กรุงเทพฯ--29 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (28 มีนาคม) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนกรณีที่นายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยช่วงก่อนและระหว่างการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) ครั้งที่ 10 และเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2543 นายอันนัน ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ- พระเจ้าอยู่หัว กราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และเรียน ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศและอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีสาระสำคัญดังนี้
1.หนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เลขาธิการสหประชาชาติได้แสดงความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ โปรดเกล้าฯ ให้เลขาธิการฯ และภริยา เข้าเฝ้าฯ ในระหว่างการเยือนประเทศไทย พร้อมทั้งแสดงความประทับใจในพระปรีชาสามารถและความรอบรู้ ตลอดจนความห่วงกังวลของพระองค์ท่านที่มีต่อการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของไทย และผลกระทบของการพัฒนาที่มีต่อสภาวะแวดล้อม อีกทั้งตั้งข้อสังเกตว่า ปัจจุบันมนุษย์ได้ใช้ทรัพยากรของโลกในระดับที่ไม่ยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องดังกล่าวจะมีผลในทางปฏิบัติต่อประชาคมระหว่างประเทศในการสร้างวิสัยทัศน์ต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเจตนารมย์ที่ได้ประกาศไว้ในการประชุม Rio"Earth Summit" เมื่อ 9 ปีที่ผ่านมา
2.หนังสือกราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
เลขาธิการฯแจ้งว่า การที่มีโอกาสได้หารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับ ฯพณฯ
นายกรัฐมนตรีในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นข้อห่วงกังวลร่วมกันระหว่างไทยกับสหประชาชาติ อาทิ การ เข้าร่วมของไทยในปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติทั้งในติมอร์ตะวันออกและที่อื่น ๆ รวมทั้งประเด็นเรื่องบทบาทของไทยในการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียนั้น เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายอย่างมาก นอกจากนั้น ยังขอบคุณที่รัฐบาลไทยจัดการประชุม สุดยอดอาเซียน-สหประชาชาติ (ASEAN-UN Summit) ซึ่งจะช่วยสร้างประวัติศาสตร์ของอาเซียน
และสหประชาชาติในฐานะเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาร่วมกัน (development partners) และกล่าวชื่นชมว่าประเทศไทยควรได้รับการยกย่องในฐานะที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ที่ประสบความสำเร็จ พร้อมทั้งกล่าวว่าระบบการค้าเสรีและยุติธรรมจะเป็นประโยชน์กับทุก ๆ ฝ่ายโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา และประเทศไทยมีส่วนสำคัญในการช่วยสหประชาชาติผลักดัน International development agenda จนประสบผลสำเร็จ พร้อมทั้งหวังว่าประเทศไทยจะร่วมมือกับสหประชาชาติในการเผชิญกับปัญหาใหม่ ๆ ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีการพึ่งพากัน
3.หนังสือเรียน ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เลขาธิการฯ ชื่นชมความคิดริเริ่มในการจัดประชุมสุดยอดอาเซียน-สหประชาชาติ และความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความริเริ่ม สร้างสรรค์ของไทยทั้งในระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ อีกทั้งยังเห็นด้วยกับข้อคิดเห็นของ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่เห็นว่าการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 จะช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการเจรจาการค้ารอบใหม่ที่นครซีแอตเติล ประเทศสหรัฐฯ ด้วยเหตุนี้ เมื่อมองภาพโดยรวม เลขาธิการฯ จึงมั่นใจว่าไทยจะสามารถเผชิญหน้ากับความท้าทายที่สลับซับซ้อนของโลกในสหัสวรรษให ม่ และสหประชาชาติมีความเชื่อมั่นว่าจะได้รับการสนับสนุนทั้งจาก คนไทย และจากผู้นำที่มีความคิดก้าวหน้า พร้อมทั้งได้แสดงความขอบคุณในการต้อนรับของ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและภริยา ซึ่งจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสหประชาชาติกับประเทศไทย และหวังว่าจะได้ทำงานร่วมกันต่อไป
4. หนังสือถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เลขาธิการฯ รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับมอบปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์และขอขอบคุณของขวัญที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มอบให้ตนและภริยา พร้อมทั้งแจ้งว่า การมีโอกาสมาเยือนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นกำหนดการที่มีนัยสำคัญต่อการเยือนประเทศไทยครั้งนี้ เพราะได้มีโอกาสพบกับนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยฯ ซึ่งจะช่วยเตือนใจว่าทุกสิ่งที่ทำไปก็เพื่อเยาวชนเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ จึงมีความพยายามที่จะให้ปัญญาและความ เข้าใจเพื่อเป็นเครื่องมือที่จำเป็นแก่เยาวชนเหล่านั้นในการนำไปใช้เผชิญหน้ากับความท้าทายในอนาคตได้--จบ--
วันนี้ (28 มีนาคม) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนกรณีที่นายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยช่วงก่อนและระหว่างการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) ครั้งที่ 10 และเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2543 นายอันนัน ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ- พระเจ้าอยู่หัว กราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และเรียน ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศและอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีสาระสำคัญดังนี้
1.หนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เลขาธิการสหประชาชาติได้แสดงความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ โปรดเกล้าฯ ให้เลขาธิการฯ และภริยา เข้าเฝ้าฯ ในระหว่างการเยือนประเทศไทย พร้อมทั้งแสดงความประทับใจในพระปรีชาสามารถและความรอบรู้ ตลอดจนความห่วงกังวลของพระองค์ท่านที่มีต่อการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของไทย และผลกระทบของการพัฒนาที่มีต่อสภาวะแวดล้อม อีกทั้งตั้งข้อสังเกตว่า ปัจจุบันมนุษย์ได้ใช้ทรัพยากรของโลกในระดับที่ไม่ยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องดังกล่าวจะมีผลในทางปฏิบัติต่อประชาคมระหว่างประเทศในการสร้างวิสัยทัศน์ต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเจตนารมย์ที่ได้ประกาศไว้ในการประชุม Rio"Earth Summit" เมื่อ 9 ปีที่ผ่านมา
2.หนังสือกราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
เลขาธิการฯแจ้งว่า การที่มีโอกาสได้หารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับ ฯพณฯ
นายกรัฐมนตรีในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นข้อห่วงกังวลร่วมกันระหว่างไทยกับสหประชาชาติ อาทิ การ เข้าร่วมของไทยในปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติทั้งในติมอร์ตะวันออกและที่อื่น ๆ รวมทั้งประเด็นเรื่องบทบาทของไทยในการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียนั้น เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายอย่างมาก นอกจากนั้น ยังขอบคุณที่รัฐบาลไทยจัดการประชุม สุดยอดอาเซียน-สหประชาชาติ (ASEAN-UN Summit) ซึ่งจะช่วยสร้างประวัติศาสตร์ของอาเซียน
และสหประชาชาติในฐานะเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาร่วมกัน (development partners) และกล่าวชื่นชมว่าประเทศไทยควรได้รับการยกย่องในฐานะที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ที่ประสบความสำเร็จ พร้อมทั้งกล่าวว่าระบบการค้าเสรีและยุติธรรมจะเป็นประโยชน์กับทุก ๆ ฝ่ายโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา และประเทศไทยมีส่วนสำคัญในการช่วยสหประชาชาติผลักดัน International development agenda จนประสบผลสำเร็จ พร้อมทั้งหวังว่าประเทศไทยจะร่วมมือกับสหประชาชาติในการเผชิญกับปัญหาใหม่ ๆ ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีการพึ่งพากัน
3.หนังสือเรียน ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เลขาธิการฯ ชื่นชมความคิดริเริ่มในการจัดประชุมสุดยอดอาเซียน-สหประชาชาติ และความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความริเริ่ม สร้างสรรค์ของไทยทั้งในระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ อีกทั้งยังเห็นด้วยกับข้อคิดเห็นของ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่เห็นว่าการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 จะช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการเจรจาการค้ารอบใหม่ที่นครซีแอตเติล ประเทศสหรัฐฯ ด้วยเหตุนี้ เมื่อมองภาพโดยรวม เลขาธิการฯ จึงมั่นใจว่าไทยจะสามารถเผชิญหน้ากับความท้าทายที่สลับซับซ้อนของโลกในสหัสวรรษให ม่ และสหประชาชาติมีความเชื่อมั่นว่าจะได้รับการสนับสนุนทั้งจาก คนไทย และจากผู้นำที่มีความคิดก้าวหน้า พร้อมทั้งได้แสดงความขอบคุณในการต้อนรับของ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและภริยา ซึ่งจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสหประชาชาติกับประเทศไทย และหวังว่าจะได้ทำงานร่วมกันต่อไป
4. หนังสือถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เลขาธิการฯ รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับมอบปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์และขอขอบคุณของขวัญที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มอบให้ตนและภริยา พร้อมทั้งแจ้งว่า การมีโอกาสมาเยือนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นกำหนดการที่มีนัยสำคัญต่อการเยือนประเทศไทยครั้งนี้ เพราะได้มีโอกาสพบกับนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยฯ ซึ่งจะช่วยเตือนใจว่าทุกสิ่งที่ทำไปก็เพื่อเยาวชนเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ จึงมีความพยายามที่จะให้ปัญญาและความ เข้าใจเพื่อเป็นเครื่องมือที่จำเป็นแก่เยาวชนเหล่านั้นในการนำไปใช้เผชิญหน้ากับความท้าทายในอนาคตได้--จบ--