ถ้อยแถลงของ ฯพณฯ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ การประชุมรัฐมนตรีของ WTO และการเฉลิมฉลอง 50 ปี ของระบบการค้าพหุภาคี -------------------------------------------------------------------------------- ในการเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีของ WTO และการเฉลิมฉลอง 50 ปี ของระบบการค้าพหุภาคี ในระหว่างวันที่ 18-20 พฤษภาคม 2541 ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ ได้เสนอและวิเคราะห์ประเด็นปัญหา ในการปฏิบัติตามพันธกรณีของสมาชิกในเรื่องสำคัญ ได้แก่ เรื่องเกษตร สิ่งทอ ระบบการยุติข้อพิพาทและการเข้ามี ส่วนร่วมของประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้ ยังได้เสนอ วิสัยทัศน์เกี่ยวกับอนาคตของ WTO อีกด้วย ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี เน้นถึงความสำคัญของระบบการค้า พหุภาคีว่าเปรียบเสมือนฟันเฟืองที่ผลักดันความเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจและการค้าของโลกเพื่อให้บรรลุวัตุประสงค์ ของการมีการค้าที่เสรีและเป็นธรรมแต่เป้าหมายนี้จะประสบ ผลสำเร็จได้สมาชิกทั้งหมดจะต้องให้การยอมรับและ ตอบสนองอย่างเพียงพอในความจริงที่ว่ายังมีสมาชิกอีก จำนวนหนึ่งที่มีความแตกต่างในการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งอาจจะด้อยความสามารถในการแข่งขันกับประเทศ สมาชิกอื่น ๆ ที่เพรียบพร้อมกว่า ในเรื่องการ ปฏิบัติตามพันธกรณีนั้นไทยเห็นว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่สมาชิกทุกประเทศควรทุ่มเทและใช้ความพยายาม เพื่อให้มีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับความตกลง WTO ในการบรรลุข้อผูกพันที่มีอยู่ทั้งหมดของตน โดยได้เน้นความสำคัญในเรื่องนี้ดังนี้ เรื่องเกษตร -สมาชิกยังไม่ได้ใช้ความสามารถ และความพยายามในการปฏิบัติ ตามพันธกรณีอย่างสมบูรณ์ - การบริหารโควตานำเข้าภาษี การลดภาษีและอุปสรรคการนำเข้า การอุดหนุนการผลิตและการส่งออกเป็นเรื่องที่สมาชิกยังละเลยในการ ปฏิบัติฯ และนำไปสู่ปัญหาและอุปสรรคต่อการค้าเสรีเกษตร - เร่งเร้าให้สมาชิกใช้ความพยายามในการใช้มาตรการ สุขอนามัยและสุขอนามัยพืชให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของความ ตกลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการยึดมาตรฐานระหว่างประเทศและหลักฐาน ทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ เรื่องสิ่งทอ - สิ่งทอเปรียบเสมือนกระดูก สันหลังของอุตสาหกรรมไทยที่นำมา ซึ่งเงินตราต่างประเทศ และการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทย - ในช่วงที่ผ่านมา สมาชิก WTO ยังไม่ได้มีการปฏิบัติ ตามพันธกรณีของความตกลงสิ่งทออย่างเคร่งครัด - ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นอุปสรรคต่อการค้าสิ่งทอเสรี คือการนำเอา สินค้าสิ่งทอที่ไม่ได้อยู่ภายใต้กรอบของ WTO เข้ามาผูกพันไว้ใน กรอบ WTO เป็นสินค้าที่ไม่สำคัญหรือไม่มีผลในเชิงพาณิชย์ ซึ่งไม่เกิดประโยชน์ในเชิงปฏิบัติเท่าที่ควร การต่อต้านการทุ่มตลาด - แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาสมาชิก ได้มีการใช้มาตรการต่อต้าน การทุ่มตลาดกันมาก จึงเรียกร้องให้สมาชิกให้ความสำคัญ กับการปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด - เรียกร้องให้สมาชิกหยุดการไต่สวนการทุ่มตลาด ในเรื่องการหลบเลี่ยง (anti- circumvention)เพื่อให้รอ ให้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ที่แน่ชัดเสียก่อน ซึ่งขณะนี้ WTO อยู่ระหว่างการดำเนินการอยู่ การยุติข้อพิพาท - สมาชิกได้มีการใช้กระบวนการยุติข้อพิพาท WTO เพิ่มมากขึ้นแสดงให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือ ของระบบการยุติข้อพิพาทของ WTO ได้เป็นอย่างดี - ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศกำลังพัฒนานั้น ไทยเห็นว่าผู้เชี่ยวชาญ ด้านกฎหมายที่มีไว้คอยให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนานั้นไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นสิ่งที่สมาชิกจะต้องให้ความสำคัญและหาหนทางแก้ไขต่อไป การเข้ามีส่วนร่วมของประเทศกำลังพัฒนา - การเข้ามามีส่วนร่วมของประเทศกำลังพัฒนาในระบบการค้า พหุภาคีมีความสำคัและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของตนและ การค้าโลกโดยส่วนรวม - แม้ว่าความตกลง WTO ได้กำหนดให้มีความช่วยเหลือด้านวิชาการ จากฝ่ายเลขาธิการและการกำหนดให้มีการปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่าง สำหรับประเทศกำลังพัฒนา ประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุด ยังขาดศักยภาพด้านความรู้และทรัพยากรในการที่จะได้มาซึ่งผล ประโยชน์จากการเป็นสมาชิกของ WTO ซึ่งเป็นปัญหาที่รอเวลา ในการแก้ไข นอกจากนี้ ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี ยังได้เสนอวิสัยทัศน์ที่ WTO ควรก้าวเดินหน้าต่อไปตามกระแสโลก ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ เรื่องที่ WTO ได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว (Built-in Agenda) - ในความตกลง WTO และข้อตัดสินใจของ ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ ได้กำหนดให้มีการเจรจาและพิจารณาทบทวนความตกลง และ บทบัญญัติที่มีอยู่ ทั้งโดยกำหนดเวลาและสาระไว้แล้ว จึงควรที่จะมีการกำหนด แผนงานในการดำเนินการต่อไป - ในเรื่องการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่ภายใต้ความตกลงเกษตร ที่ได้กำหนดให้เริ่มในปี 2542 เพื่อให้การค้าสินค้าเกษตร มีความเสรีและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น ไทยสนับสนุนให้มีการ ดำเนินการเรื่องนี้ โดยเน้นให้ความสำคัญกับเรื่องการอุดหนุน การส่งออก การเปิดตลาด และการอุดหนุนการผลิต เป็นต้น - นอกจากนี้ ไทยยังสนับสนุนให้มีการพิจารณาประเด็นเรื่องการให้ความ ช่วยเหลือด้านวิชาการและการให้มีการปฏิบัติที่เป็นพิเศษ และแตกต่าง ต่อประเทศกำลังพัฒนาในการเจรจารอบใหม่นี้ด้วย เพื่อช่วยเหลือให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถปฏิบัต ิตามความตกลงและเปิดเสรีสินค้าเกษตรได้มากยิ่งขึ้น เรื่องที่มีศักยภาพในอนาคต - การพัฒนาการในเรื่องต่าง ๆภายใต้เศรษฐกิจโลกเป็นสิ่งสำคัญ ต่ออนาคตของ WTO ซึ่ง WTO ควรที่จะเปิดกว้างและยอมรับ ในความเป็นจริงเหล่านี อย่างไรก็ตาม การที่จะนำเอาเรื่องใด เข้ามาพิจารณาภายใต้ WTO นั้น ควรเป็นไปในลักษณะของฉันทามติ ซึ่งเป็นหัวใจของระบบการค้าพหุภาคี - เรื่องการค้ากับการลงทุน นโยบายการแข่งขัน และความโปร่งใส ในการจัดซื้อโดยรัฐ เป็นเรื่องที่ได้นำเข้ามาไว้ในกรอบของ WTO ในการประชุมรัฐมนตรีที่สิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม การดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ เป็นแต่เพียงการเริ่มศึกษาเท่านั้น การจะมีการผลักดันเรื่องนี้ต่อไปในอนาคต อย่างไร จึงขึ้นอยู่กับผลการศึกษาดังกล่าว เรื่องใหม่อื่น ๆ - ในการผลักดันให้มีเรื่องใหม่ๆ เข้าในภายใต้กรอบของ WTO และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเจรจารอบใหม่นั้นไทยพร้อมที่จะรับฟัง และพิจารณาความเป็นไปได้ อย่างไรก็ตามไทยยังคงยืนยัน ที่จะให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกกับการปฏิบัติตามพันธกรณีที่ มีอยู่ และเรื่องการเจรจาและงานอื่นๆ ที่สมาชิกได้ ให้ความเห็นชอบแล้วตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น - นอกจากนี้ ข้อเสนอใด ๆ ที่จะนำมาพิจารณานั้น ควรที่จะเป็นเรื่อง ที่มีประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนา - ประเด็นสุดท้าย คือ การเตรียมการสำหรับการหารือในอนาคตจะต้อง ไม่มีผลไปตัดสินล่วงหน้าแทนสมาชิกอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเด็นเกี่ยวกับ การเปิดรอบการเจรจารอบใหม่ นอกจากนั้น ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี ยังได้แสดงความเห็นว่า ไทยสนับสนุน ให้มีการให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่าง WTO กับองค์กรระหว่างประเทศ อื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง IMF และธนาคารโลกและความร่วมมือระหว่างประเทศ สมาชิกกับองค์กรระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และการค้าร่วมกัน นอกจากนี้ ไทยยังยืนยันที่จะปฏิบัติตามพันธกรณี ที่มีอยู่ภายใต้ WTO อย่างเคร่งครัด แม้ว่าจะมีปัญหาเรื่องวิกฤตการณ์ ทางการเงินก็ตาม รวมทั้งยังได้เรียกร้องให้สมาชิกอื่นๆ ปฏิบัติตามด้วย เพื่อมิให้เกิดภาพลบต่อวิกฤตการณ์ ดังกล่าวในรูปของการปกป้อง อุตสาหกรรมของตน ซึ่งจะเป็นการขัดแย้งต่อหลักการ การเปิดตลาดและการค้าเสรีภายใต้ระบบการค้าพหุภาคี ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน E-mail mailto:thai(WTO)@lprolink.ch หรือ http://www.dbe.moc.go.th/MOCOff/Oversea/OverSeaPart.html More Information Contact to The Permanent Mission of Thailand to the World Trade Organization (WTO)
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-