กรุงเทพ--25 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (25 มกราคม 2543) เวลา 14.30 น. นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับกรณีกระเหรี่ยงติดอาวุธ สังกัด กองกำลัง God s Army ยึดโรงพยาบาลศูนย์ อ.เมือง จ. ราชบุรี และเจ้าหน้าที่ของไทยได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจนสำเร็จลุล่วง รวมทั้งบทบาทของกระทรวงการต่างประเทศในเหตุการณ์ดังกล่าวสรุปดังนี้
1. ในการปฏิบัติภารกิจแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นความสำเร็จในการตัดสินใจและทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยทุกหน่วย โดยกระทรวงการต่างประเทศให้การ สนับสนุนการปฎิบัติภารกิจดังกล่าวของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ (กระทรวงมหาดไทย ทหารและตำรวจ) อย่างใกล้ชิดจนประสบผลสำเร็จ โดย ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมอยู่ในเหตุการณ์ต่างๆ ที่ราชบุรีอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันกระทรวงการต่างประเทศได้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ 2 ชุด เพื่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอด 24 ชั่วโมง โดยแบ่งออกเป็นคณะทำงานที่ จ. ราชบุรีและที่ศูนย์ประสานงาน กระทรวงการต่างประเทศ โดยในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมามีรองอธิบดีกรมสารนิเทศ รองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และรองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออกผลัดกันเป็นหัวหน้าคณะทำงาน
2. ตามที่สื่อมวลชนหลายแขนงได้สอบถามถึงท่าทีและนโยบายของกระทรวงการต่างประเทศต่อพม่าและชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดนไทย-พม่า นั้น กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนว่า นโยบายต่างประเทศไทยต่อประเทศเพื่อนบ้านมีเป้าหมายในการรักษาความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน โดยไม่เลือกการปฏิบัติว่าเป็นประเทศใด สำหรับกรณีประเทศพม่าแม้ว่าตลอดมา ประเทศไทยจะประสบปัญหาและรับภาระที่เกิดจากข้อขัดแย้งภายในประเทศพม่าระหว่างรัฐบาลพม่ากับชนกลุ่มน้อย แต่ไทยก็ยืนยันในการดำเนินนโยบายต่อชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดนไทย-พม่า ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักการด้านมนุษยธรรมเท่านั้น และไม่เคยเอื้อเฟื้อสนับสนุนทางด้านกำลังต่อชนกลุ่มน้อย ซึ่งแนวทางนี้รัฐบาลพม่าทราบดี เพราะไทยได้ดำเนินมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว
3. กระทรวงการต่างประเทศยืนยันได้ว่า เท่าที่ผ่านมาพม่ามีความเข้าใจและไม่มีข้อกังขาต่อนโยบายชนกลุ่มน้อยของไทย รัฐบาลไทยก็ยังไม่เห็นความจำเป็นที่จะทบทวนนโยบายไทยต่อชนกลุ่มน้อยในพม่า อย่างไรก็ดี หน่วยราชการไทยที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจำเป็นจะต้องประชุมหารือ เพื่อประเมินเหตุการณ์ยึดโรงพยาบาลราชบุรีในทุกแง่มุม รวมทั้งในด้านการปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินนโยบายของไทยต่อไป
4. นายดอนฯ กล่าวว่า แม้ว่าไทยจะพอเข้าใจถึงปัจจัยที่ทำให้กระเหรี่ยงกลุ่ม ดังกล่าวตัดสินใจปฏิบัติการดังกล่าว แต่กลุ่มดังกล่าวตัดสินใจผิดโดยสิ้นเชิงในการปฏิบัติการ เช่นนี้ในประเทศไทย
5. การใช้กำลังติดอาวุธยึดโรงพยาบาลนั้น เป็นการกระทำที่ไม่สามารถยอมรับ ได้ทั้งทางกฎหมายจารีตประเพณี กฎหมายระหว่างประเทศ หลักมนุษยธรรม ดังนั้น การก่อเหตุ ดังกล่าวทำให้ประชาชนไทยทั้งประเทศรู้สึกร่วมและยอมรับไม่ได้ที่ประเทศไทยจะถูกละเมิดอธิปไตยและประชาชนไทยที่เจ็บป่วยต้องได้รับความเดือดร้อน
6. การที่รัฐบาลไทยตัดสินใจยุติปัญหาดังกล่าว มิได้หมายความว่า ประเทศไทยปรารถนาที่จะใช้ความรุนแรง เพราะเท่าที่ผ่านมาประเทศไทยมีกิติศัพท์ในการแก้ไขวิกฤติการณ์แบบสันติ นิ่มนวลและยืดหยุ่นตามสถานการณ์ แต่เหตุการณ์นี้ปรากฏชัดเจนว่า แนวทางการเจรจาไม่เป็นผล ขณะเดียวกันรัฐบาลไทยก็ไม่สามารถปล่อยให้เหตุการณ์ยืดเยื้อต่อไปได้ เนื่องจากมีคนป่วยจำนวนมากในโรงพยาบาลที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเยียวยา ดังนั้น รัฐบาลไทยจึงเห็นความจำเป็นเร่งด่วน (high priority) ที่จะยุติปัญหาดังกล่าวอย่างเด็ดขาด
7. ระหว่างเกิดเหตุการณ์นี้ รัฐบาลไทยได้ติดต่อกับองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อทาบทามขอความร่วมมือในการเจรจาและการจัดแพทย์อาสาเพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บตามแนวชายแดน ซึ่งกาชาดสากล (คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ - International Committee of Red Cross หรือ ICRC) ได้ให้การตอบสนองรวมทั้งแสดงทัศนะด้วยว่า วิธีการดำเนินการของไทยที่ผ่านมาเป็นไปอย่างดีแล้ว รวมทั้งแสดงความจำนงที่จะดูแลผู้บาดเจ็บที่บริเวณชายแดนซึ่งถือเป็นภาพลักษณ์สำคัญในด้านมนุษยธรรม รวมทั้งการให้มีการปลดอาวุธก่อน ก็ชอบด้วยเหตุผลด้วยประการทั้งปวง (ท่าที่ที่แสดงออกก่อนการจู่โจมแก้ไขสถานการณ์)
8. ต่อข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐบาลไทยจะมีการป้องกันปัญหาการก่อการร้ายอย่างไรนั้น นายดอนฯ กล่าวว่า รัฐบาลไทยจะพยายามไม่ให้เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก แต่ต้องยอมรับว่า ยังมีประเด็นต่างๆ ที่เป็นข้อบกพร่อง ซึ่งหน่วยงานราชการไทยทุกฝ่ายจะต้องมาปรึกษาหารือนำข้อมูลต่างๆ มาประเมินเปรียบเทียบหาข้อสรุป เพื่อเสริมมาตรการการรักษาความมั่นคง ให้ประเทศไทยปลอดจากเหตุการณ์ในลักษณะเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม สัญญาณ (Message) ที่รัฐบาลไทยตัดสินใจใช้กำลังยุติปัญหาการก่อการร้ายดังกล่าวก็เป็นการป้องปราม (Deterrence) อย่างน้อยที่สุดเป็นการชี้แสดงว่า ไทยไม่ยอมผ่อนปรนต่อการ ก่อการร้ายใดๆ ขณะเดียวกันเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่าไทยไม่ใช่เวทีการก่อการร้าย และสามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งโดยวิธีละมุนละม่อม และโดยวิธีเด็ดขาดตามความจำเป็นของสถานการณ์--จบ--
วันนี้ (25 มกราคม 2543) เวลา 14.30 น. นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับกรณีกระเหรี่ยงติดอาวุธ สังกัด กองกำลัง God s Army ยึดโรงพยาบาลศูนย์ อ.เมือง จ. ราชบุรี และเจ้าหน้าที่ของไทยได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจนสำเร็จลุล่วง รวมทั้งบทบาทของกระทรวงการต่างประเทศในเหตุการณ์ดังกล่าวสรุปดังนี้
1. ในการปฏิบัติภารกิจแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นความสำเร็จในการตัดสินใจและทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยทุกหน่วย โดยกระทรวงการต่างประเทศให้การ สนับสนุนการปฎิบัติภารกิจดังกล่าวของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ (กระทรวงมหาดไทย ทหารและตำรวจ) อย่างใกล้ชิดจนประสบผลสำเร็จ โดย ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมอยู่ในเหตุการณ์ต่างๆ ที่ราชบุรีอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันกระทรวงการต่างประเทศได้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ 2 ชุด เพื่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอด 24 ชั่วโมง โดยแบ่งออกเป็นคณะทำงานที่ จ. ราชบุรีและที่ศูนย์ประสานงาน กระทรวงการต่างประเทศ โดยในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมามีรองอธิบดีกรมสารนิเทศ รองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และรองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออกผลัดกันเป็นหัวหน้าคณะทำงาน
2. ตามที่สื่อมวลชนหลายแขนงได้สอบถามถึงท่าทีและนโยบายของกระทรวงการต่างประเทศต่อพม่าและชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดนไทย-พม่า นั้น กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนว่า นโยบายต่างประเทศไทยต่อประเทศเพื่อนบ้านมีเป้าหมายในการรักษาความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน โดยไม่เลือกการปฏิบัติว่าเป็นประเทศใด สำหรับกรณีประเทศพม่าแม้ว่าตลอดมา ประเทศไทยจะประสบปัญหาและรับภาระที่เกิดจากข้อขัดแย้งภายในประเทศพม่าระหว่างรัฐบาลพม่ากับชนกลุ่มน้อย แต่ไทยก็ยืนยันในการดำเนินนโยบายต่อชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดนไทย-พม่า ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักการด้านมนุษยธรรมเท่านั้น และไม่เคยเอื้อเฟื้อสนับสนุนทางด้านกำลังต่อชนกลุ่มน้อย ซึ่งแนวทางนี้รัฐบาลพม่าทราบดี เพราะไทยได้ดำเนินมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว
3. กระทรวงการต่างประเทศยืนยันได้ว่า เท่าที่ผ่านมาพม่ามีความเข้าใจและไม่มีข้อกังขาต่อนโยบายชนกลุ่มน้อยของไทย รัฐบาลไทยก็ยังไม่เห็นความจำเป็นที่จะทบทวนนโยบายไทยต่อชนกลุ่มน้อยในพม่า อย่างไรก็ดี หน่วยราชการไทยที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจำเป็นจะต้องประชุมหารือ เพื่อประเมินเหตุการณ์ยึดโรงพยาบาลราชบุรีในทุกแง่มุม รวมทั้งในด้านการปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินนโยบายของไทยต่อไป
4. นายดอนฯ กล่าวว่า แม้ว่าไทยจะพอเข้าใจถึงปัจจัยที่ทำให้กระเหรี่ยงกลุ่ม ดังกล่าวตัดสินใจปฏิบัติการดังกล่าว แต่กลุ่มดังกล่าวตัดสินใจผิดโดยสิ้นเชิงในการปฏิบัติการ เช่นนี้ในประเทศไทย
5. การใช้กำลังติดอาวุธยึดโรงพยาบาลนั้น เป็นการกระทำที่ไม่สามารถยอมรับ ได้ทั้งทางกฎหมายจารีตประเพณี กฎหมายระหว่างประเทศ หลักมนุษยธรรม ดังนั้น การก่อเหตุ ดังกล่าวทำให้ประชาชนไทยทั้งประเทศรู้สึกร่วมและยอมรับไม่ได้ที่ประเทศไทยจะถูกละเมิดอธิปไตยและประชาชนไทยที่เจ็บป่วยต้องได้รับความเดือดร้อน
6. การที่รัฐบาลไทยตัดสินใจยุติปัญหาดังกล่าว มิได้หมายความว่า ประเทศไทยปรารถนาที่จะใช้ความรุนแรง เพราะเท่าที่ผ่านมาประเทศไทยมีกิติศัพท์ในการแก้ไขวิกฤติการณ์แบบสันติ นิ่มนวลและยืดหยุ่นตามสถานการณ์ แต่เหตุการณ์นี้ปรากฏชัดเจนว่า แนวทางการเจรจาไม่เป็นผล ขณะเดียวกันรัฐบาลไทยก็ไม่สามารถปล่อยให้เหตุการณ์ยืดเยื้อต่อไปได้ เนื่องจากมีคนป่วยจำนวนมากในโรงพยาบาลที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเยียวยา ดังนั้น รัฐบาลไทยจึงเห็นความจำเป็นเร่งด่วน (high priority) ที่จะยุติปัญหาดังกล่าวอย่างเด็ดขาด
7. ระหว่างเกิดเหตุการณ์นี้ รัฐบาลไทยได้ติดต่อกับองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อทาบทามขอความร่วมมือในการเจรจาและการจัดแพทย์อาสาเพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บตามแนวชายแดน ซึ่งกาชาดสากล (คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ - International Committee of Red Cross หรือ ICRC) ได้ให้การตอบสนองรวมทั้งแสดงทัศนะด้วยว่า วิธีการดำเนินการของไทยที่ผ่านมาเป็นไปอย่างดีแล้ว รวมทั้งแสดงความจำนงที่จะดูแลผู้บาดเจ็บที่บริเวณชายแดนซึ่งถือเป็นภาพลักษณ์สำคัญในด้านมนุษยธรรม รวมทั้งการให้มีการปลดอาวุธก่อน ก็ชอบด้วยเหตุผลด้วยประการทั้งปวง (ท่าที่ที่แสดงออกก่อนการจู่โจมแก้ไขสถานการณ์)
8. ต่อข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐบาลไทยจะมีการป้องกันปัญหาการก่อการร้ายอย่างไรนั้น นายดอนฯ กล่าวว่า รัฐบาลไทยจะพยายามไม่ให้เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก แต่ต้องยอมรับว่า ยังมีประเด็นต่างๆ ที่เป็นข้อบกพร่อง ซึ่งหน่วยงานราชการไทยทุกฝ่ายจะต้องมาปรึกษาหารือนำข้อมูลต่างๆ มาประเมินเปรียบเทียบหาข้อสรุป เพื่อเสริมมาตรการการรักษาความมั่นคง ให้ประเทศไทยปลอดจากเหตุการณ์ในลักษณะเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม สัญญาณ (Message) ที่รัฐบาลไทยตัดสินใจใช้กำลังยุติปัญหาการก่อการร้ายดังกล่าวก็เป็นการป้องปราม (Deterrence) อย่างน้อยที่สุดเป็นการชี้แสดงว่า ไทยไม่ยอมผ่อนปรนต่อการ ก่อการร้ายใดๆ ขณะเดียวกันเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่าไทยไม่ใช่เวทีการก่อการร้าย และสามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งโดยวิธีละมุนละม่อม และโดยวิธีเด็ดขาดตามความจำเป็นของสถานการณ์--จบ--