ข้าว
สินค้า ปริมาณส่งออก (พันตัน) มูลค่าส่งออก (ล้าน US$)
2542 2543 % 2542 2543 %
ข้าว 6,838.9 6,141.4 -10.2 1,948.9 1,640.1 -15.8
ตลาดส่งออกสำคัญที่ขยายตัว
- ฮ่องกง 115.0 123.4 7.3
- จีน 81.0 118.6 46.4
- มาเลเซีย 95.9 100.0 4.3
- เซเนกัล 74.9 95.1 26.9
ตลาดส่งออกสำคัญที่หดตัว
- อาเซียน 505.6 276.3 -45.4
สิงคโปร์ 116.3 108.1 -7.0
- ไนจีเรีย 180.4 158.8 -12.0
- อิหร่าน 174.0 120.3 -30.9
- แอฟริกาใต้ 91.3 82.6 -9.6
มูลค่าส่งออก (ล้านบาท)
2542 2543 %
73,812.1 65,516.7 -11.2
ภาวะการส่งออก
- ในปีการผลิต 2542/2543 ผลผลิตข้าวของโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 โดยเฉพาะผู้ผลิตข้าวรายสำคัญ อาทิไทย (เพิ่มขึ้นกว่า 5%)
เวียดนาม (กว่า 3%) อินโดนีเซีย (กว่า 5%) พม่า (กว่า 6%) บังกลาเทศ (กว่า 16%) อินเดีย (กว่า 4%) และ ฟิลิปปินส์ (กว่า 16%)
- มูลค่าการค้าข้าวในตลาดโลกในปี 2543 ลดลงกว่าร้อยละ 9 เป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เนื่องจากประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ใน
เอเชีย ได้แก่ อินโดนีเซีย บังกลาเทศ และฟิลิปปินส์ ลดการนำเข้าข้าวลงมากเพราะผลผลิตข้าวในประเทศเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ อินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศ
ผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของโลก ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าข้าวเป็น 30% ซึ่งมีผลบังคับไปเมื่อ 1 มกราคม 2543 เพื่อปกป้องตลาดข้าวในประเทศ ปัจจัยดัง
กล่าวเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกข้าวไปจำหน่ายยังอินโดนีเซีย
- การค้าข้าวโลกที่หดตัวลงส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดโลกในปี 2543 ลดลงเป็นปีที่ 2 ต่อเนื่องจากปี 2542 หลังจากปริมาณการผลิตข้าว
ของอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติเมื่อภาวะภัยแล้งจากปรากฏการณ์เอลนิโน่สิ้นสุดลง
- ปี 2543 มูลค่าส่งออกข้าวของไทยลดลง เนื่องจากปริมาณส่งออกลดลงกว่าร้อยละ 10 ขณะที่ราคาส่งออกเฉลี่ยในเทอม US$ ลดลงร้อย
ละ 6.3 ตามราคาในตลาดโลกที่ลดลง
- ข้าวไทยประสบปัญหาการแข่งขันสูงทั้งในตลาดข้าวคุณภาพดี และตลาดข้าวคุณภาพปานกลางถึงต่ำ โดยในตลาดข้าวคุณภาพดี มีคู่แข่งสำคัญ
คือสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญในตลาด EU ตะวันออกกลาง และแอฟริกาใต้ ส่วนในตลาดข้าวคุณภาพปานกลางถึงต่ำมีคู่แข่งสำคัญ คือ เวียดนาม อินเดีย
ปากีสถาน และพม่า ต่างส่งออกข้าวในราคาที่ต่ำกว่าไทยมาก ทำให้ไทยอยู่ในภาวะสูญเสียความสามารถ ในการแข่งขันมากขึ้นเป็นลำดับ
อย่างไรก็ตาม การส่งออกข้าวนึ่งซึ่งถือเป็นข้าวคุณภาพต่ำ ยังคงขยายตัวได้ดีในตลาดแอฟริกา เช่น เซเนกัล โซมาเลีย และประเทศในแถบตะวันออก
กลาง เช่น เยเมน และซาอุดีอาระเบีย
ในปี 2544 คาดว่าการส่งออกข้าวของไทยยังคงมีแนวโน้มไม่แจ่มใสนัก เนื่องจาก มีอุปสรรคสำคัญได้แก่
- ภาวะการค้าข้าวในตลาดโลกปี 2544 ยังคงมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะตลาดนำเข้าข้าวที่สำคัญ เช่น อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
มีแนวโน้มลดการนำเข้าข้าวลงเพราะผลผลิตข้าวในประเทศเพิ่มสูงขึ้นนอกจากนี้รัฐบาลอินโดนีเซียมีแผนที่จะปรับเพิ่มภาษีนำเข้าข้าวสำหรับปี2544 เป็นร้อย
ละ 55 - 60 จากเดิมที่อัตราร้อยละ 30 ซึ่งเป็นอัตราที่ได้ปรับเพิ่มขึ้นเมื่อต้นปี 2543
- แม้ว่าผลผลิตข้าวโดยรวมในตลาดโลกในปี 2544 มีแนวโน้มลดลงร้อยละ 2 จากปี 2543 แต่ภาวะการค้าข้าวในตลาดโลกมีแนวโน้มไม่แจ่ม
ใสนักเนื่องจากความต้องการบริโภคข้าวที่ชะลอตัวลงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกดดันให้ราคาข้าวในตลาดโลกในปี 2544 มีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับต่ำต่อไป
- ตลาดข้าวคุณภาพปานกลางถึงต่ำยังคงเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง จากประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ เวียดนาม และปากีสถาน
- การส่งออกข้าวนึ่งซึ่งขยายตัวค่อนข้างสูงในปี 2542 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6) ชะลอการขยายตัวลงในปี 2543 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2) และ
มีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อไปในปี 2544 เนื่องจากไนจีเรียซึ่งเป็นตลาดส่งออกข้าวนึ่งอันดับหนึ่งของไทยปรับเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าข้าวจากร้อยละ 50 เป็น
ร้อยละ 75 ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544
- การค้าข้าวของไทยในอนาคตอาจต้องเผชิญกับปัญหาสำคัญ เมื่อการถอดรหัสพันธุกรรมข้าวหรือการผลิตข้าว GMOs ของประเทศสหรัฐฯ ประสบ
ผลสำเร็จ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตข้าวต่ำลง และได้ปริมาณผลผลิตที่สูงขึ้น การผลิตข้าวดังกล่าวจะส่งผลให้ปริมาณผลผลิตข้าวในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ซึ่งสวน
ทางกับความต้องการบริโภคข้าว การแข่งขันในตลาดข้าวจึงมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นและกดดันให้ราคาข้าวลดต่ำลงอีก
อย่างไรก็ตาม การส่งออกข้าวของไทยในปี 2544 มีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่
- การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีน หากจีนเข้าเป็นสมาชิกได้ทันในปี 2544 คาดว่าจะส่งผลให้ผู้ส่งออกข้าวไทยมีโอกาสขยายตลาดไปจีนได้
มากขึ้น เนื่องจากจีนต้องเปิดเสรีทางการค้าด้วยการปรับลดอัตราภาษีนำเข้า และยกเลิกมาตรการจำกัดโควตาการนำเข้า
- ไทยและเวียดนามซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ในตลาดโลก (มีส่วนแบ่งตลาดข้าวรวมกันกว่าร้อยละ 50) ได้ร่วมมือในโครงการค้าข้าว
ร่วมระหว่างไทยและเวียดนามเมื่อเดือนพฤษภาคม 2543 นับเป็นโครงการนำร่องที่ช่วยแก้ปัญหาการจำหน่ายข้าวตัดราคากันเองในตลาดโลก ความร่วมมือ
ดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลต่อการกำหนดราคาข้าวในตลาดโลก และในอนาคตจะช่วยให้ราคาข้าวส่งออกของไทยมีแนวโน้มดีขึ้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-
สินค้า ปริมาณส่งออก (พันตัน) มูลค่าส่งออก (ล้าน US$)
2542 2543 % 2542 2543 %
ข้าว 6,838.9 6,141.4 -10.2 1,948.9 1,640.1 -15.8
ตลาดส่งออกสำคัญที่ขยายตัว
- ฮ่องกง 115.0 123.4 7.3
- จีน 81.0 118.6 46.4
- มาเลเซีย 95.9 100.0 4.3
- เซเนกัล 74.9 95.1 26.9
ตลาดส่งออกสำคัญที่หดตัว
- อาเซียน 505.6 276.3 -45.4
สิงคโปร์ 116.3 108.1 -7.0
- ไนจีเรีย 180.4 158.8 -12.0
- อิหร่าน 174.0 120.3 -30.9
- แอฟริกาใต้ 91.3 82.6 -9.6
มูลค่าส่งออก (ล้านบาท)
2542 2543 %
73,812.1 65,516.7 -11.2
ภาวะการส่งออก
- ในปีการผลิต 2542/2543 ผลผลิตข้าวของโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 โดยเฉพาะผู้ผลิตข้าวรายสำคัญ อาทิไทย (เพิ่มขึ้นกว่า 5%)
เวียดนาม (กว่า 3%) อินโดนีเซีย (กว่า 5%) พม่า (กว่า 6%) บังกลาเทศ (กว่า 16%) อินเดีย (กว่า 4%) และ ฟิลิปปินส์ (กว่า 16%)
- มูลค่าการค้าข้าวในตลาดโลกในปี 2543 ลดลงกว่าร้อยละ 9 เป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เนื่องจากประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ใน
เอเชีย ได้แก่ อินโดนีเซีย บังกลาเทศ และฟิลิปปินส์ ลดการนำเข้าข้าวลงมากเพราะผลผลิตข้าวในประเทศเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ อินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศ
ผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของโลก ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าข้าวเป็น 30% ซึ่งมีผลบังคับไปเมื่อ 1 มกราคม 2543 เพื่อปกป้องตลาดข้าวในประเทศ ปัจจัยดัง
กล่าวเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกข้าวไปจำหน่ายยังอินโดนีเซีย
- การค้าข้าวโลกที่หดตัวลงส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดโลกในปี 2543 ลดลงเป็นปีที่ 2 ต่อเนื่องจากปี 2542 หลังจากปริมาณการผลิตข้าว
ของอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติเมื่อภาวะภัยแล้งจากปรากฏการณ์เอลนิโน่สิ้นสุดลง
- ปี 2543 มูลค่าส่งออกข้าวของไทยลดลง เนื่องจากปริมาณส่งออกลดลงกว่าร้อยละ 10 ขณะที่ราคาส่งออกเฉลี่ยในเทอม US$ ลดลงร้อย
ละ 6.3 ตามราคาในตลาดโลกที่ลดลง
- ข้าวไทยประสบปัญหาการแข่งขันสูงทั้งในตลาดข้าวคุณภาพดี และตลาดข้าวคุณภาพปานกลางถึงต่ำ โดยในตลาดข้าวคุณภาพดี มีคู่แข่งสำคัญ
คือสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญในตลาด EU ตะวันออกกลาง และแอฟริกาใต้ ส่วนในตลาดข้าวคุณภาพปานกลางถึงต่ำมีคู่แข่งสำคัญ คือ เวียดนาม อินเดีย
ปากีสถาน และพม่า ต่างส่งออกข้าวในราคาที่ต่ำกว่าไทยมาก ทำให้ไทยอยู่ในภาวะสูญเสียความสามารถ ในการแข่งขันมากขึ้นเป็นลำดับ
อย่างไรก็ตาม การส่งออกข้าวนึ่งซึ่งถือเป็นข้าวคุณภาพต่ำ ยังคงขยายตัวได้ดีในตลาดแอฟริกา เช่น เซเนกัล โซมาเลีย และประเทศในแถบตะวันออก
กลาง เช่น เยเมน และซาอุดีอาระเบีย
ในปี 2544 คาดว่าการส่งออกข้าวของไทยยังคงมีแนวโน้มไม่แจ่มใสนัก เนื่องจาก มีอุปสรรคสำคัญได้แก่
- ภาวะการค้าข้าวในตลาดโลกปี 2544 ยังคงมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะตลาดนำเข้าข้าวที่สำคัญ เช่น อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
มีแนวโน้มลดการนำเข้าข้าวลงเพราะผลผลิตข้าวในประเทศเพิ่มสูงขึ้นนอกจากนี้รัฐบาลอินโดนีเซียมีแผนที่จะปรับเพิ่มภาษีนำเข้าข้าวสำหรับปี2544 เป็นร้อย
ละ 55 - 60 จากเดิมที่อัตราร้อยละ 30 ซึ่งเป็นอัตราที่ได้ปรับเพิ่มขึ้นเมื่อต้นปี 2543
- แม้ว่าผลผลิตข้าวโดยรวมในตลาดโลกในปี 2544 มีแนวโน้มลดลงร้อยละ 2 จากปี 2543 แต่ภาวะการค้าข้าวในตลาดโลกมีแนวโน้มไม่แจ่ม
ใสนักเนื่องจากความต้องการบริโภคข้าวที่ชะลอตัวลงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกดดันให้ราคาข้าวในตลาดโลกในปี 2544 มีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับต่ำต่อไป
- ตลาดข้าวคุณภาพปานกลางถึงต่ำยังคงเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง จากประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ เวียดนาม และปากีสถาน
- การส่งออกข้าวนึ่งซึ่งขยายตัวค่อนข้างสูงในปี 2542 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6) ชะลอการขยายตัวลงในปี 2543 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2) และ
มีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อไปในปี 2544 เนื่องจากไนจีเรียซึ่งเป็นตลาดส่งออกข้าวนึ่งอันดับหนึ่งของไทยปรับเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าข้าวจากร้อยละ 50 เป็น
ร้อยละ 75 ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544
- การค้าข้าวของไทยในอนาคตอาจต้องเผชิญกับปัญหาสำคัญ เมื่อการถอดรหัสพันธุกรรมข้าวหรือการผลิตข้าว GMOs ของประเทศสหรัฐฯ ประสบ
ผลสำเร็จ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตข้าวต่ำลง และได้ปริมาณผลผลิตที่สูงขึ้น การผลิตข้าวดังกล่าวจะส่งผลให้ปริมาณผลผลิตข้าวในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ซึ่งสวน
ทางกับความต้องการบริโภคข้าว การแข่งขันในตลาดข้าวจึงมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นและกดดันให้ราคาข้าวลดต่ำลงอีก
อย่างไรก็ตาม การส่งออกข้าวของไทยในปี 2544 มีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่
- การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีน หากจีนเข้าเป็นสมาชิกได้ทันในปี 2544 คาดว่าจะส่งผลให้ผู้ส่งออกข้าวไทยมีโอกาสขยายตลาดไปจีนได้
มากขึ้น เนื่องจากจีนต้องเปิดเสรีทางการค้าด้วยการปรับลดอัตราภาษีนำเข้า และยกเลิกมาตรการจำกัดโควตาการนำเข้า
- ไทยและเวียดนามซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ในตลาดโลก (มีส่วนแบ่งตลาดข้าวรวมกันกว่าร้อยละ 50) ได้ร่วมมือในโครงการค้าข้าว
ร่วมระหว่างไทยและเวียดนามเมื่อเดือนพฤษภาคม 2543 นับเป็นโครงการนำร่องที่ช่วยแก้ปัญหาการจำหน่ายข้าวตัดราคากันเองในตลาดโลก ความร่วมมือ
ดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลต่อการกำหนดราคาข้าวในตลาดโลก และในอนาคตจะช่วยให้ราคาข้าวส่งออกของไทยมีแนวโน้มดีขึ้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-