บทความนี้เรียบเรียงและวิเคราะห์จากบทความเรื่อง American ’s Economy : Slowing down,to what? จากวารสาร The Economist, December 9TH-15TH 2000
นวจิตต์ บุณยรัตพันธุ์
1.บทนำ
หลังการประกาศตัวเลขอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ของสหรัฐฯ ไม่เพียงแต่คนอเมริกันเท่านั้น ที่หันมาสนใจทิศทางการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐ ฯ ว่าจะชะลอลงอย่างนุ่มนวลหรือรุนแรง (soft or hard landing) ประเทศต่าง ๆ ในโลกต่างก็ให้ความสนใจในเรื่องดังกล่าวเช่นเดียวกัน เนื่องจากเศรษฐกิจของสหรัฐ ฯ มีขนาดใหญ่ การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ไม่มากก็น้อย
โดยทั่วไปแล้ว นักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นว่า การชะลอลงของเศรษฐกิจอย่างนุ่มนวลนั้น หมายถึงการที่เศรษฐกิจขยายตัวลดลงอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2-3 ต่อปี ขณะที่การชะลอลงของเศรษฐกิจอย่างรุนแรงนั้น หมายถึงการที่เศรษฐกิจขยายตัวลดลงอยู่ที่ประมาณร้อยละ 1 ต่อปี หรือ ต่ำกว่า ดังนั้นการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งขยายตัวอยู่ในระดับสูงมาเป็นเวลา 9 ปีติดต่อกัน และต่อเนื่องมาจนถึงไตรมาสแรกและไตรมาส ที่ 2 ของปี 2543 กำลังชะลอลง (ภาพประกอบที่ 1) ทำให้เกิด คำถามที่ว่าการชะลอลงดังกล่าวจะเป็นไปในลักษณะอย่างนุ่มนวลหรือรุนแรง เนื่องจากในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน 2542 ถึงเดือนพฤษภาคม 2543 ธนาคารกลางของสหรัฐฯ ได้ปรับอัตราดอกเบี้ย ระยะสั้นข้ามคืน (Federal Fund Rate) สูงขึ้นถึง 6 ครั้ง (รวมแล้วอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.75 ต่อปี) เพื่อลดความร้อนแรงของระบบเศรษฐกิจ โดยปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวอยู่ที่ร้อยละ 6.5 ต่อปี อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ที่ผ่านมา ธนาคารกลางของสหรัฐ ฯ ได้ประกาศตรึงอัตรา ดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ร้อยละ 6.5 ประกอบกับการประมาณการอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ฯ จากหลายแหล่ง คาดว่าในปี 2544 เศรษฐกิจสหรัฐ ฯ จะขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 ทำให้ตลาดเริ่มมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐ ฯ จะเริ่มชะลอตัวอย่างนุ่มนวล
แต่อย่างไรก็ดี ยังมีประเด็นที่สำคัญ 2 ประการ ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นปัจจัยในการสร้างแรง กดดันให้เศรษฐกิจสหรัฐ ฯ มีการชะลอลงอย่างรุนแรง อันได้แก่การส่งสัญญาณเตือนภัยของตลาดการเงิน และ ความไม่สมดุลที่เกิดขึ้นในสถานการณ์เศรษฐกิจดังกล่าว
2. สัญญาณเตือนภัยของตลาดการเงิน
สำหรับสถานการณ์ด้านตลาดการเงินซึ่งปัจจุบันกำลังส่งสัญญาณเตือนภัยถึงความล้มเหลว จากการที่ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ตกต่ำ โดยเฉพาะหุ้นไอที ซึ่งมีราคาเกินมูลค่า (overvalue) เนื่องจากในทศวรรษที่ผ่านมา การลงทุนทางธุรกิจนี้ ได้เพิ่มสัดส่วนขึ้นเป็นสองเท่า (ภาพประกอบ ที่ 2) เพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น การลงทุนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ส่งผลให้ผลิตภาพของแรงงาน (labour productivity) เพิ่มขึ้น ต้นทุนการผลิตลดลง ธุรกิจมีกำไรมากขึ้น เศรษฐกิจสหรัฐ ฯ ในช่วงนั้น มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้น อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับไม่สูงมากนัก เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ พร้อมๆ กับสถาบันการเงินได้ปล่อยกู้ให้กับธุรกิจมากขึ้นควบคู่กันไป อย่างไรก็ดี เมื่อมีการลงทุน โดยเฉพาะธุรกิจไอทีมากเกินไป ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จึงตกลง ประกอบกับสถานการณ์ตลาดเงินประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง สถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เนื่องจากประสบปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สูงขึ้น ธุรกิจเผชิญปัญหาการขาดสภาพคล่อง เพราะไม่สามารถขอกู้เงินจากสถาบันการเงินมาดำเนินการได้ สินเชื่อของสถาบันการเงินขยายตัวลดลง การผสมผสานกันระหว่างต้นทุนของเงินลงทุนที่สูงขึ้นและธุรกิจมีกำไรลดลง ทำให้ธุรกิจไม่สามารถดำเนินการต่อได้ ส่งผลให้การลงทุนภาคธุรกิจลดลง โดยในไตรมาสที่ 3 การขยายตัวของการลงทุนภาคธุรกิจ ได้ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 7.81/ การลดลงดังกล่าว ทำให้ผลิตภาพของแรงงานลดลง ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยเพิ่มขึ้น การที่ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดัชนีต้นทุนการจ้างงานในภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 (ภาพประกอบที่ 3) อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น และอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนตัวลง ดังนั้นจึงเป็นการยากต่อธนาคารกลางสหรัฐ ฯ ในการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ย เพื่อดูแลอัตราเงินเฟ้อและอัตรา แลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม หากการลงทุนลดลงถูกชดเชยด้วยการบริโภคที่เพิ่มขึ้น การชะลอลงของเศรษฐกิจก็อาจจะบรรเทาลงได้ แต่หากผู้บริโภคยังคงชะลอการใช้จ่าย ก็คงเป็นการยากที่เศรษฐกิจจะขยายตัวต่อไป
3. ความไม่สมดุลที่เกิดขึ้นในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน
จากการประกาศตัวเลขอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ฯ ไตรมาสที่ 3 ที่ร้อยละ 2.4 (การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมาของปีเดียวกัน) ซึ่งนับว่าต่ำสุดในรอบ 4 ปี ที่ผ่านมา2/ ตัวแปรทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น อัตราการว่างงาน คำสั่งซื้อสินค้าคงทน หรือปริมาณสินค้าคงคลัง ยังคงส่งสัญญาณการชะลอลงของเศรษฐกิจ อีกทั้งสหรัฐ ฯ ยังประสบปัญหาความไม่สมดุลในสามภาคเศรษฐกิจหลัก ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันและส่งผลกระทบในเชิงลบต่อเศรษฐกิจสหรัฐ ฯ ทั้งสิ้น ได้แก่
1) การออมภาคเอกชนติดลบ จากสถานการณ์ในอดีตที่ราคาหุ้นกำลังพุ่งสูงขึ้น
คนอเมริกันนิยมที่จะลงทุนมากกว่าที่จะออม ทำให้การออมภาคครัวเรือนและภาคเอกชนติดลบ เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1930 เป็นต้นมา ขณะเดียวกันกับที่การลงทุนกำลังเพิ่มสูงขึ้นด้วย ซึ่งในปี 2543
ดุลการออมและการลงทุนภาคเอกชนขาดดุลคิดเป็นประมาณร้อยละ 6.0 ของ GDP (ภาพประกอบ ที่ 4) จากข้อมูลในอดีตของประเทศต่างๆ ในโลก หากพบว่าภาคเอกชนมีขนาดของการขาดดุลการออมและการลงทุนอยู่ในระดับเช่นนั้นแล้ว จะส่งผลให้เศรษฐกิจมีการชะลอลงอย่างรุนแรงต่อไป 2) ภาระหนี้อยู่ในระดับสูง เนื่องจากภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ มีการกู้ยืมมากจนเกินไป จนทำให้ภาระหนี้ของภาคเอกชนโดยรวม สูงถึงร้อยละ 150 ของ GDP3/ โดยหลักการแล้ว มูลค่าของหนี้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่มูลค่าของสินทรัพย์สามารถลดลงได้ ดังนั้นหากภาคเอกชนมีผลกำไร ลดลง และมีหนี้สินที่ต้องชำระ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องขายสินทรัพย์เพื่อใช้หนี้ ก็ยิ่งทำให้มูลค่าของสินทรัพย์ลดลงอีก ดังนั้นหากภาระหนี้ยิ่งเพิ่มขึ้น ก็จะยิ่งทำให้มูลค่าของสินทรัพย์ลดลง ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอลงมากยิ่งขึ้น 3) การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ในระดับสูง ทำให้สหรัฐ ฯ มีความ จำเป็นต้องขอกู้เงินจากต่างประเทศ เพื่อชดเชยการขาดดุลที่เกิดขึ้น โดยในปี 2543 คาดการณ์ว่าสหรัฐ ฯ มีความจำเป็นที่จะต้องขอกู้เงินจากต่างประเทศ ถึงร้อยละ 4.5 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากปี 2540 ที่อยู่ที่ร้อยละ 1.74/ ดังนั้นหากในช่วงเวลาดังกล่าว เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ก็จะเป็นการยากต่อธนาคารกลางสหรัฐ ฯ ในการดำเนินนโยบายเพื่อลดความรุนแรงของการชะลอตัวของเศรษฐกิจได้ อย่างไรก็ดี ความไม่สมดุลดังกล่าวข้างต้น หากเกิดขึ้นต่อเนื่องและเป็นระยะเวลานาน เป็นไปได้ว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ฯ ก็จะทวีความรุนแรงขึ้นได้
4. บทสรุป
กล่าวโดยสรุป เศรษฐกิจสหรัฐ ฯ อาจจะกำลังชะลอลงเร็วเกินไป จากสถานการณ์ที่กล่าว ข้างต้นก็ได้ แต่อย่างไรก็ดี ปัจจุบันยังมีประเด็นที่ควรคำนึงถึงว่าเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เศรษฐกิจ สหรัฐ ฯ มีการชะลอลงอย่างนุ่มนวล อันได้แก่ การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ ซึ่งได้สำเร็จลุล่วงไปแล้ว โดยนาย George W. Bush เป็นประธานาธิบดีสหรัฐต่อไป ดังนั้นปัญหาเรื่องความไม่แน่นอนทางการเมืองจึงหมดไป อีกทั้งรัฐบาลใหม่ของสหรัฐ ฯ คงต้องพยายามดำเนินนโยบายอย่างเต็มที่ เพื่อป้องกันมิให้เศรษฐกิจของสหรัฐ ฯ ชะลอลงอย่างรุนแรง ประกอบกับจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ผ่านมา และประเด็น 2 ประการที่อาจเป็นแรงกดดันให้เศรษฐกิจสหรัฐ ฯ มีการชะลอลงอย่างรุนแรง ดังที่กล่าวข้างต้น น่าจะเป็นสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าที่ดีของสหรัฐ ฯ ในการดำเนินนโยบายที่ ถูกต้องและแม่นยำ เพื่อรองรับการชะลอลงอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไป ดังนั้น การที่พิจารณาตัดสินว่าเศรษฐกิจสหรัฐ ฯ จะชะลอลงอย่างนุ่มนวลหรือรวดเร็ว (soft or hard landing) นั้น จึงจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึงประเด็นที่จะเป็นปัจจัยผลักดันหรือปัจจัยสนับสนุนในการชะลอลงอย่างนุ่มนวลหรือรุนแรง พร้อมๆ กับภาวการณ์ของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญต่างๆ เช่นประเทศที่อยู่ในกลุ่ม G 7 หรือ G 8 ซึ่งจะส่งผลเชื่อมโยงถึงเศรษฐกิจของสหรัฐด้วย
1/ ข้อมูลจากวารสาร Economist ฉบับวันที่ 9-15 ธันวาคม 2543
2/ ข้อมูลอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจรายไตรมาส จาก www.bea.doc.gov
3/และ4/ ข้อมูลจากวารสาร Economist ฉบับวันที่ 9-15 ธันวาคม 2543--จบ--
--สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง--
-อน-
นวจิตต์ บุณยรัตพันธุ์
1.บทนำ
หลังการประกาศตัวเลขอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ของสหรัฐฯ ไม่เพียงแต่คนอเมริกันเท่านั้น ที่หันมาสนใจทิศทางการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐ ฯ ว่าจะชะลอลงอย่างนุ่มนวลหรือรุนแรง (soft or hard landing) ประเทศต่าง ๆ ในโลกต่างก็ให้ความสนใจในเรื่องดังกล่าวเช่นเดียวกัน เนื่องจากเศรษฐกิจของสหรัฐ ฯ มีขนาดใหญ่ การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ไม่มากก็น้อย
โดยทั่วไปแล้ว นักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นว่า การชะลอลงของเศรษฐกิจอย่างนุ่มนวลนั้น หมายถึงการที่เศรษฐกิจขยายตัวลดลงอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2-3 ต่อปี ขณะที่การชะลอลงของเศรษฐกิจอย่างรุนแรงนั้น หมายถึงการที่เศรษฐกิจขยายตัวลดลงอยู่ที่ประมาณร้อยละ 1 ต่อปี หรือ ต่ำกว่า ดังนั้นการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งขยายตัวอยู่ในระดับสูงมาเป็นเวลา 9 ปีติดต่อกัน และต่อเนื่องมาจนถึงไตรมาสแรกและไตรมาส ที่ 2 ของปี 2543 กำลังชะลอลง (ภาพประกอบที่ 1) ทำให้เกิด คำถามที่ว่าการชะลอลงดังกล่าวจะเป็นไปในลักษณะอย่างนุ่มนวลหรือรุนแรง เนื่องจากในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน 2542 ถึงเดือนพฤษภาคม 2543 ธนาคารกลางของสหรัฐฯ ได้ปรับอัตราดอกเบี้ย ระยะสั้นข้ามคืน (Federal Fund Rate) สูงขึ้นถึง 6 ครั้ง (รวมแล้วอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.75 ต่อปี) เพื่อลดความร้อนแรงของระบบเศรษฐกิจ โดยปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวอยู่ที่ร้อยละ 6.5 ต่อปี อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ที่ผ่านมา ธนาคารกลางของสหรัฐ ฯ ได้ประกาศตรึงอัตรา ดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ร้อยละ 6.5 ประกอบกับการประมาณการอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ฯ จากหลายแหล่ง คาดว่าในปี 2544 เศรษฐกิจสหรัฐ ฯ จะขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 ทำให้ตลาดเริ่มมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐ ฯ จะเริ่มชะลอตัวอย่างนุ่มนวล
แต่อย่างไรก็ดี ยังมีประเด็นที่สำคัญ 2 ประการ ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นปัจจัยในการสร้างแรง กดดันให้เศรษฐกิจสหรัฐ ฯ มีการชะลอลงอย่างรุนแรง อันได้แก่การส่งสัญญาณเตือนภัยของตลาดการเงิน และ ความไม่สมดุลที่เกิดขึ้นในสถานการณ์เศรษฐกิจดังกล่าว
2. สัญญาณเตือนภัยของตลาดการเงิน
สำหรับสถานการณ์ด้านตลาดการเงินซึ่งปัจจุบันกำลังส่งสัญญาณเตือนภัยถึงความล้มเหลว จากการที่ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ตกต่ำ โดยเฉพาะหุ้นไอที ซึ่งมีราคาเกินมูลค่า (overvalue) เนื่องจากในทศวรรษที่ผ่านมา การลงทุนทางธุรกิจนี้ ได้เพิ่มสัดส่วนขึ้นเป็นสองเท่า (ภาพประกอบ ที่ 2) เพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น การลงทุนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ส่งผลให้ผลิตภาพของแรงงาน (labour productivity) เพิ่มขึ้น ต้นทุนการผลิตลดลง ธุรกิจมีกำไรมากขึ้น เศรษฐกิจสหรัฐ ฯ ในช่วงนั้น มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้น อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับไม่สูงมากนัก เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ พร้อมๆ กับสถาบันการเงินได้ปล่อยกู้ให้กับธุรกิจมากขึ้นควบคู่กันไป อย่างไรก็ดี เมื่อมีการลงทุน โดยเฉพาะธุรกิจไอทีมากเกินไป ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จึงตกลง ประกอบกับสถานการณ์ตลาดเงินประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง สถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เนื่องจากประสบปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สูงขึ้น ธุรกิจเผชิญปัญหาการขาดสภาพคล่อง เพราะไม่สามารถขอกู้เงินจากสถาบันการเงินมาดำเนินการได้ สินเชื่อของสถาบันการเงินขยายตัวลดลง การผสมผสานกันระหว่างต้นทุนของเงินลงทุนที่สูงขึ้นและธุรกิจมีกำไรลดลง ทำให้ธุรกิจไม่สามารถดำเนินการต่อได้ ส่งผลให้การลงทุนภาคธุรกิจลดลง โดยในไตรมาสที่ 3 การขยายตัวของการลงทุนภาคธุรกิจ ได้ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 7.81/ การลดลงดังกล่าว ทำให้ผลิตภาพของแรงงานลดลง ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยเพิ่มขึ้น การที่ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดัชนีต้นทุนการจ้างงานในภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 (ภาพประกอบที่ 3) อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น และอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนตัวลง ดังนั้นจึงเป็นการยากต่อธนาคารกลางสหรัฐ ฯ ในการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ย เพื่อดูแลอัตราเงินเฟ้อและอัตรา แลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม หากการลงทุนลดลงถูกชดเชยด้วยการบริโภคที่เพิ่มขึ้น การชะลอลงของเศรษฐกิจก็อาจจะบรรเทาลงได้ แต่หากผู้บริโภคยังคงชะลอการใช้จ่าย ก็คงเป็นการยากที่เศรษฐกิจจะขยายตัวต่อไป
3. ความไม่สมดุลที่เกิดขึ้นในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน
จากการประกาศตัวเลขอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ฯ ไตรมาสที่ 3 ที่ร้อยละ 2.4 (การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมาของปีเดียวกัน) ซึ่งนับว่าต่ำสุดในรอบ 4 ปี ที่ผ่านมา2/ ตัวแปรทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น อัตราการว่างงาน คำสั่งซื้อสินค้าคงทน หรือปริมาณสินค้าคงคลัง ยังคงส่งสัญญาณการชะลอลงของเศรษฐกิจ อีกทั้งสหรัฐ ฯ ยังประสบปัญหาความไม่สมดุลในสามภาคเศรษฐกิจหลัก ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันและส่งผลกระทบในเชิงลบต่อเศรษฐกิจสหรัฐ ฯ ทั้งสิ้น ได้แก่
1) การออมภาคเอกชนติดลบ จากสถานการณ์ในอดีตที่ราคาหุ้นกำลังพุ่งสูงขึ้น
คนอเมริกันนิยมที่จะลงทุนมากกว่าที่จะออม ทำให้การออมภาคครัวเรือนและภาคเอกชนติดลบ เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1930 เป็นต้นมา ขณะเดียวกันกับที่การลงทุนกำลังเพิ่มสูงขึ้นด้วย ซึ่งในปี 2543
ดุลการออมและการลงทุนภาคเอกชนขาดดุลคิดเป็นประมาณร้อยละ 6.0 ของ GDP (ภาพประกอบ ที่ 4) จากข้อมูลในอดีตของประเทศต่างๆ ในโลก หากพบว่าภาคเอกชนมีขนาดของการขาดดุลการออมและการลงทุนอยู่ในระดับเช่นนั้นแล้ว จะส่งผลให้เศรษฐกิจมีการชะลอลงอย่างรุนแรงต่อไป 2) ภาระหนี้อยู่ในระดับสูง เนื่องจากภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ มีการกู้ยืมมากจนเกินไป จนทำให้ภาระหนี้ของภาคเอกชนโดยรวม สูงถึงร้อยละ 150 ของ GDP3/ โดยหลักการแล้ว มูลค่าของหนี้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่มูลค่าของสินทรัพย์สามารถลดลงได้ ดังนั้นหากภาคเอกชนมีผลกำไร ลดลง และมีหนี้สินที่ต้องชำระ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องขายสินทรัพย์เพื่อใช้หนี้ ก็ยิ่งทำให้มูลค่าของสินทรัพย์ลดลงอีก ดังนั้นหากภาระหนี้ยิ่งเพิ่มขึ้น ก็จะยิ่งทำให้มูลค่าของสินทรัพย์ลดลง ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอลงมากยิ่งขึ้น 3) การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ในระดับสูง ทำให้สหรัฐ ฯ มีความ จำเป็นต้องขอกู้เงินจากต่างประเทศ เพื่อชดเชยการขาดดุลที่เกิดขึ้น โดยในปี 2543 คาดการณ์ว่าสหรัฐ ฯ มีความจำเป็นที่จะต้องขอกู้เงินจากต่างประเทศ ถึงร้อยละ 4.5 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากปี 2540 ที่อยู่ที่ร้อยละ 1.74/ ดังนั้นหากในช่วงเวลาดังกล่าว เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ก็จะเป็นการยากต่อธนาคารกลางสหรัฐ ฯ ในการดำเนินนโยบายเพื่อลดความรุนแรงของการชะลอตัวของเศรษฐกิจได้ อย่างไรก็ดี ความไม่สมดุลดังกล่าวข้างต้น หากเกิดขึ้นต่อเนื่องและเป็นระยะเวลานาน เป็นไปได้ว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ฯ ก็จะทวีความรุนแรงขึ้นได้
4. บทสรุป
กล่าวโดยสรุป เศรษฐกิจสหรัฐ ฯ อาจจะกำลังชะลอลงเร็วเกินไป จากสถานการณ์ที่กล่าว ข้างต้นก็ได้ แต่อย่างไรก็ดี ปัจจุบันยังมีประเด็นที่ควรคำนึงถึงว่าเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เศรษฐกิจ สหรัฐ ฯ มีการชะลอลงอย่างนุ่มนวล อันได้แก่ การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ ซึ่งได้สำเร็จลุล่วงไปแล้ว โดยนาย George W. Bush เป็นประธานาธิบดีสหรัฐต่อไป ดังนั้นปัญหาเรื่องความไม่แน่นอนทางการเมืองจึงหมดไป อีกทั้งรัฐบาลใหม่ของสหรัฐ ฯ คงต้องพยายามดำเนินนโยบายอย่างเต็มที่ เพื่อป้องกันมิให้เศรษฐกิจของสหรัฐ ฯ ชะลอลงอย่างรุนแรง ประกอบกับจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ผ่านมา และประเด็น 2 ประการที่อาจเป็นแรงกดดันให้เศรษฐกิจสหรัฐ ฯ มีการชะลอลงอย่างรุนแรง ดังที่กล่าวข้างต้น น่าจะเป็นสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าที่ดีของสหรัฐ ฯ ในการดำเนินนโยบายที่ ถูกต้องและแม่นยำ เพื่อรองรับการชะลอลงอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไป ดังนั้น การที่พิจารณาตัดสินว่าเศรษฐกิจสหรัฐ ฯ จะชะลอลงอย่างนุ่มนวลหรือรวดเร็ว (soft or hard landing) นั้น จึงจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึงประเด็นที่จะเป็นปัจจัยผลักดันหรือปัจจัยสนับสนุนในการชะลอลงอย่างนุ่มนวลหรือรุนแรง พร้อมๆ กับภาวการณ์ของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญต่างๆ เช่นประเทศที่อยู่ในกลุ่ม G 7 หรือ G 8 ซึ่งจะส่งผลเชื่อมโยงถึงเศรษฐกิจของสหรัฐด้วย
1/ ข้อมูลจากวารสาร Economist ฉบับวันที่ 9-15 ธันวาคม 2543
2/ ข้อมูลอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจรายไตรมาส จาก www.bea.doc.gov
3/และ4/ ข้อมูลจากวารสาร Economist ฉบับวันที่ 9-15 ธันวาคม 2543--จบ--
--สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง--
-อน-