ข้อมูลเบื้องต้นเดือนมิถุนายน เศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวในระดับใกล้เคียงกับ 2-3 เดือนก่อนหน้า ทั้งภาคการผลิต การใช้จ่ายในประเทศ และการส่งออก ขณะที่ดุลการชำระเงินขาดดุลลดลง ภาครัฐบาล รายได้จากฐาน การบริโภคและฐานการค้าระหว่างประเทศขยายตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเสี่ยงบางประการจากการว่างงาน การลดลงของราคาพืชผลเกษตร และราคาน้ำมัน ส่วนภาคการเงินสภาพคล่องระบบการเงินตึงตัวในช่วงปลายเดือน จากการที่สถาบันการเงินนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ทำให้อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย แต่อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ยังทรงตัว ส่วนค่าเงินบาทอ่อนลง ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคยังคงแสดงแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน ทั้งนี้ มีรายละเอียด ดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน (หากไม่รวมผลผลิตสุรา การผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8) หมวดที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการผลิต รถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ประกอบกับมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ของผู้ประกอบการบางราย หมวดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ขยายตัวสูงตามการส่งออกผลิตภัณฑ์มอเตอร์ไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้า โทรทัศน์ คอมเพรสเซอร์ และอัญมณีและเครื่องประดับ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ขยายตัวตามความต้องการเพื่อการส่งออกและเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง สินค้าที่ผลิต ลดลงมาก คือ สุรา เนื่องจากยังมีสต๊อกเหลืออยู่มาก ในช่วงครึ่งแรกของปี ผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนในอัตราร้อยละ 6.4 (หากไม่รวมผลผลิตสุรา ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5)
2. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ลดลงจากเดือนก่อน แต่ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ตามเครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่สำคัญ ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ รถยนต์นั่ง และการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ในช่วงครึ่งแรกของปี การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนค่อนข้างทรงตัวต่อเนื่องจากครึ่งหลังของปีก่อน แต่ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนค่อนข้างดี แม้จะชะลอลงบ้างในไตรมาสที่ 2 ตามรายได้เกษตรกร รวมทั้งประชาชน มีความระมัดระวังในด้านการใช้จ่ายมากขึ้น การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องตามการขยายตัวของ การลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ สะท้อนจากการขยายตัวของการนำเข้าสินค้าทุนและยอดจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ขณะที่การลงทุนด้านการก่อสร้างค่อนข้างทรงตัว ในช่วงครึ่งแรกของปีการลงทุนขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับ การขยายตัวของการผลิตเพื่อการส่งออก
3. ภาคต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.1 และ 26.7 ตามลำดับ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลเล็กน้อย 40 ล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อรวมกับดุลบริการและบริจาคที่เกินดุล ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลประมาณ 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนเงินทุนเคลื่อนย้ายยังคงขาดดุลจากการชำระหนี้ของกิจการวิเทศธนกิจที่เพิ่มขึ้น ทำให้ดุลการชำระเงินขาดดุล 29 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับครึ่งแรกของปี ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 4.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงินขาดดุล 2.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (รวมการส่งมอบเงินตราต่างประเทศจากการทำธุรกรรมเพื่อเพิ่มสภาพคล่องเงินบาทในช่วง Y2K จำนวน 1.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) เทียบกับที่เกินดุล 2.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเดียวกันปีก่อน สำหรับเงินสำรองทางการ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 อยู่ที่ระดับ 32.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการขายเงินตรา ต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 2.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และเงินสำรองทางการล่าสุด ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2543 อยู่ที่ระดับ 31.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
4. ดุลเงินสดรัฐบาล ขาดดุล 12.1 พันล้านบาท เป็นการขาดดุลในงบประมาณ 7.6 พันล้านบาท และนอก งบประมาณ 4.5 พันล้านบาท รายได้จัดเก็บได้ลดลงถึงร้อยละ 26.7 จากระยะเดียวกันปีก่อนโดยเฉพาะจากฐานรายได้ เนื่องจากภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดสิ้นปี 2542 จำนวนประมาณ 28 พันล้านบาทสามารถนำส่งได้เกือบทั้งหมดในเดือนพฤษภาคม (ขณะที่ปีก่อนมีการนำส่งในเดือนมิถุนายน) รายได้จากฐานการบริโภคและฐานการค้าระหว่างประเทศยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ร้อยละ 14.8 และ 6.2 ตามลำดับ ส่วนรายจ่ายลดลงเล็กน้อยร้อยละ 3.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน (รวมรายจ่ายเพื่อชำระ ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลที่ออกเพื่อฟื้นฟูสถาบันการเงินจำนวน 5.8 พันล้านบาท) สำหรับรายจ่ายตามโครงการมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (โครงการมิยาซาวา)ในเดือนมิถุนายนมีจำนวน 0.8 พันล้านบาท (อยู่ในดุลเงินนอกงบประมาณ) และสะสมจนถึงเดือนมิถุนายน ทั้งสิ้น 47.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 88.2 ของวงเงินทั้งหมด ฐานะการคลังสะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ รายได้ขยายตัวร้อยละ 4.6 จากระยะเดียวกันปีก่อนเนื่องจากการขยายตัวของภาษีเงินได้ นิติบุคคล ภาษีจากการนำเข้าสินค้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม รายจ่ายขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ มีอัตราเบิกจ่ายสะสมร้อยละ 63.7 ดุลเงินสดขาดดุลสะสม 92.1 พันล้านบาทเทียบกับที่คาดว่าจะขาดดุลรวม 141.5 พันล้านบาท ทั้งปีงบประมาณ 2543
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.2 ทั้งนี้เป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.6 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ ขณะที่ราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ -0.4 โดยเฉพาะหมวดผักและผลไม้ เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วง ในครึ่งแรกของปี ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 เพราะราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงภายในประเทศปรับสูงขึ้น ประกอบกับค่าเงินบาทในครึ่งแรกของปีมีแนวโน้มอ่อนตัวลง ในขณะที่ราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ -1.6 ในครึ่งแรกของปี เนื่องจากปริมาณผลิตผลภาคการเกษตรออกสู่ตลาดมาก อาทิ หมูเนื้อแดง ไก่สด และผักและผลไม้บางชนิด ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ดัชนีราคาผู้บริโภคที่ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) ในครึ่งแรกของปีเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 0.6 โดยมีอัตราร้อยละ 0.2 และ 1.0 ในไตรมาสที่หนึ่งและสอง ตามลำดับ
6. ภาวะการเงิน สภาพคล่องระบบการเงินตึงตัวขึ้นในช่วงปลายเดือน จากการที่สถาบันการเงินนำส่งเงินสมทบ เข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย ด้าน อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ยังคงอยู่ ในระดับเดียวกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการทรงตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 อย่างไรก็ตาม ในเดือนกรกฎาคม 2543 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่และขนาดกลางหลายแห่งปรับลดลงร้อยละ 0.25 ต่อปี มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.25 ต่อปี ขณะที่มี 1 ธนาคารที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ลงร้อยละ 0.25 ต่อปี ส่วนสินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ ปรับตัวลดลงประมาณ 280 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเพราะการตัดหนี้สูญในช่วงปิดบัญชีกลางปีจำนวนประมาณ 240 พันล้านบาท สำหรับ เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ทรงตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ด้าน ฐานเงินและปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนจากการเพิ่มขึ้นของเงินสดในมือประชาชนและเงินฝากธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ
7. อัตราแลกเปลี่ยน ในช่วง 6 เดือนแรก ค่าเงินบาทอ่อนลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ทั้งนี้ ค่าเงินบาทเฉลี่ยเดือนมิถุนายนเท่ากับ 39.06 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยมีสาเหตุมาจาก 1) การเร่งซื้อดอลลาร์ สรอ. ของเอกชนในประเทศเพื่อเตรียมชำระหนี้ช่วงกลางปี 2) การปรับตัวลดลงของดัชนีหลักทรัพย์ไทย 3) การประกาศภาระหนี้ต่างประเทศจากการสำรวจ ทำให้ตัวเลขหนี้ต่างประเทศของไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 20 พันล้านดอลลาร์ สรอ. 4) การอ่อนตัวของค่าเงินในภูมิภาค อาทิ รูเปียอินโดนีเซีย และ 5) ความไม่แน่นอนของเสถียรภาพการเมืองไทย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน (หากไม่รวมผลผลิตสุรา การผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8) หมวดที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการผลิต รถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ประกอบกับมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ของผู้ประกอบการบางราย หมวดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ขยายตัวสูงตามการส่งออกผลิตภัณฑ์มอเตอร์ไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้า โทรทัศน์ คอมเพรสเซอร์ และอัญมณีและเครื่องประดับ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ขยายตัวตามความต้องการเพื่อการส่งออกและเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง สินค้าที่ผลิต ลดลงมาก คือ สุรา เนื่องจากยังมีสต๊อกเหลืออยู่มาก ในช่วงครึ่งแรกของปี ผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนในอัตราร้อยละ 6.4 (หากไม่รวมผลผลิตสุรา ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5)
2. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ลดลงจากเดือนก่อน แต่ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ตามเครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่สำคัญ ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ รถยนต์นั่ง และการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ในช่วงครึ่งแรกของปี การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนค่อนข้างทรงตัวต่อเนื่องจากครึ่งหลังของปีก่อน แต่ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนค่อนข้างดี แม้จะชะลอลงบ้างในไตรมาสที่ 2 ตามรายได้เกษตรกร รวมทั้งประชาชน มีความระมัดระวังในด้านการใช้จ่ายมากขึ้น การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องตามการขยายตัวของ การลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ สะท้อนจากการขยายตัวของการนำเข้าสินค้าทุนและยอดจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ขณะที่การลงทุนด้านการก่อสร้างค่อนข้างทรงตัว ในช่วงครึ่งแรกของปีการลงทุนขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับ การขยายตัวของการผลิตเพื่อการส่งออก
3. ภาคต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.1 และ 26.7 ตามลำดับ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลเล็กน้อย 40 ล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อรวมกับดุลบริการและบริจาคที่เกินดุล ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลประมาณ 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนเงินทุนเคลื่อนย้ายยังคงขาดดุลจากการชำระหนี้ของกิจการวิเทศธนกิจที่เพิ่มขึ้น ทำให้ดุลการชำระเงินขาดดุล 29 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับครึ่งแรกของปี ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 4.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงินขาดดุล 2.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (รวมการส่งมอบเงินตราต่างประเทศจากการทำธุรกรรมเพื่อเพิ่มสภาพคล่องเงินบาทในช่วง Y2K จำนวน 1.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) เทียบกับที่เกินดุล 2.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเดียวกันปีก่อน สำหรับเงินสำรองทางการ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 อยู่ที่ระดับ 32.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการขายเงินตรา ต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 2.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และเงินสำรองทางการล่าสุด ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2543 อยู่ที่ระดับ 31.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
4. ดุลเงินสดรัฐบาล ขาดดุล 12.1 พันล้านบาท เป็นการขาดดุลในงบประมาณ 7.6 พันล้านบาท และนอก งบประมาณ 4.5 พันล้านบาท รายได้จัดเก็บได้ลดลงถึงร้อยละ 26.7 จากระยะเดียวกันปีก่อนโดยเฉพาะจากฐานรายได้ เนื่องจากภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดสิ้นปี 2542 จำนวนประมาณ 28 พันล้านบาทสามารถนำส่งได้เกือบทั้งหมดในเดือนพฤษภาคม (ขณะที่ปีก่อนมีการนำส่งในเดือนมิถุนายน) รายได้จากฐานการบริโภคและฐานการค้าระหว่างประเทศยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ร้อยละ 14.8 และ 6.2 ตามลำดับ ส่วนรายจ่ายลดลงเล็กน้อยร้อยละ 3.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน (รวมรายจ่ายเพื่อชำระ ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลที่ออกเพื่อฟื้นฟูสถาบันการเงินจำนวน 5.8 พันล้านบาท) สำหรับรายจ่ายตามโครงการมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (โครงการมิยาซาวา)ในเดือนมิถุนายนมีจำนวน 0.8 พันล้านบาท (อยู่ในดุลเงินนอกงบประมาณ) และสะสมจนถึงเดือนมิถุนายน ทั้งสิ้น 47.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 88.2 ของวงเงินทั้งหมด ฐานะการคลังสะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ รายได้ขยายตัวร้อยละ 4.6 จากระยะเดียวกันปีก่อนเนื่องจากการขยายตัวของภาษีเงินได้ นิติบุคคล ภาษีจากการนำเข้าสินค้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม รายจ่ายขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ มีอัตราเบิกจ่ายสะสมร้อยละ 63.7 ดุลเงินสดขาดดุลสะสม 92.1 พันล้านบาทเทียบกับที่คาดว่าจะขาดดุลรวม 141.5 พันล้านบาท ทั้งปีงบประมาณ 2543
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.2 ทั้งนี้เป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.6 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ ขณะที่ราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ -0.4 โดยเฉพาะหมวดผักและผลไม้ เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วง ในครึ่งแรกของปี ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 เพราะราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงภายในประเทศปรับสูงขึ้น ประกอบกับค่าเงินบาทในครึ่งแรกของปีมีแนวโน้มอ่อนตัวลง ในขณะที่ราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ -1.6 ในครึ่งแรกของปี เนื่องจากปริมาณผลิตผลภาคการเกษตรออกสู่ตลาดมาก อาทิ หมูเนื้อแดง ไก่สด และผักและผลไม้บางชนิด ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ดัชนีราคาผู้บริโภคที่ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) ในครึ่งแรกของปีเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 0.6 โดยมีอัตราร้อยละ 0.2 และ 1.0 ในไตรมาสที่หนึ่งและสอง ตามลำดับ
6. ภาวะการเงิน สภาพคล่องระบบการเงินตึงตัวขึ้นในช่วงปลายเดือน จากการที่สถาบันการเงินนำส่งเงินสมทบ เข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย ด้าน อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ยังคงอยู่ ในระดับเดียวกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการทรงตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 อย่างไรก็ตาม ในเดือนกรกฎาคม 2543 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่และขนาดกลางหลายแห่งปรับลดลงร้อยละ 0.25 ต่อปี มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.25 ต่อปี ขณะที่มี 1 ธนาคารที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ลงร้อยละ 0.25 ต่อปี ส่วนสินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ ปรับตัวลดลงประมาณ 280 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเพราะการตัดหนี้สูญในช่วงปิดบัญชีกลางปีจำนวนประมาณ 240 พันล้านบาท สำหรับ เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ทรงตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ด้าน ฐานเงินและปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนจากการเพิ่มขึ้นของเงินสดในมือประชาชนและเงินฝากธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ
7. อัตราแลกเปลี่ยน ในช่วง 6 เดือนแรก ค่าเงินบาทอ่อนลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ทั้งนี้ ค่าเงินบาทเฉลี่ยเดือนมิถุนายนเท่ากับ 39.06 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยมีสาเหตุมาจาก 1) การเร่งซื้อดอลลาร์ สรอ. ของเอกชนในประเทศเพื่อเตรียมชำระหนี้ช่วงกลางปี 2) การปรับตัวลดลงของดัชนีหลักทรัพย์ไทย 3) การประกาศภาระหนี้ต่างประเทศจากการสำรวจ ทำให้ตัวเลขหนี้ต่างประเทศของไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 20 พันล้านดอลลาร์ สรอ. 4) การอ่อนตัวของค่าเงินในภูมิภาค อาทิ รูเปียอินโดนีเซีย และ 5) ความไม่แน่นอนของเสถียรภาพการเมืองไทย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-