เศรษฐกิจของจังหวัดตาก ปี 2542 ขยายตัวจากจากการเพิ่มขึ้นของภาคการผลิตทั้งภาคเกษตร และนอกภาคเกษตร การผลิตภาคเกษตรพืชเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และถั่วเหลือง ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปัจจัยด้านภูมิอากาศและปริมาณน้ำฝนที่เอื้ออำนวย ส่วนการผลิตนอกภาคเกษตรขยายตัวเกือบทุกสาขาการผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรม บริการ และเหมืองแร่ รวมทั้งการใช้จ่ายภาคเอกชน ที่ปรับตัวดีขึ้น การค้าชายแดนเพิ่มขึ้นจากการส่งออกไปพม่า การท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นสำคัญ มีเพียงสาขาการลงทุนเท่านั้นที่ยังซบเซาแต่ก็มีแนวโน้มดีขึ้น สำหรับภาคการเงิน เงินฝากและสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนฐานะการคลัง การใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้น
ภาคเกษตร พืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัด ผลผลิตส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากภาวะอากาศอำนวยและ ฝนที่ตกมากเพียงพอรวมทั้งการขยายพื้นที่เพาะปลูก ได้แก่ ข้าวนาปี ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.2 เป็น 94,068 เมตริกตัน จากราคาในปีก่อนจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น อีกทั้งปริมาณน้ำฝนยังเอื้ออำนวยให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นด้วย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเหลือง แม้ว่าพื้นที่เพาะปลูกลดลง แต่ผลผลิตกลับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 และร้อยละ 1.8 เป็น 227,194 เมตริกตัน และ 33,244 เมริกตัน ตามลำดับ จากผลผลิตต่อไร่ที่เพิ่มขึ้นตามภาวะอากาศและไม่มีปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืชและโรคพืช ถั่วลิสง ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เป็น 4,869 เมตริกตัน กระเทียม ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 เป็น 4,566 เมตริกตัน ขณะที่ถั่วเขียวผิวมัน ผลผลิตลดลงร้อยละ 1.6 เหลือ 5,682 เมตริกตัน เนื่องจากเกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูกเพื่อไปปลูกพืชชนิดอื่น
นอกภาคเกษตร ขยายตัวเกือบทุกสาขาการผลิตทั้งภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคอุตสาหกรรม และภาคเหมืองแร่ มีเพียงการลงทุนเท่านั้นที่ยังไม่ขยายตัว ภาคบริการ จำนวนนักท่องเที่ยวขยายตัวจาก ปีก่อน จากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นสำคัญ โดยจำนวนผู้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดตากเพิ่มขึ้นจาก ปีก่อนร้อยละ 3.1 เป็น 246,026 คน ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย เนื่องจากภาครัฐและเอกชนส่งเสริมการ ท่องเที่ยวมากขึ้น เช่น ช่วงเทศกาลลอยกระทงและช่วงฤดูหนาวทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศลดลงร้อยละ 14.6 เหลือ 11,769 คน เนื่องจากนักท่องเที่ยวเกรงไม่ได้รับความ ปลอดภัยจากการท่องเที่ยวบริเวณชายแดน ภาคอุตสาหกรรม ยังคงขยายตัวตามการผลิตของอุตสาหกรรมสำคัญ ของจังหวัดได้แก่ การผลิตโลหะสังกะสีของบริษัทผาแดงอินดัสทรี จำกัด ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เป็น 95,210 เมตริกตัน ตามภาวะความต้องการในประเทศที่เพิ่มขึ้น และอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปบริเวณชายแดนตามความต้องการของตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะประสบปัญหาแรงงานต่างด้าวช่วงปลายปีก็ตาม ภาคเหมืองแร่ ผลผลิตส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะหินปูนและลิกไนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.1 และร้อยละ 15.5 ตามลำดับ ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นของโรงงานปูนซิเมนต์ อีกทั้งแร่ที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การผลิตเริ่มดีขึ้นจากปีก่อนได้แก่ แกรนิต ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 มีเพียงแร่สังกะสีเท่านั้นที่ผลผลิตลดลงตามปริมาณแร่ในแหล่งวัตถุดิบ ที่เหลือน้อยทำให้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศทดแทน การใช้จ่ายภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นตามการใช้จ่ายของประชาชน แม้ว่ายอดจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 3.8 และร้อยละ 7.0 เหลือ 611 คัน และ 5,044 คัน แต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 70.4 ในปีก่อนและร้อยละ 33.8 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปียอดจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นโดยตลอดหลังจากที่ลดลงในช่วงครึ่งแรก และยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมา ภาษีมูลค่าเพิ่มแม้ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 11.9 เหลือ 96 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 ปีก่อน จากการปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้วกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 5.4 ปีก่อน ขณะที่สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ยังคงลดลงร้อยละ 14.0 เหลือ 1,143 ล้านบาท เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังคงระวังปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) แต่มีการเปิดบริการให้สินเชื่อจากธุรกิจเช่าซื้อและธุรกิจลีสซิ่งทดแทน การค้าชายแดน กับประเทศพม่าที่ด่านแม่สอดขยายตัวจากปีก่อน โดยมูลค่าสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 2,558 ล้านบาท แม้ว่าจะมีปัญหาปิดด่านในช่วงปลายปีก็ตาม แต่หลังจากที่มีการเปิดด่านการส่งออกเข้าสู่ภาวะปกติอย่างรวดเร็ว รวมทั้งช่วงก่อนหน้าสามารถส่งออกได้ดีเนื่องจากพม่ามีความต้องการสินค้าจากไทยมาก โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญยังคงเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ผงชูรส วัสดุก่อสร้าง ยางรถยนต์ชนิดต่างๆ และน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่าเท่าตัวเช่นกัน เป็น 679 ล้านบาท จากการนำเข้าโค-กระบือมีชีวิต ผ่านพิธีการศุลกากรมากขึ้น
การลงทุน/ก่อสร้าง การลงทุนภาคเอกชนยังคงซบเซา ในปีนี้ไม่มีผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน อย่างไรก็ตาม การก่อสร้าง ขยายตัวเล็กน้อย โดยพื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขต เทศบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เป็น 8,249 ตารางเมตร ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างอาคารของหน่วยงานราชการต่างๆ และการก่อสร้างอาคารเพื่อการพาณิชย์ โดยสินเชื่อเพื่อการก่อสร้างของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 เป็น 305 ล้านบาท ทางด้านโรงงานจัดตั้งใหม่ เงินลงทุน 119 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 51.0
ภาคการเงิน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์ที่ผู้แทนธนาคารแห่ง ประเทศไทย (คลังจังหวัดตากและคลังจังหวัด ณ อำเภอแม่สอด) ในจังหวัดตากเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.7 เป็น 14,991 ล้านบาท ขณะที่ยอดเบิกถอนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 เป็น 8,697 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเช่นกันตามภาวะการขยายตัวของภาคการผลิตและการค้าชายแดน
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 ยอด เงินฝาก ทั้งสิ้น 7,971 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 4.8และสินเชื่อยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องโดยลดลงร้อยละ 9.7 เหลือ 4,907 ล้านบาท เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ ยังคงเข้มงวดในการให้สินเชื่อ สำหรับการใช้เช็คในจังหวัดตากมีเช็คเรียกเก็บจำนวน 139,918 ฉบับ (อำเภอแม่สอด 78,197 ฉบับ) มูลค่าเรียกเก็บ 9,419 ล้านบาท (อำเภอแม่สอด 5,654 ล้านบาท) ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 4.2 และร้อยละ 12.8 ตามลำดับ และมีเช็คคืน จำนวน 2,686 ฉบับ มูลค่า 110 ล้านบาท ลดลงจาก ปีก่อนร้อยละ 44.9 และร้อยละ 68.6 ตามลำดับ สัดส่วน มูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บลดลงเหลือร้อยละ 1.9 ขณะที่ในปีก่อนมีอัตราร้อยละ 3.2
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของ สาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวนทั้งสิ้น 887 ราย วงเงิน 1,005.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 873 ราย วงเงิน 913.7 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 19 ราย วงเงิน 39.7 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้าง หนี้แล้วเสร็จจำนวน 868 ราย เป็นเงิน 965.9 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดตาก ปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 3,254 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับขาดดุล 3,090 ล้านบาท จากการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยรายจ่าย เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เป็น 3,524 ล้านบาท ขณะที่การจัดเก็บรายได้ลดลงร้อยละ 12.0 เหลือ 270 ล้านบาท จากการ ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 7 เมื่อรวมดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 2,857 ล้านบาท ทำให้เงินสดขาดดุลถึง 397 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 10 ล้านบาทในปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ภาคเกษตร พืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัด ผลผลิตส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากภาวะอากาศอำนวยและ ฝนที่ตกมากเพียงพอรวมทั้งการขยายพื้นที่เพาะปลูก ได้แก่ ข้าวนาปี ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.2 เป็น 94,068 เมตริกตัน จากราคาในปีก่อนจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น อีกทั้งปริมาณน้ำฝนยังเอื้ออำนวยให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นด้วย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเหลือง แม้ว่าพื้นที่เพาะปลูกลดลง แต่ผลผลิตกลับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 และร้อยละ 1.8 เป็น 227,194 เมตริกตัน และ 33,244 เมริกตัน ตามลำดับ จากผลผลิตต่อไร่ที่เพิ่มขึ้นตามภาวะอากาศและไม่มีปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืชและโรคพืช ถั่วลิสง ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เป็น 4,869 เมตริกตัน กระเทียม ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 เป็น 4,566 เมตริกตัน ขณะที่ถั่วเขียวผิวมัน ผลผลิตลดลงร้อยละ 1.6 เหลือ 5,682 เมตริกตัน เนื่องจากเกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูกเพื่อไปปลูกพืชชนิดอื่น
นอกภาคเกษตร ขยายตัวเกือบทุกสาขาการผลิตทั้งภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคอุตสาหกรรม และภาคเหมืองแร่ มีเพียงการลงทุนเท่านั้นที่ยังไม่ขยายตัว ภาคบริการ จำนวนนักท่องเที่ยวขยายตัวจาก ปีก่อน จากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นสำคัญ โดยจำนวนผู้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดตากเพิ่มขึ้นจาก ปีก่อนร้อยละ 3.1 เป็น 246,026 คน ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย เนื่องจากภาครัฐและเอกชนส่งเสริมการ ท่องเที่ยวมากขึ้น เช่น ช่วงเทศกาลลอยกระทงและช่วงฤดูหนาวทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศลดลงร้อยละ 14.6 เหลือ 11,769 คน เนื่องจากนักท่องเที่ยวเกรงไม่ได้รับความ ปลอดภัยจากการท่องเที่ยวบริเวณชายแดน ภาคอุตสาหกรรม ยังคงขยายตัวตามการผลิตของอุตสาหกรรมสำคัญ ของจังหวัดได้แก่ การผลิตโลหะสังกะสีของบริษัทผาแดงอินดัสทรี จำกัด ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เป็น 95,210 เมตริกตัน ตามภาวะความต้องการในประเทศที่เพิ่มขึ้น และอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปบริเวณชายแดนตามความต้องการของตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะประสบปัญหาแรงงานต่างด้าวช่วงปลายปีก็ตาม ภาคเหมืองแร่ ผลผลิตส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะหินปูนและลิกไนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.1 และร้อยละ 15.5 ตามลำดับ ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นของโรงงานปูนซิเมนต์ อีกทั้งแร่ที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การผลิตเริ่มดีขึ้นจากปีก่อนได้แก่ แกรนิต ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 มีเพียงแร่สังกะสีเท่านั้นที่ผลผลิตลดลงตามปริมาณแร่ในแหล่งวัตถุดิบ ที่เหลือน้อยทำให้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศทดแทน การใช้จ่ายภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นตามการใช้จ่ายของประชาชน แม้ว่ายอดจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 3.8 และร้อยละ 7.0 เหลือ 611 คัน และ 5,044 คัน แต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 70.4 ในปีก่อนและร้อยละ 33.8 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปียอดจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นโดยตลอดหลังจากที่ลดลงในช่วงครึ่งแรก และยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมา ภาษีมูลค่าเพิ่มแม้ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 11.9 เหลือ 96 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 ปีก่อน จากการปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้วกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 5.4 ปีก่อน ขณะที่สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ยังคงลดลงร้อยละ 14.0 เหลือ 1,143 ล้านบาท เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังคงระวังปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) แต่มีการเปิดบริการให้สินเชื่อจากธุรกิจเช่าซื้อและธุรกิจลีสซิ่งทดแทน การค้าชายแดน กับประเทศพม่าที่ด่านแม่สอดขยายตัวจากปีก่อน โดยมูลค่าสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 2,558 ล้านบาท แม้ว่าจะมีปัญหาปิดด่านในช่วงปลายปีก็ตาม แต่หลังจากที่มีการเปิดด่านการส่งออกเข้าสู่ภาวะปกติอย่างรวดเร็ว รวมทั้งช่วงก่อนหน้าสามารถส่งออกได้ดีเนื่องจากพม่ามีความต้องการสินค้าจากไทยมาก โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญยังคงเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ผงชูรส วัสดุก่อสร้าง ยางรถยนต์ชนิดต่างๆ และน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่าเท่าตัวเช่นกัน เป็น 679 ล้านบาท จากการนำเข้าโค-กระบือมีชีวิต ผ่านพิธีการศุลกากรมากขึ้น
การลงทุน/ก่อสร้าง การลงทุนภาคเอกชนยังคงซบเซา ในปีนี้ไม่มีผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน อย่างไรก็ตาม การก่อสร้าง ขยายตัวเล็กน้อย โดยพื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขต เทศบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เป็น 8,249 ตารางเมตร ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างอาคารของหน่วยงานราชการต่างๆ และการก่อสร้างอาคารเพื่อการพาณิชย์ โดยสินเชื่อเพื่อการก่อสร้างของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 เป็น 305 ล้านบาท ทางด้านโรงงานจัดตั้งใหม่ เงินลงทุน 119 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 51.0
ภาคการเงิน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์ที่ผู้แทนธนาคารแห่ง ประเทศไทย (คลังจังหวัดตากและคลังจังหวัด ณ อำเภอแม่สอด) ในจังหวัดตากเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.7 เป็น 14,991 ล้านบาท ขณะที่ยอดเบิกถอนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 เป็น 8,697 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเช่นกันตามภาวะการขยายตัวของภาคการผลิตและการค้าชายแดน
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 ยอด เงินฝาก ทั้งสิ้น 7,971 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 4.8และสินเชื่อยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องโดยลดลงร้อยละ 9.7 เหลือ 4,907 ล้านบาท เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ ยังคงเข้มงวดในการให้สินเชื่อ สำหรับการใช้เช็คในจังหวัดตากมีเช็คเรียกเก็บจำนวน 139,918 ฉบับ (อำเภอแม่สอด 78,197 ฉบับ) มูลค่าเรียกเก็บ 9,419 ล้านบาท (อำเภอแม่สอด 5,654 ล้านบาท) ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 4.2 และร้อยละ 12.8 ตามลำดับ และมีเช็คคืน จำนวน 2,686 ฉบับ มูลค่า 110 ล้านบาท ลดลงจาก ปีก่อนร้อยละ 44.9 และร้อยละ 68.6 ตามลำดับ สัดส่วน มูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บลดลงเหลือร้อยละ 1.9 ขณะที่ในปีก่อนมีอัตราร้อยละ 3.2
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของ สาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวนทั้งสิ้น 887 ราย วงเงิน 1,005.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 873 ราย วงเงิน 913.7 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 19 ราย วงเงิน 39.7 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้าง หนี้แล้วเสร็จจำนวน 868 ราย เป็นเงิน 965.9 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดตาก ปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 3,254 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับขาดดุล 3,090 ล้านบาท จากการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยรายจ่าย เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เป็น 3,524 ล้านบาท ขณะที่การจัดเก็บรายได้ลดลงร้อยละ 12.0 เหลือ 270 ล้านบาท จากการ ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 7 เมื่อรวมดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 2,857 ล้านบาท ทำให้เงินสดขาดดุลถึง 397 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 10 ล้านบาทในปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-