ทุเรียน : คาดว่าราคาจะตกต่ำ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรคาดคะเนผลผลิตทุเรียน ปี 2544 (มกราคม-ธันวาคม) จะมีประมาณ 826,000 ตัน เพิ่มจาก 649,000 ตันของปีที่ผ่านมา หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 27 ผลผลิตประมาณร้อยละ 70 หรือ 578,000 ตัน จะมาจากแหล่งผลิตในภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด และจะออกสู่ตลาดมากกว่า 300,000 ตัน ในช่วง2 สัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคมนี้ ประกอบกับในระยะดังกล่าวกำลังซื้อของผู้บริโภคภายในประเทศลดลง เนื่องจากเป็นช่วงใกล้ระยะเปิดภาคการศึกษาใหม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษา ดังนั้นจากการกระจุกตัวของผลผลิตที่เกินกว่าปริมาณที่ตลาดจะรับได้ อาจจะส่งผลกระทบต่อราคาให้ตกต่ำได้
อย่างไรก็ตามจากการติดตามสถานการณ์ตลาดทุเรียนในภาคตะวันออกขณะนี้พบว่าผลผลิตทุเรียนในฤดูกาลผลิต ปี 2544 เริ่มออกสู่ตลาดแล้วโดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์กระดุมซึ่งเป็นพันธุ์เบาจะออกสู่ตลาดก่อนทุเรียนพันธุ์ชะนีและหมอนทอง โดยราคาที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เริ่มลดลงอย่างต่อเนื่องจากกิโลกรัมละ 30-35 บาท ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เหลือกิโลกรัมละ 15-18 บาทในสัปดาห์นี้ และคาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องต่อไปอีกถึงสัปดาห์หน้า ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมาได้มีการส่งออกทุเรียนด้อยคุณภาพ(อ่อน) ไปยังตลาดฮ่องกงและจีนส่งผลให้ราคาในตลาดดังกล่าวลดลง ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังจะมีผลกระทบต่อราคาทุเรียนพันธุ์ชะนีและพันธุ์หมอนทองที่จะออกสู่ตลาดมากในระยะต่อไปได้
ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น เห็นควรเร่งดำเนินการดังนี้
1. ให้ศูนย์ผลักดันสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก กรมวิชาการเกษตรตรวจสอบคุณภาพทุเรียนก่อนส่งออก ณ โรงบรรจุหีบห่ออย่างเข้มงวด ทั้งทุเรียนด้อยคุณภาพ (อ่อน) โรคและแมลง รวมทั้งการชุบน้ำยากันเชื้อราและเร่งสุก ของผู้ประกอบการ เพื่อป้องกันปัญหาสารพิษตกค้างในตลาดต่างประเทศ
2. เร่งให้กรมการค้าภายใน ขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายและ มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เพื่อพิจารณาอนุมัติเงินสำหรับเตรียมการช่วยเหลือเกษตรกรตามโครงการผลักดันและเร่งรัดการตลาดทุเรียน ปี 2544 ตามที่กรมวิชาการเกษตรได้เสนอไปแล้ว
3. ให้ศูนย์ผลักดันสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก ประสานงานกับผู้ประกอบการขนส่งทางเรือเกี่ยวกับค่าระวางสินค้า ซึ่งในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมเป็นระยะที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ค่าระวางมักจะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นถึงตู้ละ 2,500-3,000 เหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ช่วงปกติค่าระวางจะอยู่ที่ตู้ละ 1,300-1,500 เหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น
หอมหัวใหญ่ : เกษตรกรปลูกหอมหัวใหญ่ปีนี้ราคาสดใส
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ติดตามสถานการณ์การผลิตและการตลาดหอมหัวใหญ่ ในปี 2543/44 มีผลผลิต 86,920 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 5.51 ขณะที่ราคาหอมหัวใหญ่ในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาด 3 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม-มีนาคม 2544) กิโลกรัมละ 7.29 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.87 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 1.54 เท่า และเกษตรกรมีกำไรไร่ละ 18,949 บาท ในขณะที่ปีที่ผ่านมาขาดทุนไร่ละ 2,374.20 บาท
ขณะนี้เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตออกจากไร่และขายเกือบหมดแล้วคงเหลือเฉพาะเกษตรกรอำเภอฝางเท่านั้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิต แล้วนำมาแขวนไว้ที่บ้านเพียงบางส่วนที่ต้องการเก็งกำไรตลาด จึงทำให้เกษตรกรที่ปลูกหอมหัวใหญ่ในปีนี้ได้ราคาดีกว่าหลายปีที่ผ่านมา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 13 ประจำวันที่ 2-8 เม.ย. 2544--
-สส-
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรคาดคะเนผลผลิตทุเรียน ปี 2544 (มกราคม-ธันวาคม) จะมีประมาณ 826,000 ตัน เพิ่มจาก 649,000 ตันของปีที่ผ่านมา หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 27 ผลผลิตประมาณร้อยละ 70 หรือ 578,000 ตัน จะมาจากแหล่งผลิตในภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด และจะออกสู่ตลาดมากกว่า 300,000 ตัน ในช่วง2 สัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคมนี้ ประกอบกับในระยะดังกล่าวกำลังซื้อของผู้บริโภคภายในประเทศลดลง เนื่องจากเป็นช่วงใกล้ระยะเปิดภาคการศึกษาใหม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษา ดังนั้นจากการกระจุกตัวของผลผลิตที่เกินกว่าปริมาณที่ตลาดจะรับได้ อาจจะส่งผลกระทบต่อราคาให้ตกต่ำได้
อย่างไรก็ตามจากการติดตามสถานการณ์ตลาดทุเรียนในภาคตะวันออกขณะนี้พบว่าผลผลิตทุเรียนในฤดูกาลผลิต ปี 2544 เริ่มออกสู่ตลาดแล้วโดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์กระดุมซึ่งเป็นพันธุ์เบาจะออกสู่ตลาดก่อนทุเรียนพันธุ์ชะนีและหมอนทอง โดยราคาที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เริ่มลดลงอย่างต่อเนื่องจากกิโลกรัมละ 30-35 บาท ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เหลือกิโลกรัมละ 15-18 บาทในสัปดาห์นี้ และคาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องต่อไปอีกถึงสัปดาห์หน้า ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมาได้มีการส่งออกทุเรียนด้อยคุณภาพ(อ่อน) ไปยังตลาดฮ่องกงและจีนส่งผลให้ราคาในตลาดดังกล่าวลดลง ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังจะมีผลกระทบต่อราคาทุเรียนพันธุ์ชะนีและพันธุ์หมอนทองที่จะออกสู่ตลาดมากในระยะต่อไปได้
ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น เห็นควรเร่งดำเนินการดังนี้
1. ให้ศูนย์ผลักดันสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก กรมวิชาการเกษตรตรวจสอบคุณภาพทุเรียนก่อนส่งออก ณ โรงบรรจุหีบห่ออย่างเข้มงวด ทั้งทุเรียนด้อยคุณภาพ (อ่อน) โรคและแมลง รวมทั้งการชุบน้ำยากันเชื้อราและเร่งสุก ของผู้ประกอบการ เพื่อป้องกันปัญหาสารพิษตกค้างในตลาดต่างประเทศ
2. เร่งให้กรมการค้าภายใน ขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายและ มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เพื่อพิจารณาอนุมัติเงินสำหรับเตรียมการช่วยเหลือเกษตรกรตามโครงการผลักดันและเร่งรัดการตลาดทุเรียน ปี 2544 ตามที่กรมวิชาการเกษตรได้เสนอไปแล้ว
3. ให้ศูนย์ผลักดันสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก ประสานงานกับผู้ประกอบการขนส่งทางเรือเกี่ยวกับค่าระวางสินค้า ซึ่งในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมเป็นระยะที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ค่าระวางมักจะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นถึงตู้ละ 2,500-3,000 เหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ช่วงปกติค่าระวางจะอยู่ที่ตู้ละ 1,300-1,500 เหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น
หอมหัวใหญ่ : เกษตรกรปลูกหอมหัวใหญ่ปีนี้ราคาสดใส
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ติดตามสถานการณ์การผลิตและการตลาดหอมหัวใหญ่ ในปี 2543/44 มีผลผลิต 86,920 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 5.51 ขณะที่ราคาหอมหัวใหญ่ในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาด 3 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม-มีนาคม 2544) กิโลกรัมละ 7.29 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.87 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 1.54 เท่า และเกษตรกรมีกำไรไร่ละ 18,949 บาท ในขณะที่ปีที่ผ่านมาขาดทุนไร่ละ 2,374.20 บาท
ขณะนี้เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตออกจากไร่และขายเกือบหมดแล้วคงเหลือเฉพาะเกษตรกรอำเภอฝางเท่านั้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิต แล้วนำมาแขวนไว้ที่บ้านเพียงบางส่วนที่ต้องการเก็งกำไรตลาด จึงทำให้เกษตรกรที่ปลูกหอมหัวใหญ่ในปีนี้ได้ราคาดีกว่าหลายปีที่ผ่านมา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 13 ประจำวันที่ 2-8 เม.ย. 2544--
-สส-