กรุงเทพฯ--9 ส.ค.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าระหว่างไทย - สหภาพพม่า ครั้งที่ ๒ วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๓ ณ กรุงย่างกุ้ง สหภาพพม่า
การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าระหว่างไทย - สหภาพพม่า ครั้งที่ ๒ ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๓ ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศสหภาพพม่า โดยมีนายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และพลจัตวาพีโซน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พม่าเป็นประธานประชุมร่วมกัน ผลการประชุมมีสรุปสาระสำคัญดังนี้
๑. การค้า มีการหารือในประเด็นที่จะทำให้การค้าสองฝ่ายขยายตัว ดังนี้
- การค้าชายแดน ฝ่ายไทยได้ให้ความสำคัญต่อการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งรวมถึงพม่า โดยได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อสนับสนุนการค้าชายแดน ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน ทำให้สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาได้ทันที และทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะดำเนินการให้การค้าชายแดนเข้าสู่ระบบโดยเร็ว
- การจัดทำความตกลงด้านการธนาคาร ซึ่งจะทำให้การชำระเงินสำหรับการค้าชายแดนเป็นไปได้โดยสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นนั้น โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะเร่งรัดให้ธนาคารของทั้งสองฝ่ายเจรจากันให้ความตกลงมีผลในทางปฏิบัติโดยเร็วที่สุด
- ในช่วง ๒ - ๓ ปีที่ผ่านมา พม่าได้ออกกฎระเบียบทางการค้าที่เข้มงวดมากขึ้น เช่นนโยบายที่กำหนดให้การนำเข้าต้องใช้เงินที่มาจากการส่งออกเท่านั้น และการห้ามนำเข้าสินค้าบางรายการ ในประเด็นนี้ฝ่ายไทยแจ้งว่าได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่พม่าต้องดำเนินมาตรการดังกล่าว เพื่อสงวนเงินตราต่างประเทศ แต่เนื่องจากทั้งไทยและพม่า เป็นสมาชิก WTO และ ASEAN ร่วมกัน จึงควรหาทางผ่อนคลายและยกเลิกมาตรการเหล่านั้นลงตามลำดับ และหากพม่าเกรงว่าจะเป็นผลให้พม่าขาดดุลการค้ากับไทยมากขึ้น ฝ่ายไทยยินดีช่วยเหลือ โดยการรับซื้อสินค้าจากพม่ามากขึ้น ฝ่ายพม่าแจ้งว่าขณะนี้ภาวะการขาดดุลการค้าของพม่าได้เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นแล้ว จึงมีลู่ทางที่จะผ่อนคลายมาตรการเหล่านั้นได้ตามลำดับ
๒. การลงทุน ฝ่ายไทยเร่งรัดให้พม่าพิจารณาร่างความตกลงร่วมมือด้านการลงทุนระหว่าง BOI กับคณะกรรมาธิการส่งเสริมการลงทุนของพม่า และความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ซึ่งไทยได้เสนอให้พม่าพิจารณามานานแล้ว เพื่อให้มีการลงนามโดยเร็ว ซึ่งฝ่ายพม่ารับว่าจะรีบประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ ฝ่ายพม่าต้องการให้ไทยเข้าไปลงทุนร่วมผลิตเมล็ดพันธุ์พืชและอุตสาหกรรมเกษตรอื่น ๆ ซึ่งฝ่ายไทยแจ้งว่ายินดีสนองตอบความต้องการของพม่า อันจะเป็นประโยชน์ร่วมกัน
๓. การท่องเที่ยว ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวร่วมกันมากขึ้น โดยฝ่ายไทยจะให้ความช่วยเหลือด้านการฝึกอบรมและการอำนวยความสะดวกอื่น ๆ แก่พม่า รวมทั้งได้เสนอให้พม่าเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาการท่องเที่ยวกันภูมิภาค ๖ เหลี่ยมเศรษฐกิจมากขึ้นภายใต้กรอบของ GSM (โครงการลุ่มแม่น้ำโขง) นอกจากนี้ ฝ่ายไทยได้เสนอว่าควรมีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบกระหว่างภาคตะวันตกของไทยกับเมืองทวายของพม่า (ระยะทาง ๑๓๐ กิโลเมตร) ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ทางด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นการช่วยพัฒนาการลงทุนและการขนส่งสินค้าผ่านแดนระหว่างกัน เป็นการลดต้นทุนและระยะเวลาในการขนส่งสินค้าได้อย่างมาก
๔. การประมง ฝ่ายพม่าได้แสดงความขอบคุณไทยที่ให้ความช่วยเหลือในการสร้างสถานีสาธิตการเพาะเลี้ยงกุ้งในพม่า ซึ่งจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม ศกนี้ สำหรับสิทธิ์ของชาวต่างชาติในการทำประมงในน่านน้ำพม่านั้น ฝ่ายพม่าแจ้งว่าจะยังไม่อนุญาตให้ประเทศใดทำการประมงในน่านน้ำของพม่าจนกว่าจะทำการศึกษาและประเมินทรัพยากรสัตว์น้ำตลอดจนขีดความสามารถของกองเรือประมงพม่าได้สำเร็จ และหากผลการศึกษาชี้ว่าทรัพยากรสัตว์น้ำของพม่ามีเพียงพอที่จะให้ต่างชาติเข้ามาทำการประมงได้ พม่าก็จะเปิดให้สัมปทานประมงแก่ต่างชาติต่อไป
๕. ก๊าซธรรมชาติ ฝ่ายพม่าขอบคุณไทยที่ได้ชำระเงินค่าก๊าซธรรมชาติ จำนวน ๒๘๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไปแล้วเมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นค่าก๊าซที่ไทยซื้อจากพม่าตามโครงการยาดานา
ทั้งนี้ การประชุมเป็นไปโดยบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความร่วมมือและทั้งสองฝ่ายได้แสดงเจตนารมย์ชัดเจนที่จะร่วมมือกันพัฒนาความสำคัญทางการค้าและเศรษฐกิจให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-สส-
การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าระหว่างไทย - สหภาพพม่า ครั้งที่ ๒ วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๓ ณ กรุงย่างกุ้ง สหภาพพม่า
การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าระหว่างไทย - สหภาพพม่า ครั้งที่ ๒ ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๓ ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศสหภาพพม่า โดยมีนายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และพลจัตวาพีโซน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พม่าเป็นประธานประชุมร่วมกัน ผลการประชุมมีสรุปสาระสำคัญดังนี้
๑. การค้า มีการหารือในประเด็นที่จะทำให้การค้าสองฝ่ายขยายตัว ดังนี้
- การค้าชายแดน ฝ่ายไทยได้ให้ความสำคัญต่อการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งรวมถึงพม่า โดยได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อสนับสนุนการค้าชายแดน ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน ทำให้สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาได้ทันที และทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะดำเนินการให้การค้าชายแดนเข้าสู่ระบบโดยเร็ว
- การจัดทำความตกลงด้านการธนาคาร ซึ่งจะทำให้การชำระเงินสำหรับการค้าชายแดนเป็นไปได้โดยสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นนั้น โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะเร่งรัดให้ธนาคารของทั้งสองฝ่ายเจรจากันให้ความตกลงมีผลในทางปฏิบัติโดยเร็วที่สุด
- ในช่วง ๒ - ๓ ปีที่ผ่านมา พม่าได้ออกกฎระเบียบทางการค้าที่เข้มงวดมากขึ้น เช่นนโยบายที่กำหนดให้การนำเข้าต้องใช้เงินที่มาจากการส่งออกเท่านั้น และการห้ามนำเข้าสินค้าบางรายการ ในประเด็นนี้ฝ่ายไทยแจ้งว่าได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่พม่าต้องดำเนินมาตรการดังกล่าว เพื่อสงวนเงินตราต่างประเทศ แต่เนื่องจากทั้งไทยและพม่า เป็นสมาชิก WTO และ ASEAN ร่วมกัน จึงควรหาทางผ่อนคลายและยกเลิกมาตรการเหล่านั้นลงตามลำดับ และหากพม่าเกรงว่าจะเป็นผลให้พม่าขาดดุลการค้ากับไทยมากขึ้น ฝ่ายไทยยินดีช่วยเหลือ โดยการรับซื้อสินค้าจากพม่ามากขึ้น ฝ่ายพม่าแจ้งว่าขณะนี้ภาวะการขาดดุลการค้าของพม่าได้เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นแล้ว จึงมีลู่ทางที่จะผ่อนคลายมาตรการเหล่านั้นได้ตามลำดับ
๒. การลงทุน ฝ่ายไทยเร่งรัดให้พม่าพิจารณาร่างความตกลงร่วมมือด้านการลงทุนระหว่าง BOI กับคณะกรรมาธิการส่งเสริมการลงทุนของพม่า และความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ซึ่งไทยได้เสนอให้พม่าพิจารณามานานแล้ว เพื่อให้มีการลงนามโดยเร็ว ซึ่งฝ่ายพม่ารับว่าจะรีบประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ ฝ่ายพม่าต้องการให้ไทยเข้าไปลงทุนร่วมผลิตเมล็ดพันธุ์พืชและอุตสาหกรรมเกษตรอื่น ๆ ซึ่งฝ่ายไทยแจ้งว่ายินดีสนองตอบความต้องการของพม่า อันจะเป็นประโยชน์ร่วมกัน
๓. การท่องเที่ยว ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวร่วมกันมากขึ้น โดยฝ่ายไทยจะให้ความช่วยเหลือด้านการฝึกอบรมและการอำนวยความสะดวกอื่น ๆ แก่พม่า รวมทั้งได้เสนอให้พม่าเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาการท่องเที่ยวกันภูมิภาค ๖ เหลี่ยมเศรษฐกิจมากขึ้นภายใต้กรอบของ GSM (โครงการลุ่มแม่น้ำโขง) นอกจากนี้ ฝ่ายไทยได้เสนอว่าควรมีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบกระหว่างภาคตะวันตกของไทยกับเมืองทวายของพม่า (ระยะทาง ๑๓๐ กิโลเมตร) ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ทางด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นการช่วยพัฒนาการลงทุนและการขนส่งสินค้าผ่านแดนระหว่างกัน เป็นการลดต้นทุนและระยะเวลาในการขนส่งสินค้าได้อย่างมาก
๔. การประมง ฝ่ายพม่าได้แสดงความขอบคุณไทยที่ให้ความช่วยเหลือในการสร้างสถานีสาธิตการเพาะเลี้ยงกุ้งในพม่า ซึ่งจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม ศกนี้ สำหรับสิทธิ์ของชาวต่างชาติในการทำประมงในน่านน้ำพม่านั้น ฝ่ายพม่าแจ้งว่าจะยังไม่อนุญาตให้ประเทศใดทำการประมงในน่านน้ำของพม่าจนกว่าจะทำการศึกษาและประเมินทรัพยากรสัตว์น้ำตลอดจนขีดความสามารถของกองเรือประมงพม่าได้สำเร็จ และหากผลการศึกษาชี้ว่าทรัพยากรสัตว์น้ำของพม่ามีเพียงพอที่จะให้ต่างชาติเข้ามาทำการประมงได้ พม่าก็จะเปิดให้สัมปทานประมงแก่ต่างชาติต่อไป
๕. ก๊าซธรรมชาติ ฝ่ายพม่าขอบคุณไทยที่ได้ชำระเงินค่าก๊าซธรรมชาติ จำนวน ๒๘๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไปแล้วเมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นค่าก๊าซที่ไทยซื้อจากพม่าตามโครงการยาดานา
ทั้งนี้ การประชุมเป็นไปโดยบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความร่วมมือและทั้งสองฝ่ายได้แสดงเจตนารมย์ชัดเจนที่จะร่วมมือกันพัฒนาความสำคัญทางการค้าและเศรษฐกิจให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-สส-