ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญของไทย โดยมีสหภาพยุโรป (European Union: EU) เป็นตลาดหลัก อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ปี 2536 ที่ EU เริ่มมีนโยบายปฏิรูปเกษตรร่วมซึ่งต้องลดราคาประกันธัญพืชลงร้อยละ 7.5 ต่อปี ส่งผลให้ราคาธัญพืชในกลุ่ม EU ลดลงอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่างๆ ใน EU ที่เคยใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ ในการผลิตจึงหันไปใช้ธัญพืชที่ผลิตได้ในประเทศแทนผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังนำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ ทำให้ผู้ส่งออกมันสำปะหลังของไทยจำเป็นต้องหาตลาดส่งออกอื่นทดแทนตลาด EU ที่มีแนวโน้มลดการนำเข้าลงเป็นลำดับ
ในบรรดาตลาดส่งออกมันสำปะหลังทดแทนตลาด EU จีนเป็นตลาดส่งออกใหม่ที่มีศักยภาพและมีแนวโน้มนำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังจากไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงระหว่างปี 2540-2543 ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปตลาดจีนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยกว่าร้อยละ 20 ต่อปี และในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2544 ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปจีนเป็นมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 3,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่ไทยส่งออกไปจีนกว่าร้อยละ 80 อยู่ในรูปของแป้งมันสำปะหลัง มันเส้น และมันอัดเม็ด ซึ่งจีนนำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ อุตสาหกรรมผลิตแอลกอฮอล์ อาหาร (โดยเฉพาะผงชูรส) ทอผ้า กระดาษ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เป็นต้น
ปัจจัยสำคัญที่เกื้อหนุนต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทยไปจีนในปี 2544 ได้แก่ ผลผลิตธัญพืชในจีนลดลง โดยเฉพาะผลผลิตข้าวโพดและข้าวสาลี ส่งผลให้ราคาข้าวโพดและข้าวสาลีในจีนสูงขึ้น จีนจึงมีความต้องการผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนธัญพืชดังกล่าวเพิ่มขึ้น จีนลดพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังลง ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังมีไม่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ
ประเทศผู้ผลิตมันสำปะหลังรายสำคัญของโลกประสบปัญหาการผลิต โดยเฉพาะอินโดนีเซียซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยมีผลผลิตมันสำปะหลังลดลงถึงร้อยละ 20 ผลผลิตมันสำปะหลังของผู้ผลิตรายสำคัญที่ลดลงดังกล่าวส่งผลดีต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทย
แนวโน้มปี 2545
เป็นที่คาดว่าในปี 2545 จีนจะยังมีความต้องการผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังจากไทยเป็นจำนวนมาก แม้ว่าผลผลิตธัญพืชในจีน เช่น ข้าวโพด มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังคงไม่เพียงพอสำหรับความต้องการภายในประเทศ จึงเป็นโอกาสของไทยในการขยายการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปจีนในปี 2545 ยิ่งไปกว่านั้น การที่ปัจจุบันไทยกำลังดำเนินโครงการ "มันเส้นสะอาด" เพื่อพัฒนามันเส้นของไทยให้ได้มาตรฐานตามที่ประเทศคู่ค้า เช่น EU กำหนด รวมทั้งเน้นความสำคัญของการที่มันเส้นของไทยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากการตัดแต่งทางพันธุกรรม (GMOs) และไม่มีเชื้อรา มาตรการดังกล่าวคาดว่าจะมีส่วนช่วยสร้างความมั่นใจให้จีนหันมานำเข้ามันเส้นจากไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์ ซึ่งเดิมอุตสาหกรรมเหล่านี้ในจีนไม่นิยมนำเข้ามันเส้นจากไทย เนื่องจากคุณภาพมันเส้นของไทยยังไม่ได้มาตรฐานตามที่จีนต้องการ
ผลกระทบหลังจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO
คาดว่าการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO ) ของจีนจะส่งผลดีต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทยไปจีน เนื่องจากจีนจะมีความต้องการสินค้าและบริการต่างๆ มากขึ้น ซึ่งรวมทั้งการบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เพื่อใช้ผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ จีนจะต้องเปิดตลาดและทยอยลดอัตราภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังลง ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ไทยในฐานะผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังรายใหญ่ของโลก มีโอกาสขยายตลาดผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปจีนได้มากขึ้น ทั้งนี้ จีนมีพันธกรณีภายใต้ WTO ต้องลดอัตราภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังลงภายในปี 2547 ดังนี้
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง อัตราภาษี (ร้อยละ)
2543 2547
มันอัดเม็ดและมันเส้น 10 5
แป้งมันสำปะหลัง 30 20
สตาร์ชจากมันสำปะหลัง 20 10
สาคูที่ทำจากแป้งมันสำปะหลัง 25 15
เด็กซ์ทรินและโมดิไฟด์สตาร์ช 10 20 12
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-
ในบรรดาตลาดส่งออกมันสำปะหลังทดแทนตลาด EU จีนเป็นตลาดส่งออกใหม่ที่มีศักยภาพและมีแนวโน้มนำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังจากไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงระหว่างปี 2540-2543 ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปตลาดจีนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยกว่าร้อยละ 20 ต่อปี และในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2544 ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปจีนเป็นมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 3,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่ไทยส่งออกไปจีนกว่าร้อยละ 80 อยู่ในรูปของแป้งมันสำปะหลัง มันเส้น และมันอัดเม็ด ซึ่งจีนนำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ อุตสาหกรรมผลิตแอลกอฮอล์ อาหาร (โดยเฉพาะผงชูรส) ทอผ้า กระดาษ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เป็นต้น
ปัจจัยสำคัญที่เกื้อหนุนต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทยไปจีนในปี 2544 ได้แก่ ผลผลิตธัญพืชในจีนลดลง โดยเฉพาะผลผลิตข้าวโพดและข้าวสาลี ส่งผลให้ราคาข้าวโพดและข้าวสาลีในจีนสูงขึ้น จีนจึงมีความต้องการผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนธัญพืชดังกล่าวเพิ่มขึ้น จีนลดพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังลง ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังมีไม่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ
ประเทศผู้ผลิตมันสำปะหลังรายสำคัญของโลกประสบปัญหาการผลิต โดยเฉพาะอินโดนีเซียซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยมีผลผลิตมันสำปะหลังลดลงถึงร้อยละ 20 ผลผลิตมันสำปะหลังของผู้ผลิตรายสำคัญที่ลดลงดังกล่าวส่งผลดีต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทย
แนวโน้มปี 2545
เป็นที่คาดว่าในปี 2545 จีนจะยังมีความต้องการผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังจากไทยเป็นจำนวนมาก แม้ว่าผลผลิตธัญพืชในจีน เช่น ข้าวโพด มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังคงไม่เพียงพอสำหรับความต้องการภายในประเทศ จึงเป็นโอกาสของไทยในการขยายการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปจีนในปี 2545 ยิ่งไปกว่านั้น การที่ปัจจุบันไทยกำลังดำเนินโครงการ "มันเส้นสะอาด" เพื่อพัฒนามันเส้นของไทยให้ได้มาตรฐานตามที่ประเทศคู่ค้า เช่น EU กำหนด รวมทั้งเน้นความสำคัญของการที่มันเส้นของไทยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากการตัดแต่งทางพันธุกรรม (GMOs) และไม่มีเชื้อรา มาตรการดังกล่าวคาดว่าจะมีส่วนช่วยสร้างความมั่นใจให้จีนหันมานำเข้ามันเส้นจากไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์ ซึ่งเดิมอุตสาหกรรมเหล่านี้ในจีนไม่นิยมนำเข้ามันเส้นจากไทย เนื่องจากคุณภาพมันเส้นของไทยยังไม่ได้มาตรฐานตามที่จีนต้องการ
ผลกระทบหลังจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO
คาดว่าการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO ) ของจีนจะส่งผลดีต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทยไปจีน เนื่องจากจีนจะมีความต้องการสินค้าและบริการต่างๆ มากขึ้น ซึ่งรวมทั้งการบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เพื่อใช้ผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ จีนจะต้องเปิดตลาดและทยอยลดอัตราภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังลง ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ไทยในฐานะผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังรายใหญ่ของโลก มีโอกาสขยายตลาดผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปจีนได้มากขึ้น ทั้งนี้ จีนมีพันธกรณีภายใต้ WTO ต้องลดอัตราภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังลงภายในปี 2547 ดังนี้
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง อัตราภาษี (ร้อยละ)
2543 2547
มันอัดเม็ดและมันเส้น 10 5
แป้งมันสำปะหลัง 30 20
สตาร์ชจากมันสำปะหลัง 20 10
สาคูที่ทำจากแป้งมันสำปะหลัง 25 15
เด็กซ์ทรินและโมดิไฟด์สตาร์ช 10 20 12
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-