ข่าวในประเทศ
1. ธปท.ยังคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือธุรกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวถึงกรณีข้อเสนอที่ให้ ธปท.ปรับเปลี่ยนมาใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยสูง เพื่อชะลอการชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศว่า เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะกับสภาวการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน เพราะถึงแม้เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวแล้ว แต่ยังไม่แข็งแกร่ง การใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยสูงก่อนเวลาอันควร จะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของภาคธุรกิจ การบริโภคอุปโภค และการลงทุนของภาคเอกชน สิ่งที่ ธปท.หวั่นเกรงคือ ผลกระทบทางจิตวิทยาที่อาจทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอีก และสร้างความเสี่ยงให้แก่กิจการที่มีหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ธปท.จะเข้าไปซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศเท่าที่ต้องการ แตกต่างกับระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ธปท.จะรับซื้อไว้ทั้งหมด ฉะนั้น การไหลเข้าหรือออกจะไม่กระทบปริมาณเงิน ธปท.สามารถเพิ่มปริมาณเงินภายในประเทศได้ตามที่ต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องมีเงินไหลเข้า ดังนั้น การชำระหนี้ต่างประเทศจึงไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่อง และไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งขณะนี้ยังมีสภาพคล่องเหลืออีกมาก (ไทยโพสต์ 28)
2. ซิตี้ แบงก์ คาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 43 ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ธ.ซิตี้แบงก์ เปิดเผยว่า ธนาคาร ได้เปลี่ยนแปลงคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยเป็นร้อยละ 4.2 ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 43 จากเดิมที่กำหนดไว้ร้อยละ 4.5 โดยเศรษฐกิจคงชะลอตัวค่อนข้างมาก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน ทำให้การใช้จ่ายโดยรวมของประชาชนลดลง ส่งผลต่อการขยายการลงทุนในที่สุด ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ปัจจัยด้านการเมือง ขณะที่รัฐบาลไม่มีนโยบายใดๆ ออกมากระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม ทำให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศขาดความเชื่อมั่นที่จะลงทุนเพิ่มขึ้น ในเรื่องของราคาน้ำมันคงไม่ทำให้เงินเฟ้อโดยรวมอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง แต่เชื่อว่าเงินเฟ้อในปีหน้าอาจปรับขึ้นจากเดิมบ้าง หรือประมาณการว่าน่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.6 เนื่องจากราคาอาหารด้านเกษตรปรับเพิ่มขึ้น หลังจากประสบภัยน้ำท่วม สำหรับนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำที่ ธปท. ยังคงยืนยันดำเนินนโยบายเดิมนั้น ถือว่าเป็นเรื่องดี เนื่องจากมีผลต่อการปรับโครงสร้างหนี้ รวมทั้งช่วยลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสถาบันการเงิน และประเมินว่าในปี 43 อัตราดอกเบี้ยอาจปรับลงอีกได้ครั้ง ส่วนค่าเงินบาทที่อ่อนลงในช่วงนี้ เป็นสิ่งดีเนื่องจากจะสามารถช่วยกระตุ้นการส่งออกได้ (กรุงเทพธุรกิจ 28)
3. ธปท.กำลังปรับปรุงแบบรายงานการซื้อขายเงินตราต่างประเทศของ ธพ.ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า ธปท.จะปรับปรุงแบบรายงานการซื้อขายเงินตราต่างประเทศของ ธพ. ให้มีข้อมูลธุรกรรมต่างๆ ให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อติดตามการทำธุรกรรมเงินบาทในต่างประเทศ (ออฟชอร์) ให้รัดกุม จากเดิมที่ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะความไม่สมบูรณ์ของแบบรายงานเดิม อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ธปท.มีระบบติดตามการทำธุรกรรมเงินบาทอย่างใกล้ชิดและมีความรัดกุมอยู่แล้ว ธปท.ขอยืนยันว่า เงินบาทมิได้ไหลออกไปที่ประเทศสิงคโปร์และฮ่องกงตามที่มีกระแสข่าว รวมทั้งการทำธุรกรรมเงินบาทที่เกิดขึ้นก็มิได้มีความผิดปกติใดๆ เช่นกัน และจากรายงานก็ไม่พบว่ามีผู้ส่งออกหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์ของ ธปท. (เดลินิวส์ 28)
ข่าวต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 27 ก.ย. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 คำสั่งซื้อสินค้าคงทน ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 อยู่ที่มูลค่า 216.12 พัน ล. ดอลลาร์ เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 13.1 ในเดือน ก.ค. 43 และสูงกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 และเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 4 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากได้รับแรงผลักดันจากการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้ออุปกรณ์การขนส่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.5 และคำสั่งซื้อสินค้ายุทโธปกรณ์ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 จากที่ลดลงอย่างมากถึงร้อยละ 32.4 และ ร้อยละ70.5 ตามลำดับในเดือน ก.ค. 43 (รอยเตอร์27)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ในเดือน ส.ค.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 28 ก.ย.43 ก.การค้าและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (MITI) รายงานว่า เดือน ส.ค.43 ผลผลิตอุตสาหกรรมที่ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เทียบกับตัวเลขปรับใหม่ที่ลดลงร้อยละ 0.9 ในเดือน ก.ค.43 เพิ่มขึ้นในอัตราซึ่งใกล้เคียงกับความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์จากการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.1 แต่ถ้าเทียบต่อปี ผลผลิตฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ในเดือน ก.ค.43 การเพิ่มขึ้นของผลผลิตฯ ครั้งนี้ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวทางด้านรายได้และการใช้จ่ายลงทุนของบริษัทเอกชน นอกจากนั้น ยังเป็นการส่งสัญญาณว่าผลผลิตฯ ในไตรมาสเดือน ก.ค.-ก.ย.43 จะเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5 (รอยเตอร์ 28)
3. ผลิตภัณฑ์ในประเทศของอังกฤษเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 รายงานลอนดอน เมื่อวันที่ 27 ก.ย.43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานว่า ไตรมาสที่ 2 ปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 0.9 เท่ากับที่นักเศรษฐศาสตร์ประมาณการ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จากไตรมาสที่ 2 ของปี 42 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับประมาณการเดิมที่ร้อยละ 3.1 ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 สัดส่วนการออมของครัวเรือน ลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.0 จากระดับร้อยละ 4.4 ในไตรมาสก่อน และการใช้จ่ายของครัวเรือน ซึ่ง ธ.กลางอังกฤษจับตามองอย่างใกล้ชิด เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในไตรมาสแรก นักวิเคราะห์มีความเห็นว่า ตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 จะไม่ส่งผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายการเงินของคณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลางอังกฤษมากนัก (รอยเตอร์ 27)
4. ผลิตภัณฑ์ในประเทศของจีนคาดว่า จะเติบโตร้อยละ 7.5 ในปี 43 รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 43 นาย Dai Xianglong ผู้ว่าการ ธ. กลางจีน ประมาณการว่า ในปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) จะเติบโตประมาณร้อยละ 7.5 -ซึ่งในครึ่งแรกของปี 43 GDP เติบโตร้อยละ 8.2 เทียบต่อปี เนื่องจากได้รับแรงกระตุ้นจากการส่งออกและการใช้จ่ายของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้ GDP เคยเติบโตในอัตราสูงสุดที่ร้อยละ 14.2 ในปี 35 แต่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่นั้นมา (รอยเตอร์ 27)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 27 ก.ย. 43 42.094 (42.551)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 27 ก.ย. 43
ซื้อ 41.9477 (42.4526) ขาย 42.2494 (42.7793)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,500 (5,450) ขาย 5,600 (5,550)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.50(29.77)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.49 (16.49) ดีเซลหมุนเร็ว 14.64 (14.64)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.ยังคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือธุรกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวถึงกรณีข้อเสนอที่ให้ ธปท.ปรับเปลี่ยนมาใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยสูง เพื่อชะลอการชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศว่า เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะกับสภาวการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน เพราะถึงแม้เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวแล้ว แต่ยังไม่แข็งแกร่ง การใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยสูงก่อนเวลาอันควร จะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของภาคธุรกิจ การบริโภคอุปโภค และการลงทุนของภาคเอกชน สิ่งที่ ธปท.หวั่นเกรงคือ ผลกระทบทางจิตวิทยาที่อาจทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอีก และสร้างความเสี่ยงให้แก่กิจการที่มีหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ธปท.จะเข้าไปซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศเท่าที่ต้องการ แตกต่างกับระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ธปท.จะรับซื้อไว้ทั้งหมด ฉะนั้น การไหลเข้าหรือออกจะไม่กระทบปริมาณเงิน ธปท.สามารถเพิ่มปริมาณเงินภายในประเทศได้ตามที่ต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องมีเงินไหลเข้า ดังนั้น การชำระหนี้ต่างประเทศจึงไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่อง และไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งขณะนี้ยังมีสภาพคล่องเหลืออีกมาก (ไทยโพสต์ 28)
2. ซิตี้ แบงก์ คาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 43 ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ธ.ซิตี้แบงก์ เปิดเผยว่า ธนาคาร ได้เปลี่ยนแปลงคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยเป็นร้อยละ 4.2 ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 43 จากเดิมที่กำหนดไว้ร้อยละ 4.5 โดยเศรษฐกิจคงชะลอตัวค่อนข้างมาก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน ทำให้การใช้จ่ายโดยรวมของประชาชนลดลง ส่งผลต่อการขยายการลงทุนในที่สุด ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ปัจจัยด้านการเมือง ขณะที่รัฐบาลไม่มีนโยบายใดๆ ออกมากระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม ทำให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศขาดความเชื่อมั่นที่จะลงทุนเพิ่มขึ้น ในเรื่องของราคาน้ำมันคงไม่ทำให้เงินเฟ้อโดยรวมอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง แต่เชื่อว่าเงินเฟ้อในปีหน้าอาจปรับขึ้นจากเดิมบ้าง หรือประมาณการว่าน่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.6 เนื่องจากราคาอาหารด้านเกษตรปรับเพิ่มขึ้น หลังจากประสบภัยน้ำท่วม สำหรับนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำที่ ธปท. ยังคงยืนยันดำเนินนโยบายเดิมนั้น ถือว่าเป็นเรื่องดี เนื่องจากมีผลต่อการปรับโครงสร้างหนี้ รวมทั้งช่วยลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสถาบันการเงิน และประเมินว่าในปี 43 อัตราดอกเบี้ยอาจปรับลงอีกได้ครั้ง ส่วนค่าเงินบาทที่อ่อนลงในช่วงนี้ เป็นสิ่งดีเนื่องจากจะสามารถช่วยกระตุ้นการส่งออกได้ (กรุงเทพธุรกิจ 28)
3. ธปท.กำลังปรับปรุงแบบรายงานการซื้อขายเงินตราต่างประเทศของ ธพ.ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า ธปท.จะปรับปรุงแบบรายงานการซื้อขายเงินตราต่างประเทศของ ธพ. ให้มีข้อมูลธุรกรรมต่างๆ ให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อติดตามการทำธุรกรรมเงินบาทในต่างประเทศ (ออฟชอร์) ให้รัดกุม จากเดิมที่ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะความไม่สมบูรณ์ของแบบรายงานเดิม อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ธปท.มีระบบติดตามการทำธุรกรรมเงินบาทอย่างใกล้ชิดและมีความรัดกุมอยู่แล้ว ธปท.ขอยืนยันว่า เงินบาทมิได้ไหลออกไปที่ประเทศสิงคโปร์และฮ่องกงตามที่มีกระแสข่าว รวมทั้งการทำธุรกรรมเงินบาทที่เกิดขึ้นก็มิได้มีความผิดปกติใดๆ เช่นกัน และจากรายงานก็ไม่พบว่ามีผู้ส่งออกหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์ของ ธปท. (เดลินิวส์ 28)
ข่าวต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 27 ก.ย. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 คำสั่งซื้อสินค้าคงทน ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 อยู่ที่มูลค่า 216.12 พัน ล. ดอลลาร์ เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 13.1 ในเดือน ก.ค. 43 และสูงกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 และเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 4 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากได้รับแรงผลักดันจากการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้ออุปกรณ์การขนส่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.5 และคำสั่งซื้อสินค้ายุทโธปกรณ์ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 จากที่ลดลงอย่างมากถึงร้อยละ 32.4 และ ร้อยละ70.5 ตามลำดับในเดือน ก.ค. 43 (รอยเตอร์27)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ในเดือน ส.ค.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 28 ก.ย.43 ก.การค้าและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (MITI) รายงานว่า เดือน ส.ค.43 ผลผลิตอุตสาหกรรมที่ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เทียบกับตัวเลขปรับใหม่ที่ลดลงร้อยละ 0.9 ในเดือน ก.ค.43 เพิ่มขึ้นในอัตราซึ่งใกล้เคียงกับความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์จากการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.1 แต่ถ้าเทียบต่อปี ผลผลิตฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ในเดือน ก.ค.43 การเพิ่มขึ้นของผลผลิตฯ ครั้งนี้ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวทางด้านรายได้และการใช้จ่ายลงทุนของบริษัทเอกชน นอกจากนั้น ยังเป็นการส่งสัญญาณว่าผลผลิตฯ ในไตรมาสเดือน ก.ค.-ก.ย.43 จะเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5 (รอยเตอร์ 28)
3. ผลิตภัณฑ์ในประเทศของอังกฤษเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 รายงานลอนดอน เมื่อวันที่ 27 ก.ย.43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานว่า ไตรมาสที่ 2 ปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 0.9 เท่ากับที่นักเศรษฐศาสตร์ประมาณการ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จากไตรมาสที่ 2 ของปี 42 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับประมาณการเดิมที่ร้อยละ 3.1 ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 สัดส่วนการออมของครัวเรือน ลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.0 จากระดับร้อยละ 4.4 ในไตรมาสก่อน และการใช้จ่ายของครัวเรือน ซึ่ง ธ.กลางอังกฤษจับตามองอย่างใกล้ชิด เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในไตรมาสแรก นักวิเคราะห์มีความเห็นว่า ตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 จะไม่ส่งผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายการเงินของคณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลางอังกฤษมากนัก (รอยเตอร์ 27)
4. ผลิตภัณฑ์ในประเทศของจีนคาดว่า จะเติบโตร้อยละ 7.5 ในปี 43 รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 43 นาย Dai Xianglong ผู้ว่าการ ธ. กลางจีน ประมาณการว่า ในปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) จะเติบโตประมาณร้อยละ 7.5 -ซึ่งในครึ่งแรกของปี 43 GDP เติบโตร้อยละ 8.2 เทียบต่อปี เนื่องจากได้รับแรงกระตุ้นจากการส่งออกและการใช้จ่ายของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้ GDP เคยเติบโตในอัตราสูงสุดที่ร้อยละ 14.2 ในปี 35 แต่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่นั้นมา (รอยเตอร์ 27)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 27 ก.ย. 43 42.094 (42.551)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 27 ก.ย. 43
ซื้อ 41.9477 (42.4526) ขาย 42.2494 (42.7793)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,500 (5,450) ขาย 5,600 (5,550)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.50(29.77)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.49 (16.49) ดีเซลหมุนเร็ว 14.64 (14.64)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-