ข่าวในประเทศ
1. ธปท.แถลงตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเดือน มิ.ย.43 ผู้อำนวยการอาวุโสสายนโยบายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท.เปิดเผยข้อมูลเบื้องต้นของเศรษฐกิจในเดือน มิ.ย.43 ว่า ขยายตัวใกล้เคียงกับ 2-3 เดือนก่อน ทั้งภาคการผลิต การใช้จ่ายในประเทศและการส่งออก โดยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 109.5 ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากระยะเดียวกันปี 42 หมวดที่ขยายตัวในเกณฑ์ดี คือ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 56.3 สูงกว่าเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 54 แต่หากไม่รวมผลผลิตสุรา การใช้กำลังการผลิตจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 60 ด้านการบริโภคอุปโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวไม่มากนัก โดยยอดค้าปลีกที่เป็นข้อมูลล่าสุดในเดือน เม.ย.ขยายตัวร้อยละ 7.8 เทียบกับเดือน มี.ค.ที่ขยายตัวร้อยละ 19.9 สำหรับการส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.1 และ 26.7 ตามลำดับ ส่งผลให้มียอดเกินดุลการค้าเพียง 40 ล.ดอลลาร์ แต่เมื่อรวมกับดุลบริการและบริจาคที่เกินดุล ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลประมาณ 0.1 พัน ล.ดอลลาร์ ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นจากเดือน มี.ค.ร้อยละ 0.2 เป็นผลจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าในอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.6 ตามการเพิ่มของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.4 ทั้งนี้ เศรษฐกิจในเดือน มิ.ย.นี้ ขยายตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป และไม่มีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจจะอยู่ในช่วงขาลง (มติชน,วัฏจักร 1)
2. ค่าเงินบาทที่เคลื่อนไหวที่ระดับ 41-42 บาท/ดอลลาร์จะทำให้หนี้ต่างประเทศลดลง ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงค่าเงินบาทที่เคลื่อนไหวที่ระดับ 41-42 บาท/ดอลลาร์ ว่าไม่น่าเป็นห่วง และเป็นผลดีทำให้หนี้ต่างประเทศลดลง เพราะปัจจุบันหนี้ต่างประเทศมีจำนวนประมาณ 88-89 พัน ล.ดอลลาร์ หรือคิดเป็นร้อยละ 80 ของรายได้ประชาชาติ ซึ่งนับว่าอยู่ในระดับสูงมาก คาดว่าการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทคงทรงตัวอยู่ในระดับดังกล่าว โดย ธปท.จะปล่อยให้ค่าเงินเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด ส่วนผลกระทบทางด้านเงินทุนไหลออกจากค่าเงินอ่อนลงนั้นก็มีบ้าง เนื่องจากส่วนใหญ่จะนำไปซื้อดอลลาร์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศ (วัฏจักร 1)
3. ยอดเอ็นพีแอลในระบบสถาบันการเงินในเดือน มิ.ย.43 ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการพิเศษและการวิเคราะห์ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.เปิดเผยว่า ระบบสถาบันการเงินมียอดคงค้างสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ณ สิ้นเดือน มิ.ย.43 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1.61 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 32.01 ของสินเชื่อรวม ลดลงสุทธิ 2.90 แสน ล.บาทหรือร้อยละ 15.21 จากเดือน พ.ค.43 ที่มียอดคงค้าง 1.90 ล้านล้านบาท สาเหตุสำคัญเนื่องจากธนาคารพาณิชย์เอกชนมีการตัดหนี้สูญเพื่อปิดงบงวดกลางปี ทั้งนี้ ยอดเอ็นพีแอลคงค้างสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ภาคอุตสาหกรรม 3.957 แสน ล.บาท ธุรกิจที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 2.959 แสน ล.บาท ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกจำนวน 2.63 แสน ล.บาท สำหรับเอ็นพีแอลรายใหม่ซึ่งมีจำนวน 2.05 หมื่น ล.บาท อยู่ในภาคอุตสาหกรรม 6.7 พัน ล.บาท ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก 3.2 พัน ล.บาท และธุรกิจนำเข้าสินค้า 2 พัน ล.บาท นอกจากนี้ เอ็นพีแอลที่เคยปรับโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็นเอ็นพีแอลใหม่จำนวน 1.39 หมื่น ล.บาท อยู่ในภาคอุตสาหกรรม 2.9 พัน ล.บาท ภาคการค้าส่งและค้าปลีก 2.4 พัน ล.บาท และการบริการ 1.9 พัน ล.บาท (ไทยโพสต์ 1)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีภาวะอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 83.3 ในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 43 National Association of Purchasing Managers เปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 43 ดัชนีภาวะอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. เพิ่มขึ้นที่ระดับ 83.3 จากระดับ 50.0 ในเดือน มิ.ย. 43 ขณะที่ ดัชนีนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิต เพิ่มขึ้นที่ระดับ 58.3 จากระดับ 56.3 ในเดือน มิ.ย. 43 ส่วนดัชนีภาวะธุรกิจในนิวยอร์ก เพิ่มขึ้นที่ระดับ 266 ในเดือน ก.ค. 43 จากระดับ 260.1 ในเดือน มิ.ย. 43 และดัชนีภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ก็เพิ่มขึ้นที่ระดับ 61.9 จากระดับ 54.8 นับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เคยอยู่ที่ระดับ 63.9 ในเดือน มี.ค. 43 อนึ่งจากการสำรวจพบว่า ในเขตเมืองหลวงมีการจ้างงานในอัตราที่สูง และมีการเติบโตอย่างร้อนแรงทั้งในภาคตลาดอสังหาริมทรัพย์ การท่องเที่ยวและการก่อสร้าง ซึ่งล้วนส่งผลให้เศรษฐกิจของ สรอ. ขยายตัวอย่างมาก (รอยเตอร์ 31)
2. การจ่ายเงินค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ในเดือน มิ.ย.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 31 ก.ค.43 ก.แรงงานญี่ปุ่นรายงานว่า เดือน มิ.ย.43 การจ่ายเงินค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้วัดภาวะรายได้ของชาวญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 จากเดือนเดียวกันปี 42 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 14 และเป็นอัตราการเพิ่มที่มากที่สุดนับแต่เดือน พ.ย.42 ขณะที่ชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ทำให้เกิดความหวังว่า จะเป็นจุดเริ่มต้นของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่มีอัตราเร่งมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ รายได้ของลูกจ้าง ที่ไม่รวมค่าตอบแทนจากการทำงานล่วงเวลา ผลประโยชน์พิเศษต่าง ๆ และเงินโบนัส เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่จำนวน 265,684 เยนต่อปี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนเดียวกันปี 42 เป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขรายได้ที่ประกาศโดย ก.แรงงานฯ แตกต่างจากที่ประกาศโดยสำนักงานบริหารและประสานงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลญี่ปุ่นเช่นกัน ซึ่งรายงานว่า รายได้ของลูกจ้างญี่ปุ่นในเดือน มิ.ย.43 ลดลงร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปี 42 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า เป็นเพราะวิธีการจัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างกัน และในการวัดแนวโน้มการใช้จ่ายของผู้บริโภค นักเศรษฐศาสตร์จะให้ความสนใจกับรายได้จากค่าล่วงเวลามากกว่า (รอยเตอร์ 31)
3. ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในเดือน มิ.ย. 43 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 31 ก.ค. 43 จากผลการสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์จากรอยเตอร์คาดว่า ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ. คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากที่ชะลอตัวลง 2 เดือนติดต่อกัน เนื่องจากจะได้แรงเกื้อหนุนจากดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่ลดลง หลังจากที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมา โดยยอดขายบ้านใหม่ในเดือน มิ.ย. 43 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 881,000 หลังต่อปี จาก 875,000 หลังในเดือน พ.ค. 43 (รอยเตอร์ 1)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 31 ก.ค. 43 41.452 (41.145)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ31 ก.ค.43ซื้อ 41.2968 (40.9047) ขาย 41.6027 (41.2166)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,450) ขาย 5,500 (5,550)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.62 (25.08)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19)
ดีเซลหมุนเร็ว 13.29 (13.29)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.แถลงตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเดือน มิ.ย.43 ผู้อำนวยการอาวุโสสายนโยบายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท.เปิดเผยข้อมูลเบื้องต้นของเศรษฐกิจในเดือน มิ.ย.43 ว่า ขยายตัวใกล้เคียงกับ 2-3 เดือนก่อน ทั้งภาคการผลิต การใช้จ่ายในประเทศและการส่งออก โดยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 109.5 ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากระยะเดียวกันปี 42 หมวดที่ขยายตัวในเกณฑ์ดี คือ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 56.3 สูงกว่าเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 54 แต่หากไม่รวมผลผลิตสุรา การใช้กำลังการผลิตจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 60 ด้านการบริโภคอุปโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวไม่มากนัก โดยยอดค้าปลีกที่เป็นข้อมูลล่าสุดในเดือน เม.ย.ขยายตัวร้อยละ 7.8 เทียบกับเดือน มี.ค.ที่ขยายตัวร้อยละ 19.9 สำหรับการส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.1 และ 26.7 ตามลำดับ ส่งผลให้มียอดเกินดุลการค้าเพียง 40 ล.ดอลลาร์ แต่เมื่อรวมกับดุลบริการและบริจาคที่เกินดุล ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลประมาณ 0.1 พัน ล.ดอลลาร์ ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นจากเดือน มี.ค.ร้อยละ 0.2 เป็นผลจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าในอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.6 ตามการเพิ่มของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.4 ทั้งนี้ เศรษฐกิจในเดือน มิ.ย.นี้ ขยายตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป และไม่มีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจจะอยู่ในช่วงขาลง (มติชน,วัฏจักร 1)
2. ค่าเงินบาทที่เคลื่อนไหวที่ระดับ 41-42 บาท/ดอลลาร์จะทำให้หนี้ต่างประเทศลดลง ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงค่าเงินบาทที่เคลื่อนไหวที่ระดับ 41-42 บาท/ดอลลาร์ ว่าไม่น่าเป็นห่วง และเป็นผลดีทำให้หนี้ต่างประเทศลดลง เพราะปัจจุบันหนี้ต่างประเทศมีจำนวนประมาณ 88-89 พัน ล.ดอลลาร์ หรือคิดเป็นร้อยละ 80 ของรายได้ประชาชาติ ซึ่งนับว่าอยู่ในระดับสูงมาก คาดว่าการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทคงทรงตัวอยู่ในระดับดังกล่าว โดย ธปท.จะปล่อยให้ค่าเงินเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด ส่วนผลกระทบทางด้านเงินทุนไหลออกจากค่าเงินอ่อนลงนั้นก็มีบ้าง เนื่องจากส่วนใหญ่จะนำไปซื้อดอลลาร์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศ (วัฏจักร 1)
3. ยอดเอ็นพีแอลในระบบสถาบันการเงินในเดือน มิ.ย.43 ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการพิเศษและการวิเคราะห์ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.เปิดเผยว่า ระบบสถาบันการเงินมียอดคงค้างสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ณ สิ้นเดือน มิ.ย.43 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1.61 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 32.01 ของสินเชื่อรวม ลดลงสุทธิ 2.90 แสน ล.บาทหรือร้อยละ 15.21 จากเดือน พ.ค.43 ที่มียอดคงค้าง 1.90 ล้านล้านบาท สาเหตุสำคัญเนื่องจากธนาคารพาณิชย์เอกชนมีการตัดหนี้สูญเพื่อปิดงบงวดกลางปี ทั้งนี้ ยอดเอ็นพีแอลคงค้างสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ภาคอุตสาหกรรม 3.957 แสน ล.บาท ธุรกิจที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 2.959 แสน ล.บาท ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกจำนวน 2.63 แสน ล.บาท สำหรับเอ็นพีแอลรายใหม่ซึ่งมีจำนวน 2.05 หมื่น ล.บาท อยู่ในภาคอุตสาหกรรม 6.7 พัน ล.บาท ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก 3.2 พัน ล.บาท และธุรกิจนำเข้าสินค้า 2 พัน ล.บาท นอกจากนี้ เอ็นพีแอลที่เคยปรับโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็นเอ็นพีแอลใหม่จำนวน 1.39 หมื่น ล.บาท อยู่ในภาคอุตสาหกรรม 2.9 พัน ล.บาท ภาคการค้าส่งและค้าปลีก 2.4 พัน ล.บาท และการบริการ 1.9 พัน ล.บาท (ไทยโพสต์ 1)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีภาวะอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 83.3 ในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 43 National Association of Purchasing Managers เปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 43 ดัชนีภาวะอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. เพิ่มขึ้นที่ระดับ 83.3 จากระดับ 50.0 ในเดือน มิ.ย. 43 ขณะที่ ดัชนีนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิต เพิ่มขึ้นที่ระดับ 58.3 จากระดับ 56.3 ในเดือน มิ.ย. 43 ส่วนดัชนีภาวะธุรกิจในนิวยอร์ก เพิ่มขึ้นที่ระดับ 266 ในเดือน ก.ค. 43 จากระดับ 260.1 ในเดือน มิ.ย. 43 และดัชนีภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ก็เพิ่มขึ้นที่ระดับ 61.9 จากระดับ 54.8 นับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เคยอยู่ที่ระดับ 63.9 ในเดือน มี.ค. 43 อนึ่งจากการสำรวจพบว่า ในเขตเมืองหลวงมีการจ้างงานในอัตราที่สูง และมีการเติบโตอย่างร้อนแรงทั้งในภาคตลาดอสังหาริมทรัพย์ การท่องเที่ยวและการก่อสร้าง ซึ่งล้วนส่งผลให้เศรษฐกิจของ สรอ. ขยายตัวอย่างมาก (รอยเตอร์ 31)
2. การจ่ายเงินค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ในเดือน มิ.ย.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 31 ก.ค.43 ก.แรงงานญี่ปุ่นรายงานว่า เดือน มิ.ย.43 การจ่ายเงินค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้วัดภาวะรายได้ของชาวญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 จากเดือนเดียวกันปี 42 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 14 และเป็นอัตราการเพิ่มที่มากที่สุดนับแต่เดือน พ.ย.42 ขณะที่ชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ทำให้เกิดความหวังว่า จะเป็นจุดเริ่มต้นของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่มีอัตราเร่งมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ รายได้ของลูกจ้าง ที่ไม่รวมค่าตอบแทนจากการทำงานล่วงเวลา ผลประโยชน์พิเศษต่าง ๆ และเงินโบนัส เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่จำนวน 265,684 เยนต่อปี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนเดียวกันปี 42 เป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขรายได้ที่ประกาศโดย ก.แรงงานฯ แตกต่างจากที่ประกาศโดยสำนักงานบริหารและประสานงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลญี่ปุ่นเช่นกัน ซึ่งรายงานว่า รายได้ของลูกจ้างญี่ปุ่นในเดือน มิ.ย.43 ลดลงร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปี 42 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า เป็นเพราะวิธีการจัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างกัน และในการวัดแนวโน้มการใช้จ่ายของผู้บริโภค นักเศรษฐศาสตร์จะให้ความสนใจกับรายได้จากค่าล่วงเวลามากกว่า (รอยเตอร์ 31)
3. ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในเดือน มิ.ย. 43 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 31 ก.ค. 43 จากผลการสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์จากรอยเตอร์คาดว่า ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ. คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากที่ชะลอตัวลง 2 เดือนติดต่อกัน เนื่องจากจะได้แรงเกื้อหนุนจากดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่ลดลง หลังจากที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมา โดยยอดขายบ้านใหม่ในเดือน มิ.ย. 43 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 881,000 หลังต่อปี จาก 875,000 หลังในเดือน พ.ค. 43 (รอยเตอร์ 1)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 31 ก.ค. 43 41.452 (41.145)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ31 ก.ค.43ซื้อ 41.2968 (40.9047) ขาย 41.6027 (41.2166)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,450) ขาย 5,500 (5,550)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.62 (25.08)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19)
ดีเซลหมุนเร็ว 13.29 (13.29)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-