เศรษฐกิจภาคเหนือไตรมาสแรกปี 2544 ชะลอตัวลง เป็นผลจากการส่งออก ซึ่งขยายตัวในเกณฑ์สูงเมื่อปีก่อนกลับลดลงในไตรมาสแรกปีนี้ ตามภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นที่ชะลอตัว ประกอบกับประเทศเพื่อนบ้านเข้มงวดการนำสินค้าเข้าและปิดด่านชายแดนบางแห่ง อีกทั้งเป็นผลจากการใช้จ่ายของภาคเอกชนและรัฐบาลชะลอตัวต่อเนื่องจากปลายปีก่อน ปัจจัยดังกล่าวทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออกชะลอตัวลงมาก ขณะที่ผลผลิตน้ำตาลซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญลดลงตามปริมาณอ้อยที่เข้าหีบ สำหรับภาคบริการอยู่ในเกณฑ์ขยายตัว แต่ชะลอลงบ้างเล็กน้อย จากปัจจัยทางด้านการใช้จ่ายของภาคเอกชนและจำนวนนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวในอัตราที่ลดลง อย่างไรก็ตาม สำหรับการผลิตภาคเหมืองแร่ ผลผลิตเพิ่มขึ้นเกือบทุกชนิดโดยผลผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันในตลาดที่สูงขึ้น ส่วนผลผลิตลิกไนต์เพิ่มขึ้นเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าแทนการใช้น้ำมันเตา สำหรับการผลิต ภาคเกษตร ผลผลิตพืชสำคัญลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนเกือบทุกชนิด จากการที่เกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูก เพราะราคาปีก่อนไม่จูงใจ ทำให้พืชหลายชนิดมีราคาสูงขึ้นและส่งผลให้รายได้รวมของเกษตรกรใกล้เคียงกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนและทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคเร่งตัวขึ้น โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ในระยะเดียวกันปีก่อน ทางด้าน ภาคการเงิน สินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือยังคงลดลง ขณะที่เงินฝากยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ภาคการเกษตร ผลผลิตพืชสำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.3 เนื่องจากเกษตรลดพื้นที่เพาะปลูกเพราะราคาปีก่อนไม่จูงใจ พืชสำคัญได้แก่ ข้าวนาปรัง ผลผลิตลดลงร้อยละ 6.4 เหลือ 1.8 ล้านเมตริกตัน จากการลดพื้นที่เพาะปลูกเป็นสำคัญ อ้อยโรงงาน มีผลผลิต 12.5 ล้านเมตริกตัน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.6 ผลผลิต หอมหัวใหญ่ ลดลงร้อยละ 2.9 เหลือ 78 พันเมตริกตัน จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน สำหรับ มันสำปะหลัง ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.9 เป็น 2.4 ล้านเมตริกตัน ชะลอลงเมื่อเทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 ของปีก่อน
อย่างไรก็ดี แม้ว่าผลผลิตการเกษตรโดยรวมลดลงแต่ราคาพืชสำคัญเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเกือบทุกชนิดโดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 6.5 ปีก่อน ตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดลดลง และการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นที่สูงขึ้น อ้อยโรงงานราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.0 ตามราคาน้ำตาลในตลาดโลก มันสำปะหลังและหอมหัวใหญ่ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 และ ร้อยละ 4.5 ตามลำดับ จากปริมาณผลผลิตที่ลดลง ขณะที่ข้าวนาปรังความชื้น 14-15% ราคาลดลงจากปีก่อนร้อยละ 10.8 จากการที่โรงสีชะลอการรับซื้อเพราะมีสต็อกอยู่ในระดับสูง รวมทั้งราคาข้าวในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้ในช่วงสามเดือนแรกปีนี้รายได้เกษตรกรจากการผลิตพืชผลเกษตรโดยรวมเฉลี่ยจะใกล้เคียงกับช่วงเวลาเดียวกับปีก่อนนอกภาคเกษตร ไตรมาสแรกปี 2544 ผลผลิต ภาคอุตสาหกรรม มีแนวโน้มชะลอตัว โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือชะลอตัวลงอย่างมาก โดยมูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.9 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.5 ระยะเดียวกันปีก่อน จากความต้องการจากต่างประเทศที่ชะลอตัวลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น สำหรับการผลิตของอุตสาหกรรมน้ำตาลลดลงร้อยละ 9.4 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ระยะเดียวกันปีก่อน ตามปริมาณผลผลิตอ้อยที่ลดลงประกอบกับโรงงานน้ำตาลเร่งหีบตั้งแต่เดือนธันวาคม 2543 ขณะที่การผลิตสังกะสีขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 ตามความต้องการภายในประเทศ ในช่วงสามเดือนแรกของปี 2544 เหมืองแร่ มีผลผลิตเพิ่มขึ้นเกือบทุกชนิด โดย น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 และ 1.9 เป็น 2.1 ล้านบาร์เรล และ 5.2 พันล้านลูกบาศก์ฟุต ตามลำดับ จากราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้นจูงใจให้บริษัทผู้ได้รับสัมปทานเร่งการผลิต ในช่วงสองเดือนแรกของปีผลผลิตลิกไนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เป็น 2.7 ล้านเมตริกตัน เพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าแทนการใช้น้ำมันเตา ส่วน หินปูน ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.8 เป็น 981,772 เมตริกตัน ขณะที่การผลิต สังกะสี ลดลงร้อยละ 54.2 เหลือ 24,935 เมตริกตัน เนื่องจากปริมาณแร่เหลือน้อยลง ทำให้มีการนำเข้าจากต่างประเทศ ภาคบริการ ยังอยู่ในเกณฑ์ขยายตัว แต่แสดงแนวโน้มชะลอตัวจากปัจจัยด้านการใช้จ่ายภาคเอกชน และจำนวน นักท่องเที่ยวที่ชะลอตัวลง
การใช้จ่ายภาคเอกชน เครื่องชี้ภาวะการใช้จ่ายหลายประเภทแสดงทิศทางที่ชะลอตัวลงจากปีก่อน โดยในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ปี 2544 ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียน ชะลอตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 เป็น 20,955 คัน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.9 ปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณรถจักรยานยนต์ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และนครสวรรค์ เป็นสำคัญ ด้าน ปริมาณรถยนต์จดทะเบียน (รถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์นั่งเชิงพาณิชย์) ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.5 เหลือ 4,678 คัน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.5 ปีก่อน โดยรถยนต์นั่งเชิงพาณิชย์ที่สามารถใช้งานได้ในภาคเกษตร และอุตสาหกรรมมีปริมาณลดลงร้อยละ 19.9 ขณะที่รถยนต์นั่งส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 0.2 ขณะที่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้ในไตรมาสแรก (คิดฐานภาษีร้อยละ 7) เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.6 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 ในช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่จากการเร่งรัดจัดเก็บภาษีในจังหวัดนครสวรรค์ ลำพูน และเชียงใหม่เป็นสำคัญ
การลงทุน/ก่อสร้าง การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมยังอยู่ในภาวะซบเซา อย่างไรก็ตาม สัญญาณการลงทุนก่อสร้างและความต้องการลงทุนผลิตของอุตสาหกรรมส่งออกยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2544 พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 30.4 เป็น 101,814 ตารางเมตร เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.2 ปีก่อน ตามการขยายตัวของพื้นที่รับอนุญาตฯ ประเภทที่อยู่อาศัยและประเภทพาณิชยกรรมเป็นสำคัญ โดยพื้นที่รับอนุญาตฯ ในภาคเหนือตอนบนขยายตัวถึงร้อยละ 63.3 ขณะที่ในภาคเหนือตอนล่างลดลงร้อยละ 0.9 ขณะที่ เงินลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรมจดทะเบียนตั้งใหม่ 88 โรงงาน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 55.7 เหลือ 194.6 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 77.8 ปีก่อน และคาดว่าโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งใหม่สามารถรองรับแรงงานได้ทั้งสิ้นจำนวน 1,152 คน เทียบกับ 1,686 คนปีก่อน อย่างไรก็ตาม ความสนใจลงทุนผลิตเพื่อส่งออกยังคงอยู่ในเกณฑ์ดีโดยเงินลงทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในไตรมาสแรก 15 โครงการ ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 87.5 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 ปีก่อน โดยส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องไฟฟ้า (ร้อยละ 62.5) รองลงมาคือหมวดเกษตรกรรมและผลผลิตการเกษตร (ร้อยละ 24.7) และเป็นโครงการในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูนเป็นสำคัญ
ฐานะการคลัง ช่วงไตรมาสแรกปี 2544 เงินในงบประมาณขาดดุล 25,538.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.9 ที่ขาดดุล 24,588.5 ล้านบาท รายจ่ายของ รัฐบาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เป็น 28,136.3 ล้านบาท เทียบกับเพิ่มเงินร้อยละ 3.5 ระยะเดียวกัน ปีก่อน โดยรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เป็น 18,113.7 ล้านบาท รายจ่ายอื่นและรายจ่ายค่าสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเกือบ 3 เท่าตัวและกว่าเท่าตัว เป็น 798.0 ล้านบาท และ 434.7 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนรายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อยร้อยละ 0.6 เป็น 10,022.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากในส่วนที่เป็นเงินอุดหนุนถึงร้อยละ 40.6 เป็น 5,262.3 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเงินที่ให้แก่สถาบันการศึกษาเพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคาร และเงินที่ให้แก่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมรายจ่ายรัฐบาลกับรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เป็น 28,229.0 ล้านบาท ด้าน รายได้ของรัฐบาล จัดเก็บได้ลดลงร้อยละ 5.4 เหลือ 2,598.3 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 15.5 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.7 เหลือ 291.2 ล้านบาท เนื่องจากรัฐไม่ขยายเวลาการชำระภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิดังเช่นปีก่อน ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.6 เหลือ 1,205.3 ล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ และมีธนาคารพาณิชย์บางแห่งโอนย้ายการชำระภาษีไปที่ส่วนกลาง ส่วนการจัดเก็บรายได้อื่นๆ ลดลงถึงร้อยละ 57.8 เหลือ 187.6 ล้านบาท เนื่องจากการโอนทรัพย์ชำระหนี้ของลูกค้าธนาคารพาณิชย์ลดลงจากปีก่อน
การค้าต่างประเทศ การส่งออก ในช่วงไตรมาสแรกมีมูลค่า 299.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 12,893.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.5) โดยการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ มีมูลค่า 241.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.9 ชะลอตัวลงจากปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.5 จากความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของต่างประเทศที่ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก ขณะที่การส่งออกผ่านชายแดนมีมูลค่า 1,166.5 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 39.8 (ในรูปดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 27.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 48.6) โดยการส่งออกไปพม่าลดลงจากระยะเวลาเดียวปีก่อนร้อยละ 58.9 เป็น 706.4 ล้านบาท (ในรูปดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 16.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 64.8) จากปัญหาประเทศเพื่อนบ้านเข้มงวดการนำเข้าและปิดด่านการค้าชายแดนบางแห่ง ขณะที่ การนำเข้า เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.6 เป็น 300.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 12,911.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.7) ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมูลค่า 281.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.0 ขณะที่การนำเข้าผ่านชายแดนมีมูลค่า 710.2 ล้านบาท เพื่อขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 73.9 จากการนำเข้าโค-กระบือเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการบันทึกรายการนำเข้าแร่สังกะสีมูลค่า 84 ล้านบาทเพื่อเสียภาษีการนำเข้าที่ด่านแม่สอด ดุลการค้า ช่วงไตรมาสแรกขาดดุล 0.5 ล้านดอลลาร์ สรอ.จากที่เกินดุล 41.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ปีก่อน
ระดับราคา ในช่วงไตรมาสแรกปี 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.9 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดมิใช่อาหารที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น โดยในหมวดยานพาหนะ การขนส่งและสื่อสารเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.0 สำหรับราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.2 จากราคาสินค้า เนื้อสัตว์ และราคาสินค้าที่ซื้อจากตลาดที่ลดลงมากช่วยให้ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาสแรกไม่เพิ่มขึ้นมากนัก
การเงิน
สินเชื่อ ของธนาคารพาณิชย์ยังคงลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2544 คงค้างเท่ากับ 172,300.0 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.5 ด้าน เงินฝาก มียอดเงินฝากคงค้าง 276,158.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากรยะเดียวกันปีก่อน 4.9 มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังอยู่ในระดับต่ำ อัตราดอกเบี้ย เงินฝากและเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 ธนาคาร ในช่วงไตรมาสแรกปรับตัวลดลงตามสภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ โดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2544 อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลงจากสิ้นปีก่อนร้อยละ 0.5 ต่อปี ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ 3 เดือน ลดลงเหลือร้อยละ 2.00 ต่อปี และร้อยละ 2.50 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้แก่ลูกค้าชั้นดี (MLR) อยู่ที่ระดับร้อยละ 7.25-7.75 ต่อปี ด้านปริมาณการใช้เช็คผ่านสำนักงานหักบัญชีในช่วงไตรมาสแรกปี 2544 มีปริมาณเช็คเรียกเก็บทั้งสิ้น 1,089,955 ฉบับ มูลค่า 70,868.3 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.2 และร้อยละ 2.6 ตามลำดับ โดยลดลงมากที่สำนักหักบัญชีจังหวัดพิจิตร พะเยา เชียงราย น่าน และกำแพงเพชร ทางด้านปริมาณเช็คคืนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เป็น 19,805 ฉบับ ขณะที่มูลค่าเช็คคืนลดลงร้อยละ 1.8 เหลือ 1,044.5 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าเช็คคืนมีสัดส่วนร้อยละ 1.8 และร้อยละ 1.5 ของปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเท่ากับระยะเดียวกันปีก่อน
--ส่วนวิชาการ/ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-
ภาคการเกษตร ผลผลิตพืชสำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.3 เนื่องจากเกษตรลดพื้นที่เพาะปลูกเพราะราคาปีก่อนไม่จูงใจ พืชสำคัญได้แก่ ข้าวนาปรัง ผลผลิตลดลงร้อยละ 6.4 เหลือ 1.8 ล้านเมตริกตัน จากการลดพื้นที่เพาะปลูกเป็นสำคัญ อ้อยโรงงาน มีผลผลิต 12.5 ล้านเมตริกตัน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.6 ผลผลิต หอมหัวใหญ่ ลดลงร้อยละ 2.9 เหลือ 78 พันเมตริกตัน จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน สำหรับ มันสำปะหลัง ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.9 เป็น 2.4 ล้านเมตริกตัน ชะลอลงเมื่อเทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 ของปีก่อน
อย่างไรก็ดี แม้ว่าผลผลิตการเกษตรโดยรวมลดลงแต่ราคาพืชสำคัญเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเกือบทุกชนิดโดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 6.5 ปีก่อน ตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดลดลง และการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นที่สูงขึ้น อ้อยโรงงานราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.0 ตามราคาน้ำตาลในตลาดโลก มันสำปะหลังและหอมหัวใหญ่ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 และ ร้อยละ 4.5 ตามลำดับ จากปริมาณผลผลิตที่ลดลง ขณะที่ข้าวนาปรังความชื้น 14-15% ราคาลดลงจากปีก่อนร้อยละ 10.8 จากการที่โรงสีชะลอการรับซื้อเพราะมีสต็อกอยู่ในระดับสูง รวมทั้งราคาข้าวในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้ในช่วงสามเดือนแรกปีนี้รายได้เกษตรกรจากการผลิตพืชผลเกษตรโดยรวมเฉลี่ยจะใกล้เคียงกับช่วงเวลาเดียวกับปีก่อนนอกภาคเกษตร ไตรมาสแรกปี 2544 ผลผลิต ภาคอุตสาหกรรม มีแนวโน้มชะลอตัว โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือชะลอตัวลงอย่างมาก โดยมูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.9 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.5 ระยะเดียวกันปีก่อน จากความต้องการจากต่างประเทศที่ชะลอตัวลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น สำหรับการผลิตของอุตสาหกรรมน้ำตาลลดลงร้อยละ 9.4 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ระยะเดียวกันปีก่อน ตามปริมาณผลผลิตอ้อยที่ลดลงประกอบกับโรงงานน้ำตาลเร่งหีบตั้งแต่เดือนธันวาคม 2543 ขณะที่การผลิตสังกะสีขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 ตามความต้องการภายในประเทศ ในช่วงสามเดือนแรกของปี 2544 เหมืองแร่ มีผลผลิตเพิ่มขึ้นเกือบทุกชนิด โดย น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 และ 1.9 เป็น 2.1 ล้านบาร์เรล และ 5.2 พันล้านลูกบาศก์ฟุต ตามลำดับ จากราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้นจูงใจให้บริษัทผู้ได้รับสัมปทานเร่งการผลิต ในช่วงสองเดือนแรกของปีผลผลิตลิกไนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เป็น 2.7 ล้านเมตริกตัน เพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าแทนการใช้น้ำมันเตา ส่วน หินปูน ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.8 เป็น 981,772 เมตริกตัน ขณะที่การผลิต สังกะสี ลดลงร้อยละ 54.2 เหลือ 24,935 เมตริกตัน เนื่องจากปริมาณแร่เหลือน้อยลง ทำให้มีการนำเข้าจากต่างประเทศ ภาคบริการ ยังอยู่ในเกณฑ์ขยายตัว แต่แสดงแนวโน้มชะลอตัวจากปัจจัยด้านการใช้จ่ายภาคเอกชน และจำนวน นักท่องเที่ยวที่ชะลอตัวลง
การใช้จ่ายภาคเอกชน เครื่องชี้ภาวะการใช้จ่ายหลายประเภทแสดงทิศทางที่ชะลอตัวลงจากปีก่อน โดยในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ปี 2544 ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียน ชะลอตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 เป็น 20,955 คัน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.9 ปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณรถจักรยานยนต์ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และนครสวรรค์ เป็นสำคัญ ด้าน ปริมาณรถยนต์จดทะเบียน (รถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์นั่งเชิงพาณิชย์) ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.5 เหลือ 4,678 คัน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.5 ปีก่อน โดยรถยนต์นั่งเชิงพาณิชย์ที่สามารถใช้งานได้ในภาคเกษตร และอุตสาหกรรมมีปริมาณลดลงร้อยละ 19.9 ขณะที่รถยนต์นั่งส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 0.2 ขณะที่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้ในไตรมาสแรก (คิดฐานภาษีร้อยละ 7) เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.6 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 ในช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่จากการเร่งรัดจัดเก็บภาษีในจังหวัดนครสวรรค์ ลำพูน และเชียงใหม่เป็นสำคัญ
การลงทุน/ก่อสร้าง การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมยังอยู่ในภาวะซบเซา อย่างไรก็ตาม สัญญาณการลงทุนก่อสร้างและความต้องการลงทุนผลิตของอุตสาหกรรมส่งออกยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2544 พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 30.4 เป็น 101,814 ตารางเมตร เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.2 ปีก่อน ตามการขยายตัวของพื้นที่รับอนุญาตฯ ประเภทที่อยู่อาศัยและประเภทพาณิชยกรรมเป็นสำคัญ โดยพื้นที่รับอนุญาตฯ ในภาคเหนือตอนบนขยายตัวถึงร้อยละ 63.3 ขณะที่ในภาคเหนือตอนล่างลดลงร้อยละ 0.9 ขณะที่ เงินลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรมจดทะเบียนตั้งใหม่ 88 โรงงาน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 55.7 เหลือ 194.6 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 77.8 ปีก่อน และคาดว่าโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งใหม่สามารถรองรับแรงงานได้ทั้งสิ้นจำนวน 1,152 คน เทียบกับ 1,686 คนปีก่อน อย่างไรก็ตาม ความสนใจลงทุนผลิตเพื่อส่งออกยังคงอยู่ในเกณฑ์ดีโดยเงินลงทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในไตรมาสแรก 15 โครงการ ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 87.5 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 ปีก่อน โดยส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องไฟฟ้า (ร้อยละ 62.5) รองลงมาคือหมวดเกษตรกรรมและผลผลิตการเกษตร (ร้อยละ 24.7) และเป็นโครงการในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูนเป็นสำคัญ
ฐานะการคลัง ช่วงไตรมาสแรกปี 2544 เงินในงบประมาณขาดดุล 25,538.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.9 ที่ขาดดุล 24,588.5 ล้านบาท รายจ่ายของ รัฐบาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เป็น 28,136.3 ล้านบาท เทียบกับเพิ่มเงินร้อยละ 3.5 ระยะเดียวกัน ปีก่อน โดยรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เป็น 18,113.7 ล้านบาท รายจ่ายอื่นและรายจ่ายค่าสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเกือบ 3 เท่าตัวและกว่าเท่าตัว เป็น 798.0 ล้านบาท และ 434.7 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนรายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อยร้อยละ 0.6 เป็น 10,022.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากในส่วนที่เป็นเงินอุดหนุนถึงร้อยละ 40.6 เป็น 5,262.3 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเงินที่ให้แก่สถาบันการศึกษาเพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคาร และเงินที่ให้แก่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมรายจ่ายรัฐบาลกับรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เป็น 28,229.0 ล้านบาท ด้าน รายได้ของรัฐบาล จัดเก็บได้ลดลงร้อยละ 5.4 เหลือ 2,598.3 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 15.5 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.7 เหลือ 291.2 ล้านบาท เนื่องจากรัฐไม่ขยายเวลาการชำระภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิดังเช่นปีก่อน ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.6 เหลือ 1,205.3 ล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ และมีธนาคารพาณิชย์บางแห่งโอนย้ายการชำระภาษีไปที่ส่วนกลาง ส่วนการจัดเก็บรายได้อื่นๆ ลดลงถึงร้อยละ 57.8 เหลือ 187.6 ล้านบาท เนื่องจากการโอนทรัพย์ชำระหนี้ของลูกค้าธนาคารพาณิชย์ลดลงจากปีก่อน
การค้าต่างประเทศ การส่งออก ในช่วงไตรมาสแรกมีมูลค่า 299.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 12,893.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.5) โดยการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ มีมูลค่า 241.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.9 ชะลอตัวลงจากปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.5 จากความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของต่างประเทศที่ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก ขณะที่การส่งออกผ่านชายแดนมีมูลค่า 1,166.5 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 39.8 (ในรูปดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 27.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 48.6) โดยการส่งออกไปพม่าลดลงจากระยะเวลาเดียวปีก่อนร้อยละ 58.9 เป็น 706.4 ล้านบาท (ในรูปดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 16.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 64.8) จากปัญหาประเทศเพื่อนบ้านเข้มงวดการนำเข้าและปิดด่านการค้าชายแดนบางแห่ง ขณะที่ การนำเข้า เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.6 เป็น 300.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 12,911.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.7) ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมูลค่า 281.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.0 ขณะที่การนำเข้าผ่านชายแดนมีมูลค่า 710.2 ล้านบาท เพื่อขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 73.9 จากการนำเข้าโค-กระบือเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการบันทึกรายการนำเข้าแร่สังกะสีมูลค่า 84 ล้านบาทเพื่อเสียภาษีการนำเข้าที่ด่านแม่สอด ดุลการค้า ช่วงไตรมาสแรกขาดดุล 0.5 ล้านดอลลาร์ สรอ.จากที่เกินดุล 41.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ปีก่อน
ระดับราคา ในช่วงไตรมาสแรกปี 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.9 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดมิใช่อาหารที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น โดยในหมวดยานพาหนะ การขนส่งและสื่อสารเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.0 สำหรับราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.2 จากราคาสินค้า เนื้อสัตว์ และราคาสินค้าที่ซื้อจากตลาดที่ลดลงมากช่วยให้ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาสแรกไม่เพิ่มขึ้นมากนัก
การเงิน
สินเชื่อ ของธนาคารพาณิชย์ยังคงลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2544 คงค้างเท่ากับ 172,300.0 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.5 ด้าน เงินฝาก มียอดเงินฝากคงค้าง 276,158.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากรยะเดียวกันปีก่อน 4.9 มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังอยู่ในระดับต่ำ อัตราดอกเบี้ย เงินฝากและเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 ธนาคาร ในช่วงไตรมาสแรกปรับตัวลดลงตามสภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ โดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2544 อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลงจากสิ้นปีก่อนร้อยละ 0.5 ต่อปี ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ 3 เดือน ลดลงเหลือร้อยละ 2.00 ต่อปี และร้อยละ 2.50 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้แก่ลูกค้าชั้นดี (MLR) อยู่ที่ระดับร้อยละ 7.25-7.75 ต่อปี ด้านปริมาณการใช้เช็คผ่านสำนักงานหักบัญชีในช่วงไตรมาสแรกปี 2544 มีปริมาณเช็คเรียกเก็บทั้งสิ้น 1,089,955 ฉบับ มูลค่า 70,868.3 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.2 และร้อยละ 2.6 ตามลำดับ โดยลดลงมากที่สำนักหักบัญชีจังหวัดพิจิตร พะเยา เชียงราย น่าน และกำแพงเพชร ทางด้านปริมาณเช็คคืนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เป็น 19,805 ฉบับ ขณะที่มูลค่าเช็คคืนลดลงร้อยละ 1.8 เหลือ 1,044.5 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าเช็คคืนมีสัดส่วนร้อยละ 1.8 และร้อยละ 1.5 ของปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเท่ากับระยะเดียวกันปีก่อน
--ส่วนวิชาการ/ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-