ข่าวในประเทศ
1. สศช. เตรียมเสนอร่างแผนแม่บทในการการฟื้นฟูเศรษฐกิจต่อ นรม. รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับคณะทำงานและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ว่า ที่ประชุมรู้สึกพอใจกับร่างแผนแม่บทที่ สศช. ยกร่างขึ้น แต่ได้ให้ สศช. เพิ่มเติมตัวเลขบางอย่างเพื่อให้เนื้อหาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยภายใต้แผนดังกล่าวจะยังคงเน้นนโยบายสร้างเสถียรภาพทางการเงิน โดยจะนำร่างฉบับดังกล่าวเสนอต่อ นรม. และเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. ต่อไป ซึ่งแผนแม่บทในการฟื้นฟูเศรษฐกิจจะมีกรอบที่ชัดเจนให้แต่ละกระทรวงนำไปกำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (ผู้จัดการรายวัน 9)
2. กองทุนฟื้นฟูฯ ทบทวนตัวเลขความเสียหายใหม่ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จะต้องมีการพิจารณาตัวเลขความเสียหายใหม่จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ประมาณ 8 แสน ล.บาทถึง 1.2 ล้านล้านบาท เนื่องจากสินทรัพย์ที่กองทุนฟื้นฟูฯ มีอยู่อาจจะมีการเสื่อมราคาลง และตัวเลขที่กองทุนฟื้นฟูฯ กำหนดไว้เดิมไม่ได้นับรวมเงินนำส่งสมทบจาก ธพ.ในแต่ละปีในสัดส่วนร้อยละ 0.4 ของเงินฝากเข้าเป็นรายได้ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ก.คลังได้ค้ำประกันการออก พธบ.ให้กับกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อชดเชยความเสียหายไปแล้วประมาณ 5 แสน ล.บาท สำหรับความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูฯ ณ สิ้นปี 43 ประกอบด้วย ส่วนที่เกิดขึ้นแล้ว ได้แก่ เงินลงทุนระยะยาวเพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงินจำนวน 3.05 แสน ล.บาท ส่วนความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในระยะ 5 ปีมีจำนวน 5.9 แสน ล.บาท โดยจะเป็นความเสียหายที่เกิดจากหนี้เสียของธนาคารมีค่าเสื่อม และความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากมีการโอนหนี้เสียของธนาคารรัฐไปยังบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ซึ่งกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ประเมินความเสียหายเบื้องต้นว่าจะขาดทุนทันที 4 แสน ล.บาท นอกจากนี้ กองทุนฟื้นฟูฯ ได้กู้เงินระยะสั้นจากตลาดซื้อคืน พธบ.จำนวน 4.1 แสน ล.บาท ซึ่งมีภาระดอกเบี้ยเกิดขึ้น 8,340 ล.บาท โดยในส่วนนี้ ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า จะแปลงหนี้ระยะสั้นให้เป็นหนี้ระยะยาว ดังนั้นจะเจรจาให้ก.คลังรับชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนฟื้นฟูฯ (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้ 9)
3. ก.คลังเตรียมเสนอผลการศึกษาผลกระทบจากการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ รายงานจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังเตรียมนำผลการศึกษาเกี่ยวกับนโยบายการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในกรณีต่าง ๆ เสนอต่อ รมว.คลัง เพื่อให้รัฐบาลนำไปประมวลผลในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ โดยการศึกษาแบ่งเป็น 3 กรณีคือ 1) รัฐบาลจัดสรร งปม. จำนวน 7.1 หมื่น ล.บาท ให้ประชาชนทั้งหมดภายในปี งปม. 45 เพียงปีเดียว 2) รัฐบาลจัดสรร งปม. ให้ 4 หมื่น ล.บาท ในปี 45 และที่เหลืออีก 3.1 หมี่น ล.บาท ในปี 46 และกรณีที่ 3) รัฐบาลจัดสรร งปม. ให้ 1 หมื่น ล.บาท ในปี 45 และ 3 หมื่น ล.บาท ในปี 46 และอีก 3.1 หมื่น ล.บาท ในปี 47 ทั้งนี้ การศึกษาตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่รัฐบาลจะเตรียมเงินจำนวน 7.1 หมื่น ล.บาท เพื่อให้ประชาชนกู้ไปลงทุนโดยแหล่งที่มาของเงินกองทุนหมู่บ้านจะมาจากเงิน งปม. รายจ่ายประจำปี โดยในปี งปม.45 รัฐบาลจะจัดสรร งปม. จำนวน 1 หมื่น ล.บาท ส่วนที่เหลืออีก 6.1 หมื่น ล.บาท จะจัดสรรให้ในปีต่อไป (ข่าวสด 9)
ข่าวต่างประเทศ
1. การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมของ สรอ. ลดลงอย่างมากในเดือน มิ.ย. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 6 ก.ค. 44 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า เดือน มิ.ย. 44 การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม หลังปรับฤดูกาล ลดลงจำนวน 1.4 แสนคน เทียบกับตัวเลขที่ปรับแล้วเพิ่มขึ้น 8 พันคนในเดือน พ.ค. 44 ขณะเดียวกัน อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.5 จากร้อยละ 4.4 ในเดือน พ.ค. 44 รายงานการจ้างงานในเดือนดังกล่าว แย่กว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์เคยคาดไว้ว่า การจ้างงานฯ จะเพิ่มขึ้นจำนวน 4.4 หมื่นคน ขณะที่อัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.6 ทั้งนี้ ในเดือน มิ.ย. 44 ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์ อยู่ที่ 34.3 ชั่วโมง ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน พ.ค. ขณะที่อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เป็นชั่วโมงละ 14.29 ดอลลาร์ จาก 14.25 ดอลลาร์ในเดือน พ.ค. จากรายงานครั้งนี้ ยิ่งเพิ่มสัญญาณการอ่อนแอของระบบเศรษฐกิจ Alan Ruskin ผู้อำนวยการวิจัยแห่ง 4 Cast Ltd. ในนิวยอร์ก กล่าวว่า ขณะนี้เศรษฐกิจของ สรอ. อยู่ในภาวะที่ชะงักงันอย่างเด่นชัด และคาดว่าในไตรมาสที่ 2 ปี 44 เศรษฐกิจจะเติบโตอย่างดีที่สุดใกล้เคียงกับที่อัตราร้อยละ 0 (รอยเตอร์6)
2. คำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นน่าจะลดลงเฉลี่ยร้อยละ 5.5 ในเดือน พ.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 6 ก.ค.44 จากการสำรวจของรอยเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า เดือน พ.ค.44 คำสั่งซื้อเครื่องจักรที่เป็นแกนของบริษัทญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ที่สำคัญของการใช้จ่ายลงทุนของภาคเอกชนจะลดลงเฉลี่ยร้อยละ 5.5 เทียบต่อเดือนหลังจากกระเตื้องขึ้นในเดือน เม.ย.44 โดยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.3 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสแห่ง Merrill Lynch Japan (Yoshito Sakakibara) ระบุว่าการที่ตัวเลขเพิ่มขึ้นในเดือน เม.ย.เป็นปัจจัยทางด้านเทคนิค เนื่องจากคำสั่งซื้อฯ ได้ต่ำลงในช่วงไตรมาสที่ 1 ( ม.ค.-มี.ค.44) ดังนั้น ตัวเลขฯ ในเดือน เม.ย.ไม่น่าจะแสดงถึงการหลุดพ้นจากภาวะตกต่ำ และเริ่มปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์บางคนคาดว่า แม้คำสั่งซื้อเครื่องจักรในภาคอุตสาหกรรมการผลิตจะอ่อนตัวลงในเดือน พ.ค. แต่ตัวเลขคำสั่งซื้อในภาคที่มิใช่อุตสาหกรรมการผลิตอาจแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งเช่นเดียวกับเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา (รอยเตอร์ 6)
3. ยอดการให้เงินกู้ของ ธพ.ญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 3.8 ในเดือน มิ.ย.44 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 9 ก.ค.44 ธ.กลางญี่ปุ่นรายงานตัวเลขเบื้องต้นการให้กู้ยืมของ ธพ.ในประเทศ 5 แห่ง (Five bank categories) ซึ่งรวม City banks และ Trust banks ในเดือน มิ.ย.44 ว่า ลดลงร้อยละ 3.8 จากเดือน มิ.ย.43 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 42 และเป็นการลดลงในอัตราที่เท่ากันกับเดือน พ.ค.44 ขณะเดียวกัน ธพ.ต่างประเทศ (Foreign banks) มียอดการให้กู้ยืมในเดือน มิ.ย.44 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.3 จากเดือน มิ.ย.43 เป็นจำนวน 7.53 ล้านล้านเยน (รอยเตอร์ 9)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 5 ก.ค. 44 45.502 (45.472)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 5 ก.ค. 44ซื้อ 45.3613 (45.2690) ขาย 45.6652 (45.5855)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,750) ขาย 5,800 (5,850)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.20 (22.94)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 14.99 (14.99) ดีเซลหมุนเร็ว 13.84 (13.84)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. สศช. เตรียมเสนอร่างแผนแม่บทในการการฟื้นฟูเศรษฐกิจต่อ นรม. รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับคณะทำงานและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ว่า ที่ประชุมรู้สึกพอใจกับร่างแผนแม่บทที่ สศช. ยกร่างขึ้น แต่ได้ให้ สศช. เพิ่มเติมตัวเลขบางอย่างเพื่อให้เนื้อหาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยภายใต้แผนดังกล่าวจะยังคงเน้นนโยบายสร้างเสถียรภาพทางการเงิน โดยจะนำร่างฉบับดังกล่าวเสนอต่อ นรม. และเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. ต่อไป ซึ่งแผนแม่บทในการฟื้นฟูเศรษฐกิจจะมีกรอบที่ชัดเจนให้แต่ละกระทรวงนำไปกำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (ผู้จัดการรายวัน 9)
2. กองทุนฟื้นฟูฯ ทบทวนตัวเลขความเสียหายใหม่ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จะต้องมีการพิจารณาตัวเลขความเสียหายใหม่จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ประมาณ 8 แสน ล.บาทถึง 1.2 ล้านล้านบาท เนื่องจากสินทรัพย์ที่กองทุนฟื้นฟูฯ มีอยู่อาจจะมีการเสื่อมราคาลง และตัวเลขที่กองทุนฟื้นฟูฯ กำหนดไว้เดิมไม่ได้นับรวมเงินนำส่งสมทบจาก ธพ.ในแต่ละปีในสัดส่วนร้อยละ 0.4 ของเงินฝากเข้าเป็นรายได้ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ก.คลังได้ค้ำประกันการออก พธบ.ให้กับกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อชดเชยความเสียหายไปแล้วประมาณ 5 แสน ล.บาท สำหรับความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูฯ ณ สิ้นปี 43 ประกอบด้วย ส่วนที่เกิดขึ้นแล้ว ได้แก่ เงินลงทุนระยะยาวเพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงินจำนวน 3.05 แสน ล.บาท ส่วนความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในระยะ 5 ปีมีจำนวน 5.9 แสน ล.บาท โดยจะเป็นความเสียหายที่เกิดจากหนี้เสียของธนาคารมีค่าเสื่อม และความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากมีการโอนหนี้เสียของธนาคารรัฐไปยังบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ซึ่งกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ประเมินความเสียหายเบื้องต้นว่าจะขาดทุนทันที 4 แสน ล.บาท นอกจากนี้ กองทุนฟื้นฟูฯ ได้กู้เงินระยะสั้นจากตลาดซื้อคืน พธบ.จำนวน 4.1 แสน ล.บาท ซึ่งมีภาระดอกเบี้ยเกิดขึ้น 8,340 ล.บาท โดยในส่วนนี้ ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า จะแปลงหนี้ระยะสั้นให้เป็นหนี้ระยะยาว ดังนั้นจะเจรจาให้ก.คลังรับชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนฟื้นฟูฯ (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้ 9)
3. ก.คลังเตรียมเสนอผลการศึกษาผลกระทบจากการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ รายงานจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังเตรียมนำผลการศึกษาเกี่ยวกับนโยบายการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในกรณีต่าง ๆ เสนอต่อ รมว.คลัง เพื่อให้รัฐบาลนำไปประมวลผลในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ โดยการศึกษาแบ่งเป็น 3 กรณีคือ 1) รัฐบาลจัดสรร งปม. จำนวน 7.1 หมื่น ล.บาท ให้ประชาชนทั้งหมดภายในปี งปม. 45 เพียงปีเดียว 2) รัฐบาลจัดสรร งปม. ให้ 4 หมื่น ล.บาท ในปี 45 และที่เหลืออีก 3.1 หมี่น ล.บาท ในปี 46 และกรณีที่ 3) รัฐบาลจัดสรร งปม. ให้ 1 หมื่น ล.บาท ในปี 45 และ 3 หมื่น ล.บาท ในปี 46 และอีก 3.1 หมื่น ล.บาท ในปี 47 ทั้งนี้ การศึกษาตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่รัฐบาลจะเตรียมเงินจำนวน 7.1 หมื่น ล.บาท เพื่อให้ประชาชนกู้ไปลงทุนโดยแหล่งที่มาของเงินกองทุนหมู่บ้านจะมาจากเงิน งปม. รายจ่ายประจำปี โดยในปี งปม.45 รัฐบาลจะจัดสรร งปม. จำนวน 1 หมื่น ล.บาท ส่วนที่เหลืออีก 6.1 หมื่น ล.บาท จะจัดสรรให้ในปีต่อไป (ข่าวสด 9)
ข่าวต่างประเทศ
1. การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมของ สรอ. ลดลงอย่างมากในเดือน มิ.ย. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 6 ก.ค. 44 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า เดือน มิ.ย. 44 การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม หลังปรับฤดูกาล ลดลงจำนวน 1.4 แสนคน เทียบกับตัวเลขที่ปรับแล้วเพิ่มขึ้น 8 พันคนในเดือน พ.ค. 44 ขณะเดียวกัน อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.5 จากร้อยละ 4.4 ในเดือน พ.ค. 44 รายงานการจ้างงานในเดือนดังกล่าว แย่กว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์เคยคาดไว้ว่า การจ้างงานฯ จะเพิ่มขึ้นจำนวน 4.4 หมื่นคน ขณะที่อัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.6 ทั้งนี้ ในเดือน มิ.ย. 44 ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์ อยู่ที่ 34.3 ชั่วโมง ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน พ.ค. ขณะที่อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เป็นชั่วโมงละ 14.29 ดอลลาร์ จาก 14.25 ดอลลาร์ในเดือน พ.ค. จากรายงานครั้งนี้ ยิ่งเพิ่มสัญญาณการอ่อนแอของระบบเศรษฐกิจ Alan Ruskin ผู้อำนวยการวิจัยแห่ง 4 Cast Ltd. ในนิวยอร์ก กล่าวว่า ขณะนี้เศรษฐกิจของ สรอ. อยู่ในภาวะที่ชะงักงันอย่างเด่นชัด และคาดว่าในไตรมาสที่ 2 ปี 44 เศรษฐกิจจะเติบโตอย่างดีที่สุดใกล้เคียงกับที่อัตราร้อยละ 0 (รอยเตอร์6)
2. คำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นน่าจะลดลงเฉลี่ยร้อยละ 5.5 ในเดือน พ.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 6 ก.ค.44 จากการสำรวจของรอยเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า เดือน พ.ค.44 คำสั่งซื้อเครื่องจักรที่เป็นแกนของบริษัทญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ที่สำคัญของการใช้จ่ายลงทุนของภาคเอกชนจะลดลงเฉลี่ยร้อยละ 5.5 เทียบต่อเดือนหลังจากกระเตื้องขึ้นในเดือน เม.ย.44 โดยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.3 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสแห่ง Merrill Lynch Japan (Yoshito Sakakibara) ระบุว่าการที่ตัวเลขเพิ่มขึ้นในเดือน เม.ย.เป็นปัจจัยทางด้านเทคนิค เนื่องจากคำสั่งซื้อฯ ได้ต่ำลงในช่วงไตรมาสที่ 1 ( ม.ค.-มี.ค.44) ดังนั้น ตัวเลขฯ ในเดือน เม.ย.ไม่น่าจะแสดงถึงการหลุดพ้นจากภาวะตกต่ำ และเริ่มปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์บางคนคาดว่า แม้คำสั่งซื้อเครื่องจักรในภาคอุตสาหกรรมการผลิตจะอ่อนตัวลงในเดือน พ.ค. แต่ตัวเลขคำสั่งซื้อในภาคที่มิใช่อุตสาหกรรมการผลิตอาจแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งเช่นเดียวกับเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา (รอยเตอร์ 6)
3. ยอดการให้เงินกู้ของ ธพ.ญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 3.8 ในเดือน มิ.ย.44 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 9 ก.ค.44 ธ.กลางญี่ปุ่นรายงานตัวเลขเบื้องต้นการให้กู้ยืมของ ธพ.ในประเทศ 5 แห่ง (Five bank categories) ซึ่งรวม City banks และ Trust banks ในเดือน มิ.ย.44 ว่า ลดลงร้อยละ 3.8 จากเดือน มิ.ย.43 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 42 และเป็นการลดลงในอัตราที่เท่ากันกับเดือน พ.ค.44 ขณะเดียวกัน ธพ.ต่างประเทศ (Foreign banks) มียอดการให้กู้ยืมในเดือน มิ.ย.44 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.3 จากเดือน มิ.ย.43 เป็นจำนวน 7.53 ล้านล้านเยน (รอยเตอร์ 9)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 5 ก.ค. 44 45.502 (45.472)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 5 ก.ค. 44ซื้อ 45.3613 (45.2690) ขาย 45.6652 (45.5855)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,750) ขาย 5,800 (5,850)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.20 (22.94)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 14.99 (14.99) ดีเซลหมุนเร็ว 13.84 (13.84)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-