นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า วันนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้จากธนาคารโลกให้แก่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำหรับแผนงานเงินกู้เพื่อลดและเลิกการใช้สารทำลายโอโซน (Thailand : Building Chiller Replacement Project) วงเงิน 4.975 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 224 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 45 บาท ต่อ 1 เหรียญสหรัฐ)
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการลดและเลิกการใช้สารทำลายโอโซน (Chlorofluorocarbons : CFC) ในประเทศไทย โดยบรรษัทฯ จะนำเงินกู้ดังกล่าวไปจัดสรรให้กู้ต่อแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ร่วมในโครงการนำร่อง 24 ราย เพื่อเปลี่ยนระบบทำความเย็นขนาดใหญ่ในตัวอาคารที่ใช้สารทำลายโอโซน (CFC) ให้เป็นระบบที่ใช้สารไม่ทำลายโอโซน (Non-CFC) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้สาร Non-CFC ในระบบทำความเย็นของกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในวงกว้างต่อไป (จำนวนประมาณ 400 ราย)
การดำเนินโครงการเงินกู้ตามแผนงานดังกล่าว นอกจากจะช่วยสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแล้ว ยังช่วยให้รัฐบาลไทยสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงของพิธีสารมอนทรีออล ซึ่งกำหนดที่จะลดและเลิกการใช้สารทำลายโอโซน (CFC) ภายในปี 2553 ตามข้อผูกพันที่ได้ทำไว้กับประชาคมโลก รวมทั้งเป็นการช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรมและบริการของประเทศไทยในระยะยาวโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวต่อว่า ในส่วนของหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามสัญญากู้เงินและค้ำประกันเงินกู้ในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นไปตามมาตรฐานของธนาคารโลก ซึ่งประเทศไทยได้เคยกู้เงินมาแล้วในอดีตแล้ว ยังมีเงื่อนไขเงินกู้ที่ผ่อนปรนเป็นพิเศษ คือ เป็นเงินกู้ที่ไม่มีดอกเบี้ย (ร้อยละ 0.00 ต่อปี) และปลอดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากชำระคืนเป็นเงินบาทและมีระยะชำระคืนนาน 8 ปี
สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฯ สามารถติดต่อได้ที่ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 1770 ถ. เพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ 10320 โทร. 253-7111 หรือ 253-9666
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 43/2544 3 กรกฎาคม 2544--
-อน-
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการลดและเลิกการใช้สารทำลายโอโซน (Chlorofluorocarbons : CFC) ในประเทศไทย โดยบรรษัทฯ จะนำเงินกู้ดังกล่าวไปจัดสรรให้กู้ต่อแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ร่วมในโครงการนำร่อง 24 ราย เพื่อเปลี่ยนระบบทำความเย็นขนาดใหญ่ในตัวอาคารที่ใช้สารทำลายโอโซน (CFC) ให้เป็นระบบที่ใช้สารไม่ทำลายโอโซน (Non-CFC) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้สาร Non-CFC ในระบบทำความเย็นของกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในวงกว้างต่อไป (จำนวนประมาณ 400 ราย)
การดำเนินโครงการเงินกู้ตามแผนงานดังกล่าว นอกจากจะช่วยสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแล้ว ยังช่วยให้รัฐบาลไทยสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงของพิธีสารมอนทรีออล ซึ่งกำหนดที่จะลดและเลิกการใช้สารทำลายโอโซน (CFC) ภายในปี 2553 ตามข้อผูกพันที่ได้ทำไว้กับประชาคมโลก รวมทั้งเป็นการช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรมและบริการของประเทศไทยในระยะยาวโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวต่อว่า ในส่วนของหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามสัญญากู้เงินและค้ำประกันเงินกู้ในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นไปตามมาตรฐานของธนาคารโลก ซึ่งประเทศไทยได้เคยกู้เงินมาแล้วในอดีตแล้ว ยังมีเงื่อนไขเงินกู้ที่ผ่อนปรนเป็นพิเศษ คือ เป็นเงินกู้ที่ไม่มีดอกเบี้ย (ร้อยละ 0.00 ต่อปี) และปลอดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากชำระคืนเป็นเงินบาทและมีระยะชำระคืนนาน 8 ปี
สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฯ สามารถติดต่อได้ที่ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 1770 ถ. เพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ 10320 โทร. 253-7111 หรือ 253-9666
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 43/2544 3 กรกฎาคม 2544--
-อน-