ก. มาตรการภาษี
1. ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 เห็นชอบเรื่องร่างกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น
รัษฎากร (ฉบับที่…) พ.ศ. …..โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2543 (วันที่พระราชบัญญัติการ จัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 เริ่ม
มีผลบังคับ) สาระสำคัญมีดังนี้
1.1 ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ แก่ ผู้จัดสรรที่ดิน สำหรับรายได้ รายรับ ที่เกิดขึ้นจาก
การจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือนิติบุคคลตามกฏหมายอื่น
ที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543
1.2 ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แก่ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือนิติบุคคลตาม กฏหมายอื่นที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรขึ้น สำหรับมูลค่าของฐานภาษี
อันเนื่องมาจากการให้บริการบำรุงรักษา และการจัดการสาธารณูปโภคแก่สมาชิกของ นิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543
1.3 ยกเว้นภาษีเงินได้ แก่นิติบุคคลตามกฏหมายอื่นที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจัดตั้งขึ้นเป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้จาก
การโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะจากผู้จัดสรรที่ดิน และเงินได้ที่เกิดจากการให้บริการบำรุงรักษา และการจัดการ
สาธารณูปโภคแก่สมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543
2. ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อจูงใจให้บริษัทเข้าจดทะเบียน
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2544 เห็นชอบให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัท หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนใน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ โดยตราเป็น พระราชกฏษฎีกา จากอัตราร้อยละ 30 เป็นระยะเวลา
ไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน เป็นอัตราดังต่อไปนี้
2.1 ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท สำหรับบริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจดทะเบียนกับ ตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
2.2 ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย
ภายใน 3 ปี ตั้งแต่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
2.3 ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ใหม่ ภายใน 3 ปี
ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
3. การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2544 เห็นชอบให้จัดสรรเงินภาษี มูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 8.5 ของภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่จัด
เก็บตามประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เพื่อให้รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสัดส่วนต่อรายได้ของรัฐบาลในปี พ.ศ. 2544 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
ตามที่พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนด
ข. มาตรการรายจ่าย
1. งบประมาณสนับสนุนโครงการ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในพื้นที่ 6 จังหวัด
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2544 เห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนิน โครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
สำหรับประชาชนชาวไทยในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี สมุทรสาคร นครสวรรค์ พะเยา ยโสธร และยะลา ตามที่กระทรวงสาธารณสุข
เสนอใน วงเงิน 399.757 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจาก งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ของสำนักงานปลัดกระทรวง
สาธารณสุข ซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ปรับลดแล้ว เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2544 จำนวน 307.403 ล้านบาท ส่วนที่ ยังขาดอีกจำนวน 92.354
ล้านบาท สำนัก งบประมาณได้พิจารณาปรับลดเพิ่มเติมในส่วน ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
2. สนับสนุนงบประมาณปี 2544 เพิ่มเติม สำหรับโครงการประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า 15 จังหวัด
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม เห็นชอบเรื่องการขอสนับสนุน งบประมาณปี 2544 เพิ่มเติม สำหรับโครงการประกัน
สุขภาพถ้วนหน้า 15 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี สระบุรี สระแก้ว เพชรบุรี สุรินทร์ นครราชสีมา หนองบัวลำภู อุบลราชธานี อำนาจเจริญ
ศรีสะเกษ สุโขทัย แพร่ เชียงใหม่ ภูเก็ต และนราธิวาส ในวงเงิน 1,510.266 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจาก เงินทุนหมุนเวียนบัตรประกัน
สุขภาพจำนวน 1,100 ล้านบาท และใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 (งบกลาง และจาก รายการเงินสำ
รองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 410.266 ล้านบาท
3. ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2544 เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ และให้ นำเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป โดยมีรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
ของกระทรวง ทบวง องค์กรอิสระ และ รัฐวิสาหกิจ ตามตารางแนบ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 เปรียบเทียบกับปีปัจจุบัน
หน่วย : บาท
กระทรวง งบประมาณปี 2544 งบประมาณปี 2545
จำนวน สัดส่วน ร่าง พ.ร.บ. สัดส่วน
รวมทั้งประเทศ 910,000,000,000.00 100.00 1,023,000,000,000.00 100.00
1. งบกลาง 86,911,966,500.00 9.60 183,840,520,000.00 18.00
2. สำนักนายกรัฐมนตรี 7,712,830,300.00 0.80 9,771,878,500.00 1.00
3. กระทรวงกลาโหม 77,210,552,300.00 8.50 78,495,270,600.00 7.70
4. กระทรวงการคลัง 96,990,840,900.00 10.70 114,605,334,000.00 11.20
5. กระทรวงการต่างประเทศ 3,789,982,700.00 0.40 4,359,358,700.00 0.40
6. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 67,674,796,000.00 7.40 63,944,273,100.00 6.20
7. กระทรวงคมนาคม 46,752,221,600.00 5.10 36,842,482,200.00 3.60
8. กระทรวงพาณิชย์ 4,475,495,800.00 0.50 4,861,819,000.00 0.50
9. กระทรวงมหาดไทย 107,187,442,940.00 11.80 109,315,105,900.00 10.70
10. กระทรวงยุติธรรม 6,856,977,800.00 0.80 1,654,831,700.00 0.20
11. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม 16,937,093,600.00 1.90 15,942,764,100.00 1.50
12. กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม 12,579,151,800.00 1.40 12,222,521,300.00 1.20
13. กระทรวงศึกษาธิการ 160,853,772,560.00 17.70 162,393,462,500.00 15.90
14. กระทรวงสาธารณสุข 58,697,199,700.00 6.50 41,737,284,000.00 4.10
15. กระทรวงอุตสาหกรรม 4,015,351,900.00 0.40 4,289,385,600.00 0.40
16. ทบวงมหาวิทยาลัย 32,278,207,500.00 3.50 32,031,525,500.00 3.10
17. ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง 47,498,684,100.00 5.20 46,886,428,500.00 4.60
หรือทบวง 3,806,915,600.00 0.40 7,972,829,300.00 0.80
18. หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ 32,274,306,400.00 3.50 37,286,476,200.00 3.60
19. รัฐวิสาหกิจ 35,496,210,000.00 3.90 54,546,449,300.00 5.30
20. กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน
โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 - 2545
หน่วย : ล้านบาท
รายการ ปีงบประมาณ 2544 ปีงบประมาณ 2545
(หลังการปรับลดและจัดสรรคืน) ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณ
วงเงินงบประมาณ +เพิ่ม/-ลด ร้อยละ วงเงินงบประมาณ +เพิ่ม/-ลด ร้อยละ
วงเงินงบประมาณรายจ่าย 910,000.00 50,000.00 5.8 1,023,000.00 113,000.00 12.4
- สัดส่วนต่อ GDP 17.50 55,000.00 7.3 18.20 18,000.00 2.2
- รายได้ 805,000.00 -5,000.00 -4.5 823,000.00 95,000.00 90.5
- สัดส่วนต่อ GDP 15.50 14.70
- วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 105,000.00 200,000.00
- สัดส่วนต่อ GDP 2.00 3.60
1. รายจ่ายประจำ 679,286.50 43,701.40 6.9 772,605.70 93,319.20 13.7
- สัดส่วนต่องบประมาณ 74.70 75.50
2. รายจ่ายลงทุน 218,578.20 1,480.60 0.7 224,725.40 6,147.20 2.8
- สัดส่วนต่องบประมาณ 24.00 22.00
3. รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 12,135.30 4,818.00 65.8 25,668.90 13,533.60 111.5
- สัดส่วนต่องบประมาณ 1.30 2.50
4. วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลตาม 191,708.20 13,854.40 7.8 225,135.10 33,426.90 17.4
พระราชบัญญัติฯ
5. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) 5,208,600.00 317,900.00 3.5 5,614,900.00 406,300.00 7.8
หมายเหตุ 1. ข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเป็นตัวเลขประมาณการของสำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2544
2. ข้อมูลของร่าง พ.ร.บ. งบประมาณปี 2545 ได้ปรับสัดส่วนรายจ่ายประจำและลงทุน ดังนี้
2.1 ค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จำนวน 58,000.0 ล้านบาท ใช้สัดส่วน รายจ่ายประจำ : รายจ่ายลงทุนเท่ากับ 50 : 50
2.2 ค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จำนวน 11,650.0 ล้านบาท ใช้สัดส่วนรายจ่ายประจำ : รายจ่ายลงทุน
เท่ากับ 20 : 80 โดยจัดเป็นค่าใช้จ่าย ในแผนงานพัฒนาชนบท ด้านการบริการสังคม
2.3 งบประมาณของหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ ใช้สัดส่วนรายจ่ายประจำ : รายจ่ายลงทุน เท่ากับ 85 : 15
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 เห็นชอบเรื่องร่างกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น
รัษฎากร (ฉบับที่…) พ.ศ. …..โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2543 (วันที่พระราชบัญญัติการ จัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 เริ่ม
มีผลบังคับ) สาระสำคัญมีดังนี้
1.1 ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ แก่ ผู้จัดสรรที่ดิน สำหรับรายได้ รายรับ ที่เกิดขึ้นจาก
การจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือนิติบุคคลตามกฏหมายอื่น
ที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543
1.2 ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แก่ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือนิติบุคคลตาม กฏหมายอื่นที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรขึ้น สำหรับมูลค่าของฐานภาษี
อันเนื่องมาจากการให้บริการบำรุงรักษา และการจัดการสาธารณูปโภคแก่สมาชิกของ นิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543
1.3 ยกเว้นภาษีเงินได้ แก่นิติบุคคลตามกฏหมายอื่นที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจัดตั้งขึ้นเป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้จาก
การโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะจากผู้จัดสรรที่ดิน และเงินได้ที่เกิดจากการให้บริการบำรุงรักษา และการจัดการ
สาธารณูปโภคแก่สมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543
2. ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อจูงใจให้บริษัทเข้าจดทะเบียน
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2544 เห็นชอบให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัท หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนใน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ โดยตราเป็น พระราชกฏษฎีกา จากอัตราร้อยละ 30 เป็นระยะเวลา
ไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน เป็นอัตราดังต่อไปนี้
2.1 ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท สำหรับบริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจดทะเบียนกับ ตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
2.2 ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย
ภายใน 3 ปี ตั้งแต่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
2.3 ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ใหม่ ภายใน 3 ปี
ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
3. การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2544 เห็นชอบให้จัดสรรเงินภาษี มูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 8.5 ของภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่จัด
เก็บตามประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เพื่อให้รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสัดส่วนต่อรายได้ของรัฐบาลในปี พ.ศ. 2544 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
ตามที่พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนด
ข. มาตรการรายจ่าย
1. งบประมาณสนับสนุนโครงการ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในพื้นที่ 6 จังหวัด
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2544 เห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนิน โครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
สำหรับประชาชนชาวไทยในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี สมุทรสาคร นครสวรรค์ พะเยา ยโสธร และยะลา ตามที่กระทรวงสาธารณสุข
เสนอใน วงเงิน 399.757 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจาก งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ของสำนักงานปลัดกระทรวง
สาธารณสุข ซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ปรับลดแล้ว เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2544 จำนวน 307.403 ล้านบาท ส่วนที่ ยังขาดอีกจำนวน 92.354
ล้านบาท สำนัก งบประมาณได้พิจารณาปรับลดเพิ่มเติมในส่วน ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
2. สนับสนุนงบประมาณปี 2544 เพิ่มเติม สำหรับโครงการประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า 15 จังหวัด
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม เห็นชอบเรื่องการขอสนับสนุน งบประมาณปี 2544 เพิ่มเติม สำหรับโครงการประกัน
สุขภาพถ้วนหน้า 15 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี สระบุรี สระแก้ว เพชรบุรี สุรินทร์ นครราชสีมา หนองบัวลำภู อุบลราชธานี อำนาจเจริญ
ศรีสะเกษ สุโขทัย แพร่ เชียงใหม่ ภูเก็ต และนราธิวาส ในวงเงิน 1,510.266 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจาก เงินทุนหมุนเวียนบัตรประกัน
สุขภาพจำนวน 1,100 ล้านบาท และใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 (งบกลาง และจาก รายการเงินสำ
รองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 410.266 ล้านบาท
3. ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2544 เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ และให้ นำเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป โดยมีรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
ของกระทรวง ทบวง องค์กรอิสระ และ รัฐวิสาหกิจ ตามตารางแนบ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 เปรียบเทียบกับปีปัจจุบัน
หน่วย : บาท
กระทรวง งบประมาณปี 2544 งบประมาณปี 2545
จำนวน สัดส่วน ร่าง พ.ร.บ. สัดส่วน
รวมทั้งประเทศ 910,000,000,000.00 100.00 1,023,000,000,000.00 100.00
1. งบกลาง 86,911,966,500.00 9.60 183,840,520,000.00 18.00
2. สำนักนายกรัฐมนตรี 7,712,830,300.00 0.80 9,771,878,500.00 1.00
3. กระทรวงกลาโหม 77,210,552,300.00 8.50 78,495,270,600.00 7.70
4. กระทรวงการคลัง 96,990,840,900.00 10.70 114,605,334,000.00 11.20
5. กระทรวงการต่างประเทศ 3,789,982,700.00 0.40 4,359,358,700.00 0.40
6. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 67,674,796,000.00 7.40 63,944,273,100.00 6.20
7. กระทรวงคมนาคม 46,752,221,600.00 5.10 36,842,482,200.00 3.60
8. กระทรวงพาณิชย์ 4,475,495,800.00 0.50 4,861,819,000.00 0.50
9. กระทรวงมหาดไทย 107,187,442,940.00 11.80 109,315,105,900.00 10.70
10. กระทรวงยุติธรรม 6,856,977,800.00 0.80 1,654,831,700.00 0.20
11. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม 16,937,093,600.00 1.90 15,942,764,100.00 1.50
12. กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม 12,579,151,800.00 1.40 12,222,521,300.00 1.20
13. กระทรวงศึกษาธิการ 160,853,772,560.00 17.70 162,393,462,500.00 15.90
14. กระทรวงสาธารณสุข 58,697,199,700.00 6.50 41,737,284,000.00 4.10
15. กระทรวงอุตสาหกรรม 4,015,351,900.00 0.40 4,289,385,600.00 0.40
16. ทบวงมหาวิทยาลัย 32,278,207,500.00 3.50 32,031,525,500.00 3.10
17. ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง 47,498,684,100.00 5.20 46,886,428,500.00 4.60
หรือทบวง 3,806,915,600.00 0.40 7,972,829,300.00 0.80
18. หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ 32,274,306,400.00 3.50 37,286,476,200.00 3.60
19. รัฐวิสาหกิจ 35,496,210,000.00 3.90 54,546,449,300.00 5.30
20. กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน
โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 - 2545
หน่วย : ล้านบาท
รายการ ปีงบประมาณ 2544 ปีงบประมาณ 2545
(หลังการปรับลดและจัดสรรคืน) ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณ
วงเงินงบประมาณ +เพิ่ม/-ลด ร้อยละ วงเงินงบประมาณ +เพิ่ม/-ลด ร้อยละ
วงเงินงบประมาณรายจ่าย 910,000.00 50,000.00 5.8 1,023,000.00 113,000.00 12.4
- สัดส่วนต่อ GDP 17.50 55,000.00 7.3 18.20 18,000.00 2.2
- รายได้ 805,000.00 -5,000.00 -4.5 823,000.00 95,000.00 90.5
- สัดส่วนต่อ GDP 15.50 14.70
- วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 105,000.00 200,000.00
- สัดส่วนต่อ GDP 2.00 3.60
1. รายจ่ายประจำ 679,286.50 43,701.40 6.9 772,605.70 93,319.20 13.7
- สัดส่วนต่องบประมาณ 74.70 75.50
2. รายจ่ายลงทุน 218,578.20 1,480.60 0.7 224,725.40 6,147.20 2.8
- สัดส่วนต่องบประมาณ 24.00 22.00
3. รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 12,135.30 4,818.00 65.8 25,668.90 13,533.60 111.5
- สัดส่วนต่องบประมาณ 1.30 2.50
4. วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลตาม 191,708.20 13,854.40 7.8 225,135.10 33,426.90 17.4
พระราชบัญญัติฯ
5. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) 5,208,600.00 317,900.00 3.5 5,614,900.00 406,300.00 7.8
หมายเหตุ 1. ข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเป็นตัวเลขประมาณการของสำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2544
2. ข้อมูลของร่าง พ.ร.บ. งบประมาณปี 2545 ได้ปรับสัดส่วนรายจ่ายประจำและลงทุน ดังนี้
2.1 ค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จำนวน 58,000.0 ล้านบาท ใช้สัดส่วน รายจ่ายประจำ : รายจ่ายลงทุนเท่ากับ 50 : 50
2.2 ค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จำนวน 11,650.0 ล้านบาท ใช้สัดส่วนรายจ่ายประจำ : รายจ่ายลงทุน
เท่ากับ 20 : 80 โดยจัดเป็นค่าใช้จ่าย ในแผนงานพัฒนาชนบท ด้านการบริการสังคม
2.3 งบประมาณของหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ ใช้สัดส่วนรายจ่ายประจำ : รายจ่ายลงทุน เท่ากับ 85 : 15
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-