วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม 2543 นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทย และกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและนักธุรกิจไทย รวม 10 คน ได้ให้การต้อนรับ ฯพณฯ H.E. Mr. Lami Kawah รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจและการวางแผน ประเทศสาธารณรัฐไลบีเรีย และคณะผู้ติดตามอีก 3 คน ในโอกาสที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 22 - 24 พฤษภาคม 2543 เพื่อส่งเสริมการลงทุนจากไทยในประเทศสาธารณรัฐไลบีเรีย ในด้านการประมง การทำเหมืองแร่ การผลิตไฟฟ้า และการพัฒนาด้านการเกษตร รวมทั้งแสวงหาลู่ทางในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสองประเทศในเรื่อง "South - South Cooperation"
ประเทศสาธารณรัฐไลบีเรียมีประชากรประมาณ 2.92 ล้านคน (2542) ประเทศไทยและสาธารณรัฐไลบีเรียได้สถานปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2510 และความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายเป็นไปอย่างราบรื่นมาโดยตลอด
สำหรับความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ ปริมาณการค้าระหว่างกันยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำและไม่สม่ำเสมอ โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าตลอดมา แต่ในปี 2536 ไทยเสียเปรียบดุลการค้าเป็นครั้งแรก
สินค้าสำคัญของไทยที่ส่งออกไปสาธารณรัฐไลบีเรีย ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า ปูนซิเมนต์ ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน และอาหารทะเลกระป๋อง
สินค้าสำคัญของไทยที่นำเข้าจากสาธารณรัฐไลบีเรีย ได้แก่ ด้ายทอผ้าและด้านเส้นเล็ก เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยางผลิตภัณฑ์โลหะ และเครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม
สำหรับการหารือในครั้งนี้ได้มีการพูดถึงการลงทุนด้านการสาธารณูปโภค ประมง ข้าว ยางพารา การทำเหมืองแร่ โดยคณะฯ มีความประสงค์ที่จะให้ฝ่ายไทยไปลงทุนในด้านต่าง ๆ เหล่านี้ เนื่องจากประเทศไลบีเรียกำลังอยู่ในระหว่างกำลังพัฒนา
การต้อนรับผู้นำระดับรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจและการวางแผนประเทศสาธารณรัฐไลบีเรียและคณะในครั้งนี้ จึงนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะส่งเสริมให้นักธุรกิจของไทยได้พบปะหารือถึงลู่ทางที่จะขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกันให้มากขึ้น และการนำเข้าวัตถุดิบที่ไทยยังมีความต้องการอยู่ อาทิ เส้นด้าย เป็นต้น--จบ--
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 10/2543 วันที่ 31 พฤษภาคม 2543--
-อน-
ประเทศสาธารณรัฐไลบีเรียมีประชากรประมาณ 2.92 ล้านคน (2542) ประเทศไทยและสาธารณรัฐไลบีเรียได้สถานปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2510 และความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายเป็นไปอย่างราบรื่นมาโดยตลอด
สำหรับความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ ปริมาณการค้าระหว่างกันยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำและไม่สม่ำเสมอ โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าตลอดมา แต่ในปี 2536 ไทยเสียเปรียบดุลการค้าเป็นครั้งแรก
สินค้าสำคัญของไทยที่ส่งออกไปสาธารณรัฐไลบีเรีย ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า ปูนซิเมนต์ ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน และอาหารทะเลกระป๋อง
สินค้าสำคัญของไทยที่นำเข้าจากสาธารณรัฐไลบีเรีย ได้แก่ ด้ายทอผ้าและด้านเส้นเล็ก เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยางผลิตภัณฑ์โลหะ และเครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม
สำหรับการหารือในครั้งนี้ได้มีการพูดถึงการลงทุนด้านการสาธารณูปโภค ประมง ข้าว ยางพารา การทำเหมืองแร่ โดยคณะฯ มีความประสงค์ที่จะให้ฝ่ายไทยไปลงทุนในด้านต่าง ๆ เหล่านี้ เนื่องจากประเทศไลบีเรียกำลังอยู่ในระหว่างกำลังพัฒนา
การต้อนรับผู้นำระดับรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจและการวางแผนประเทศสาธารณรัฐไลบีเรียและคณะในครั้งนี้ จึงนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะส่งเสริมให้นักธุรกิจของไทยได้พบปะหารือถึงลู่ทางที่จะขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกันให้มากขึ้น และการนำเข้าวัตถุดิบที่ไทยยังมีความต้องการอยู่ อาทิ เส้นด้าย เป็นต้น--จบ--
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 10/2543 วันที่ 31 พฤษภาคม 2543--
-อน-