แท็ก
อาเซียน
บทบาทของไทยต่อการพัฒนาประเทศ CLMV (กัมพูชา, ลาว, พม่า และเวียดนาม)
ความสำคัญของ CLMV ศักยภาพและโอกาส
- ที่ผ่านมาความสำเร็จของอาเซียนส่วนใหญ่เป็นความสำเร็จทางด้านการเมือง เนื่องจากอาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยเหตุผลทางการเมืองเป็นหลัก สำหรับด้านเศรษฐกิจยังเป็นสิ่งท้าทาย โดยเฉพาะการรับประเทศ CLMV เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่อาเซียน ประเทศเหล่านี้จะเป็นภาระหรือเป็นทรัพยากรของอาเซียน
อาเซียนได้เริ่มเปิดเสรีการค้าอย่างช้า ๆ โดยมีแผน 5 ปี และต่อมาได้เริ่มดำเนินการให้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม อาเซียนยังเดินก้าวตามโลก และก้าวช้ากว่ากระแสการเปิดเสรีการค้าในโลก
การรวมกลุ่มอาเซียนที่เข้มแข็ง จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งด้านตลาด สำหรับวัตถุดิบและแรงงาน และการส่งออก รวมทั้งการเพิ่มอำนาจต่อรองในเวทีนานาชาติ
การให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาประเทศ CLMV จึงเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม เพราะเมื่อประเทศ CLMV พัฒนาขึ้น ก็จะนำอาเซียนไปสู่การรวมกลุ่มที่แข็งแรงก่อให้เกิดประโยชน์โดยรวมต่อประเทศทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศไทยควรใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบในด้านแหล่งที่ตั้งซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศ CLMV จึงเป็นทั้งฐานการผลิตและแหล่งวัตถุดิบที่อุดมสมบูรณ์ และมีราคาถูกสำหรับการลงทุน นอกจากนี้ประเทศเหล่านี้ยังเป็นประตูเชื่อมโยงสู่ภูมิภาคอื่นที่มีตลาดขนาดใหญ่มากขึ้น เช่น พม่าจะเป็นประตูสู่เอเชียใต้
ยุทธศาสตร์สำหรับประเทศ CLMV
1). ผลประโยชน์ร่วมกันและความเจริญร่วมกัน (Partnership)
- อาเซียนให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาประเทศ CLMV เมื่อการพัฒนาของ CLMV เพิ่มขึ้นก็จะเป็นประโยชน์แก่อาเซียนโดยรวม
- ไทยให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศ CLMV ให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อเราด้วย
2). ช่วยเหลือประเทศ CLMV ให้เข้าสู่ระบบการค้าพหุภาคีโดยเร็ว เช่น WTO เพื่อช่วยให้ CLMV สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงการค้าโลก โดยไม่จำเป็นต้องไปบังคับเขา
3). ภาครัฐต้องมีนโยบายที่ชัดเจน และต้องมีกิจกรรมที่สร้างให้เขาเกิดความไว้วางใจไทย
4). บทบาทภาครัฐที่สำคัญในด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จะเห็นประโยชน์ได้ชัดเจน เช่น พัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่ง ทางบท ทางน้ำและรถไฟ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว ซึ่งประเทศเหล่านี้จะได้ประโยชน์จากไทยในด้าน Spring Board ไปสู่ประเทศอื่นได้
5). ภาคเอกชนต้องมีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยมองผลประโยชน์ทางการค้าและการลงทุนในระยะยาว นอกจากนี้ องค์กรระหว่างประเทศจะมีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันมากขึ้น
CLMV กับความต้องการช่วยเหลือด้านการค้า การลงทุน และการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง
ประเทศ CLMV มีระดับการพัฒนาแตกต่างกัน ความต้องการความช่วยเหลือของแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไป เวียดนามมีระดับการพัฒนาสูง รองลงมา คือ พม่า กัมพูชา และลาว
1). เวียดนาม เป็นประเทศที่มีศักยภาพสูง มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ มีทั้งน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติมาก อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ร้อยละ 6.7 ภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเติบโตร้อยละ 14 และ 15 การส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24 สินค้าส่งออกอันดับหนึ่ง คือ น้ำมันดิบ และมีน้ำมันสำรองใช้ได้นาน 30 ปี บุคลากรมีความอดทน เรียนรู้เร็วและกล้าตัดสินใจ มีการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจจะเน้นการพัฒนาปรับปรุงสาธารณูปโภค และกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น มอบผู้มีอำนาจตัดสินใจได้ทัน โดยเฉพาะจังหวัดสำคัญที่มีการลงทุนต่างประเทศมาก
- ปัจจุบันภาครัฐได้ปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในการอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนต่างชาติ เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ การเข้าไปลงทุนในเวียดนามต้องเข้าไปอย่างมีระบบ ดำเนินการตามกฎเกณฑ์ และมีความรู้ด้านกฎหมายของเวียดนาม
- การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม มีเขตอุตสาหกรรมพิเศษประมาณ 16 - 17 แห่ง
- การพัฒนาสาธารณูปโภค ในปี 2543 เวียดนามมีแผนการสร้างถนนทางภาคเหนือ มุ่งสู่กรุงฮานอย ถนนเชื่อมระหว่างฮานอยกับโฮจิมินต์ และถนนสู่ท่าเรือน้ำลึก
2). พม่า เป็นประเทศที่ปกครองโดยระบบเผด็จการทหาร ผู้มีอำนาจตัดสินใจในคณะรัฐบาลมีเพียงทหารระดับสูง 4 - 5 คน ระดับรัฐมนตรีไม่มีอำนาจตัดสินใจเรื่องสำคัญ
- ไทยเป็นคู่ค้าที่สำคัญของพม่า พม่านำเข้าจากไทยเป็นอันดับสอง และส่งออกมาไทยเป็นอันดับ 4 ของมูลค่าการค้ารวม พม่าเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับไทยมาตลอด รายได้หลักของพม่า คือ การขายก๊าซให้ไทย การค้าชายแดนมีความสำคัญ เป็นสัดส่วนเฉลี่ยประมาณร้อยละ 50 - 60 ของมูลค่าการค้าไทยกับพม่า มาตรการทางการค้าสำคัญ ๆ ของพม่า เช่น กำหนดมูลค่านำเข้าต้องเท่ากับมูลค่าส่งออก มาตรการห้ามนำเข้า และควบคุมการนำเข้าโดยกำหนดสัดส่วนสินค้าจำเป็น และสินค้าฟุ่มเฟือย เป็นต้น
- การให้ความช่วยเหลือด้านการค้า การลงทุนและอำนวยความสะดวกการขนส่งแก่พม่ามีความสำคัญมากจะช่วยพัฒนาให้พม่าเข้าสู่ระบบสากล และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจกับพม่าซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มรายได้ให้พม่าสามารถซื้อสินค้าไทยได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนพม่าต้องการความช่วยเหลือจากไทย แต่ภาครัฐจะเป็นผู้ไม่ยอมรับความช่วยเหลือบางอย่างจากไทย ดังนั้น ยุทธวิธีในการดำเนินแผนงานความช่วยเหลือกับพม่าจะต้องใช้การเมืองนำเศรษฐกิจ โดยใช้วิธีทางการเมืองในการให้ความช่วยเหลือแก่พม่า
3). กัมพูชา เป็นประเทศยากจน ต้องพึ่งความช่วยเหลือจากต่างประเทศสูง โดยรัฐบาลมีนโยบายเศรษฐกิจหลัก คือ หาเงินตราเข้าประเทศโดยสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ และขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ (ญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือกัมพูชามากที่สุด)
- ความช่วยเหลือที่กัมพูชาต้องการ ดังนี้.-
- ด้านการค้า กัมพูชาขาดดุลการค้ากับไทยมาโดยตลอด โดยไทยนำเข้าจากกัมพูชาน้อยลงทุกปี ไทย ควรช่วยเหลือกัมพูชาในด้านพัฒนาบุคลากร และช่วยซื้อวัตถุดิบจากกัมพูชา ซึ่งมีราคาถูก และไทยนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มและส่งออกไปยังตลาดโลกได้
- ด้านการลงทุน ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ไทยลงทุนในกัมพูชาสูงสุด จึงอาจร่วมมือกันสร้างเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่ชายแดนของสองประเทศ ได้แก่ ที่ปอยเปต และเกาะกง
- ด้านอำนวยความสะดวกการขนส่ง กัมพูชาประสบปัญหาด้านการขนส่งมาก เนื่องจากถนนเสียหายจากภาวะสงคราม ทางรถไฟก็มีน้อย ไทยควรช่วยเหลือพัฒนาทางรถไฟจากชายแดนไทยไปยังจังหวัดศรีโสภณของกัมพูชา เพราะจะช่วยอำนวยความสะดวกการขนส่ง สินค้าระหว่างไทย-กัมพูชา นอกจากนี้ ควรช่วยพัฒนาถนน และการขนส่งทางน้ำ
4). ลาว เป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในกลุ่มสมาชิกใหม่อาเซียน ลาวจึงชูประเด็นการเป็นประเทศยากจนเพื่อที่จะได้เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ และได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์เพื่อกำจัดความยากจน โดยเน้นการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค อุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อใช้ในประเทศ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เพื่อรองรับการลงทุน แผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศให้มากขึ้น
- งบประมาณของลาวร้อยละ 80 มาจากเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ (จากญี่ปุ่นมากสุด) เป็นอัตราที่สูงเกินไป ขณะนี้ลาวกำลังพิจารณาทบทวนว่าจะหารายได้จากแหล่งใดมาทดแทน เพื่อลดการพึ่งพาความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
- ปัญหาสำคัญของไทย คือ ลาวไม่ไว้ใจไทย ลาวมองว่าการเข้าไปลงทุนของไทยในลาวเป็นการเข้าไปกอบโกยทรัพยากร และเอาเปรียบลาว เพราะฉะนั้นการเข้าไปทำการค้าหรือลงทุนในลาวเริ่มแรกต้องสร้างความไว้ใจต่อลาวก่อน แสดงให้เห็นว่าไทยมีความจริงใจ
- ประเทศลาวนำเข้าสินค้าจากไทยสูงสุด ลาวมีนโยบายที่จะลดการขาดดุลการค้ากับไทยจึงออกกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อกีดกันสินค้าไทย เช่น เก็บภาษีศุลกากรในอัตราสูง หรือห้ามนำเข้า โดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือย เครื่องสำอาง และยานพาหนะและอะไหล่
- ความช่วยเหลือที่ลาวต้องการ ดังนี้.-
- พัฒนาปรับปรุงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
- พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ลาวยังไม่ไว้วางใจไทย และเกรงว่าการให้ทุนการศึกษาจะเป็นการครอบงำด้วยระบบทุนนิยม ลาวจะรับเฉพาะทุนระดับปริญญาโท และเอก
- การลงทุนด้านอุตสาหกรรมการเกษตร และส่งออกไปยังประเทศที่สาม
- การเปิดตลาดให้สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรของลาว (ไทยมีปัญหาเรื่องสินค้าเกษตรอยู่แล้ว อาจจะช่วยเหลือลาว โดยการหาตลาดในประเทศที่สามให้สินค้าลาว)
- การถ่ายทอดวิธีการเพาะปลูก โดยส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาร่วมเพาะปลูกกับลาว ในพื้นที่ที่กำหนดเพื่อสอนเกษตรกรลาว เป็นรูปแบบความช่วยเหลือที่ลาวได้รับจากเวียดนาม (ไทยอาจเสนอความช่วยเหลือให้ลาวในลักษณะนี้)
ทัศนะของภาคเอกชนต่อการให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน
1). มีความจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือประเทศ CLMV ในฐานะสมาชิกใหม่อาเซียน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในภูมิภาค โดยเห็นว่าควรจะช่วยเหลือในการพัฒนาด้านสังคม วัฒนธรรม ข้อมูล ข่าวสาร เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์รองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์ ตลอดจนการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศ CLMV ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระดับท้องถิ่น เพื่อสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น
ภาคเอกชนของอาเซียนมีบทบาทดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับภาครัฐ โดยจัดตั้งหอการค้าอาเซียน (ASEAN Chamber of Commerce and Industry) เป็นกลไกดำเนินการ
2). การให้ความร่วมมือกับประเทศ CLMV ต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ และแสดงความจริงใจให้ประเทศเหล่านี้เกิดความไว้วางใจว่าจะเกิดความร่วมมืออย่างเป็นธรรม ซึ่งภาครัฐจะมีบทบาทนำในส่วนนี้ โดยร่วมมือกับภาคเอกชนในการช่วยเหลือประเทศ CLMV ในการแก้ปัญหาสำคัญ ๆ เช่น ความยากจน ทรัพยากรมนุษย์และสาธารณูปโภค โดยร่วมให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน พัฒนาระบบการเชื่อมโยงการขนส่ง และการเข้าไปลงทุนในประเทศ CLMV
ทั้งนี้ประเทศไทยต้องเร่งให้ความช่วยเหลือประเทศดังกล่าวให้เร็วกว่าประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมอื่น เพื่อประโยชน์ต่อประเทศไทย
3). ที่ผ่านมาหอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือประเทศ CLMV ในด้านต่างๆ เช่น
- พัฒนาบุคลากรทั้งด้านทุนการศึกษาและฝึกอบรมบุคลากร
- ส่งเสริมการค้า อุตสาหกรรม เกษตรกรรม และบริการ ภายใต้โครงการพัฒนาประเทศลุ่มภูมิภาคแม่น้ำโขง (GMS)
- ช่วยเหลือในการจัดแสดงสินค้าในไทยและไปร่วมงานแสดงสินค้าในประเทศ CLMV
- ส่งเสริมการค้าชายแดนและแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ
- ส่งเสริมเอกชนไทยไปลงทุนในประเทศ CLMV
แนวทางการให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนที่ควรจะเป็น
1). ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากการให้ความช่วยเหลือประเทศ CLMV มีทั้งทางตรงและทางอ้อม ประโยชน์ทางตรง คือ การขยายการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับประเทศ CLMV ส่วนประโยชน์ทางอ้อม คือ เสริมสร้างความมั่นคงในภูมิภาค และการสร้างอำนาจต่อรองในเวทีการเจรจาระหว่างประเทศต่าง ๆ
2). ยุทธศาสตร์ของไทยในประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน
- กำหนดกลยุทธในการเลือกอุตสาหกรรมที่ต้องการให้ชัดเจน
- อุตสาหกรรมผลิตเพื่อส่งออกในปัจจุบัน ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก อุปกรณ์ก่อสร้าง ในอนาคต (5 - 10 ปี) ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ และเครื่องจักร เป็นต้น
- อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในด้านการลงทุนในปัจจุบัน ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เกษตรแปรรูป การท่องเที่ยว โรงพยาบาล โรงแรม สวนสนุก ในอนาคต ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์รถยนต์ เป็นต้น
- ส่งเสริมการนำเข้าสินค้าบางอย่างจากแต่ละประเทศ CLMV เช่น สินค้าเกษตร วัตถุดิบ หัตถกรรม
- สนับสนุนอุตสาหกรรมและบริการขนาดย่อม ซึ่งเหมาะสมกับศักยภาพการผลิตของทั้งสองฝ่าย
- การแก้ไขปัญหาอุปสรรคของการค้าและการลงทุน
- ในกรอบทวิภาคี การเจรจาแลกเปลี่ยนการเปิดตลาดสินค้าที่ไทยต้องการนำเข้า
- ในกรอบภูมิภาคอาเซียน เร่งรัดให้มีการดำเนินมาตรการการค้าที่สอดคล้องกับพันธกรณีความตกลงอาเซียน
3). การให้ความช่วยเหลือประเทศ CLMV ของไทยที่ผ่านมา ได้แก่
- ลักษณะทั่วไป ในด้านการศึกษา สังคม การเกษตร การบริหาร สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยมีกรมวิเทศสหการเป็นหน่วยประสานงานหลัก
- ลักษณะเกื้อกูลกัน ในด้านการค้าและการลงทุน โดยมีกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานต่าง ๆ ให้การสนับสนุน
- ลักษณะ Strategic Partner เป็นความช่วยเหลือในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนและอนุภูมิภาคต่าง ๆ เช่น GMS BIMSTEC สามเหลี่ยม-สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ เป็นต้น ซึ่งได้ดำเนินการแล้วหลายด้านในการอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุน ควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเส้นทางคมนาคมขนส่งต่าง ๆ โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทย เป็นต้น
4). แนวทางการให้ความช่วยเหลือประเทศ CLMV ในขั้นต่อไป
- สนับสนุนความช่วยเหลือในด้านการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงอาเซียน เช่น การออกใบอนุญาตนำเข้าด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และการใช้ระบบ EDI ในการผ่านพิธีการศุลกากร
- ใช้ระบบพี่เลี้ยง ให้ความช่วยเหลือและดูแลการจัดระบบตั้งแต่ต้นจนสามารถดำเนินการได้เอง
- ให้สัมปทาน หรือให้บริษัทเอกชนมืออาชีพเข้ามาดำเนินการ โดยมีรัฐบาลเป็นผู้กำกับ
- ร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย หรือนอกกลุ่มอาเซียนในการให้ความช่วยเหลือ
- ผลักดันให้องค์กรระหว่างประเทศเข้ามาร่วมกิจกรรมความช่วยเหลือต่าง ๆ
- ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการความร่วมมือต่าง ๆ เช่น การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
- การให้ความช่วยเหลือในลักษณะเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ เช่น การตั้ง "กองทุนอินโดจีน" ซึ่งกระทรวงการคลังได้ดำเนินการแล้ว แต่เงินทุนยังมีจำนวนไม่มากนัก
- ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุน เพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน
ประเด็นการอภิปรายซักถาม
(1). ภาคเอกชนเห็นความสำคัญและประโยชน์ในการเข้าไปลงทุนผลิตสินค้าในประเทศ CLMV แต่ถ้าหากนักลงทุนไทยเกิดปัญหาการขาดเงินทุน และจำเป็นต้องเพิ่มทุน รัฐบาลจะมีมาตรการสนับสนุนภาคเอกชนเพียงใด เมื่อเปรียบเทียบกับสิงคโปร์และมาเลเซีย ซึ่งมีกองทุนประกันความเสี่ยงในการลงทุนต่างประเทศ
(2). รัฐบาลควรพิจารณาให้ความช่วยเหลือลาวในด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของลาว เช่น
- การฝึกอบรมด้านพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยให้ทุนฝึกอบรมในโรงเรียนสารพัดช่าง
- การจัดตั้งร้านค้าปลอดภาษี เพื่อขายสินค้าไทยในลาวได้ในราคาถูก
(3). เห็นควรเร่งรัดแก้ไขปัญหาความไม่ไว้วางใจไทยของประเทศเพื่อนบ้านโดยเร็ว เช่น
- การเผยแพร่ข่าวสารของสื่อมวลชนไทย ในกรณีความขัดแย้งชายแดนไทยและพม่า มีส่วนกระตุ้นให้เกิดความร้าวฉานในความรู้สึกของพม่าที่มีต่อไทยมากยิ่งขึ้น
- ลาวไม่ยอมรับทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพราะนักศึกษาลาวมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าพาหนะและค่าผ่านทางเข้ามาในไทยสูงมาก
(4). การเร่งรัดพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งของไทยเชื่อมโยงกับประเทศ CLMV โดยเร็ว เช่น
- การช่วยเหลือกัมพูชาในการพัฒนาเส้นทางถนน ณ จุดผ่านแดนถาวร (ถนนช่องจอม) เมืองเสียมราฐซึ่งมีนครวัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของกัมพูชา และสามารถเชื่อมโยงกับประสาทหินพนมรุ้ง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวของไทยด้วย
- การพัฒนาเส้นทางรถไฟไทยเชื่อมโยงกับลาว ขณะนี้ทางรถไฟในส่วนของไทยสร้างเสร็จแล้ว แต่ในส่วนของลาวยังสร้างไม่เสร็จ ทั้งนี้ลาวอ้างว่ายังไม่มีงบประมาณในการก่อสร้าง
(5). การกำหนดยุทธศาสตร์ในการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของไทย ควรมีนโยบายชัดเจนว่าอุตสาห-กรรมใดแข่งขันต่างประเทศได้ ก็สนับสนุนการพัฒนาต่อไป อุตสาหกรรมใดที่ไม่สามารถแข่งขันได้ก็ต้องเร่งปรับตัวโดยเร็จหรือถอนตัวออกไป (ที่มา : จากการสรุปการสัมมนาซึ่งจัดโดยกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 44)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 6/2544 วันที่ 31 มีนาคม 2544--
-อน-
ความสำคัญของ CLMV ศักยภาพและโอกาส
- ที่ผ่านมาความสำเร็จของอาเซียนส่วนใหญ่เป็นความสำเร็จทางด้านการเมือง เนื่องจากอาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยเหตุผลทางการเมืองเป็นหลัก สำหรับด้านเศรษฐกิจยังเป็นสิ่งท้าทาย โดยเฉพาะการรับประเทศ CLMV เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่อาเซียน ประเทศเหล่านี้จะเป็นภาระหรือเป็นทรัพยากรของอาเซียน
อาเซียนได้เริ่มเปิดเสรีการค้าอย่างช้า ๆ โดยมีแผน 5 ปี และต่อมาได้เริ่มดำเนินการให้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม อาเซียนยังเดินก้าวตามโลก และก้าวช้ากว่ากระแสการเปิดเสรีการค้าในโลก
การรวมกลุ่มอาเซียนที่เข้มแข็ง จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งด้านตลาด สำหรับวัตถุดิบและแรงงาน และการส่งออก รวมทั้งการเพิ่มอำนาจต่อรองในเวทีนานาชาติ
การให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาประเทศ CLMV จึงเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม เพราะเมื่อประเทศ CLMV พัฒนาขึ้น ก็จะนำอาเซียนไปสู่การรวมกลุ่มที่แข็งแรงก่อให้เกิดประโยชน์โดยรวมต่อประเทศทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศไทยควรใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบในด้านแหล่งที่ตั้งซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศ CLMV จึงเป็นทั้งฐานการผลิตและแหล่งวัตถุดิบที่อุดมสมบูรณ์ และมีราคาถูกสำหรับการลงทุน นอกจากนี้ประเทศเหล่านี้ยังเป็นประตูเชื่อมโยงสู่ภูมิภาคอื่นที่มีตลาดขนาดใหญ่มากขึ้น เช่น พม่าจะเป็นประตูสู่เอเชียใต้
ยุทธศาสตร์สำหรับประเทศ CLMV
1). ผลประโยชน์ร่วมกันและความเจริญร่วมกัน (Partnership)
- อาเซียนให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาประเทศ CLMV เมื่อการพัฒนาของ CLMV เพิ่มขึ้นก็จะเป็นประโยชน์แก่อาเซียนโดยรวม
- ไทยให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศ CLMV ให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อเราด้วย
2). ช่วยเหลือประเทศ CLMV ให้เข้าสู่ระบบการค้าพหุภาคีโดยเร็ว เช่น WTO เพื่อช่วยให้ CLMV สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงการค้าโลก โดยไม่จำเป็นต้องไปบังคับเขา
3). ภาครัฐต้องมีนโยบายที่ชัดเจน และต้องมีกิจกรรมที่สร้างให้เขาเกิดความไว้วางใจไทย
4). บทบาทภาครัฐที่สำคัญในด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จะเห็นประโยชน์ได้ชัดเจน เช่น พัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่ง ทางบท ทางน้ำและรถไฟ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว ซึ่งประเทศเหล่านี้จะได้ประโยชน์จากไทยในด้าน Spring Board ไปสู่ประเทศอื่นได้
5). ภาคเอกชนต้องมีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยมองผลประโยชน์ทางการค้าและการลงทุนในระยะยาว นอกจากนี้ องค์กรระหว่างประเทศจะมีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันมากขึ้น
CLMV กับความต้องการช่วยเหลือด้านการค้า การลงทุน และการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง
ประเทศ CLMV มีระดับการพัฒนาแตกต่างกัน ความต้องการความช่วยเหลือของแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไป เวียดนามมีระดับการพัฒนาสูง รองลงมา คือ พม่า กัมพูชา และลาว
1). เวียดนาม เป็นประเทศที่มีศักยภาพสูง มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ มีทั้งน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติมาก อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ร้อยละ 6.7 ภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเติบโตร้อยละ 14 และ 15 การส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24 สินค้าส่งออกอันดับหนึ่ง คือ น้ำมันดิบ และมีน้ำมันสำรองใช้ได้นาน 30 ปี บุคลากรมีความอดทน เรียนรู้เร็วและกล้าตัดสินใจ มีการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจจะเน้นการพัฒนาปรับปรุงสาธารณูปโภค และกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น มอบผู้มีอำนาจตัดสินใจได้ทัน โดยเฉพาะจังหวัดสำคัญที่มีการลงทุนต่างประเทศมาก
- ปัจจุบันภาครัฐได้ปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในการอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนต่างชาติ เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ การเข้าไปลงทุนในเวียดนามต้องเข้าไปอย่างมีระบบ ดำเนินการตามกฎเกณฑ์ และมีความรู้ด้านกฎหมายของเวียดนาม
- การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม มีเขตอุตสาหกรรมพิเศษประมาณ 16 - 17 แห่ง
- การพัฒนาสาธารณูปโภค ในปี 2543 เวียดนามมีแผนการสร้างถนนทางภาคเหนือ มุ่งสู่กรุงฮานอย ถนนเชื่อมระหว่างฮานอยกับโฮจิมินต์ และถนนสู่ท่าเรือน้ำลึก
2). พม่า เป็นประเทศที่ปกครองโดยระบบเผด็จการทหาร ผู้มีอำนาจตัดสินใจในคณะรัฐบาลมีเพียงทหารระดับสูง 4 - 5 คน ระดับรัฐมนตรีไม่มีอำนาจตัดสินใจเรื่องสำคัญ
- ไทยเป็นคู่ค้าที่สำคัญของพม่า พม่านำเข้าจากไทยเป็นอันดับสอง และส่งออกมาไทยเป็นอันดับ 4 ของมูลค่าการค้ารวม พม่าเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับไทยมาตลอด รายได้หลักของพม่า คือ การขายก๊าซให้ไทย การค้าชายแดนมีความสำคัญ เป็นสัดส่วนเฉลี่ยประมาณร้อยละ 50 - 60 ของมูลค่าการค้าไทยกับพม่า มาตรการทางการค้าสำคัญ ๆ ของพม่า เช่น กำหนดมูลค่านำเข้าต้องเท่ากับมูลค่าส่งออก มาตรการห้ามนำเข้า และควบคุมการนำเข้าโดยกำหนดสัดส่วนสินค้าจำเป็น และสินค้าฟุ่มเฟือย เป็นต้น
- การให้ความช่วยเหลือด้านการค้า การลงทุนและอำนวยความสะดวกการขนส่งแก่พม่ามีความสำคัญมากจะช่วยพัฒนาให้พม่าเข้าสู่ระบบสากล และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจกับพม่าซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มรายได้ให้พม่าสามารถซื้อสินค้าไทยได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนพม่าต้องการความช่วยเหลือจากไทย แต่ภาครัฐจะเป็นผู้ไม่ยอมรับความช่วยเหลือบางอย่างจากไทย ดังนั้น ยุทธวิธีในการดำเนินแผนงานความช่วยเหลือกับพม่าจะต้องใช้การเมืองนำเศรษฐกิจ โดยใช้วิธีทางการเมืองในการให้ความช่วยเหลือแก่พม่า
3). กัมพูชา เป็นประเทศยากจน ต้องพึ่งความช่วยเหลือจากต่างประเทศสูง โดยรัฐบาลมีนโยบายเศรษฐกิจหลัก คือ หาเงินตราเข้าประเทศโดยสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ และขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ (ญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือกัมพูชามากที่สุด)
- ความช่วยเหลือที่กัมพูชาต้องการ ดังนี้.-
- ด้านการค้า กัมพูชาขาดดุลการค้ากับไทยมาโดยตลอด โดยไทยนำเข้าจากกัมพูชาน้อยลงทุกปี ไทย ควรช่วยเหลือกัมพูชาในด้านพัฒนาบุคลากร และช่วยซื้อวัตถุดิบจากกัมพูชา ซึ่งมีราคาถูก และไทยนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มและส่งออกไปยังตลาดโลกได้
- ด้านการลงทุน ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ไทยลงทุนในกัมพูชาสูงสุด จึงอาจร่วมมือกันสร้างเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่ชายแดนของสองประเทศ ได้แก่ ที่ปอยเปต และเกาะกง
- ด้านอำนวยความสะดวกการขนส่ง กัมพูชาประสบปัญหาด้านการขนส่งมาก เนื่องจากถนนเสียหายจากภาวะสงคราม ทางรถไฟก็มีน้อย ไทยควรช่วยเหลือพัฒนาทางรถไฟจากชายแดนไทยไปยังจังหวัดศรีโสภณของกัมพูชา เพราะจะช่วยอำนวยความสะดวกการขนส่ง สินค้าระหว่างไทย-กัมพูชา นอกจากนี้ ควรช่วยพัฒนาถนน และการขนส่งทางน้ำ
4). ลาว เป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในกลุ่มสมาชิกใหม่อาเซียน ลาวจึงชูประเด็นการเป็นประเทศยากจนเพื่อที่จะได้เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ และได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์เพื่อกำจัดความยากจน โดยเน้นการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค อุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อใช้ในประเทศ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เพื่อรองรับการลงทุน แผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศให้มากขึ้น
- งบประมาณของลาวร้อยละ 80 มาจากเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ (จากญี่ปุ่นมากสุด) เป็นอัตราที่สูงเกินไป ขณะนี้ลาวกำลังพิจารณาทบทวนว่าจะหารายได้จากแหล่งใดมาทดแทน เพื่อลดการพึ่งพาความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
- ปัญหาสำคัญของไทย คือ ลาวไม่ไว้ใจไทย ลาวมองว่าการเข้าไปลงทุนของไทยในลาวเป็นการเข้าไปกอบโกยทรัพยากร และเอาเปรียบลาว เพราะฉะนั้นการเข้าไปทำการค้าหรือลงทุนในลาวเริ่มแรกต้องสร้างความไว้ใจต่อลาวก่อน แสดงให้เห็นว่าไทยมีความจริงใจ
- ประเทศลาวนำเข้าสินค้าจากไทยสูงสุด ลาวมีนโยบายที่จะลดการขาดดุลการค้ากับไทยจึงออกกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อกีดกันสินค้าไทย เช่น เก็บภาษีศุลกากรในอัตราสูง หรือห้ามนำเข้า โดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือย เครื่องสำอาง และยานพาหนะและอะไหล่
- ความช่วยเหลือที่ลาวต้องการ ดังนี้.-
- พัฒนาปรับปรุงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
- พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ลาวยังไม่ไว้วางใจไทย และเกรงว่าการให้ทุนการศึกษาจะเป็นการครอบงำด้วยระบบทุนนิยม ลาวจะรับเฉพาะทุนระดับปริญญาโท และเอก
- การลงทุนด้านอุตสาหกรรมการเกษตร และส่งออกไปยังประเทศที่สาม
- การเปิดตลาดให้สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรของลาว (ไทยมีปัญหาเรื่องสินค้าเกษตรอยู่แล้ว อาจจะช่วยเหลือลาว โดยการหาตลาดในประเทศที่สามให้สินค้าลาว)
- การถ่ายทอดวิธีการเพาะปลูก โดยส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาร่วมเพาะปลูกกับลาว ในพื้นที่ที่กำหนดเพื่อสอนเกษตรกรลาว เป็นรูปแบบความช่วยเหลือที่ลาวได้รับจากเวียดนาม (ไทยอาจเสนอความช่วยเหลือให้ลาวในลักษณะนี้)
ทัศนะของภาคเอกชนต่อการให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน
1). มีความจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือประเทศ CLMV ในฐานะสมาชิกใหม่อาเซียน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในภูมิภาค โดยเห็นว่าควรจะช่วยเหลือในการพัฒนาด้านสังคม วัฒนธรรม ข้อมูล ข่าวสาร เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์รองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์ ตลอดจนการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศ CLMV ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระดับท้องถิ่น เพื่อสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น
ภาคเอกชนของอาเซียนมีบทบาทดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับภาครัฐ โดยจัดตั้งหอการค้าอาเซียน (ASEAN Chamber of Commerce and Industry) เป็นกลไกดำเนินการ
2). การให้ความร่วมมือกับประเทศ CLMV ต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ และแสดงความจริงใจให้ประเทศเหล่านี้เกิดความไว้วางใจว่าจะเกิดความร่วมมืออย่างเป็นธรรม ซึ่งภาครัฐจะมีบทบาทนำในส่วนนี้ โดยร่วมมือกับภาคเอกชนในการช่วยเหลือประเทศ CLMV ในการแก้ปัญหาสำคัญ ๆ เช่น ความยากจน ทรัพยากรมนุษย์และสาธารณูปโภค โดยร่วมให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน พัฒนาระบบการเชื่อมโยงการขนส่ง และการเข้าไปลงทุนในประเทศ CLMV
ทั้งนี้ประเทศไทยต้องเร่งให้ความช่วยเหลือประเทศดังกล่าวให้เร็วกว่าประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมอื่น เพื่อประโยชน์ต่อประเทศไทย
3). ที่ผ่านมาหอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือประเทศ CLMV ในด้านต่างๆ เช่น
- พัฒนาบุคลากรทั้งด้านทุนการศึกษาและฝึกอบรมบุคลากร
- ส่งเสริมการค้า อุตสาหกรรม เกษตรกรรม และบริการ ภายใต้โครงการพัฒนาประเทศลุ่มภูมิภาคแม่น้ำโขง (GMS)
- ช่วยเหลือในการจัดแสดงสินค้าในไทยและไปร่วมงานแสดงสินค้าในประเทศ CLMV
- ส่งเสริมการค้าชายแดนและแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ
- ส่งเสริมเอกชนไทยไปลงทุนในประเทศ CLMV
แนวทางการให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนที่ควรจะเป็น
1). ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากการให้ความช่วยเหลือประเทศ CLMV มีทั้งทางตรงและทางอ้อม ประโยชน์ทางตรง คือ การขยายการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับประเทศ CLMV ส่วนประโยชน์ทางอ้อม คือ เสริมสร้างความมั่นคงในภูมิภาค และการสร้างอำนาจต่อรองในเวทีการเจรจาระหว่างประเทศต่าง ๆ
2). ยุทธศาสตร์ของไทยในประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน
- กำหนดกลยุทธในการเลือกอุตสาหกรรมที่ต้องการให้ชัดเจน
- อุตสาหกรรมผลิตเพื่อส่งออกในปัจจุบัน ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก อุปกรณ์ก่อสร้าง ในอนาคต (5 - 10 ปี) ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ และเครื่องจักร เป็นต้น
- อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในด้านการลงทุนในปัจจุบัน ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เกษตรแปรรูป การท่องเที่ยว โรงพยาบาล โรงแรม สวนสนุก ในอนาคต ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์รถยนต์ เป็นต้น
- ส่งเสริมการนำเข้าสินค้าบางอย่างจากแต่ละประเทศ CLMV เช่น สินค้าเกษตร วัตถุดิบ หัตถกรรม
- สนับสนุนอุตสาหกรรมและบริการขนาดย่อม ซึ่งเหมาะสมกับศักยภาพการผลิตของทั้งสองฝ่าย
- การแก้ไขปัญหาอุปสรรคของการค้าและการลงทุน
- ในกรอบทวิภาคี การเจรจาแลกเปลี่ยนการเปิดตลาดสินค้าที่ไทยต้องการนำเข้า
- ในกรอบภูมิภาคอาเซียน เร่งรัดให้มีการดำเนินมาตรการการค้าที่สอดคล้องกับพันธกรณีความตกลงอาเซียน
3). การให้ความช่วยเหลือประเทศ CLMV ของไทยที่ผ่านมา ได้แก่
- ลักษณะทั่วไป ในด้านการศึกษา สังคม การเกษตร การบริหาร สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยมีกรมวิเทศสหการเป็นหน่วยประสานงานหลัก
- ลักษณะเกื้อกูลกัน ในด้านการค้าและการลงทุน โดยมีกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานต่าง ๆ ให้การสนับสนุน
- ลักษณะ Strategic Partner เป็นความช่วยเหลือในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนและอนุภูมิภาคต่าง ๆ เช่น GMS BIMSTEC สามเหลี่ยม-สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ เป็นต้น ซึ่งได้ดำเนินการแล้วหลายด้านในการอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุน ควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเส้นทางคมนาคมขนส่งต่าง ๆ โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทย เป็นต้น
4). แนวทางการให้ความช่วยเหลือประเทศ CLMV ในขั้นต่อไป
- สนับสนุนความช่วยเหลือในด้านการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงอาเซียน เช่น การออกใบอนุญาตนำเข้าด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และการใช้ระบบ EDI ในการผ่านพิธีการศุลกากร
- ใช้ระบบพี่เลี้ยง ให้ความช่วยเหลือและดูแลการจัดระบบตั้งแต่ต้นจนสามารถดำเนินการได้เอง
- ให้สัมปทาน หรือให้บริษัทเอกชนมืออาชีพเข้ามาดำเนินการ โดยมีรัฐบาลเป็นผู้กำกับ
- ร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย หรือนอกกลุ่มอาเซียนในการให้ความช่วยเหลือ
- ผลักดันให้องค์กรระหว่างประเทศเข้ามาร่วมกิจกรรมความช่วยเหลือต่าง ๆ
- ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการความร่วมมือต่าง ๆ เช่น การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
- การให้ความช่วยเหลือในลักษณะเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ เช่น การตั้ง "กองทุนอินโดจีน" ซึ่งกระทรวงการคลังได้ดำเนินการแล้ว แต่เงินทุนยังมีจำนวนไม่มากนัก
- ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุน เพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน
ประเด็นการอภิปรายซักถาม
(1). ภาคเอกชนเห็นความสำคัญและประโยชน์ในการเข้าไปลงทุนผลิตสินค้าในประเทศ CLMV แต่ถ้าหากนักลงทุนไทยเกิดปัญหาการขาดเงินทุน และจำเป็นต้องเพิ่มทุน รัฐบาลจะมีมาตรการสนับสนุนภาคเอกชนเพียงใด เมื่อเปรียบเทียบกับสิงคโปร์และมาเลเซีย ซึ่งมีกองทุนประกันความเสี่ยงในการลงทุนต่างประเทศ
(2). รัฐบาลควรพิจารณาให้ความช่วยเหลือลาวในด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของลาว เช่น
- การฝึกอบรมด้านพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยให้ทุนฝึกอบรมในโรงเรียนสารพัดช่าง
- การจัดตั้งร้านค้าปลอดภาษี เพื่อขายสินค้าไทยในลาวได้ในราคาถูก
(3). เห็นควรเร่งรัดแก้ไขปัญหาความไม่ไว้วางใจไทยของประเทศเพื่อนบ้านโดยเร็ว เช่น
- การเผยแพร่ข่าวสารของสื่อมวลชนไทย ในกรณีความขัดแย้งชายแดนไทยและพม่า มีส่วนกระตุ้นให้เกิดความร้าวฉานในความรู้สึกของพม่าที่มีต่อไทยมากยิ่งขึ้น
- ลาวไม่ยอมรับทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพราะนักศึกษาลาวมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าพาหนะและค่าผ่านทางเข้ามาในไทยสูงมาก
(4). การเร่งรัดพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งของไทยเชื่อมโยงกับประเทศ CLMV โดยเร็ว เช่น
- การช่วยเหลือกัมพูชาในการพัฒนาเส้นทางถนน ณ จุดผ่านแดนถาวร (ถนนช่องจอม) เมืองเสียมราฐซึ่งมีนครวัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของกัมพูชา และสามารถเชื่อมโยงกับประสาทหินพนมรุ้ง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวของไทยด้วย
- การพัฒนาเส้นทางรถไฟไทยเชื่อมโยงกับลาว ขณะนี้ทางรถไฟในส่วนของไทยสร้างเสร็จแล้ว แต่ในส่วนของลาวยังสร้างไม่เสร็จ ทั้งนี้ลาวอ้างว่ายังไม่มีงบประมาณในการก่อสร้าง
(5). การกำหนดยุทธศาสตร์ในการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของไทย ควรมีนโยบายชัดเจนว่าอุตสาห-กรรมใดแข่งขันต่างประเทศได้ ก็สนับสนุนการพัฒนาต่อไป อุตสาหกรรมใดที่ไม่สามารถแข่งขันได้ก็ต้องเร่งปรับตัวโดยเร็จหรือถอนตัวออกไป (ที่มา : จากการสรุปการสัมมนาซึ่งจัดโดยกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 44)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 6/2544 วันที่ 31 มีนาคม 2544--
-อน-