กรุงเทพฯ--25 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซลว่า เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2544 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้เข้าพบกับนาย Lee Jae-ku ผู้อำนวยการ Entry Section 3-4 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ท่าอากาศยานกรุงโซล เพื่อสอบถามกรณีที่สตรีไทยคนหนึ่งถูกยกเลิกการอนุญาตให้เข้าเมืองเกาหลีใต้และถูกส่งกลับไทยแต่ต้องต่อเครื่องที่เวียดนามด้วยตนเอง โดยมิได้แจ้งเหตุผลของการไม่ให้เข้าเมือง การไม่ส่งตัวกลับตามเส้นทางการบินเดิม การ ไม่ยินยอมให้ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ และอื่นๆ ซึ่งในกรณีดังกล่าวได้รับแจ้งจากนาย Jae-ku ว่าแม้ว่าสตรีไทยคน ดังกล่าวจะไม่เคยมีประวัติกระทำความผิดกฎหมายเข้าเมืองเกาหลีใต้ แต่ก็ได้พยายามนำผู้โดยสารไทยอีกคนหนึ่งจากกรุงเทพฯ เข้าเกาหลีใต้ และยังตรวจพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในหนังสือ เดินทางของบุคคลที่สตรีไทยผู้นั้นให้ความช่วยเหลือ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจึงส่งบุคคลทั้งสองออกจากเกาหลีใต้ สำหรับการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในกรณีดังกล่าว หากมีสิ่งใดไม่เหมาะสม ตนขออภัยแทนในนามของหน่วยงานของตนด้วย รวมทั้งจะปรับปรุงการปฏิบัติงานในเรื่องการให้ความเคารพสิทธิของผู้ถูกสอบสวนและลงโทษ และยินดีประสานงานกับสถานเอกอัครราชทูตฯ อย่างเต็มที่
นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ยังได้แจ้งปัญหาของคนไทยซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับกรณีดังกล่าวข้างต้นซึ่งได้ขอให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ช่วยเจรจากับเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคน-เข้าเมือง ท่าอากาศยานกรุงโซล เนื่องจากเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2543 ได้เดินทางเข้าเกาหลีใต้เพื่อ ท่องเที่ยวและหาประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจบริษัททัวร์ โดยในระหว่างจะผ่านเข้าเมืองได้ช่วยแปลคำให้การของผู้โดยสารชาวไทยที่ตนไม่รู้จักมาก่อนซึ่งถูกเจ้าหน้าที่สอบสวนเนื่องจากสงสัยว่าเป็นแรงงานผิดกฎหมายในเกาหลีใต้ และเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองได้บันทึกข้อความในหนังสือเดินทางของตน ต่อมาเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2544 สายการบินไม่ยินยอมให้ตนขึ้นเครื่องบินโดยสารกลับไทย เนื่องจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมีระเบียบให้นำบุคคลที่มีชื่อในหนังสือเดินทางกลับไทยพร้อมกัน สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงได้นำคนไทยที่ร้องทุกข์ผู้นี้ไปพบเจ้าหน้าที่กองสอบสวน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งในที่สุดเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองได้อนุญาตให้ออกจากเกาหลีใต้ได้โดยไม่เสียค่าปรับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ กระทรวงการต่างประเทศใคร่ขอเตือนสาธารณชน โดยเฉพาะผู้โดยสารเครื่องบินไปเกาหลีใต้ว่า ไม่ควรรับรองหรือช่วยผู้โดยสารคนอื่นที่ไม่รู้จัก เพราะเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเกาหลีใต้ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัดเพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย ทั้งนี้ การวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทำทันทีที่ชาวต่างชาติเดินทางเข้าเมืองไม่สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ และหากสงสัยผู้ใดก็มีสิทธิปฏิเสธการเข้าเมืองได้ หรืออนุญาตให้เข้าไปก่อน แต่หากไม่สามารถนำ ผู้ที่ให้การรับรองกลับด้วย ก็จะไม่อนุญาตให้ผู้รับรองเดินทางออกจากเกาหลีใต้ หรือต้องจ่ายค่าปรับ ซึ่งอาจสูงถึงสิบล้านวอน (ประมาณสามแสนบาท) ตลอดจนบันทึกชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อบุคคลต้อง ห้ามเข้าเกาหลีใต้อีกด้วย
นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ยังได้รับรายงานว่า คนไทยที่ประสงค์จะเข้าเมืองเกาหลีใต้ แต่เกรงว่าเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจะไม่อนุญาต อาจใช้วิธีตีสนิทหรือขอให้ผู้โดยสารคนอื่นช่วยเหลือ เจรจา หรือแปล เพื่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง หรือแม้แต่ขอให้ช่วยแจ้งความเท็จกับเจ้าหน้าที่ว่าเป็นญาติของตนเอง ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวอาจสร้างความเดือนร้อนให้แก่ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือด้วยความจริงใจ
อนึ่ง รัฐบาลเกาหลีใต้ได้นิรโทษกรรมคนงานต่างชาติโดยอนุญาตให้เดินทางกลับประเทศของตนได้ โดยไม่เสียค่าปรับระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม 2543 ถึง 20 มกราคม 2544 ซึ่ง สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ให้ความช่วยเหลือส่งคนไทยกลับประเทศในช่วงดังกล่าวรวมทั้งสิ้น 80 คน โดยช่วยติดต่อสำรองบัตรโดยสารเครื่องบิน นำคนไทยไปทำเรื่องขออนุญาตเดินทางกลับประเทศกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ตลอดจนช่วยเหลือเรื่องการ check-in ที่สนามบินด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซลว่า เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2544 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้เข้าพบกับนาย Lee Jae-ku ผู้อำนวยการ Entry Section 3-4 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ท่าอากาศยานกรุงโซล เพื่อสอบถามกรณีที่สตรีไทยคนหนึ่งถูกยกเลิกการอนุญาตให้เข้าเมืองเกาหลีใต้และถูกส่งกลับไทยแต่ต้องต่อเครื่องที่เวียดนามด้วยตนเอง โดยมิได้แจ้งเหตุผลของการไม่ให้เข้าเมือง การไม่ส่งตัวกลับตามเส้นทางการบินเดิม การ ไม่ยินยอมให้ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ และอื่นๆ ซึ่งในกรณีดังกล่าวได้รับแจ้งจากนาย Jae-ku ว่าแม้ว่าสตรีไทยคน ดังกล่าวจะไม่เคยมีประวัติกระทำความผิดกฎหมายเข้าเมืองเกาหลีใต้ แต่ก็ได้พยายามนำผู้โดยสารไทยอีกคนหนึ่งจากกรุงเทพฯ เข้าเกาหลีใต้ และยังตรวจพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในหนังสือ เดินทางของบุคคลที่สตรีไทยผู้นั้นให้ความช่วยเหลือ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจึงส่งบุคคลทั้งสองออกจากเกาหลีใต้ สำหรับการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในกรณีดังกล่าว หากมีสิ่งใดไม่เหมาะสม ตนขออภัยแทนในนามของหน่วยงานของตนด้วย รวมทั้งจะปรับปรุงการปฏิบัติงานในเรื่องการให้ความเคารพสิทธิของผู้ถูกสอบสวนและลงโทษ และยินดีประสานงานกับสถานเอกอัครราชทูตฯ อย่างเต็มที่
นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ยังได้แจ้งปัญหาของคนไทยซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับกรณีดังกล่าวข้างต้นซึ่งได้ขอให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ช่วยเจรจากับเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคน-เข้าเมือง ท่าอากาศยานกรุงโซล เนื่องจากเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2543 ได้เดินทางเข้าเกาหลีใต้เพื่อ ท่องเที่ยวและหาประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจบริษัททัวร์ โดยในระหว่างจะผ่านเข้าเมืองได้ช่วยแปลคำให้การของผู้โดยสารชาวไทยที่ตนไม่รู้จักมาก่อนซึ่งถูกเจ้าหน้าที่สอบสวนเนื่องจากสงสัยว่าเป็นแรงงานผิดกฎหมายในเกาหลีใต้ และเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองได้บันทึกข้อความในหนังสือเดินทางของตน ต่อมาเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2544 สายการบินไม่ยินยอมให้ตนขึ้นเครื่องบินโดยสารกลับไทย เนื่องจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมีระเบียบให้นำบุคคลที่มีชื่อในหนังสือเดินทางกลับไทยพร้อมกัน สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงได้นำคนไทยที่ร้องทุกข์ผู้นี้ไปพบเจ้าหน้าที่กองสอบสวน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งในที่สุดเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองได้อนุญาตให้ออกจากเกาหลีใต้ได้โดยไม่เสียค่าปรับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ กระทรวงการต่างประเทศใคร่ขอเตือนสาธารณชน โดยเฉพาะผู้โดยสารเครื่องบินไปเกาหลีใต้ว่า ไม่ควรรับรองหรือช่วยผู้โดยสารคนอื่นที่ไม่รู้จัก เพราะเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเกาหลีใต้ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัดเพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย ทั้งนี้ การวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทำทันทีที่ชาวต่างชาติเดินทางเข้าเมืองไม่สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ และหากสงสัยผู้ใดก็มีสิทธิปฏิเสธการเข้าเมืองได้ หรืออนุญาตให้เข้าไปก่อน แต่หากไม่สามารถนำ ผู้ที่ให้การรับรองกลับด้วย ก็จะไม่อนุญาตให้ผู้รับรองเดินทางออกจากเกาหลีใต้ หรือต้องจ่ายค่าปรับ ซึ่งอาจสูงถึงสิบล้านวอน (ประมาณสามแสนบาท) ตลอดจนบันทึกชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อบุคคลต้อง ห้ามเข้าเกาหลีใต้อีกด้วย
นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ยังได้รับรายงานว่า คนไทยที่ประสงค์จะเข้าเมืองเกาหลีใต้ แต่เกรงว่าเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจะไม่อนุญาต อาจใช้วิธีตีสนิทหรือขอให้ผู้โดยสารคนอื่นช่วยเหลือ เจรจา หรือแปล เพื่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง หรือแม้แต่ขอให้ช่วยแจ้งความเท็จกับเจ้าหน้าที่ว่าเป็นญาติของตนเอง ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวอาจสร้างความเดือนร้อนให้แก่ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือด้วยความจริงใจ
อนึ่ง รัฐบาลเกาหลีใต้ได้นิรโทษกรรมคนงานต่างชาติโดยอนุญาตให้เดินทางกลับประเทศของตนได้ โดยไม่เสียค่าปรับระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม 2543 ถึง 20 มกราคม 2544 ซึ่ง สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ให้ความช่วยเหลือส่งคนไทยกลับประเทศในช่วงดังกล่าวรวมทั้งสิ้น 80 คน โดยช่วยติดต่อสำรองบัตรโดยสารเครื่องบิน นำคนไทยไปทำเรื่องขออนุญาตเดินทางกลับประเทศกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ตลอดจนช่วยเหลือเรื่องการ check-in ที่สนามบินด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-