เรื่องเดิม
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2543 ญี่ปุ่นได้เริ่มกระบวนการตรวจสอบการนำเข้าสินค้าเกษตร 3 ชนิดจากจีนที่มีปริมาณนำ
เข้าเพิ่มสูงขึ้นมาก ได้แก่ หัวหอม เห็ดชิอิทาเกะ และกกสำหรับทอเสื่อ โดยกระบวนการดังกล่าวมีกำหนดเวลาหนึ่งปี ซึ่งจะสิ้นสุด
ในวันที่ 21 ธันวาคม 2544
ทั้งนี้ เมื่อเดือนเมษายน 2544 ญี่ปุ่นได้ประกาศใช้มาตรการปกป้องในกรณีฉุกเฉินเป็นการชั่วคราวตามความตกลงว่าด้วย
มาตรการปกป้องภายใต้ WTO เพื่อชะลอการนำเข้าสินค้าเกษตรทั้ง 3 ชนิดจากจีน โดยมีการจำกัดการนำเข้า และมีการตั้งอัตรา
ภาษีสูงถึงระหว่างร้อยละ 106 ถึง 266 (หัวหอม ขึ้นอัตราภาษีนำเข้าเป็นร้อยละ 256 เห็ดชิอิทาเกะ ร้อยละ 266 และกกทอเสื่อ
ร้อยละ 106) ในระยะเวลา 200 วัน ระหว่างวันที่ 23 เมษายน | 8 พฤศจิกายน 2544
การดำเนินการดังกล่าวของญี่ปุ่น ทำให้จีนได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยจีนเห็นว่าการปฏิบัติของญี่ปุ่นเป็นการละเมิดข้อ
ตกลงว่าด้วยการปฏิบัติอย่างเสมอภาค แม้ว่าทั้งสองฝ่ายได้มีความพยายามเจรจากันหลายรอบแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ในวันที่ 22
มิถุนายน 2544 ฝ่ายจีนจึงได้ดำเนินการตอบโต้ญี่ปุ่น โดยการประกาศใช้อัตราภาษีพิเศษเพิ่มขึ้นร้อยละ 100 กับสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่น
ในหมวดรถยนต์ โทรศัพท์มือถือ และเครื่องปรับอากาศ ซึ่งญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้ส่งออกอันดับสำคัญไปยังจีน ทำให้ญี่ปุ่นต้องสูญเสียประโยชน์
มากกว่าจีน โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่เป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับจีน โดยมีโอกาส สูญเสียตลาดที่มีมูลค่าถึงกว่า 900 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่
สินค้าเกษตรของจีนที่ได้รับผลกระทบมีมูลค่าประมาณเกือบ 130
ล้านเหรียญสหรัฐ
สถานะล่าสุด
เมื่อวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2544 ได้มีการหารือระหว่างภาคเอกชนของจีนและญี่ปุ่น และในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2544
ได้มีการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่จากทั้งสองประเทศ ตามลำดับ เพื่อแก้ไขปัญหาการค้าสินค้าเกษตรของทั้งสองฝ่ายที่ยืดเยื้อมานานกว่า
6 เดือน ผลของการหารือไม่สามารถบรรลุข้อยุติเกี่ยวกับกรณีที่ญี่ปุ่นจำกัดการนำเข้าสินค้าเกษตรจากจีนได้
หลังจากที่มาตรการปกป้องฉุกเฉินชั่วคราวของญี่ปุ่นได้หมดอายุลงเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมานั้น ญี่ปุ่นยังไม่ได้มีการดำ
เนินการใช้มาตรการปกป้องถาวรต่อจีนต่อ ซึ่งจะทำให้อัตราภาษีลงมาอยู่ในระดับเดิมที่ร้อยละ 3-6 อย่างไรก็ตาม ฝ่ายจีนยังไม่ยอม
ที่จะยกเลิกมาตรการตอบโต้ที่ดำเนินการอยู่ โดยให้เหตุผลว่าจะต้องรอดูผลของกระบวนการตรวจสอบการนำเข้าสินค้าเกษตร 3 ชนิด
จากจีนของญี่ปุ่น ซึ่งมีกำหนดสิ้นสุดลงในวันที่ 21 ธันวาคม 2544 นี้ โดยญี่ปุ่นจะต้องแสดงหลักฐานเพื่อที่จะสามารถดำเนินมาตรการ
ปกป้องถาวรจากจีนได้ แต่จนบัดนี้ยังไม่ปรากฎผลของการตรวจสอบแต่อย่างใด โดยในช่วงตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน | 21 ธันวาคม
2544 ญี่ปุ่นสามารถที่จะดำเนินการจำกัดการนำเข้าสินค้าเกษตรจากจีนอย่างถาวรได้ตลอดเวลา และจีนยังไม่ตกลงที่จะดำเนินการ
ตามคำขอของญี่ปุ่นที่จะให้จีนมีการจำกัดการส่งออกสินค้าเหล่านี้ไปญี่ปุ่น เพราะเห็นว่าเป็นการผิดกติกาของ WTO
แม้ว่าทั้งสองฝ่ายจะมีความพยายามที่จะหารือเพื่อแก้ปัญหาหลายครั้งตั้งแต่เมื่อกลางปีที่ผ่านมา แต่ถ้ายังไม่สามารถแก้ไขปัญหา
ระหว่างกันได้ภายในสิ้นปีนี้ มีความเป็นไปได้ว่าญี่ปุ่นอาจมีการดำเนินการมาตรการปกป้องถาวรต่อจีน และจีนอาจต้องยกเรื่องนี้เข้าสู่
กระบวนการตัดสินในเวที WTO ในฐานะที่จีนเข้าเป็นสมาชิกของ WTO โดยสมบูรณ์แล้ว นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังมีแนวโน้มที่จะมีกระบวนการ
ตรวจสอบสินค้าผ้าเช็ดตัว จักรยาน ตะเกียบ และปลาไหลของจีนที่มีการทะลักเข้าตลาดญี่ปุ่นด้วย
ท่าทีไทย
ไทยควรมีการติดตามประเด็นปัญหาระหว่างสองประเทศนี้อย่างใกล้ชิด แม้ว่าจีนจะมีการนำเข้ารถยนต์และเครื่องปรับ
อากาศจากไทยไม่มากนัก แต่ก็เป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในลำดับต้นๆ ไทยจึงน่าจะมีโอกาสขยายการส่งออกไปยังจีนสูงขึ้น
นอกจากนี้ จีนและญี่ปุ่นต่างเป็นประเทศที่มีความสำคัญต่อการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจในเอเซีย ความสัมพันธ์ของทั้งสอง
ประเทศ ย่อมส่งผลกระทบต่อการค้าในเอเซียและต่อไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้มูลค่าการนำเข้าสินค้าทั้ง 3 ชนิดของจีนจากญี่ปุ่น
ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้า ปี คู่แข่ง % ส่วนแบ่งตลาด
(อันดับ) เปลี่ยนแปลง (ม.ค-ก.ย 44)
2542(1999) 2543(2000) 2544 (ม.ค-ก.ย 44)
(ม.ค-ก.ย)
1.รถยนต์ 304.5 451.3 452 1.ญี่ปุ่น 48.50 42.48
2.เยอรมนี 231.40 37.74
3.อเมริกา 229.18 4.73
13.ไทย 0.00 0.28
2.เครื่องปรับอากาศ 102.6 109 86.8 1.ญี่ปุ่น 5.20 38.86
2.ฮ่องกง 7.83 11.39
3.อเมริกา 16.14 9.88
9.ไทย -9.49 3.00
3. โทรศัพท์มือถือ 175 432 443 1.ญี่ปุ่น 64.45 33.18
-8525 2.เกาหลี 146.51 15.23
3.ไต้หวัน 5.29 13.06
18.ไทย 0.00 0.13
ที่มา: World Trade Atlas, China Edition, September 2001
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ธันวาคม 2544--
-ปส-
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2543 ญี่ปุ่นได้เริ่มกระบวนการตรวจสอบการนำเข้าสินค้าเกษตร 3 ชนิดจากจีนที่มีปริมาณนำ
เข้าเพิ่มสูงขึ้นมาก ได้แก่ หัวหอม เห็ดชิอิทาเกะ และกกสำหรับทอเสื่อ โดยกระบวนการดังกล่าวมีกำหนดเวลาหนึ่งปี ซึ่งจะสิ้นสุด
ในวันที่ 21 ธันวาคม 2544
ทั้งนี้ เมื่อเดือนเมษายน 2544 ญี่ปุ่นได้ประกาศใช้มาตรการปกป้องในกรณีฉุกเฉินเป็นการชั่วคราวตามความตกลงว่าด้วย
มาตรการปกป้องภายใต้ WTO เพื่อชะลอการนำเข้าสินค้าเกษตรทั้ง 3 ชนิดจากจีน โดยมีการจำกัดการนำเข้า และมีการตั้งอัตรา
ภาษีสูงถึงระหว่างร้อยละ 106 ถึง 266 (หัวหอม ขึ้นอัตราภาษีนำเข้าเป็นร้อยละ 256 เห็ดชิอิทาเกะ ร้อยละ 266 และกกทอเสื่อ
ร้อยละ 106) ในระยะเวลา 200 วัน ระหว่างวันที่ 23 เมษายน | 8 พฤศจิกายน 2544
การดำเนินการดังกล่าวของญี่ปุ่น ทำให้จีนได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยจีนเห็นว่าการปฏิบัติของญี่ปุ่นเป็นการละเมิดข้อ
ตกลงว่าด้วยการปฏิบัติอย่างเสมอภาค แม้ว่าทั้งสองฝ่ายได้มีความพยายามเจรจากันหลายรอบแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ในวันที่ 22
มิถุนายน 2544 ฝ่ายจีนจึงได้ดำเนินการตอบโต้ญี่ปุ่น โดยการประกาศใช้อัตราภาษีพิเศษเพิ่มขึ้นร้อยละ 100 กับสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่น
ในหมวดรถยนต์ โทรศัพท์มือถือ และเครื่องปรับอากาศ ซึ่งญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้ส่งออกอันดับสำคัญไปยังจีน ทำให้ญี่ปุ่นต้องสูญเสียประโยชน์
มากกว่าจีน โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่เป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับจีน โดยมีโอกาส สูญเสียตลาดที่มีมูลค่าถึงกว่า 900 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่
สินค้าเกษตรของจีนที่ได้รับผลกระทบมีมูลค่าประมาณเกือบ 130
ล้านเหรียญสหรัฐ
สถานะล่าสุด
เมื่อวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2544 ได้มีการหารือระหว่างภาคเอกชนของจีนและญี่ปุ่น และในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2544
ได้มีการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่จากทั้งสองประเทศ ตามลำดับ เพื่อแก้ไขปัญหาการค้าสินค้าเกษตรของทั้งสองฝ่ายที่ยืดเยื้อมานานกว่า
6 เดือน ผลของการหารือไม่สามารถบรรลุข้อยุติเกี่ยวกับกรณีที่ญี่ปุ่นจำกัดการนำเข้าสินค้าเกษตรจากจีนได้
หลังจากที่มาตรการปกป้องฉุกเฉินชั่วคราวของญี่ปุ่นได้หมดอายุลงเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมานั้น ญี่ปุ่นยังไม่ได้มีการดำ
เนินการใช้มาตรการปกป้องถาวรต่อจีนต่อ ซึ่งจะทำให้อัตราภาษีลงมาอยู่ในระดับเดิมที่ร้อยละ 3-6 อย่างไรก็ตาม ฝ่ายจีนยังไม่ยอม
ที่จะยกเลิกมาตรการตอบโต้ที่ดำเนินการอยู่ โดยให้เหตุผลว่าจะต้องรอดูผลของกระบวนการตรวจสอบการนำเข้าสินค้าเกษตร 3 ชนิด
จากจีนของญี่ปุ่น ซึ่งมีกำหนดสิ้นสุดลงในวันที่ 21 ธันวาคม 2544 นี้ โดยญี่ปุ่นจะต้องแสดงหลักฐานเพื่อที่จะสามารถดำเนินมาตรการ
ปกป้องถาวรจากจีนได้ แต่จนบัดนี้ยังไม่ปรากฎผลของการตรวจสอบแต่อย่างใด โดยในช่วงตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน | 21 ธันวาคม
2544 ญี่ปุ่นสามารถที่จะดำเนินการจำกัดการนำเข้าสินค้าเกษตรจากจีนอย่างถาวรได้ตลอดเวลา และจีนยังไม่ตกลงที่จะดำเนินการ
ตามคำขอของญี่ปุ่นที่จะให้จีนมีการจำกัดการส่งออกสินค้าเหล่านี้ไปญี่ปุ่น เพราะเห็นว่าเป็นการผิดกติกาของ WTO
แม้ว่าทั้งสองฝ่ายจะมีความพยายามที่จะหารือเพื่อแก้ปัญหาหลายครั้งตั้งแต่เมื่อกลางปีที่ผ่านมา แต่ถ้ายังไม่สามารถแก้ไขปัญหา
ระหว่างกันได้ภายในสิ้นปีนี้ มีความเป็นไปได้ว่าญี่ปุ่นอาจมีการดำเนินการมาตรการปกป้องถาวรต่อจีน และจีนอาจต้องยกเรื่องนี้เข้าสู่
กระบวนการตัดสินในเวที WTO ในฐานะที่จีนเข้าเป็นสมาชิกของ WTO โดยสมบูรณ์แล้ว นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังมีแนวโน้มที่จะมีกระบวนการ
ตรวจสอบสินค้าผ้าเช็ดตัว จักรยาน ตะเกียบ และปลาไหลของจีนที่มีการทะลักเข้าตลาดญี่ปุ่นด้วย
ท่าทีไทย
ไทยควรมีการติดตามประเด็นปัญหาระหว่างสองประเทศนี้อย่างใกล้ชิด แม้ว่าจีนจะมีการนำเข้ารถยนต์และเครื่องปรับ
อากาศจากไทยไม่มากนัก แต่ก็เป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในลำดับต้นๆ ไทยจึงน่าจะมีโอกาสขยายการส่งออกไปยังจีนสูงขึ้น
นอกจากนี้ จีนและญี่ปุ่นต่างเป็นประเทศที่มีความสำคัญต่อการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจในเอเซีย ความสัมพันธ์ของทั้งสอง
ประเทศ ย่อมส่งผลกระทบต่อการค้าในเอเซียและต่อไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้มูลค่าการนำเข้าสินค้าทั้ง 3 ชนิดของจีนจากญี่ปุ่น
ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้า ปี คู่แข่ง % ส่วนแบ่งตลาด
(อันดับ) เปลี่ยนแปลง (ม.ค-ก.ย 44)
2542(1999) 2543(2000) 2544 (ม.ค-ก.ย 44)
(ม.ค-ก.ย)
1.รถยนต์ 304.5 451.3 452 1.ญี่ปุ่น 48.50 42.48
2.เยอรมนี 231.40 37.74
3.อเมริกา 229.18 4.73
13.ไทย 0.00 0.28
2.เครื่องปรับอากาศ 102.6 109 86.8 1.ญี่ปุ่น 5.20 38.86
2.ฮ่องกง 7.83 11.39
3.อเมริกา 16.14 9.88
9.ไทย -9.49 3.00
3. โทรศัพท์มือถือ 175 432 443 1.ญี่ปุ่น 64.45 33.18
-8525 2.เกาหลี 146.51 15.23
3.ไต้หวัน 5.29 13.06
18.ไทย 0.00 0.13
ที่มา: World Trade Atlas, China Edition, September 2001
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ธันวาคม 2544--
-ปส-