าตลอดทั้งกระบวนการตั้งแต่การผลิตจนถึงการจำหน่าย ซึ่ง
รัฐบาลได้กำหนดแผนปฏิบัติการส่งเสริมและพัฒนาการส่งออกปี 2001 เพื่อเป็นแนวทางในการผลักดันและเร่งรัดการส่งออกของประเทศให้ส่งออกสินค้าไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพและผลักดันให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในห้าผู้นำทางการค้าต่างประเทศของเอเชียภายในปี 2007 ดังนี้
นโยบายการส่งออกปี 2001 กระทรวงพาณิชย์มีนโยบายส่งเสริมการส่งออกโดย เน้นการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับตลาดและกิจกรรมที่มีผลการซื้อขายทันที สนับสนุนการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) สนับสนุนการพัฒนาคน สินค้า และบริการทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค และกระตุ้นการผลิตสินค้าและบริการ โดยเน้นคุณภาพแทนการผลิตปริมาณมาก
สำหรับกลยุทธ์การส่งเสริมการส่งออกในปี 2001 ที่สำคัญมีดังนี้
การส่งเสริมการส่งออกโดยเน้นการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติในประเทศ - ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี (IT) เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการส่งออกผ่านระบบ Electronic Commerce
การจัดคณะผู้แทนการค้าจากต่างประเทศเข้ามาซื้อสินค้าในประเทศไทย การร่วมมือการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อกระชับความสัมพันธ์และร่วมมือทางการค้าบนพื้นฐานของการมีประโยชน์ร่วมกันและเกื้อกูลกัน การผลักดันการสร้างเครือข่ายกระจายสินค้าที่มีชื่อทางการค้าของตนเองในต่างประเทศ การพัฒนาความรู้ผู้ส่งออก สนับสนุนการสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าระยะยาวระหว่างผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทยกับผู้ซื้อและผู้จำหน่ายในต่างประเทศ ผลักดันธุรกิจบริการที่มีศักยภาพในการส่งออก การจัดทำแผนการตลาดที่ชัดเจน การจัดทำแผนส่งเสริมและพัฒนาการส่งออกเป็นรายสินค้าให้สอดคล้องกับการปรับปรุงการจัดงบประมาณและโครงสร้างแผนงานแบบมุ่งผลลัพธ์ การให้ความสำคัญกับการดำเนินงานของสำนักงานในต่างประเทศ
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623
-สส-
ผมรู้สึกเป็นเกียรติและมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาพบกับท่านทั้งหลายในวันนี้ ปีนี้นับว่าเป็นปีสุดท้ายของโครงการ Fukuoka & Thailand Economic Exchange Promoting Activities ซึ่งตลอด 3 ปีที่ผ่านมาการดำเนินกิจกรรมตามโครงการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความร่วมมือ และความเข้าใจอันดีระหว่างกันมีผลให้การค้าของทั้งสองฝ่ายดำเนินไปอย่างราบรื่น และขยายตัวเพิ่มมากขึ้น และผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างนี้จะเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต
เป็นที่ทราบกันดีว่า วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยเมื่อ 3 ปีก่อนส่งผลกระทบต่อประเทศเป็นอย่างมาก ซึ่งรัฐบาลได้พยายามแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในทุกวิถีทางโดยเร่งขยายการส่งออกและเพิ่มการใช้จ่ายของภาครัฐเป็นปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญ ทั้งนี้รัฐบาลญี่ปุ่นได้มีส่วนช่วยเป็นอย่างมากโดยการให้เงินกู้ในโครงการมิยาซาเป็นเงินถึง 1,900 ล้านเหรียญสหรัฐ
2 ปีหลังเกิดวิกฤต สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยได้เริ่มปรากฏขึ้นในต้นปี 1999 โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เริ่มขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นเป็นอันดับ ตั้งแต่ไตรมาสแรกจนถึงไตรมาสสุดท้าย ทำให้ปี 1999 เศรษฐกิจไทยขยายตัวขึ้นร้อยละ 4.2 และขยายตัวต่อเนื่องถึงครึ่งแรกของปี 2000 แต่เริ่มชะลอตัวลงในไตรมาสที่สามและไตรมาสที่สี่ เนื่องจากมีปัจจัยลบที่เป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ คือ การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ภาวะน้ำท่วมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำต่อเนื่อง ความซบเซาของตลาดหลักทรัพย์ และความไม่แน่นอนทางการเมืองที่อยู่ในช่วงการเตรียมการเลือกตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ตลอดปี 2000 เศรษฐกิจขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 4.5
สำหรับปี 2001 นี้ คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 4-4.5 ชะลอตัวลงกว่าปี 2000 และอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับร้อยละ 2.6 การลงทุนของภาคเอกชนยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในอัตราประมาณร้อยละ 9.4 จากการที่มีโครงการลงทุนที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนที่เพิ่มขึ้น และการขยายตัวของการส่งออกจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการลงทุนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคาดว่าการส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 ในส่วนของรัฐบาลยังมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินนโยบายการคลังขาดดุลและคงรักษาอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐและเอกชน และการขยายการผลิตเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อไป
แม้จะคาดว่าเศรษฐกิจยังคงขยายตัวต่อเนื่องในปีนี้ แต่ยังมีปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ปัจจัยสำคัญปัจจัยแรก คือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่ง IMF คาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.2 ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 4.7 ในปี 2000 จากการที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเริ่มเข้าสู่ช่วงขาลงของวัฏจักรเศรษฐกิจ และเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียที่มีแนวโน้มชะลอลงตามทิศทางของเศรษฐกิจโลก ปัจจัยที่สอง ราคาน้ำมันที่จะยังคงอยู่ในระดับสูงในช่วงครึ่งแรกของปี จะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและการใช้จ่ายของประชาชน ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงที่เลวร้ายกว่าที่คาด ก็จะมีผลทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
ตามที่ผมได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า การที่เศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัวขึ้นจากวิกฤตได้นั้น ตัวจักรสำคัญในการพลิกฟื้น คือ รายได้จากการส่งออกสินค้าของไทย ซึ่งในปี 2000 สามารถส่งออกได้ประมาณ 70 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 1999 ร้อยละ 20 สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้เดิมว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 มูลค่า 62 พันล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2001 คาดว่าไทยจะสามารถส่งออกได้มูลค่า 77.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2000 ร้อยละ 11.3 อย่างไรก็ตามการที่จะขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นนั้น จำเป็นต้องมีการพัฒนาด้านการค้าตลอดทั้งกระบวนการตั้งแต่การผลิตจนถึงการจำหน่าย ซึ่ง
รัฐบาลได้กำหนดแผนปฏิบัติการส่งเสริมและพัฒนาการส่งออกปี 2001 เพื่อเป็นแนวทางในการผลักดันและเร่งรัดการส่งออกของประเทศให้ส่งออกสินค้าไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพและผลักดันให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในห้าผู้นำทางการค้าต่างประเทศของเอเชียภายในปี 2007 ดังนี้
นโยบายการส่งออกปี 2001 กระทรวงพาณิชย์มีนโยบายส่งเสริมการส่งออกโดย เน้นการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับตลาดและกิจกรรมที่มีผลการซื้อขายทันที สนับสนุนการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) สนับสนุนการพัฒนาคน สินค้า และบริการทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค และกระตุ้นการผลิตสินค้าและบริการ โดยเน้นคุณภาพแทนการผลิตปริมาณมาก
สำหรับกลยุทธ์การส่งเสริมการส่งออกในปี 2001 ที่สำคัญมีดังนี้
การส่งเสริมการส่งออกโดยเน้นการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติในประเทศ - ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี (IT) เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการส่งออกผ่านระบบ Electronic Commerce
การจัดคณะผู้แทนการค้าจากต่างประเทศเข้ามาซื้อสินค้าในประเทศไทย การร่วมมือการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อกระชับความสัมพันธ์และร่วมมือทางการค้าบนพื้นฐานของการมีประโยชน์ร่วมกันและเกื้อกูลกัน การผลักดันการสร้างเครือข่ายกระจายสินค้าที่มีชื่อทางการค้าของตนเองในต่างประเทศ การพัฒนาความรู้ผู้ส่งออก สนับสนุนการสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าระยะยาวระหว่างผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทยกับผู้ซื้อและผู้จำหน่ายในต่างประเทศ ผลักดันธุรกิจบริการที่มีศักยภาพในการส่งออก การจัดทำแผนการตลาดที่ชัดเจน การจัดทำแผนส่งเสริมและพัฒนาการส่งออกเป็นรายสินค้าให้สอดคล้องกับการปรับปรุงการจัดงบประมาณและโครงสร้างแผนงานแบบมุ่งผลลัพธ์ การให้ความสำคัญกับการดำเนินงานของสำนักงานในต่างประเทศ
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623
-สส-