ลำไย : อนาคตลำไยไทยน่าเป็นห่วง
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตรได้เดินทางไปศึกษาข้อมูลการผลิตและการตลาดลำไย ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน พบว่า จีนมีการขยายการผลิตลำไยในเชิงการค้าอย่างมากในระยะ 7-8 ปีที่ผ่านมา จากพื้นที่ปลูกประมาณ 1.2 ล้านไร่ ผลผลิต 0.23 ล้านตันในปี 2537 เป็นพื้นที่ปลูกกว่า 4 ล้านไร่ ผลผลิตกว่า 1.4 ล้านตัน (ภาวะปกติ) ในปัจจุบัน โดยมีแหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ในมณฑลกวางสี กวางตุ้งและฟูเจียน พันธุ์ที่ปลูกมีมากกว่า 10 ชนิด แต่ที่คุณภาพดีใกล้เคียงกับพันธุ์อีดอของไทย คือพันธุ์ Shixia และ Chuliang โดยผลผลิตจะทยอยออกสู่ตลาดระหว่างกลางเดือนกรกฎาคม-กลางเดือนกันยายน
ราคาที่เกษตรกรขายได้ลำไยสดเกรดคละเฉลี่ยปี 2543-44 สูงถึงกิโลกรัมละ 22-42 บาท ขณะที่ต้นทุนการผลิตประมาณกิโลกรัมละ 7-8 บาท ทั้งนี้ เนื่องจากผลผลิตลดลงจากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวย ประกอบกับประสบปัญหาลำไยที่ปลูกตามหุบเขายืนต้นตายจำนวนมาก จากภาวะอากาศหนาวเย็นและน้ำค้างแข็งในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา
การบริโภคลำไยในประเทศจีน นิยมบริโภคทั้งในรูปผลสดและอบแห้ง ประมาณร้อยละ 20 ของผลผลิตที่ได้ส่งไปจำหน่ายตามเมืองและมณฑลรอบ ๆ แหล่งผลิต เนื่องจากจีนยังไม่มีการนำเทคโนโลยีในการยืดอายุลำไยสดในการวางจำหน่ายมาใช้ จึงไม่สามารถส่งไปจำหน่ายไกล ๆ ได้ ที่เหลือประมาณร้อยละ 80 แปรรูปเป็นลำไยอบแห้งในลักษณะของอุตสาหกรรมในครัวเรือน (เตาถ่าน) เพื่อเก็บไว้จำหน่ายทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว ซึ่งชาวจีนนิยมนำลำไยแห้งมาชงน้ำดื่มผสมใบชาเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย
อย่างไรก็ตามหลังจากจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO แล้ว ถึงแม้จีนจะลดอัตราภาษีจากที่จัดเก็บปัจจุบันในอัตราร้อยละ 30+Vat 13 % สำหรับลำไยสดและร้อยละ 28 + Vat 17% สำหรับลำไยอบแห้ง แต่คาดว่าจีนจะนำปัญหาด้านสุขอนามัยมาเป็นข้อกีดกันทางการค้า โดยเฉพาะปัญหาสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ตกค้างที่ผิวและเนื้อลำไยสด เนื่องจากไม่ต้องการสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าลำไย โดยเฉพาะจากประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากรัฐบาลจีนมีนโยบายขยายการผลิตลำไยเพื่อทดแทนการนำเข้าและเพื่อการส่งออกในช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งมีนโยบายในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการ Zoning พื้นที่ปลูกลำไยในเมืองกุ้ยก้างมณฑลกวางสีให้เป็นแหล่งปลูกลำไยที่สำคัญของจีน ตลอดจนการให้เอกชนเช่าพื้นที่ปลูกลำไยในเชิงการค้าในลักษณะ Plantation นอกจากนั้นในขณะนี้จีนยังกำหนดให้การนำเข้าสินค้าแต่ละชนิดต้องขอใบอนุญาตทุกชนิดแทนการขอรวมในใบเดียวกัน เช่นที่เคยปฏิบัติมา ทำให้ต้นทุนของผู้นำเข้าสูงขึ้น เพราะใบอนุญาตแต่ละใบต้องเสียค่าทำเนียมใบละ 300 หยวน หรือประมาณ 1,650 บาท
ดังนั้น หากไทยยังมีการขยายการผลิตลำไยออกไปอีก และยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาคุณภาพลำไยสดที่ส่งออกไปได้ จะต้องประสบกับปัญหาราคาลำไยตกต่ำอย่างรุนแรง เนื่องจากผลผลิตล้นตลาด เพราะไม่สามารถส่งออกไปยังประเทศจีนได้ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ในปัจจุบันได้ เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์ล่วงหน้า จะต้องควบคุมมิให้ขยายพื้นที่ปลูกออกไปอีก แต่ควรหันมาปรับปรุงคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐานทั้งลำไยสดและอบแห้ง นอกจากนี้ต้องเร่งสร้างภาพลักษณ์ลำไยไทยและเน้นการเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market ) ให้มากขึ้น
เส้นไหม : การปรับเปลี่ยนมาตรการควบคุมการนำเข้าเส้นไหม
คณะกรรมการไหมแห่งชาติในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2544 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2544 ซึ่งมีนายชูชีพ หาญสวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ได้พิจารณาแนวทางปรับเปลี่ยนมาตรการนำเข้าเส้นไหมและการปรับปรุงระเบียบนำเข้าเส้นไหม ดังนี้
คณะอนุกรรมการไหมแห่งชาติเสนอให้มีการปรับเปลี่ยนมาตรการควบคุมการนำเข้าเส้นไหม เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการที่จีนจะเข้าเป็นสมาชิก WTO ซึ่งจะทำให้ไทยไม่สามารถใช้มาตรการที่มิใช่ภาษี คือ มาตรการสัดส่วน ได้ และเพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของการส่งออกไหมและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ประชุมจึงมีมติให้ความเห็นชอบการลดภาษีนำเข้าเส้นไหมดิบใน WTO ภายในโควตาจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 20 และขยายสัดส่วนการนำเข้าเส้นไหมดิบและเส้นไหมสำเร็จรูปทั้งนอก และใน WTO จากอัตราส่วนการซื้อภายในประเทศต่อการนำเข้า 1 :1.5 เป็น 1 : 2 อัตราภาษีคงเดิมที่ร้อยละ 10 แต่เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงที่ผลผลิตรังไหมออกสู่ตลาดมาก จึงให้ชะลอการการเปลี่ยนดังกล่าว ให้เริ่มต้นในวันที่ 1 มกราคม 2545 และให้หน่วยงานราชการติดตามสถานการณ์ เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
สำหรับการปรับปรุงระเบียบการนำเข้าเส้นไหมคุณภาพดีมาผลิตเพื่อการส่งออก ในเรื่องของการออกใบรับรองคุณภาพเส้นไหม เพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตนำเข้าเส้นไหมภายใต้สัดส่วน 1 : 30 ที่ประชุมได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เส้นไหมสำเร็จรูปได้ผ่านกระบวนการตีเกลียว ซึ่งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพของเส้นไหม ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพได้ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมการส่งออกที่อนุญาตให้ผู้นำเข้าเส้นไหมคุณภาพดี ( 3 เอขึ้นไป ) มาผลิตเพื่อการส่งออก สามารถนำเข้าในอัตราส่วนซื้อในประเทศต่อการนำเข้า 1 : 30 ได้ จึงมีมติให้ปรับปรุงประกาศกรมการค้าต่างประเทศ ฉบับที่ 124 พ.ศ. 2538 ในข้อ 2.4 โดยผู้นำเข้าในรูปเส้นไหมดิบต้องส่งตัวอย่างให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมตรวจสอบ ส่วนผู้นำเข้าในรูปเส้นไหมสำเร็จรูป สามารถใช้ใบรับรองคุณภาพของแหล่งผู้ผลิตทดแทนได้
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 33 ประจำวันที่ 27 ส.ค.- 2 ก.ย. 2544--
-สส-
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตรได้เดินทางไปศึกษาข้อมูลการผลิตและการตลาดลำไย ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน พบว่า จีนมีการขยายการผลิตลำไยในเชิงการค้าอย่างมากในระยะ 7-8 ปีที่ผ่านมา จากพื้นที่ปลูกประมาณ 1.2 ล้านไร่ ผลผลิต 0.23 ล้านตันในปี 2537 เป็นพื้นที่ปลูกกว่า 4 ล้านไร่ ผลผลิตกว่า 1.4 ล้านตัน (ภาวะปกติ) ในปัจจุบัน โดยมีแหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ในมณฑลกวางสี กวางตุ้งและฟูเจียน พันธุ์ที่ปลูกมีมากกว่า 10 ชนิด แต่ที่คุณภาพดีใกล้เคียงกับพันธุ์อีดอของไทย คือพันธุ์ Shixia และ Chuliang โดยผลผลิตจะทยอยออกสู่ตลาดระหว่างกลางเดือนกรกฎาคม-กลางเดือนกันยายน
ราคาที่เกษตรกรขายได้ลำไยสดเกรดคละเฉลี่ยปี 2543-44 สูงถึงกิโลกรัมละ 22-42 บาท ขณะที่ต้นทุนการผลิตประมาณกิโลกรัมละ 7-8 บาท ทั้งนี้ เนื่องจากผลผลิตลดลงจากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวย ประกอบกับประสบปัญหาลำไยที่ปลูกตามหุบเขายืนต้นตายจำนวนมาก จากภาวะอากาศหนาวเย็นและน้ำค้างแข็งในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา
การบริโภคลำไยในประเทศจีน นิยมบริโภคทั้งในรูปผลสดและอบแห้ง ประมาณร้อยละ 20 ของผลผลิตที่ได้ส่งไปจำหน่ายตามเมืองและมณฑลรอบ ๆ แหล่งผลิต เนื่องจากจีนยังไม่มีการนำเทคโนโลยีในการยืดอายุลำไยสดในการวางจำหน่ายมาใช้ จึงไม่สามารถส่งไปจำหน่ายไกล ๆ ได้ ที่เหลือประมาณร้อยละ 80 แปรรูปเป็นลำไยอบแห้งในลักษณะของอุตสาหกรรมในครัวเรือน (เตาถ่าน) เพื่อเก็บไว้จำหน่ายทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว ซึ่งชาวจีนนิยมนำลำไยแห้งมาชงน้ำดื่มผสมใบชาเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย
อย่างไรก็ตามหลังจากจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO แล้ว ถึงแม้จีนจะลดอัตราภาษีจากที่จัดเก็บปัจจุบันในอัตราร้อยละ 30+Vat 13 % สำหรับลำไยสดและร้อยละ 28 + Vat 17% สำหรับลำไยอบแห้ง แต่คาดว่าจีนจะนำปัญหาด้านสุขอนามัยมาเป็นข้อกีดกันทางการค้า โดยเฉพาะปัญหาสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ตกค้างที่ผิวและเนื้อลำไยสด เนื่องจากไม่ต้องการสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าลำไย โดยเฉพาะจากประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากรัฐบาลจีนมีนโยบายขยายการผลิตลำไยเพื่อทดแทนการนำเข้าและเพื่อการส่งออกในช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งมีนโยบายในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการ Zoning พื้นที่ปลูกลำไยในเมืองกุ้ยก้างมณฑลกวางสีให้เป็นแหล่งปลูกลำไยที่สำคัญของจีน ตลอดจนการให้เอกชนเช่าพื้นที่ปลูกลำไยในเชิงการค้าในลักษณะ Plantation นอกจากนั้นในขณะนี้จีนยังกำหนดให้การนำเข้าสินค้าแต่ละชนิดต้องขอใบอนุญาตทุกชนิดแทนการขอรวมในใบเดียวกัน เช่นที่เคยปฏิบัติมา ทำให้ต้นทุนของผู้นำเข้าสูงขึ้น เพราะใบอนุญาตแต่ละใบต้องเสียค่าทำเนียมใบละ 300 หยวน หรือประมาณ 1,650 บาท
ดังนั้น หากไทยยังมีการขยายการผลิตลำไยออกไปอีก และยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาคุณภาพลำไยสดที่ส่งออกไปได้ จะต้องประสบกับปัญหาราคาลำไยตกต่ำอย่างรุนแรง เนื่องจากผลผลิตล้นตลาด เพราะไม่สามารถส่งออกไปยังประเทศจีนได้ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ในปัจจุบันได้ เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์ล่วงหน้า จะต้องควบคุมมิให้ขยายพื้นที่ปลูกออกไปอีก แต่ควรหันมาปรับปรุงคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐานทั้งลำไยสดและอบแห้ง นอกจากนี้ต้องเร่งสร้างภาพลักษณ์ลำไยไทยและเน้นการเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market ) ให้มากขึ้น
เส้นไหม : การปรับเปลี่ยนมาตรการควบคุมการนำเข้าเส้นไหม
คณะกรรมการไหมแห่งชาติในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2544 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2544 ซึ่งมีนายชูชีพ หาญสวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ได้พิจารณาแนวทางปรับเปลี่ยนมาตรการนำเข้าเส้นไหมและการปรับปรุงระเบียบนำเข้าเส้นไหม ดังนี้
คณะอนุกรรมการไหมแห่งชาติเสนอให้มีการปรับเปลี่ยนมาตรการควบคุมการนำเข้าเส้นไหม เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการที่จีนจะเข้าเป็นสมาชิก WTO ซึ่งจะทำให้ไทยไม่สามารถใช้มาตรการที่มิใช่ภาษี คือ มาตรการสัดส่วน ได้ และเพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของการส่งออกไหมและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ประชุมจึงมีมติให้ความเห็นชอบการลดภาษีนำเข้าเส้นไหมดิบใน WTO ภายในโควตาจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 20 และขยายสัดส่วนการนำเข้าเส้นไหมดิบและเส้นไหมสำเร็จรูปทั้งนอก และใน WTO จากอัตราส่วนการซื้อภายในประเทศต่อการนำเข้า 1 :1.5 เป็น 1 : 2 อัตราภาษีคงเดิมที่ร้อยละ 10 แต่เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงที่ผลผลิตรังไหมออกสู่ตลาดมาก จึงให้ชะลอการการเปลี่ยนดังกล่าว ให้เริ่มต้นในวันที่ 1 มกราคม 2545 และให้หน่วยงานราชการติดตามสถานการณ์ เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
สำหรับการปรับปรุงระเบียบการนำเข้าเส้นไหมคุณภาพดีมาผลิตเพื่อการส่งออก ในเรื่องของการออกใบรับรองคุณภาพเส้นไหม เพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตนำเข้าเส้นไหมภายใต้สัดส่วน 1 : 30 ที่ประชุมได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เส้นไหมสำเร็จรูปได้ผ่านกระบวนการตีเกลียว ซึ่งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพของเส้นไหม ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพได้ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมการส่งออกที่อนุญาตให้ผู้นำเข้าเส้นไหมคุณภาพดี ( 3 เอขึ้นไป ) มาผลิตเพื่อการส่งออก สามารถนำเข้าในอัตราส่วนซื้อในประเทศต่อการนำเข้า 1 : 30 ได้ จึงมีมติให้ปรับปรุงประกาศกรมการค้าต่างประเทศ ฉบับที่ 124 พ.ศ. 2538 ในข้อ 2.4 โดยผู้นำเข้าในรูปเส้นไหมดิบต้องส่งตัวอย่างให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมตรวจสอบ ส่วนผู้นำเข้าในรูปเส้นไหมสำเร็จรูป สามารถใช้ใบรับรองคุณภาพของแหล่งผู้ผลิตทดแทนได้
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 33 ประจำวันที่ 27 ส.ค.- 2 ก.ย. 2544--
-สส-