กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์มีการปรับโครงสร้างใหม่อย่างไรบ้าง
ทำไมจึงมีการปรับโครงสร้าง
- เนื่องจากวิกฤตทางเศรษฐกิจและสังคม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
- รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของไทย ที่เน้นการกระจายอำนาจตลอดจนการปฏิรูประบบราชการ
วัตถุประสงค์ในการปรับโครงสร้างมีอะไรบ้าง
- เพื่อรองรับกฎเกณฑ์ กติกา การค้าเสรีของโลกและการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น
- เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและรองรับการเปิดเสรีการค้า การลงทุน
- เพื่อนำไปสู่แนวคิดจัดองค์กรสมัยใหม่ให้มีความพร้อมของบุคลากร สามารถทำงานเชิงรุกและเชิงรับด้านการเจรจาการค้า
- เพื่อให้การเจรจาการค้ามีความเป็นเอกภาพมากขึ้น
การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมีส่วนใดบ้าง
- รวมการเจรจาระดับทวิภาคีและพหุภาคีไว้ที่กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เพื่อให้มีความเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
- ตัดโอนงานติดตามภาวะค่าครองชีพ คือ งานจัดทำดัชนีเศรษฐกิจทั้งหมดไปไว้กรมการค้าภายใน
ตัดโอนงานจัดทำเป้าหมายการส่งออก และการวิเคราะห์ติดตามประเมินผลการค้าไป
กรมส่งเสริมการส่งออก
- ตัดโอนงานด้านการวางแผนและจัดทำแผนงานโครงการไปยังสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
ตัดโอนงานวิจัยรายสินค้าไปให้กรมที่รับผิดชอบโดยตรง
บทบาทและภารกิจใหม่ที่เกิดขึ้นจากการปรับโครงสร้างของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กับการเจรจาการค้าระหว่างประเทศยุคใหม่ มีอะไรบ้าง
ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้การค้าระหว่างประเทศเปลี่ยนแปลง
- การเปิดเสรีการค้าและการลงทุนของประเทศต่าง ๆ ตามกรอบการค้า WTO ASEAN APEC เป็นต้น
- ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ต้นทุนการคมนาคมสื่อสารลดลง
การค้าระหว่างประเทศยุคใหม่
- จะเป็นการค้าเสรีที่มีการแข่งขันพร้อมกับกีดกันการค้าอย่างรุนแรงมากขึ้น
- กลุ่ม?ศรษฐกิจการค้าระดับภูมิภาคจะมีบทบาทมากขึ้น
- เทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลกระทบให้รูปแบบการค้าและการลงทุนซับซ้อนมากขึ้น เช่น E-commerce
บทบาทของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
- ปรับบทบาทในการเจรจาการค้าให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
* ปรับปรุงงานเลขานุการ กนศ. ให้สามารถสร้างเอกภาพในการกำหนดนโยบาย ท่าที การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
* พัฒนาบุคลากรด้านการเจรจา ผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ
- พัฒนาด้านการศึกษา วิจัย เศรษฐกิจการค้า
* จะจัดให้มีหน่วยงานในลักษณะสถาบันวิจัย มี Board ควบคุมดำเนินงานร่วมกับ นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย เพื่อให้งานมีคุณภาพเข้มข้นน่าเชื่อถือ และชี้นำนโยบาย ท่าทีการเจรจาการค้า รวมทั้งแนวทางปรับปรุงแก้ไขเศรษฐกิจการค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
- พัฒนาระบบสารสนเทศทางการค้า
* ให้มีความทันสมัย เรียกใช้ได้ง่าย
* เชื่อมโยงกับกระทรวงเศรษฐกิจอื่น ๆ และภาคเอกชน
- สร้างความรู้ ความเข้าใจ กับภาคเอกชน ผู้ผลิต ผู้บริโภค เพื่อรองรับพันธกรณีการค้าตามกรอบเจรจาต่าง ๆ
* เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับข้อตกลงทางการค้า และ?ระตุ้นภาคเอกชนให้ปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
* ให้คำปรึกษาแก่ภาคเอกชน เพื่อปกป้องผลประโยชน์และชี้แนะช่องทางเพื่อฉกฉวยผลประโยชน์ในการค้าระหว่างประเทศ
ภารกิจที่กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์รับผิดชอบดูแลอยู่นั้นมีส่วนช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจไทยได้อย่างไรบ้าง
งานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ซึ่งมีส่วนช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจไทยที่สำคัญ คือ
เจรจาการค้าระหว่างประเทศ ?พื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้า ทั้งในระดับพหุภาคี ทวิภาคี และประเทศเพื่อนบ้าน
เจรจาแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า โดยเฉพาะเรื่องที่ได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมด้านการค้า อาทิ เจรจากับสหรัฐฯ เพื่อยกเลิกห้ามนำเข้ากุ้งไทย โดยได้มีการดำเนินการเรียกร้องตามกระบวนการขององค์การการค้าโลกจนเป็นผลสำเร็จ
ส่งเสริมและแก้ไขปัญหาส่งออก
จัดทำโครงการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนการค้าผ่านระบบ Internet
การแก้ไขปัญหาการค้าภายใต้กรอบ AFTA ซึ่งได้รับการร้องเรียนจากผู้ประกอบการไทย อาทิ บริษัทส่งออกกระจกไทย บริษัทเหล็กสยาม เป็นต้น
ร่วมแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการส่งออกกับประเทศคู่ค้าในเวทีต่างๆ ตามมติของคณะกรรมการพัฒนาการส่งออก และคณะอนุกรรมการติดตามและเร่งรัดการส่งออก (อตส.)
มีส่วนร่วมในการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ ร่างๆให้สอดคล้องกับข้อตกลงทางการค้า เช่น ปว. 281 กฎหมาย AD/CVD กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งพิจารณาร่างกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการค้าในอนาคต อาทิ พ.ร.บ. คุ้มครองความลับทางการค้า
เข้าร่วมดำเนินการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากร?ั้งระบบของกระทรวงการคลัง และการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม 13 สาขา ของกระทรวงอุตสาหกรรม
สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับภาคธุรกิจและผู้บริโภค ให้ตระหนักถึงความสำคัญเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดเสรี และการปรับตัวในประเด็นทางการค้าใหม่ๆ โดยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ รวมทั้งการให้บริการข้อมูลผ่านทาง internet
ในวันนี้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคไทยควรจะต้องเตรียมตัวรับกับการค้าระหว่างประเทศยุคใหม่อย่างไรบ้าง ?
ผู้ผลิต ควรเตรียมตัวเพื่อรองรับ ดังนี้
ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิต การตลาด การบริหารและการจัดการ รวมทั้งพัฒนาบุคลากร เพื่อให้สามารถวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ในระยะยาวได้
ปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของระบบมาตรฐานสากลของโลก ต้องยอมรับว่าการเปิดเสรีจะทำให้ความเป็น Local Company และ Local Standard ลดลงไปจะต้องมีความเป็นสากล (Global Standard) เข้ามาแทนที่
พัฒนารูปแบบของสินค้าให้ตรงความต้องการของตลาด ต้องรับรู้ หรือคาดการณ์ รสนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและปรับเปลี่ยนสินค้าให้มีความ หลากหลาย ได้มาตรฐานสินค้าในระดับสากล รวมทั้งการใช้ตราสัญลักษณ์ของตนเองแทนการรับจ้างการผลิต
เจาะหรือขยายตลาด ?ดยการเน้นเข้าหาผู้บริโภคให้มากที่สุดเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและปรับคุณภาพสินค้าในการเข้าสู่ตลาดระดับกลางและระดับบนเพื่อลดแรงกดดันการแข่งขันทางด้านราคา รวมทั้งแสวงหาตลาดใหม่เพื่อทดแทนตลาดเดิมที่มีการแข่งขันสูง
ขยายเครือข่ายทางการค้า โดยใช้ตัวแทนการค้าหรือหุ้นส่วนในต่างประเทศ เพื่อให้เป็นผู้ช่วยกระจายสินค้า เจาะตลาด และโฆษณาสินค้า รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลและร่วมมือกันด้านการค้า
ให้ความสำคัญกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) เนื่องจากจะเป็นรูปแบบการค้าใหม่ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดต้นทุนแล้ว ยังสามารถติดต่อธุรกิจการค้าได้ทั่วโลกอย่างสะดวกและรวดเร็ว
ให้ความสำคัญเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม แรงงาน และทรัพย์สินทางปัญญา เพราะประเทศที่พัฒนาแล้วจะเรียกร้องใหเข้มงวดในเรื่องดังกล่าวมากขึ้
ผู้บริโภค แม้ว่าการค้าระหว่างประเทศยุคใหม่จะทำให้ผู้บริโภคจะสามารถเลือกซื้อสินค้า คุณภาพดี ราคาถูก เนื่องจากมีการแข่งขันทั้งในด้านราคาและคุณภาพที่รุนแรงมากขึ้น แต่ก็ควรเตรียมตัวรองรับ โดย
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพื่อที่จะนำมาประกอบการเลือกซื้อสินค้าและบริการเพื่อให้ได้ คุณภาพและราคาที่เหมาะสม
ทิศทางการค้าในอนาคต การคุ้มครองผู้บริโภคจะมีมากขึ้น ผู้บริโภคจึงต้องให้ความสนใจในเรื่องดังกล่าวด้วย
ควรระมัดระวังการใช้จ่ายเกินตัว เนื่องจากราคาสินค้าโดยเปรียบเทียบจะลดลง รวมทั้งสร้างค่านิยมในการใช้สินค้าไทย
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-
ทำไมจึงมีการปรับโครงสร้าง
- เนื่องจากวิกฤตทางเศรษฐกิจและสังคม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
- รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของไทย ที่เน้นการกระจายอำนาจตลอดจนการปฏิรูประบบราชการ
วัตถุประสงค์ในการปรับโครงสร้างมีอะไรบ้าง
- เพื่อรองรับกฎเกณฑ์ กติกา การค้าเสรีของโลกและการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น
- เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและรองรับการเปิดเสรีการค้า การลงทุน
- เพื่อนำไปสู่แนวคิดจัดองค์กรสมัยใหม่ให้มีความพร้อมของบุคลากร สามารถทำงานเชิงรุกและเชิงรับด้านการเจรจาการค้า
- เพื่อให้การเจรจาการค้ามีความเป็นเอกภาพมากขึ้น
การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมีส่วนใดบ้าง
- รวมการเจรจาระดับทวิภาคีและพหุภาคีไว้ที่กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เพื่อให้มีความเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
- ตัดโอนงานติดตามภาวะค่าครองชีพ คือ งานจัดทำดัชนีเศรษฐกิจทั้งหมดไปไว้กรมการค้าภายใน
ตัดโอนงานจัดทำเป้าหมายการส่งออก และการวิเคราะห์ติดตามประเมินผลการค้าไป
กรมส่งเสริมการส่งออก
- ตัดโอนงานด้านการวางแผนและจัดทำแผนงานโครงการไปยังสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
ตัดโอนงานวิจัยรายสินค้าไปให้กรมที่รับผิดชอบโดยตรง
บทบาทและภารกิจใหม่ที่เกิดขึ้นจากการปรับโครงสร้างของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กับการเจรจาการค้าระหว่างประเทศยุคใหม่ มีอะไรบ้าง
ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้การค้าระหว่างประเทศเปลี่ยนแปลง
- การเปิดเสรีการค้าและการลงทุนของประเทศต่าง ๆ ตามกรอบการค้า WTO ASEAN APEC เป็นต้น
- ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ต้นทุนการคมนาคมสื่อสารลดลง
การค้าระหว่างประเทศยุคใหม่
- จะเป็นการค้าเสรีที่มีการแข่งขันพร้อมกับกีดกันการค้าอย่างรุนแรงมากขึ้น
- กลุ่ม?ศรษฐกิจการค้าระดับภูมิภาคจะมีบทบาทมากขึ้น
- เทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลกระทบให้รูปแบบการค้าและการลงทุนซับซ้อนมากขึ้น เช่น E-commerce
บทบาทของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
- ปรับบทบาทในการเจรจาการค้าให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
* ปรับปรุงงานเลขานุการ กนศ. ให้สามารถสร้างเอกภาพในการกำหนดนโยบาย ท่าที การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
* พัฒนาบุคลากรด้านการเจรจา ผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ
- พัฒนาด้านการศึกษา วิจัย เศรษฐกิจการค้า
* จะจัดให้มีหน่วยงานในลักษณะสถาบันวิจัย มี Board ควบคุมดำเนินงานร่วมกับ นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย เพื่อให้งานมีคุณภาพเข้มข้นน่าเชื่อถือ และชี้นำนโยบาย ท่าทีการเจรจาการค้า รวมทั้งแนวทางปรับปรุงแก้ไขเศรษฐกิจการค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
- พัฒนาระบบสารสนเทศทางการค้า
* ให้มีความทันสมัย เรียกใช้ได้ง่าย
* เชื่อมโยงกับกระทรวงเศรษฐกิจอื่น ๆ และภาคเอกชน
- สร้างความรู้ ความเข้าใจ กับภาคเอกชน ผู้ผลิต ผู้บริโภค เพื่อรองรับพันธกรณีการค้าตามกรอบเจรจาต่าง ๆ
* เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับข้อตกลงทางการค้า และ?ระตุ้นภาคเอกชนให้ปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
* ให้คำปรึกษาแก่ภาคเอกชน เพื่อปกป้องผลประโยชน์และชี้แนะช่องทางเพื่อฉกฉวยผลประโยชน์ในการค้าระหว่างประเทศ
ภารกิจที่กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์รับผิดชอบดูแลอยู่นั้นมีส่วนช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจไทยได้อย่างไรบ้าง
งานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ซึ่งมีส่วนช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจไทยที่สำคัญ คือ
เจรจาการค้าระหว่างประเทศ ?พื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้า ทั้งในระดับพหุภาคี ทวิภาคี และประเทศเพื่อนบ้าน
เจรจาแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า โดยเฉพาะเรื่องที่ได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมด้านการค้า อาทิ เจรจากับสหรัฐฯ เพื่อยกเลิกห้ามนำเข้ากุ้งไทย โดยได้มีการดำเนินการเรียกร้องตามกระบวนการขององค์การการค้าโลกจนเป็นผลสำเร็จ
ส่งเสริมและแก้ไขปัญหาส่งออก
จัดทำโครงการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนการค้าผ่านระบบ Internet
การแก้ไขปัญหาการค้าภายใต้กรอบ AFTA ซึ่งได้รับการร้องเรียนจากผู้ประกอบการไทย อาทิ บริษัทส่งออกกระจกไทย บริษัทเหล็กสยาม เป็นต้น
ร่วมแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการส่งออกกับประเทศคู่ค้าในเวทีต่างๆ ตามมติของคณะกรรมการพัฒนาการส่งออก และคณะอนุกรรมการติดตามและเร่งรัดการส่งออก (อตส.)
มีส่วนร่วมในการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ ร่างๆให้สอดคล้องกับข้อตกลงทางการค้า เช่น ปว. 281 กฎหมาย AD/CVD กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งพิจารณาร่างกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการค้าในอนาคต อาทิ พ.ร.บ. คุ้มครองความลับทางการค้า
เข้าร่วมดำเนินการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากร?ั้งระบบของกระทรวงการคลัง และการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม 13 สาขา ของกระทรวงอุตสาหกรรม
สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับภาคธุรกิจและผู้บริโภค ให้ตระหนักถึงความสำคัญเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดเสรี และการปรับตัวในประเด็นทางการค้าใหม่ๆ โดยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ รวมทั้งการให้บริการข้อมูลผ่านทาง internet
ในวันนี้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคไทยควรจะต้องเตรียมตัวรับกับการค้าระหว่างประเทศยุคใหม่อย่างไรบ้าง ?
ผู้ผลิต ควรเตรียมตัวเพื่อรองรับ ดังนี้
ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิต การตลาด การบริหารและการจัดการ รวมทั้งพัฒนาบุคลากร เพื่อให้สามารถวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ในระยะยาวได้
ปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของระบบมาตรฐานสากลของโลก ต้องยอมรับว่าการเปิดเสรีจะทำให้ความเป็น Local Company และ Local Standard ลดลงไปจะต้องมีความเป็นสากล (Global Standard) เข้ามาแทนที่
พัฒนารูปแบบของสินค้าให้ตรงความต้องการของตลาด ต้องรับรู้ หรือคาดการณ์ รสนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและปรับเปลี่ยนสินค้าให้มีความ หลากหลาย ได้มาตรฐานสินค้าในระดับสากล รวมทั้งการใช้ตราสัญลักษณ์ของตนเองแทนการรับจ้างการผลิต
เจาะหรือขยายตลาด ?ดยการเน้นเข้าหาผู้บริโภคให้มากที่สุดเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและปรับคุณภาพสินค้าในการเข้าสู่ตลาดระดับกลางและระดับบนเพื่อลดแรงกดดันการแข่งขันทางด้านราคา รวมทั้งแสวงหาตลาดใหม่เพื่อทดแทนตลาดเดิมที่มีการแข่งขันสูง
ขยายเครือข่ายทางการค้า โดยใช้ตัวแทนการค้าหรือหุ้นส่วนในต่างประเทศ เพื่อให้เป็นผู้ช่วยกระจายสินค้า เจาะตลาด และโฆษณาสินค้า รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลและร่วมมือกันด้านการค้า
ให้ความสำคัญกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) เนื่องจากจะเป็นรูปแบบการค้าใหม่ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดต้นทุนแล้ว ยังสามารถติดต่อธุรกิจการค้าได้ทั่วโลกอย่างสะดวกและรวดเร็ว
ให้ความสำคัญเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม แรงงาน และทรัพย์สินทางปัญญา เพราะประเทศที่พัฒนาแล้วจะเรียกร้องใหเข้มงวดในเรื่องดังกล่าวมากขึ้
ผู้บริโภค แม้ว่าการค้าระหว่างประเทศยุคใหม่จะทำให้ผู้บริโภคจะสามารถเลือกซื้อสินค้า คุณภาพดี ราคาถูก เนื่องจากมีการแข่งขันทั้งในด้านราคาและคุณภาพที่รุนแรงมากขึ้น แต่ก็ควรเตรียมตัวรองรับ โดย
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพื่อที่จะนำมาประกอบการเลือกซื้อสินค้าและบริการเพื่อให้ได้ คุณภาพและราคาที่เหมาะสม
ทิศทางการค้าในอนาคต การคุ้มครองผู้บริโภคจะมีมากขึ้น ผู้บริโภคจึงต้องให้ความสนใจในเรื่องดังกล่าวด้วย
ควรระมัดระวังการใช้จ่ายเกินตัว เนื่องจากราคาสินค้าโดยเปรียบเทียบจะลดลง รวมทั้งสร้างค่านิยมในการใช้สินค้าไทย
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-