บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทน
ราษฎร นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
และนายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุมและได้แจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบเรื่องสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแจ้งเหตุขัดข้องที่นายกรัฐมนตรี
ยังไม่ให้คำรับรองร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติ
อยู่ในระหว่างการพิจารณาของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๑ ฉบับ คือ
ร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. …. ซึ่ง นายประมวล รุจนเสรี กับคณะ
เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาระเบียบวาระต่อไป ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอให้นำร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาร่างพระราช
บัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
(ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ เริ่มต้นด้วย
ชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระ
ที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติ
เห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอให้นำระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ คือ ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา
ในคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง
(ในระเบียบวาระที่ ๗.๒) และระเบียบวาระเรื่องด่วน เรื่องพิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไข
เพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
พ.ศ. ๒๕๔๔ พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๔) ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ
ตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมาธิการ
การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบ
วาระที่ ๗.๒)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายสง่า ธนสงวนวงศ์ เป็นกรรมาธิการแทน
นายธีรโชต กองทอง
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๔ พ.ศ. …. ตามมาตรา
๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้รับ
ความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว คือ ร่างพระราช
บัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ โดยมี
ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองผลัดเปลี่ยนกัน
ดำเนินการประชุม ที่ประชุมได้พิจารณาเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตาม
ลำดับมาตราจนจบมาตรา ๑๕ ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้สั่ง
ให้เลื่อนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ไปพิจารณาต่อในการประชุม
สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๔
เลิกประชุมเวลา ๒๐.๓๐ นาฬิกา
ศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๒๒๘, ๓๒๓๐-๓๑
โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๒๑๑
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. ....
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา ๑๗๕ (๓)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๔
พ.ศ. ….
**************************
ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทน
ราษฎร นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
และนายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุมและได้แจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบเรื่องสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแจ้งเหตุขัดข้องที่นายกรัฐมนตรี
ยังไม่ให้คำรับรองร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติ
อยู่ในระหว่างการพิจารณาของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๑ ฉบับ คือ
ร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. …. ซึ่ง นายประมวล รุจนเสรี กับคณะ
เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาระเบียบวาระต่อไป ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอให้นำร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาร่างพระราช
บัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
(ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ เริ่มต้นด้วย
ชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระ
ที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติ
เห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอให้นำระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ คือ ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา
ในคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง
(ในระเบียบวาระที่ ๗.๒) และระเบียบวาระเรื่องด่วน เรื่องพิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไข
เพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
พ.ศ. ๒๕๔๔ พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๔) ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ
ตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมาธิการ
การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบ
วาระที่ ๗.๒)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายสง่า ธนสงวนวงศ์ เป็นกรรมาธิการแทน
นายธีรโชต กองทอง
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๔ พ.ศ. …. ตามมาตรา
๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้รับ
ความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว คือ ร่างพระราช
บัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ โดยมี
ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองผลัดเปลี่ยนกัน
ดำเนินการประชุม ที่ประชุมได้พิจารณาเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตาม
ลำดับมาตราจนจบมาตรา ๑๕ ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้สั่ง
ให้เลื่อนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ไปพิจารณาต่อในการประชุม
สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๔
เลิกประชุมเวลา ๒๐.๓๐ นาฬิกา
ศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๒๒๘, ๓๒๓๐-๓๑
โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๒๑๑
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. ....
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา ๑๗๕ (๓)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๔
พ.ศ. ….
**************************