กรุงเทพฯ--5 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมร่วมระหว่างกลไกการหารือระดับรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาผู้ลี้ภัยและผู้ย้ายถิ่นของกลุ่มเอเชียแปซิฟิกและกลุ่มยุโรป อเมริกาเหนือและออสเตรเลีย (The Joint APC — IGC Meeting)
ด้วยประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมร่วมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสระหว่าง กลไกการหารือระดับรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาผู้ลี้ภัยและผู้ย้ายถิ่นของกลุ่ม APC (Asia-Pacific Consultations on Refugees, Displaced Persons and Migrants) และกลุ่ม IGC (International Consultations on Refugee and Migration Policies) ในวันที่ 5 เมษายน 2544 ที่โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ
การประชุมดังกล่าวมีขึ้นเป็นครั้งแรกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้รัฐบาลประเทศสมาชิก กลไก APC จำนวน 32 ประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และประเทศสมาชิกกลไก IGC จำนวน 16 ประเทศในภูมิภาคยุโรป อเมริกาเหนือและออสเตรเลีย ได้มีโอกาสพบปะเรียนรู้และแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ระหว่างกัน ทั้งนี้ หัวข้อหลักที่จะมีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น คือ การดำเนินการ การทางมนุษยธรรมเมื่อมีการหลั่งไหลของผู้อพยพ (Response to Humanitarian Outflows) และการ โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติและการลักลอบค้ามนุษย์ (Irregular Migration and People Smuggling) ทั้งนี้ ไทยและออสเตรเลียจะร่วมกันเป็นประธานการประชุม นอกจากนี้ ไทยในฐานะประเทศที่มี ประสบการณ์ในการรับผู้อพยพและให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมมาเป็นเวลานาน จะเสนอ รายงานเกี่ยวกับประสบการณ์การรับผู้อพยพในฐานะประเทศแรกรับอีกด้วย
การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมร่วมระหว่าง APC — IGC ของไทยครั้งนี้ เป็นผลดีต่อ การแสดงบทบาทนำของไทยในการให้ความสำคัญและสร้างความตระหนักต่อปัญหาผู้ลี้ภัยและการ ย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ ซึ่งเป็นปัญหาที่ไทยประสบในฐานะที่เป็นทั้งประเทศผู้รับ ประเทศทางผ่านและ ประเทศปลายทาง ซึ่งไทยได้เคยเป็นเจ้าภาพร่วมกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration — IOM) จัดการประชุมระหว่างประเทศในระดับรัฐมนตรี ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐาน (International symposium on Migration - ISM) เมื่อ 21 —23 เมษายน 2542 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งประสบผลสำเร็จในการจัดทำปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ที่สร้างความตระหนักและสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันของประเทศ ในภูมิภาคในการดำเนินแนวทางเดียวกันเพื่อแก้ปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติอย่างรอบด้าน และยั่งยืน นอกจากนั้น การประชุมร่วมครั้งนี้ยังเป็นผลดีต่อการประสานความร่วมมือของประเทศ ต่าง ๆ ทั้งในและนอกภูมิภาคในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยและผู้ย้ายถิ่นฐานต่อไปด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมร่วมระหว่างกลไกการหารือระดับรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาผู้ลี้ภัยและผู้ย้ายถิ่นของกลุ่มเอเชียแปซิฟิกและกลุ่มยุโรป อเมริกาเหนือและออสเตรเลีย (The Joint APC — IGC Meeting)
ด้วยประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมร่วมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสระหว่าง กลไกการหารือระดับรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาผู้ลี้ภัยและผู้ย้ายถิ่นของกลุ่ม APC (Asia-Pacific Consultations on Refugees, Displaced Persons and Migrants) และกลุ่ม IGC (International Consultations on Refugee and Migration Policies) ในวันที่ 5 เมษายน 2544 ที่โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ
การประชุมดังกล่าวมีขึ้นเป็นครั้งแรกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้รัฐบาลประเทศสมาชิก กลไก APC จำนวน 32 ประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และประเทศสมาชิกกลไก IGC จำนวน 16 ประเทศในภูมิภาคยุโรป อเมริกาเหนือและออสเตรเลีย ได้มีโอกาสพบปะเรียนรู้และแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ระหว่างกัน ทั้งนี้ หัวข้อหลักที่จะมีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น คือ การดำเนินการ การทางมนุษยธรรมเมื่อมีการหลั่งไหลของผู้อพยพ (Response to Humanitarian Outflows) และการ โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติและการลักลอบค้ามนุษย์ (Irregular Migration and People Smuggling) ทั้งนี้ ไทยและออสเตรเลียจะร่วมกันเป็นประธานการประชุม นอกจากนี้ ไทยในฐานะประเทศที่มี ประสบการณ์ในการรับผู้อพยพและให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมมาเป็นเวลานาน จะเสนอ รายงานเกี่ยวกับประสบการณ์การรับผู้อพยพในฐานะประเทศแรกรับอีกด้วย
การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมร่วมระหว่าง APC — IGC ของไทยครั้งนี้ เป็นผลดีต่อ การแสดงบทบาทนำของไทยในการให้ความสำคัญและสร้างความตระหนักต่อปัญหาผู้ลี้ภัยและการ ย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ ซึ่งเป็นปัญหาที่ไทยประสบในฐานะที่เป็นทั้งประเทศผู้รับ ประเทศทางผ่านและ ประเทศปลายทาง ซึ่งไทยได้เคยเป็นเจ้าภาพร่วมกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration — IOM) จัดการประชุมระหว่างประเทศในระดับรัฐมนตรี ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐาน (International symposium on Migration - ISM) เมื่อ 21 —23 เมษายน 2542 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งประสบผลสำเร็จในการจัดทำปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ที่สร้างความตระหนักและสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันของประเทศ ในภูมิภาคในการดำเนินแนวทางเดียวกันเพื่อแก้ปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติอย่างรอบด้าน และยั่งยืน นอกจากนั้น การประชุมร่วมครั้งนี้ยังเป็นผลดีต่อการประสานความร่วมมือของประเทศ ต่าง ๆ ทั้งในและนอกภูมิภาคในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยและผู้ย้ายถิ่นฐานต่อไปด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-