ก. มาตรการภาษี
การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณี ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจาก หลักทรัพย์อ้างอิงไทย (Non-Voting Depositary Receipt : NVDR)
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2544 เห็นชอบร่างกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ….) พ.ศ. … (การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (Non-Voting Depositary Receipt : NVDR) สาระสำคัญมีดังนี้
1. การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้น ตามกฏหมายไทย ที่มีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 99 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง และเป็นผู้เสนอขาย ใบแสดงสิทธิฯ สำหรับ (1) เงินได้ประเภทเงินปันผลที่ได้รับจากการถือครองสินทรัพย์ที่ถูกอ้างอิงตาม ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง (2) เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่ถูกอ้างอิงตามใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจาก หลักทรัพย์อ้างอิง และ (3) เงินได้ที่ได้รับเนื่องจากการลงทุนหาผลประโยชน์ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
2. การลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินเทียบเท่าเงินปันผล ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 1 จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยจากอัตราร้อยละ 15 โดยให้จัดเก็บในอัตรา ร้อยละ 10 ของเงินได้
3. ให้ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งเป็น ผู้อยู่ในประเทศไทยที่ได้รับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินเทียบเท่าเงินปันผล จากบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 1 และยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้ ได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำเงินเทียบเท่าเงินปันผลดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ เฉพาะกรณีผู้มีเงินได้ ดังกล่าวไม่ขอรับภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
4. การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินเทียบเท่า เงินปันผล ที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ ตั้งขึ้นตามกฏหมายของต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยได้รับจากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 1 จากอัตราร้อยละ 15 โดยให้ จัดเก็บในอัตราร้อยละ 10
ข. มาตรการรายจ่าย
1. การปรับปรุงประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล การปฏิบัติงานของข้าราชการ พลเรือน
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 เห็นชอบการปรับปรุงประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล การปฏิบัติงานของข้าราชการพลเรือน โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 และให้กำหนดกรอบวงเงินการเลื่อนขั้นเงินเดือน ดังนี้
1) การเลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี ให้มีโควตาการเลื่อนขั้นเงินเดือนหนึ่งขั้นสำหรับผู้มีผลงานและผลสัมฤทธิ์ดีเด่นได้ ไม่เกินร้อยละ 15 ของจำนวนข้าราชการ ณ วันที่ 1 มีนาคม และ
2) การเลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี ให้เลื่อนได้ในวงเงินไม่เกินร้อยละ 6 ของอัตราเงินเดือนข้าราชการ ณ วันที่ 1 กันยายน โดยให้นำวงเงินที่ได้ใช้เลื่อนเงินเดือน ไปแล้วเมื่อวันที่ 1 เมษายน มาหักออกก่อน
3) ให้มีเงินรางวัลประจำปี จ่ายปีละครั้งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544
4) ให้นำเงินเหลือจ่ายของส่วน ราชการ และเงินที่ส่วนราชการประหยัดได้จากการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลมาใช้ เพื่อดำเนินการ หากไม่พอจึงจะใช้งบกลาง
2. เพิ่มเติมการปรับลดงบประมาณ รายจ่ายประจำปี 2544 แนวทางและหลักเกณฑ์การจัดสรรคืนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2544
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2544 เห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ดังนี้
1) เพิ่มเติมการปรับลดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 จำนวน 1,177.5 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อรวมกับที่ปรับลด ครั้งก่อน จะเป็นยอดที่ปรับลดทั้งสิ้น 11,844.3 ล้านบาท โดยมีสาระสำคัญของการปรับลดงบประมาณ ดังนี้
(1) ครุภัณฑ์หรืออุปกรณ์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศที่ไม่จำเป็น จำนวน 715.6 ล้านบาท
(2) โครงการลงทุนขนาดใหญ่ ปรับลดจำนวน 144.0 ล้านบาท
(3) เพิ่มเติมปรับลด งบประมาณของส่วนราชการต่างๆ อีก จำนวน 317.9 ล้านบาท
2) แนวทางและหลักเกณฑ์การ จัดสรรคืนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2544 โดยนำเงินงบประมาณ ปี 2544 ที่ปรับลดได้จำนวน 11,844.3 ล้านบาท ไปดำเนินการในงานโครงการและกิจกรรมของ รัฐบาลตามนโยบายเร่งด่วน และนโยบายสำคัญ ที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับประชาชน
ค. มาตรการก่อหนี้และบริหารหนี้
การกู้เงินเพื่อชำระหนี้เงิน (Refinance) ในปีงบประมาณ 2544
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กู้เงินจำนวน 2,940 ล้านบาท จากตลาดการเงินภายในประเทศ โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อชำระหนี้เงินกู้เดิม (Refinance) ซึ่งจะครบกำหนดชำระในวันที่ 26 เมษายน 2544 และให้กระทรวงมหาดไทยเข้ากำกับดูแล ตลอดจนหามาตรการปรับปรุงการดำเนินการของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) อย่างใกล้ชิดและเร่งด่วน เพื่อให้มีฐานะการเงินที่ดีและมั่นคง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณี ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจาก หลักทรัพย์อ้างอิงไทย (Non-Voting Depositary Receipt : NVDR)
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2544 เห็นชอบร่างกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ….) พ.ศ. … (การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (Non-Voting Depositary Receipt : NVDR) สาระสำคัญมีดังนี้
1. การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้น ตามกฏหมายไทย ที่มีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 99 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง และเป็นผู้เสนอขาย ใบแสดงสิทธิฯ สำหรับ (1) เงินได้ประเภทเงินปันผลที่ได้รับจากการถือครองสินทรัพย์ที่ถูกอ้างอิงตาม ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง (2) เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่ถูกอ้างอิงตามใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจาก หลักทรัพย์อ้างอิง และ (3) เงินได้ที่ได้รับเนื่องจากการลงทุนหาผลประโยชน์ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
2. การลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินเทียบเท่าเงินปันผล ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 1 จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยจากอัตราร้อยละ 15 โดยให้จัดเก็บในอัตรา ร้อยละ 10 ของเงินได้
3. ให้ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งเป็น ผู้อยู่ในประเทศไทยที่ได้รับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินเทียบเท่าเงินปันผล จากบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 1 และยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้ ได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำเงินเทียบเท่าเงินปันผลดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ เฉพาะกรณีผู้มีเงินได้ ดังกล่าวไม่ขอรับภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
4. การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินเทียบเท่า เงินปันผล ที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ ตั้งขึ้นตามกฏหมายของต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยได้รับจากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 1 จากอัตราร้อยละ 15 โดยให้ จัดเก็บในอัตราร้อยละ 10
ข. มาตรการรายจ่าย
1. การปรับปรุงประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล การปฏิบัติงานของข้าราชการ พลเรือน
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 เห็นชอบการปรับปรุงประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล การปฏิบัติงานของข้าราชการพลเรือน โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 และให้กำหนดกรอบวงเงินการเลื่อนขั้นเงินเดือน ดังนี้
1) การเลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี ให้มีโควตาการเลื่อนขั้นเงินเดือนหนึ่งขั้นสำหรับผู้มีผลงานและผลสัมฤทธิ์ดีเด่นได้ ไม่เกินร้อยละ 15 ของจำนวนข้าราชการ ณ วันที่ 1 มีนาคม และ
2) การเลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี ให้เลื่อนได้ในวงเงินไม่เกินร้อยละ 6 ของอัตราเงินเดือนข้าราชการ ณ วันที่ 1 กันยายน โดยให้นำวงเงินที่ได้ใช้เลื่อนเงินเดือน ไปแล้วเมื่อวันที่ 1 เมษายน มาหักออกก่อน
3) ให้มีเงินรางวัลประจำปี จ่ายปีละครั้งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544
4) ให้นำเงินเหลือจ่ายของส่วน ราชการ และเงินที่ส่วนราชการประหยัดได้จากการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลมาใช้ เพื่อดำเนินการ หากไม่พอจึงจะใช้งบกลาง
2. เพิ่มเติมการปรับลดงบประมาณ รายจ่ายประจำปี 2544 แนวทางและหลักเกณฑ์การจัดสรรคืนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2544
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2544 เห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ดังนี้
1) เพิ่มเติมการปรับลดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 จำนวน 1,177.5 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อรวมกับที่ปรับลด ครั้งก่อน จะเป็นยอดที่ปรับลดทั้งสิ้น 11,844.3 ล้านบาท โดยมีสาระสำคัญของการปรับลดงบประมาณ ดังนี้
(1) ครุภัณฑ์หรืออุปกรณ์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศที่ไม่จำเป็น จำนวน 715.6 ล้านบาท
(2) โครงการลงทุนขนาดใหญ่ ปรับลดจำนวน 144.0 ล้านบาท
(3) เพิ่มเติมปรับลด งบประมาณของส่วนราชการต่างๆ อีก จำนวน 317.9 ล้านบาท
2) แนวทางและหลักเกณฑ์การ จัดสรรคืนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2544 โดยนำเงินงบประมาณ ปี 2544 ที่ปรับลดได้จำนวน 11,844.3 ล้านบาท ไปดำเนินการในงานโครงการและกิจกรรมของ รัฐบาลตามนโยบายเร่งด่วน และนโยบายสำคัญ ที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับประชาชน
ค. มาตรการก่อหนี้และบริหารหนี้
การกู้เงินเพื่อชำระหนี้เงิน (Refinance) ในปีงบประมาณ 2544
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กู้เงินจำนวน 2,940 ล้านบาท จากตลาดการเงินภายในประเทศ โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อชำระหนี้เงินกู้เดิม (Refinance) ซึ่งจะครบกำหนดชำระในวันที่ 26 เมษายน 2544 และให้กระทรวงมหาดไทยเข้ากำกับดูแล ตลอดจนหามาตรการปรับปรุงการดำเนินการของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) อย่างใกล้ชิดและเร่งด่วน เพื่อให้มีฐานะการเงินที่ดีและมั่นคง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-