กรุงเทพฯ--5 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
แม่น้ำโขงซึ่งมีความยาวกว่า 4,800 กิโลเมตร จากที่ราบสูงธิเบต ไหลผ่าน 6 ประเทศ คือ จีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนามก่อนออกสู่ทะเลจีนใต้ อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 240 ล้านคนตลอดแนวพื้นที่ลุ่มน้ำโขง 2.3 ตารางกิโลเมตร
ในอดีต แม่น้ำโขงเป็นทั้งเขตแดนทางภูมิศาสตร์และอุดมการณ์ระหว่างประเทศริ่มฝั่ง แต่ในปัจจุบันแม่น้ำโขงได้กลายเป็นดินแดงแห่งความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทรัพยากรน้ำ พลังงาน การเกษตร การประมง การค้า การลงทุน การคมนาคมขนส่ง การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
เมื่อปี 2543 ไทยได้ริเริ่มและร่วมมือกับประเทศต่างๆ ทั้งในและนอกอนุภฺมิภาคลุ่มน้ำโขง ในการผลักดันให้คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคม สำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) และสหประชาชาติ ประกาศให้ปี ค.ศ.2000-2009 เป็นทศวรรษแห่งความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
การที่นานาประเทศเล็งเห็นถึงศักยภาพและความสำคัญของการพัฒนาลุ่มน้ำโขง ได้ก่อให้เกิดความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงหลายกรอบ ซึ่งอาจสรุป ได้ดังนี้
1. ASEAN-Mekong Basin Development Cooperation (AMBDC)
1.1 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอาเซียน-ลุ่มน้ำโขง (AMBDC) จัดตั้งขึ้นตามมติที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2538 โดยมาเลเซียได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี AMBDC ครั้งแรก เมื่อเดือนมิถุนายน 2539 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในลักษณะของกรอบความร่วมมือที่เป็นอิสระจากอาเซียน (stand alone) โดยประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้ง 10 ประเทศ (ขณะนั้นลาว พม่าและกัมพูชายังไม่ได้เป็นสมาชิกอาเซียน) และจีนเข้าร่วมการประชุมในการนี้ ได้มีการจัดตั้งกลไกดำเนินงานประกอบด้วย (1)คณะกรรมการอำนวยการ (Steering Commitree) (2)คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน (Financial Experts Group) และ (3)คณะทำงานพิเศษด้านการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุณหมิง (Special Working Group on Singapore-Kumming Rail Link)
1.2 ความร่วมมือภายใต้ AMBDC ประกอบด้วย 8 สาขา ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน (คมนาคม โทรคมนาคมและพลังงาน) การค้าและการลงทุน เกษตรกรรม ป่าไม้และแร่ธาตุ การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดเล็กและย่อม (SMEs) การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยได้มีการเสนอโครงการต่างๆ แล้ว 16 โครงการ (ไทย 6 โครงการ) แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีความคืบหน้าเนื่องจากขาดความชัดเจนในเรื่องเงินทุนสนับสนุนโครงการ ยกเว้นโครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟระหว่างสิงคโปร์ถึงคุณหมิงที่ได้มีการทำการศึกษาเบื้องต้นและกำหนดเส้นทางแล้ว โดยมาเลเซียได้บริจาคเงิน 2 ล้านริงกิต ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาของมาเลเซียทำการศึกษา การเชื่อมโยงเส้นทางซึ่งได้มีการเสนอทางเลือก 6 เส้นทาง แต่การที่อาเซียนเลือกเส้นทางสายที่ 1 และบางส่วนของเส้นทางสายที่ 2 นั้น ก็เนื่องจากทางเลือกนี้เชื่อมประเทศในลุ่มน้ำโขงทั้งหมด 6 ประเทศ รวมกับมาเลเซียและสิงคโปร์ เป็นทั้งสิ้น 8 ประเทศ และเป็นทางเลือกที่ต้องสร้างทางรถไฟ เพิ่มเติมสั้นที่สุด โดยมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นประมาณ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วยการสร้างส่วนที่ ขาดหายไปในเส้นทางสายที่ 1 เป็นเงิน 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เชื่อมอรัญประเทศกับปอยเปต เชื่อมพนมเปญกับโฮจิมินห์ และเชื่อมเวียงจันทร์กับดอนกลางของเวียดนาม) และการสร้างทางรถไฟสายที่ 2 เชื่อมระหว่างไทยกับพม่า เป็นเงิน 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (จากสถานีน้ำตกในจังหวัดกาญจนบุรี ไปด่านเจดีย์สามองค์ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการเชื่อมเส้นทางต่อจากนั้นเข้าไปบรรจบกับเส้นทางรถไฟเดิมในพม่าอีก 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
1.3 ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ AMBDC ครั้งที่ 3 โรงแรมเลอ รอยัล เมอริเดียน กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 29-30 สิงหาคม 2544 และจะเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับรัฐมนตรี AMBDC ระหว่างวันที่ 8-9 ตุลาคม 2544 ที่โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย เพื่อที่จะผลักดันโครงการความร่วมมือต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมือนี้ รวมทั้งโครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุณหมิง ซึ่งเป็นโครงการสำคัญที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้กล่าวกับนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ โก๊ะ จ๊ก ตง ในระหว่างการเยือนสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2544 ขอให้สิงคโปร์ร่วมผลักดันและลงทุนในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงสิงคโปร์-คุณหมิง ในระหว่างการประชุมข้างต้นที่ไทยกำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ และเชียงรายตามลำดับ
2.Greater Mekong Subregion (GMS)
2.1 กรอบความร่วมมือนี้จัดตั้งขึ้นในปี 2535 โดยความสนับสนุนของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) โดยได้วางกรอบความร่วมมือไว้ 8 สาขา คือ คมนาคมขนส่ง พลังงาน สื่อสาร โทรคมนาคม พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม การอำนวยความสะดวกทางการค้า และการลงทุน ในปัจจุบัน GMS ให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridor) ซึ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานควบคู่ไปกับการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนในพื้นที่เป้าหมายเพื่อสนับสนุนกิจกรรมด้านการผลิต การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวในภูมิภาค ซึ่งได้แก่ (1)เส้นแนวพื้นที่ตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) เชื่อมโยงพม่า ไทย ลาวและเวียดนาม ผ่านเส้นทางเมาะละแหม่ง-เมียวดี-แม่สอด-มุกดาหาร-สะหวันนะเขต-ตองฮา-ตานัง (2)เส้นแนวพื้นที่เหนือ-ใต้ (North-South Corridor) เชื่อมโยงจีน ลาว ไทย พม่า ผ่านเส้นทางเชียงของ-หลวงน้ำทา-บ่อเต็น-แม่สาย-ท่าขี้เหล็ก-เชียงตุง-ต้าหลั่ว
2.2 มีการประชุมระดับรัฐมนตรี GMS เป็นประจำทุกปี โดยครั้งล่าสุดคือ ครั้งที่ 9 ที่กรุงมะนิลา เมื่อเดือนมกราคม 2543 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติที่สำคัญ อาทิ
- เร่งรัดการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของเส้นแนวพื้นที่ตะวันออก-ตะวันตกให้แล้วเสร็จในปี 2548 ควบคู่ไปกับการเร่งจัดทำพิธีสารแนบท้ายและภาคผนวกของความตกลง 3 ฝ่าย ไทย-ลาว-เวียดนาม ว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนสินค้าและผู้โดยสาร ซึ่งลงนามไปแล้วเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2542 ให้มีผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว
- ตั้งเป้าหมายที่จะยกร่าง Framework Agrccment for the Facilitation of the Cross-Border Movement of Goods and People in the GMS ซึ่ง ADB กำลังจัดร่างอยู่นั้นให้เสร็จและลงนามในปี 2544 ตลอดจนจัดทำพิธีสารที่เกี่ยวข้องให้เสร็จในปี 2548 ต่อไป
- เร่งพัฒนาเส้นทางเดินเรือในแม่น้ำโขงตอนบนเพื่อรองรับความตกลงว่าด้วยการเดินเรือเชิงพาณิชย์ในแม่น้ำโขง (Agreement on Cornmercial Novigation of Lancang-Mekong River) ระหว่างจีน ลาว พม่าและไทย (ซึ่งลงนามและมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2543)
- ทบทวนกลยุทธ์และกลไกการพัฒนา GMS ในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และข้อเท็จจริง รวมทั้ง สนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การผลิตและการท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรม
3. AMEICC
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น (AEM-METI Economic and Industrial Cooperation Committce-AMEICC) พัฒนามาจาก CLM Working Group) เพื่อช่วยเหลือกัมพูชา ลาวและพม่าในการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน โดยมีการประชุมระดับรัฐมนตรี AMEICC ครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541 ที่กรุงเทพฯ และมีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 2 เมื่อเดือนกันยายน 2542 ที่สิงคโปร์ โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือทางอุตสาหกรรม การปรับปรุงขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน และให้ความร่วมมือด้านการพัฒนาแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน AMEICC มีคณะทำงานสาขาต่างๆ จำนวน 7 คณะ โดยในส่วนของความช่วยเหลือประเทศสมาชิกใหม่นั้นจะเน้นเรื่องการปรับตัวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจการตลาด การพัฒนา และ SMEs
West-East Corridor (WEC) เวียดนามได้เสนอกรอบความร่วมมือเพื่อพัฒนาพื้นที่ที่พัฒนาน้อยที่สุดบริเวณลุ่มน้ำโขงตามแนวตะวันตก-ตะวันออก (Cooperation Framework for the Development of the Less-Developed Inter-Stare Areas in the Mekong Basin Along the West-East Corridor: WEC) ต่อที่ประชุม AEM และ SEOM เมื่อเดือนตุลาคม 2541 โดยครอบคลุมพื้นที่ตอนกลางของเวียดนาม ตอนกลาง/ตอนล่างของลาว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยเน้นการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงไปสู่ท่าเรือดานังและวุ๋งเต่าของเวียดนาม ข้อเสนอนี้คล้ายคลึงกับโครงการ East-West Corridor และ Southern Corridor ของ GMS
4. Forum for the Comprehensive Development of Induchina (FCDI)
FCDI จัดตั้งขึ้นในปี 2536 ตามดำริของนายกรัฐมนตรี มิซายาวาของญี่ปุ่น โดยไทย ญี่ปุ่นและ UNDP มีบทบาทที่สำคัญ สำหรับวัตถุประสงค์ของ Forum คือ การชี้ให้เห็นถึงความต้องการและโอกาสในการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมในระดับอนุภูมิภาค โดยเน้นประเด็นที่มีลักษณะข้ามชาติหรือที่จะมีผลกระทบข้ามพรมแดน
FCDI มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2538 ที่กรุงโตเกียว โดย UNDP ได้รับการร้องขอให้ประสานงานในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ ADB ประสานเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ดี กิจกรรมให้ความช่วยเหลือแก่กัมพูชา ลาวและเวียดนาม จะยังคงอาศัยช่องทางความร่วมมือสองฝ่าย ขณะนี้ ได้มีแนวคิดที่จะให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในกรอบ FCDI แทนภาค ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
5. Mekong River Commission (MRC)
คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงจัดตั้งขึ้นปี 2538 ตามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในลุ่มแม่น้ำโขง (Agrecment on the Cooperation for the Sustainable of the Mekong River Basin) โดยเปลี่ยนสถานะมาจาก Mekong Committee ที่จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2500 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงพนมเปญ มีสมาชิกประกอบด้วย 4 ประเทศในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ได้แก่ ไทย ลาว เวียดนาม และกัมพูชา โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อที่จะพัฒนาลุ่มน้ำโขงให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุกด้าน และมุ่งที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ในการใช้น้ำจากแม่น้ำโขงของประเทศต่างๆ อย่างเป็นธรรมและสมเหตุสมผล
ปัจจุบัน MRC มี 3 โครงการหลัก คือ (1)Basin Development Plan-BDP (2)Water Utilization-WUP และ(3)Environmental Programme-EP นอกจากนี้ ก็ยังมีโครงการเฉพาะด้านต่างๆ อาทิ ประมง เกษตร ชลประทาน ป่าไม้ อุทกวิทยา และท่องเที่ยว MRC มีเป้าหมายที่จะขยายความร่วมมือให้รวมถึงประเทศในลุ่มน้ำโขงตอนบนด้วย โดยในขณะนี้ MRC ได้มีการหารือกับจีนและพม่าในลักษณะของประเทศคู่เจรจา อนึ่ง จีนและพม่า ซึ่งเป็นประเทศต้นน้ำยังไม่เข้าร่วมเป็นภาคีความตกลง MRC เนื่องจากเกรงว่า การเข้าเป็นภาคีอาจทำให้ขาดความคล่องตัวในการใช้ประโยชน์จากน้ำในแม่น้ำโขงอย่างเต็มที่
6.Mekong-Ganga Cooperation (MGC)
ความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคา มีจุดเริ่มต้นมาจากการหารือระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และอินเดีย ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ อาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2543 โดยที่ประชุมหารือดังกล่าวได้เห็นควรจัดตั้งความร่วมมือลุ่มน้ำคงคา-สุวรรณภูมิ-ลุ่มแม่น้ำโขง (Ganga-Suwannaphumi-Kekong Cooperation) ขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในด้านการท่องเที่ยว ศึกษา และวัฒนธรรม
ต่อมาในการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 1 ระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีท่องเที่ยวของทั้ง 6 ประเทศ เมื่อวันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2543 ที่ประชุมได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อเป็น "ความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคา" (Mekong-Ganga Cooperation : MGC)
ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสว่าด้วยความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคา ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2544 ที่กรุงนิวเดลี มีมติให้จัดตั้งคณะทำงาน 5 ชุด ประกอบด้วย (1) ด้านการท่องเที่ยวมีไทยเป็นประธาน ซึ่งได้จัดการประชุมคณะทำงานไปแล้วเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2544 เพื่อส่งเสริมการทำการตลาดร่วมกัน (2)ด้านวัฒนธรรม มีกัมพูชาเป็นประธาน กำหนดการประชุมในวันที่ 29 มิถุนายน 2544 (3)ด้านการศึกษา มีอินเดียเป็นประธาน มีการประชุมเมื่อวันที่ 11-12 มิถุนายน 2544 ซึ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบการศึกษาทางไกลในชนบท (4)ด้านคมนาคมขนส่ง มีลาวเป็นประธาน มีการประชุมแล้วเมื่อวันที่ 7-8 มิถุนายน 2544 ซึ่งได้เน้นที่จะสร้างระบบคมนาคมขนส่งและการสื่อสารให้เชื่อมโยงกันในทุกรูปแบบ และ(5)ด้านแผนปฏิบัติการ มีเวียดนามเป็นประธาน ซึ่งได้ประชุมไปแล้วเมื่อวันที่ 2-3 พฤษภาคม 2544 โดยได้กำหนดให้มี Ha Noi Programme of Action ระยะ 6 ปี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2544-2550 และให้มีการทบทวนผลการดำเนินงานทุกๆ 2 ปี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7--จบ--
-อน-
แม่น้ำโขงซึ่งมีความยาวกว่า 4,800 กิโลเมตร จากที่ราบสูงธิเบต ไหลผ่าน 6 ประเทศ คือ จีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนามก่อนออกสู่ทะเลจีนใต้ อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 240 ล้านคนตลอดแนวพื้นที่ลุ่มน้ำโขง 2.3 ตารางกิโลเมตร
ในอดีต แม่น้ำโขงเป็นทั้งเขตแดนทางภูมิศาสตร์และอุดมการณ์ระหว่างประเทศริ่มฝั่ง แต่ในปัจจุบันแม่น้ำโขงได้กลายเป็นดินแดงแห่งความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทรัพยากรน้ำ พลังงาน การเกษตร การประมง การค้า การลงทุน การคมนาคมขนส่ง การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
เมื่อปี 2543 ไทยได้ริเริ่มและร่วมมือกับประเทศต่างๆ ทั้งในและนอกอนุภฺมิภาคลุ่มน้ำโขง ในการผลักดันให้คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคม สำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) และสหประชาชาติ ประกาศให้ปี ค.ศ.2000-2009 เป็นทศวรรษแห่งความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
การที่นานาประเทศเล็งเห็นถึงศักยภาพและความสำคัญของการพัฒนาลุ่มน้ำโขง ได้ก่อให้เกิดความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงหลายกรอบ ซึ่งอาจสรุป ได้ดังนี้
1. ASEAN-Mekong Basin Development Cooperation (AMBDC)
1.1 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอาเซียน-ลุ่มน้ำโขง (AMBDC) จัดตั้งขึ้นตามมติที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2538 โดยมาเลเซียได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี AMBDC ครั้งแรก เมื่อเดือนมิถุนายน 2539 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในลักษณะของกรอบความร่วมมือที่เป็นอิสระจากอาเซียน (stand alone) โดยประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้ง 10 ประเทศ (ขณะนั้นลาว พม่าและกัมพูชายังไม่ได้เป็นสมาชิกอาเซียน) และจีนเข้าร่วมการประชุมในการนี้ ได้มีการจัดตั้งกลไกดำเนินงานประกอบด้วย (1)คณะกรรมการอำนวยการ (Steering Commitree) (2)คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน (Financial Experts Group) และ (3)คณะทำงานพิเศษด้านการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุณหมิง (Special Working Group on Singapore-Kumming Rail Link)
1.2 ความร่วมมือภายใต้ AMBDC ประกอบด้วย 8 สาขา ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน (คมนาคม โทรคมนาคมและพลังงาน) การค้าและการลงทุน เกษตรกรรม ป่าไม้และแร่ธาตุ การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดเล็กและย่อม (SMEs) การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยได้มีการเสนอโครงการต่างๆ แล้ว 16 โครงการ (ไทย 6 โครงการ) แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีความคืบหน้าเนื่องจากขาดความชัดเจนในเรื่องเงินทุนสนับสนุนโครงการ ยกเว้นโครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟระหว่างสิงคโปร์ถึงคุณหมิงที่ได้มีการทำการศึกษาเบื้องต้นและกำหนดเส้นทางแล้ว โดยมาเลเซียได้บริจาคเงิน 2 ล้านริงกิต ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาของมาเลเซียทำการศึกษา การเชื่อมโยงเส้นทางซึ่งได้มีการเสนอทางเลือก 6 เส้นทาง แต่การที่อาเซียนเลือกเส้นทางสายที่ 1 และบางส่วนของเส้นทางสายที่ 2 นั้น ก็เนื่องจากทางเลือกนี้เชื่อมประเทศในลุ่มน้ำโขงทั้งหมด 6 ประเทศ รวมกับมาเลเซียและสิงคโปร์ เป็นทั้งสิ้น 8 ประเทศ และเป็นทางเลือกที่ต้องสร้างทางรถไฟ เพิ่มเติมสั้นที่สุด โดยมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นประมาณ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วยการสร้างส่วนที่ ขาดหายไปในเส้นทางสายที่ 1 เป็นเงิน 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เชื่อมอรัญประเทศกับปอยเปต เชื่อมพนมเปญกับโฮจิมินห์ และเชื่อมเวียงจันทร์กับดอนกลางของเวียดนาม) และการสร้างทางรถไฟสายที่ 2 เชื่อมระหว่างไทยกับพม่า เป็นเงิน 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (จากสถานีน้ำตกในจังหวัดกาญจนบุรี ไปด่านเจดีย์สามองค์ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการเชื่อมเส้นทางต่อจากนั้นเข้าไปบรรจบกับเส้นทางรถไฟเดิมในพม่าอีก 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
1.3 ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ AMBDC ครั้งที่ 3 โรงแรมเลอ รอยัล เมอริเดียน กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 29-30 สิงหาคม 2544 และจะเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับรัฐมนตรี AMBDC ระหว่างวันที่ 8-9 ตุลาคม 2544 ที่โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย เพื่อที่จะผลักดันโครงการความร่วมมือต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมือนี้ รวมทั้งโครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุณหมิง ซึ่งเป็นโครงการสำคัญที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้กล่าวกับนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ โก๊ะ จ๊ก ตง ในระหว่างการเยือนสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2544 ขอให้สิงคโปร์ร่วมผลักดันและลงทุนในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงสิงคโปร์-คุณหมิง ในระหว่างการประชุมข้างต้นที่ไทยกำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ และเชียงรายตามลำดับ
2.Greater Mekong Subregion (GMS)
2.1 กรอบความร่วมมือนี้จัดตั้งขึ้นในปี 2535 โดยความสนับสนุนของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) โดยได้วางกรอบความร่วมมือไว้ 8 สาขา คือ คมนาคมขนส่ง พลังงาน สื่อสาร โทรคมนาคม พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม การอำนวยความสะดวกทางการค้า และการลงทุน ในปัจจุบัน GMS ให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridor) ซึ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานควบคู่ไปกับการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนในพื้นที่เป้าหมายเพื่อสนับสนุนกิจกรรมด้านการผลิต การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวในภูมิภาค ซึ่งได้แก่ (1)เส้นแนวพื้นที่ตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) เชื่อมโยงพม่า ไทย ลาวและเวียดนาม ผ่านเส้นทางเมาะละแหม่ง-เมียวดี-แม่สอด-มุกดาหาร-สะหวันนะเขต-ตองฮา-ตานัง (2)เส้นแนวพื้นที่เหนือ-ใต้ (North-South Corridor) เชื่อมโยงจีน ลาว ไทย พม่า ผ่านเส้นทางเชียงของ-หลวงน้ำทา-บ่อเต็น-แม่สาย-ท่าขี้เหล็ก-เชียงตุง-ต้าหลั่ว
2.2 มีการประชุมระดับรัฐมนตรี GMS เป็นประจำทุกปี โดยครั้งล่าสุดคือ ครั้งที่ 9 ที่กรุงมะนิลา เมื่อเดือนมกราคม 2543 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติที่สำคัญ อาทิ
- เร่งรัดการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของเส้นแนวพื้นที่ตะวันออก-ตะวันตกให้แล้วเสร็จในปี 2548 ควบคู่ไปกับการเร่งจัดทำพิธีสารแนบท้ายและภาคผนวกของความตกลง 3 ฝ่าย ไทย-ลาว-เวียดนาม ว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนสินค้าและผู้โดยสาร ซึ่งลงนามไปแล้วเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2542 ให้มีผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว
- ตั้งเป้าหมายที่จะยกร่าง Framework Agrccment for the Facilitation of the Cross-Border Movement of Goods and People in the GMS ซึ่ง ADB กำลังจัดร่างอยู่นั้นให้เสร็จและลงนามในปี 2544 ตลอดจนจัดทำพิธีสารที่เกี่ยวข้องให้เสร็จในปี 2548 ต่อไป
- เร่งพัฒนาเส้นทางเดินเรือในแม่น้ำโขงตอนบนเพื่อรองรับความตกลงว่าด้วยการเดินเรือเชิงพาณิชย์ในแม่น้ำโขง (Agreement on Cornmercial Novigation of Lancang-Mekong River) ระหว่างจีน ลาว พม่าและไทย (ซึ่งลงนามและมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2543)
- ทบทวนกลยุทธ์และกลไกการพัฒนา GMS ในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และข้อเท็จจริง รวมทั้ง สนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การผลิตและการท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรม
3. AMEICC
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น (AEM-METI Economic and Industrial Cooperation Committce-AMEICC) พัฒนามาจาก CLM Working Group) เพื่อช่วยเหลือกัมพูชา ลาวและพม่าในการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน โดยมีการประชุมระดับรัฐมนตรี AMEICC ครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541 ที่กรุงเทพฯ และมีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 2 เมื่อเดือนกันยายน 2542 ที่สิงคโปร์ โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือทางอุตสาหกรรม การปรับปรุงขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน และให้ความร่วมมือด้านการพัฒนาแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน AMEICC มีคณะทำงานสาขาต่างๆ จำนวน 7 คณะ โดยในส่วนของความช่วยเหลือประเทศสมาชิกใหม่นั้นจะเน้นเรื่องการปรับตัวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจการตลาด การพัฒนา และ SMEs
West-East Corridor (WEC) เวียดนามได้เสนอกรอบความร่วมมือเพื่อพัฒนาพื้นที่ที่พัฒนาน้อยที่สุดบริเวณลุ่มน้ำโขงตามแนวตะวันตก-ตะวันออก (Cooperation Framework for the Development of the Less-Developed Inter-Stare Areas in the Mekong Basin Along the West-East Corridor: WEC) ต่อที่ประชุม AEM และ SEOM เมื่อเดือนตุลาคม 2541 โดยครอบคลุมพื้นที่ตอนกลางของเวียดนาม ตอนกลาง/ตอนล่างของลาว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยเน้นการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงไปสู่ท่าเรือดานังและวุ๋งเต่าของเวียดนาม ข้อเสนอนี้คล้ายคลึงกับโครงการ East-West Corridor และ Southern Corridor ของ GMS
4. Forum for the Comprehensive Development of Induchina (FCDI)
FCDI จัดตั้งขึ้นในปี 2536 ตามดำริของนายกรัฐมนตรี มิซายาวาของญี่ปุ่น โดยไทย ญี่ปุ่นและ UNDP มีบทบาทที่สำคัญ สำหรับวัตถุประสงค์ของ Forum คือ การชี้ให้เห็นถึงความต้องการและโอกาสในการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมในระดับอนุภูมิภาค โดยเน้นประเด็นที่มีลักษณะข้ามชาติหรือที่จะมีผลกระทบข้ามพรมแดน
FCDI มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2538 ที่กรุงโตเกียว โดย UNDP ได้รับการร้องขอให้ประสานงานในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ ADB ประสานเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ดี กิจกรรมให้ความช่วยเหลือแก่กัมพูชา ลาวและเวียดนาม จะยังคงอาศัยช่องทางความร่วมมือสองฝ่าย ขณะนี้ ได้มีแนวคิดที่จะให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในกรอบ FCDI แทนภาค ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
5. Mekong River Commission (MRC)
คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงจัดตั้งขึ้นปี 2538 ตามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในลุ่มแม่น้ำโขง (Agrecment on the Cooperation for the Sustainable of the Mekong River Basin) โดยเปลี่ยนสถานะมาจาก Mekong Committee ที่จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2500 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงพนมเปญ มีสมาชิกประกอบด้วย 4 ประเทศในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ได้แก่ ไทย ลาว เวียดนาม และกัมพูชา โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อที่จะพัฒนาลุ่มน้ำโขงให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุกด้าน และมุ่งที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ในการใช้น้ำจากแม่น้ำโขงของประเทศต่างๆ อย่างเป็นธรรมและสมเหตุสมผล
ปัจจุบัน MRC มี 3 โครงการหลัก คือ (1)Basin Development Plan-BDP (2)Water Utilization-WUP และ(3)Environmental Programme-EP นอกจากนี้ ก็ยังมีโครงการเฉพาะด้านต่างๆ อาทิ ประมง เกษตร ชลประทาน ป่าไม้ อุทกวิทยา และท่องเที่ยว MRC มีเป้าหมายที่จะขยายความร่วมมือให้รวมถึงประเทศในลุ่มน้ำโขงตอนบนด้วย โดยในขณะนี้ MRC ได้มีการหารือกับจีนและพม่าในลักษณะของประเทศคู่เจรจา อนึ่ง จีนและพม่า ซึ่งเป็นประเทศต้นน้ำยังไม่เข้าร่วมเป็นภาคีความตกลง MRC เนื่องจากเกรงว่า การเข้าเป็นภาคีอาจทำให้ขาดความคล่องตัวในการใช้ประโยชน์จากน้ำในแม่น้ำโขงอย่างเต็มที่
6.Mekong-Ganga Cooperation (MGC)
ความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคา มีจุดเริ่มต้นมาจากการหารือระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และอินเดีย ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ อาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2543 โดยที่ประชุมหารือดังกล่าวได้เห็นควรจัดตั้งความร่วมมือลุ่มน้ำคงคา-สุวรรณภูมิ-ลุ่มแม่น้ำโขง (Ganga-Suwannaphumi-Kekong Cooperation) ขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในด้านการท่องเที่ยว ศึกษา และวัฒนธรรม
ต่อมาในการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 1 ระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีท่องเที่ยวของทั้ง 6 ประเทศ เมื่อวันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2543 ที่ประชุมได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อเป็น "ความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคา" (Mekong-Ganga Cooperation : MGC)
ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสว่าด้วยความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคา ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2544 ที่กรุงนิวเดลี มีมติให้จัดตั้งคณะทำงาน 5 ชุด ประกอบด้วย (1) ด้านการท่องเที่ยวมีไทยเป็นประธาน ซึ่งได้จัดการประชุมคณะทำงานไปแล้วเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2544 เพื่อส่งเสริมการทำการตลาดร่วมกัน (2)ด้านวัฒนธรรม มีกัมพูชาเป็นประธาน กำหนดการประชุมในวันที่ 29 มิถุนายน 2544 (3)ด้านการศึกษา มีอินเดียเป็นประธาน มีการประชุมเมื่อวันที่ 11-12 มิถุนายน 2544 ซึ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบการศึกษาทางไกลในชนบท (4)ด้านคมนาคมขนส่ง มีลาวเป็นประธาน มีการประชุมแล้วเมื่อวันที่ 7-8 มิถุนายน 2544 ซึ่งได้เน้นที่จะสร้างระบบคมนาคมขนส่งและการสื่อสารให้เชื่อมโยงกันในทุกรูปแบบ และ(5)ด้านแผนปฏิบัติการ มีเวียดนามเป็นประธาน ซึ่งได้ประชุมไปแล้วเมื่อวันที่ 2-3 พฤษภาคม 2544 โดยได้กำหนดให้มี Ha Noi Programme of Action ระยะ 6 ปี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2544-2550 และให้มีการทบทวนผลการดำเนินงานทุกๆ 2 ปี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7--จบ--
-อน-