ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานความคืบหน้าการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของระบบสถาบันการเงิน และลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของ คปน.ณ เดือนมีนาคม 2544
ร.ต. ยอดชาย ชูศรี ผู้อำนวยการอาวุโส สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เปิดเผย ความคืบหน้าการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเดือนมีนาคม 2544 มีรายละเอียด ดังนี้
1. ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน (ตาราง 1-4)
ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2544 สถาบันการเงินได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จไปแล้วจำนวน 382,749 ราย คิดเป็นมูลหนี้รวม 2,093,155 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2544 จำนวน 12,091 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 3.26 และเป็นมูลหนี้ 78,623 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.90 เป็นจำนวนรายและมูลหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จสูงสุดในไตรมาสที่ 1 ซึ่งโดยทั่วไปในเดือนสุดท้ายของแต่ละไตรมาสสถาบันการเงินจะปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จมากเนื่องจากเป็นช่วงปิดงวดบัญชี โดยลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จส่วนใหญ่จะอยู่ในประเภทอุตสาหกรรม รองลงมาคือ การค้าส่งค้าปลีก และธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามลำดับ นอกจากนี้ยังเป็นลูกหนี้ในเขตกรุงเทพมหานครและภาคกลางเป็นสำคัญ
สำหรับลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2544 มีจำนวน 71,276 ราย มูลหนี้ 324,103 ล้านบาท เพิ่มจากสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2544 จำนวน 1,361 ราย ในขณะที่ยอดมูลหนี้ลดลง 56,606 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าลูกหนี้ที่เข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในระยะหลังๆ จะเป็นลูกหนี้รายกลางรายย่อยเป็นส่วนใหญ่
2. ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) (ตาราง 5-6)
ณ สิ้นเดือนเมษายน 2544 คปน. มีลูกหนี้เป้าหมายรวมทั้งสิ้น 14,386 ราย มูลหนี้ 2,620,563 ล้านบาท โดยมีลูกหนี้ที่ให้ความร่วมมือเข้าสู่กระบวนการจำนวน 9,780 ราย มูลหนี้ 1,654,214 ล้านบาท หรือร้อยละ 67.98 ของจำนวนลูกหนี้เป้าหมายทั้งสิ้น สรุปความคืบหน้าในการดำเนินการ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2544 ดังนี้
1. ลูกหนี้เป้าหมายที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จมีจำนวนทั้งสิ้น 7,954 ราย มูลหนี้ 1,236,182 ล้านบาท ซึ่งเป็นร้อยละ 81.33 ของจำนวนลูกหนี้ที่ให้ความร่วมมือเข้ากระบวนการทั้งสิ้น โดยเป็นลูกหนี้รายกลางรายย่อยร้อยละ 87.67 ของจำนวนลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ
2. ลูกหนี้เป้าหมายที่ยังเหลืออยู่ในกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของ คปน. มีจำนวน 621 ราย มูลหนี้รวม 46,487 ล้านบาท โดยมีลูกหนี้เป้าหมายรายใหญ่เหลือเพียง 124 ราย (ร้อยละ 7.88 ของลูกหนี้รายใหญ่ที่เข้ากระบวนการ) มูลหนี้ 32,076 ล้านบาท (ร้อยละ 2.2 ของ ลูกหนี้รายใหญ่ที่เข้ากระบวนการ) และ คปน.ยังไม่ได้มีการขอให้สถาบันการเงินเสนอรายชื่อลูกหนี้เพิ่มเติมอีก ส่วนลูกหนี้เป้าหมายรายกลางรายย่อย ปัจจุบันอยู่ในกระบวนการของบันทึกข้อตกลงในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ อีก 497 ราย (ร้อยละ 6.06 ของลูกหนี้รายกลางรายย่อยที่เข้ากระบวนการ) มูลหนี้ 14,411 ล้านบาท (ร้อยละ 7.34 ของลูกหนี้รายกลางรายย่อยที่เข้ากระบวนการ) และมีลูกหนี้ที่ อยู่ระหว่างรอลงนามผูกพันตนเข้ากระบวนการอีก 1,699 ราย (ร้อยละ 14.72 ของลูกหนี้รายกลางรายย่อยทั้งสิ้น) มูลหนี้ 5,570 ล้านบาท (ร้อยละ 1.82 ของลูกหนี้รายกลางรายย่อยทั้งสิ้น) ทั้งนี้ในแต่ละเดือนสถาบันการเงินยังเสนอชื่อลูกหนี้รายกลาง รายย่อยเข้าสู่กระบวนการอย่างต่อเนื่อง
3. ลูกหนี้เป้าหมายที่สถาบันการเงินต้องนำเข้าสู่การดำเนินการทางศาลเนื่องจาก ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่สำเร็จภายใต้กระบวนการของ คปน. รวมทั้งลูกหนี้ที่ยังไม่ได้ปรับปรุง โครงสร้างหนี้และไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการมีจำนวนทั้งสิ้น 4,052 ราย มูลหนี้ 1,172,662 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่สำเร็จภายใต้กระบวนการของคปน. จำนวน 1,205 ราย มูลหนี้ 371,545 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.32 ของจำนวนรายลูกหนี้ที่เข้ากระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของ คปน.
4. เมื่อพิจารณาลูกหนี้เป้าหมายรายใหญ่ของ คปน. ที่ผ่านมาทั้งสี่กลุ่ม เกือบครึ่งหนึ่งอยู่ในภาคอุตสาหกรรม รองลงมาอยู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ และการพาณิชย์ ซึ่งเป็นลูกหนี้ในกลุ่มที่ 1 อยู่ในภาคอุตสาหกรรมมากกว่าร้อยละ 60 สำหรับลูกหนี้เป้าหมายรายใหญ่ที่เข้ากระบวนการและปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ กว่าร้อยละ 60 ของมูลหนี้อยู่ในภาคอุตสาหกรรมเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลูกหนี้กลุ่มที่ 1 และ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้รายใหญ่ที่มีมูลหนี้สูง รองลงมาอยู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ สำหรับลูกหนี้ที่ไม่เข้ากระบวนการนั้น ส่วนใหญ่อยู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ และ อุตสาหกรรมในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน โดยประมาณหนึ่งในสามของลูกหนี้ ดังกล่าวได้ปรับปรุง โครงสร้างหนี้เสร็จก่อนเข้ากระบวนการ ส่วนที่เหลือสถาบันการเงินต้องดำเนินคดีทางศาลตามที่ คปน.ได้สั่งการไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ร.ต. ยอดชาย ชูศรี ผู้อำนวยการอาวุโส สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เปิดเผย ความคืบหน้าการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเดือนมีนาคม 2544 มีรายละเอียด ดังนี้
1. ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน (ตาราง 1-4)
ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2544 สถาบันการเงินได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จไปแล้วจำนวน 382,749 ราย คิดเป็นมูลหนี้รวม 2,093,155 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2544 จำนวน 12,091 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 3.26 และเป็นมูลหนี้ 78,623 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.90 เป็นจำนวนรายและมูลหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จสูงสุดในไตรมาสที่ 1 ซึ่งโดยทั่วไปในเดือนสุดท้ายของแต่ละไตรมาสสถาบันการเงินจะปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จมากเนื่องจากเป็นช่วงปิดงวดบัญชี โดยลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จส่วนใหญ่จะอยู่ในประเภทอุตสาหกรรม รองลงมาคือ การค้าส่งค้าปลีก และธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามลำดับ นอกจากนี้ยังเป็นลูกหนี้ในเขตกรุงเทพมหานครและภาคกลางเป็นสำคัญ
สำหรับลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2544 มีจำนวน 71,276 ราย มูลหนี้ 324,103 ล้านบาท เพิ่มจากสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2544 จำนวน 1,361 ราย ในขณะที่ยอดมูลหนี้ลดลง 56,606 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าลูกหนี้ที่เข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในระยะหลังๆ จะเป็นลูกหนี้รายกลางรายย่อยเป็นส่วนใหญ่
2. ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) (ตาราง 5-6)
ณ สิ้นเดือนเมษายน 2544 คปน. มีลูกหนี้เป้าหมายรวมทั้งสิ้น 14,386 ราย มูลหนี้ 2,620,563 ล้านบาท โดยมีลูกหนี้ที่ให้ความร่วมมือเข้าสู่กระบวนการจำนวน 9,780 ราย มูลหนี้ 1,654,214 ล้านบาท หรือร้อยละ 67.98 ของจำนวนลูกหนี้เป้าหมายทั้งสิ้น สรุปความคืบหน้าในการดำเนินการ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2544 ดังนี้
1. ลูกหนี้เป้าหมายที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จมีจำนวนทั้งสิ้น 7,954 ราย มูลหนี้ 1,236,182 ล้านบาท ซึ่งเป็นร้อยละ 81.33 ของจำนวนลูกหนี้ที่ให้ความร่วมมือเข้ากระบวนการทั้งสิ้น โดยเป็นลูกหนี้รายกลางรายย่อยร้อยละ 87.67 ของจำนวนลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ
2. ลูกหนี้เป้าหมายที่ยังเหลืออยู่ในกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของ คปน. มีจำนวน 621 ราย มูลหนี้รวม 46,487 ล้านบาท โดยมีลูกหนี้เป้าหมายรายใหญ่เหลือเพียง 124 ราย (ร้อยละ 7.88 ของลูกหนี้รายใหญ่ที่เข้ากระบวนการ) มูลหนี้ 32,076 ล้านบาท (ร้อยละ 2.2 ของ ลูกหนี้รายใหญ่ที่เข้ากระบวนการ) และ คปน.ยังไม่ได้มีการขอให้สถาบันการเงินเสนอรายชื่อลูกหนี้เพิ่มเติมอีก ส่วนลูกหนี้เป้าหมายรายกลางรายย่อย ปัจจุบันอยู่ในกระบวนการของบันทึกข้อตกลงในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ อีก 497 ราย (ร้อยละ 6.06 ของลูกหนี้รายกลางรายย่อยที่เข้ากระบวนการ) มูลหนี้ 14,411 ล้านบาท (ร้อยละ 7.34 ของลูกหนี้รายกลางรายย่อยที่เข้ากระบวนการ) และมีลูกหนี้ที่ อยู่ระหว่างรอลงนามผูกพันตนเข้ากระบวนการอีก 1,699 ราย (ร้อยละ 14.72 ของลูกหนี้รายกลางรายย่อยทั้งสิ้น) มูลหนี้ 5,570 ล้านบาท (ร้อยละ 1.82 ของลูกหนี้รายกลางรายย่อยทั้งสิ้น) ทั้งนี้ในแต่ละเดือนสถาบันการเงินยังเสนอชื่อลูกหนี้รายกลาง รายย่อยเข้าสู่กระบวนการอย่างต่อเนื่อง
3. ลูกหนี้เป้าหมายที่สถาบันการเงินต้องนำเข้าสู่การดำเนินการทางศาลเนื่องจาก ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่สำเร็จภายใต้กระบวนการของ คปน. รวมทั้งลูกหนี้ที่ยังไม่ได้ปรับปรุง โครงสร้างหนี้และไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการมีจำนวนทั้งสิ้น 4,052 ราย มูลหนี้ 1,172,662 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่สำเร็จภายใต้กระบวนการของคปน. จำนวน 1,205 ราย มูลหนี้ 371,545 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.32 ของจำนวนรายลูกหนี้ที่เข้ากระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของ คปน.
4. เมื่อพิจารณาลูกหนี้เป้าหมายรายใหญ่ของ คปน. ที่ผ่านมาทั้งสี่กลุ่ม เกือบครึ่งหนึ่งอยู่ในภาคอุตสาหกรรม รองลงมาอยู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ และการพาณิชย์ ซึ่งเป็นลูกหนี้ในกลุ่มที่ 1 อยู่ในภาคอุตสาหกรรมมากกว่าร้อยละ 60 สำหรับลูกหนี้เป้าหมายรายใหญ่ที่เข้ากระบวนการและปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ กว่าร้อยละ 60 ของมูลหนี้อยู่ในภาคอุตสาหกรรมเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลูกหนี้กลุ่มที่ 1 และ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้รายใหญ่ที่มีมูลหนี้สูง รองลงมาอยู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ สำหรับลูกหนี้ที่ไม่เข้ากระบวนการนั้น ส่วนใหญ่อยู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ และ อุตสาหกรรมในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน โดยประมาณหนึ่งในสามของลูกหนี้ ดังกล่าวได้ปรับปรุง โครงสร้างหนี้เสร็จก่อนเข้ากระบวนการ ส่วนที่เหลือสถาบันการเงินต้องดำเนินคดีทางศาลตามที่ คปน.ได้สั่งการไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-