โครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยตามนโยบายของรัฐบาล
ผ่านระบบธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
**********************
วันนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการในการพักชำระหนี้ของโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้
ให้แก่เกษตรกรรายย่อยตามนโยบายของรัฐบาลผ่านระบบธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งกระทรวงการคลังเป็น
ผู้เสนอ และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกำกับดูแบและติดตามการดำเนินงานตามนโยบายพักการชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยโดยมี
รองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) เป็นประธาน ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศมีฐานะยากจนและมีปัญหาด้านหนี้สิน โดยกลุ่มที่มีปัญหามากที่สุด
และเป็นคนส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้คือ เกษตรกรรายย่อย ดังนั้น รัฐบาลจึงมีนโยบายพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยอันจะช่วยฟื้นฟู
ให้เกษตรการรายย่อยซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศมีเงินออมและเงินลงทุนเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้มากขึ้น
ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรรายย่อย ซึ่งประสบปัญหาความยากจน
รวมทั้งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม
2. วัตถุประสงค์
โดยปกติเกษตรกรรายย่อยที่กู้เงินจาก ธ.ก.ส. จะไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ ดังนั้น จึงกำหนดเป็นหลักการ
ในการดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรรายย่อยที่ประสบปัญหาหนี้สิน อันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัยและจำเป็นให้ได้รับการลดภาระหนี้สิน
เป็นเวลา 3 ปี เพื่อให้เกษตรกรรายย่อยได้มีโอกาสพักฟื้นและฟื้นฟูตนเองในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ และเกษตรกรดังกล่าวจะต้อง
ใช้โอการที่ได้รับการลดภาระหนี้สินในครั้งนี้ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถจ่ายชำระหนี้ได้หลังจากสิ้นสุดโครงการ
ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศมีการฟื้นตัวอย่างแท้จริงและยั่งยืน
3. เป้าหมาย
3.1 ให้โอกาสแก่เกษตรกรรายย่อย (วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท) ทั้งหมดที่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. ซึ่งมีจำนวน
2,112,132 ราย ได้ขอรับความช่วยเหลือโดยการพักชำระหนี้ (พักชำระหนี้เงินต้น และไม่ต้องเสียดอกเบี้ย) เป็นเวลา 3 ปี รวมเป็นมูลค่า
หนี้สินทั้งสิ้น 75,031 ล้านบาท
3.2 เกษตรกรรายย่อยที่อยู่ในข่ายที่จะได้รับความช่วยเหลือ และประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือตามโครงการพักชำระหนี้
จะต้องแสดงเจตจำนงที่จะเข้าร่วมโครงการกับ ธ.ก.ส.
3.3 เกษตรกรรายย่อยที่เข้าร่วมโครงการตามข้อ 3.2 จะต้องเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงการผลิต เพื่อฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ
ตามที่รัฐบาล ธ.ก.ส. และหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกันเกษตรกรเป็นผู้กำหนดร่วมกัน
4. ระยะเวลาในการดำเนินการ
เกษตรกรรายย่อยลูกค้า ธ.ก.ส. ผู้ที่ขอเข้าร่วมโครงการจะได้รับการพิจารณาให้พักชำระหนี้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2544
ถึง 31 มีนาคม 2547 รวม 3 ปี
5. แนวทางและวิธีการดำเนินการ
5.1 เกษตรกรที่จะได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยตามนโยบาย
ของรัฐบาล ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. หรือสมาชิกสหกรณ์การเกษตรที่เป็นลูกค้าและใช้บริการเงินกู้โดยตรงกับ ธ.ก.ส.
หรือเป็นเกษตรกรที่รับภาระหนี้สินเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ในฐานะผู้ค้ำประกัน หรือ ในฐานะทายาทโดยธรรมก่อนวันที่ 1 เมษายน 2544
โดยเกษตรกรต้องแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2544 และในกรณีที่เกษตรกรรายย่อยดังกล่าว
มีผู้ค้ำประกันเงินกู้ ผู้ค้ำประกันต้องยินยอมให้พักชำระหนี้
(2) เป็นเกษตรกรที่ไม่เคยถูก ธ.ก.ส. ดำเนินคดีในฐานะผู้กู้ตามข้อบังคับของ ธ.ก.ส. มาก่อน
(3) เป็นเกษตรกรที่มีภาระหนี้เงินกู้อยู่กับ ธ.ก.ส. ในวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท (ไม่นับรวมภาระหนี้เงินกู้
ตามโครงการที่เป็นนโยบายของรัฐบาล และไม่นับรวมดอกเบี้ยเงินกู้)
สำหรับเกษตรกรรายย่อยที่จงใจจะบิดพริ้วไม่ชำระหนี้เงินกู้กับ ธ.ก.ส. จะไม่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ
โดย ธ.ก.ส. จะให้ผู้นำเกษตรกรที่เป็นหัวหน้ากลุ่มลูกค้าให้ความเห็นประกอบการพิจารณาคัดเลือก
5.2 ช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท และประสบปัญหาด้านหนี้สินอันเนื่องมาจากเหตุสุจริต
และจำเป็นให้สามารถฟื้นฟูอาชีพของตนเองได้ด้วยการให้ ธ.ก.ส. ช่วยเหลือ ดังนี้
(1) พักชำระหนี้ด้วยการพักชำระเงินต้นและไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 1 เมษายน 2544 ถึง 31 มีนาคม
2547 เป็นเวลา 3 ปี หลังจากนั้นเกษตรกรต้องจ่ายชำระเงินต้นและดอกเบี้ยตามเกณฑ์ชั้นลูกค้าของ ธ.ก.ส.
(2) เกษตรกรรายย่อยที่ขอพักชำระหนี้จะไม่มีสิทธิขอกู้เงินใหม่จาก ธ.ก.ส. เพิ่มเติม แต่จะได้รับการช่วยเหลือ
ทางด้านวิชาการจาก ธ.ก.ส. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเมื่อมีแผนการปรับปรุงการผลิตเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเท่านั้น
(3) สำหรับดอกเบี้ยที่ค้างชำระก่อนเริ่มโครงการให้ ธ.ก.ส. พิจารณากำหนดแผนการชำระตามความเหมาะสม
เป็นราย ๆ ไป
ทั้งนี้ เกษตรกรรายย่อยที่เข้าร่วมโครงการจะต้องมีการปรับปรุงการผลิตอย่างจริงจริง และมีการออมเงินตาม
ความสามารถซึ่งจะได้รับดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มจากอัตราปกติของ ธ.ก.ส. อีกร้อยละ 1 ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี ในวงเงินฝากไม่เกิน
รายละ 50,000 บาท เพื่อให้เป็นที่มั่นใจว่าเมื่อสิ้นสุดโครงการแล้วเกษตรกรรายย่อยดังกล่าวจะสามารถชำระหนี้และขยายการผลิตได้ต่อไป
5.3 เกษตรกรรายย่อยประกอบด้วยกลุ่มที่มีความจำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือ และที่ไม่มีความจำเป็นต้องขอรับ
ความช่วยเหลือ แต่เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยที่มีความตั้งใจในการชำระหนี้ตรงตามกำหนดให้มีกำลังใจและ
ขยายกำลังการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง จึงมีมาตรการจูงใจให้เกษตรกรดังกล่าว ชำระหนี้ตรงตามกำหนดต่อไป ด้วยการลดอัตราดอกเบี้ย
ลงจากอัตราที่พึงต้องจ่ายอีกร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี นอกจากนี้ยังให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติ่มให้ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มจาก
อัตราปกติของ ธ.ก.ส. อีกร้อยละ 1 ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี ในวงเงินฝากไม่เกินรายละ 50,000 บาท และได้รับสิทธิกู้เงินเพิ่ม
สิทธิกู้เงินพิเศษ รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ ธ.ก.ส. สามารถให้ได้อยู่แล้วควบคู่ไปด้วย ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่เกษตรกรรายย่อย
ที่ชำระหนี้ตรงตามกำหนดได้รับนี้มีจำนวนมากเพียงพอที่จะจูงใจให้มีกำลังใจในการผ่อนชำระต่อไป
5.4 ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ที่เกษตรกรรายย่อยขอพักชำระหนี้และขอลดภาระหนี้จะได้รับนั้นรัฐบาลและ ธ.ก.ส.
จะเป็นผู้รับภาระสรุปได้ดังนี้
________________________________________________________________________________________________________
ผู้ขอพักชำระหนี้ | ผู้ขอลดภาระหนี้ |
_____________________________________________________|_________________________________________________|
สิทธิประโยชน์ | ผู้รับภาระ | สิทธิประโยชน์ | ผู้รับภาระ |
______________________________________|______________|____________________________________|____________|
1. ได้รับการพักชำระต้นเงินกู้เป็นเวลา 3 ปี | - | 1. ได้รับการชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาล | รัฐบาล |
| | ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลา | |
| | 3 ปีดังนี้ | |
| | ชั้นลูกค้า การลดดอกเบี้ย | |
| | B 11% เหลือ 8% | |
| | A 10% เหลือ 7% | |
| | AA 9% เหลือ 6% | |
| | AAA 8% เหลือ 5% | |
2. ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยเงินกู้ตามชั้นลูกค้าที่ | รัฐบาล | 2. ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มในอัตราร้อยละ | รัฐบาล |
เป็นอยู่ก่อนเข้าร่วมโครงการ เป็นเวลา | | 1 ต่อปี จากอัตราปกติ เป็นเวลา 3 ปี | |
3 ปี | | ในวงเงินฝากรายละไม่เกิน 50,000 บาท | |
3. ได้รับสิทธิฟื้นฟูการประกอบอาชีพตลอดระยะ | รัฐบาล | 3. มีสิทธิกู้เงินฉุกเฉินพิเศษในวงเงิน 30,000 | ธ.ก.ส. |
เวลาการพักหนี้ | | บาท (ลูกค้าชั้น B ไม่ได้รับสิทธิ) | |
4. การออมเงินฝากได้รับอัตราดอกเบี้ยเพิ่ม | ธ.ก.ส. | 4. มีสิทธิจับรางวัลทุนการศึกษา หรือ ทุนประกัน| ธ.ก.ส. |
ในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี จากอัตราปกติ | | ชีวิตและสุขภาพในวงเงินประกัน 100,000 | |
เป็นเวลา 3 ปี ในวงเงินไม่เกินรายละ | | บาท ทุนละ 3,000 บาท (ลูกค้าชั้น B | |
50,000 บาท | | ไม่ได้รับสิทธิ) | |
5. เมื่อออกจากโครงการก่อนครบกำหนด | - | 5. มีสิทธิกู้เงินใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ | - |
3 ปี และชำระหนี้ได้ครบถ้วนตามกำหนด | | ณ เวลาใดเวลาหนึ่งได้ในวงเงินรวมกัน | |
จะได้รับการเลื่อนชั้นคุณภาพ | | ไม่เกิน 100,000 บาท | |
6. หลังจากพักชำระหนี้แล้ว ให้ชำระดอกเบี้ย | - | 6. ได้รับเกียรติบัตร และบัตรเอกสิทธิ์จาก | - |
ตามเกณฑ์ลูกค้าชั้นเดิม ก่อนการพักชำระหนี้ | | ธ.ก.ส. (ลูกค้าชั้น B ไม่ได้รับสิทธิ) | |
| | 7. ได้รับสิทธิฟื้นฟูการประกอบอาชีพ | - |
______________________________________|______________|____________________________________|____________|
5.5 ค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลจะสนับสนุนในการดำเนินโครงการ รัฐบาลจะจัดสรรเงินงบประมาณชดเชยตามที่จ่ายจริง
โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากลูกค้าชั้น AAA แต่ไม่เกินประมาณปีละ 6,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับจำนวนของเกษตรกรรายย่อย
ที่ขอเข้าร่วมโครงการ
6. การติดตามและสนับสนุนการดำเนินการตามโครงการ
6.1 การติดตามการดำเนินการโครงการ ธ.ก.ส. จะต้องจัดให้มีระบบการกำกับตรวจสอบการใช้จ่ายของเกษตรกร
ที่ขอพักชำระหนี้ให้นำเงินไปใช้ในกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่เกษตรกรเพื่อสร้างรายได้และทำการออมตามกำลังเป็นสำคัญ
6.2 รัฐบาลจะให้การสนับสนุนการดำเนินการของ ธ.ก.ส. ดังนี้
(1) เพิ่มทุนดำเนินงานแก่ ธ.ก.ส. เพื่อใช้ในการขยายสินเชื่อในอนาคต
(2) สนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านเพื่อเสริมแหล่งเงินทุนในระบบให้แก่เกษตรกร
(3) สนับสนุนระบบประกันภัยพืชผล เพื่อช่วยลดภาระความเสียหายทางการเกษตรอันเนื่องมาจากภัยพิบัติแก่เกษตรกร
(4) พิจารณาปรับปรุงการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้งระบบ ซึ่งรวมถึง ธ.ก.ส. ด้วย
เพื่อให้มีระบบการจัดการที่เหมาะสม เช่น การแยกระบบบัญชีสำหรับสินเชื่อนโยบายรัฐ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่แหล่งเงินทุนของ ธ.ก.ส.
7. ประโยชน์ที่คาดว่าได้รับจากการดำเนินการ
7.1 การที่เกษตรกรรายย่อยที่สุจริตและมีความจำเป็นซึ่งมีหนี้อยู่กับ ธ.ก.ส. ไม่เกิน 100,000 บาท และขอรับ
การพักชำระหนี้จะได้รับการยกเว้นดอกเบี้ย จะเป็นประโยชน์ต่อการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ยากจน ซึ่งหากเกษตรกร
ดังกล่าวได้ใช้โอกาสนี้ทำการปรับปรุงผลผลิตอย่างเต็มที่ก้จะสามารถฟื้นฟูฐานะและพัฒนาอาชีพได้อย่างยั่งยืน และก็จะเป็นประโยชน์
ต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
7.2 สำหรับการให้ผลตอบแทนพิเศษแก่เกษตรกรที่ชำระหนี้ปกติ (ลดภาระดอกเบี้ยลงในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี
ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี และได้รับสิทธิกู้เงินเพิ่ม สิทธิกู้เงินพิเศษ รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ )
ก็จะเป็นสิ่งจูงใจและส่งเสริมให้เกษตรกรที่มีความสามารถในการผ่อนชำระหนี้มีความมุ่งมั่นที่จะประพฤติดีโดยการผ่อนชำระต่อไป
ซึ่งจะเป็นการรักษาวินัยทางการเงินไว้
8. แหล่งเงินทุน
รัฐบาลจะจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อรับภาระในการดำเนินโครงการตามข้อ 5.4 รวมทั้งค่าใช้จ่ายในส่วนที่ ธ.ก.ส.
ต้องจ่ายเพิ่มจากการดำเนินงานตามปกติ เพื่อเร่งรัดให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการเท่าที่จ่ายจริง โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ย
ที่คิดจากลูกค้าชั้น AAA แต่ไม่เกินประมาณปีละ 6,000 ล้านบาท (การจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าว
ต้องไม่คิดดอกเบี้ยปรับ)
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 16/2544 20 มีนาคม 2544--
-นห-
ผ่านระบบธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
**********************
วันนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการในการพักชำระหนี้ของโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้
ให้แก่เกษตรกรรายย่อยตามนโยบายของรัฐบาลผ่านระบบธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งกระทรวงการคลังเป็น
ผู้เสนอ และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกำกับดูแบและติดตามการดำเนินงานตามนโยบายพักการชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยโดยมี
รองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) เป็นประธาน ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศมีฐานะยากจนและมีปัญหาด้านหนี้สิน โดยกลุ่มที่มีปัญหามากที่สุด
และเป็นคนส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้คือ เกษตรกรรายย่อย ดังนั้น รัฐบาลจึงมีนโยบายพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยอันจะช่วยฟื้นฟู
ให้เกษตรการรายย่อยซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศมีเงินออมและเงินลงทุนเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้มากขึ้น
ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรรายย่อย ซึ่งประสบปัญหาความยากจน
รวมทั้งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม
2. วัตถุประสงค์
โดยปกติเกษตรกรรายย่อยที่กู้เงินจาก ธ.ก.ส. จะไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ ดังนั้น จึงกำหนดเป็นหลักการ
ในการดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรรายย่อยที่ประสบปัญหาหนี้สิน อันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัยและจำเป็นให้ได้รับการลดภาระหนี้สิน
เป็นเวลา 3 ปี เพื่อให้เกษตรกรรายย่อยได้มีโอกาสพักฟื้นและฟื้นฟูตนเองในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ และเกษตรกรดังกล่าวจะต้อง
ใช้โอการที่ได้รับการลดภาระหนี้สินในครั้งนี้ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถจ่ายชำระหนี้ได้หลังจากสิ้นสุดโครงการ
ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศมีการฟื้นตัวอย่างแท้จริงและยั่งยืน
3. เป้าหมาย
3.1 ให้โอกาสแก่เกษตรกรรายย่อย (วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท) ทั้งหมดที่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. ซึ่งมีจำนวน
2,112,132 ราย ได้ขอรับความช่วยเหลือโดยการพักชำระหนี้ (พักชำระหนี้เงินต้น และไม่ต้องเสียดอกเบี้ย) เป็นเวลา 3 ปี รวมเป็นมูลค่า
หนี้สินทั้งสิ้น 75,031 ล้านบาท
3.2 เกษตรกรรายย่อยที่อยู่ในข่ายที่จะได้รับความช่วยเหลือ และประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือตามโครงการพักชำระหนี้
จะต้องแสดงเจตจำนงที่จะเข้าร่วมโครงการกับ ธ.ก.ส.
3.3 เกษตรกรรายย่อยที่เข้าร่วมโครงการตามข้อ 3.2 จะต้องเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงการผลิต เพื่อฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ
ตามที่รัฐบาล ธ.ก.ส. และหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกันเกษตรกรเป็นผู้กำหนดร่วมกัน
4. ระยะเวลาในการดำเนินการ
เกษตรกรรายย่อยลูกค้า ธ.ก.ส. ผู้ที่ขอเข้าร่วมโครงการจะได้รับการพิจารณาให้พักชำระหนี้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2544
ถึง 31 มีนาคม 2547 รวม 3 ปี
5. แนวทางและวิธีการดำเนินการ
5.1 เกษตรกรที่จะได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยตามนโยบาย
ของรัฐบาล ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. หรือสมาชิกสหกรณ์การเกษตรที่เป็นลูกค้าและใช้บริการเงินกู้โดยตรงกับ ธ.ก.ส.
หรือเป็นเกษตรกรที่รับภาระหนี้สินเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ในฐานะผู้ค้ำประกัน หรือ ในฐานะทายาทโดยธรรมก่อนวันที่ 1 เมษายน 2544
โดยเกษตรกรต้องแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2544 และในกรณีที่เกษตรกรรายย่อยดังกล่าว
มีผู้ค้ำประกันเงินกู้ ผู้ค้ำประกันต้องยินยอมให้พักชำระหนี้
(2) เป็นเกษตรกรที่ไม่เคยถูก ธ.ก.ส. ดำเนินคดีในฐานะผู้กู้ตามข้อบังคับของ ธ.ก.ส. มาก่อน
(3) เป็นเกษตรกรที่มีภาระหนี้เงินกู้อยู่กับ ธ.ก.ส. ในวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท (ไม่นับรวมภาระหนี้เงินกู้
ตามโครงการที่เป็นนโยบายของรัฐบาล และไม่นับรวมดอกเบี้ยเงินกู้)
สำหรับเกษตรกรรายย่อยที่จงใจจะบิดพริ้วไม่ชำระหนี้เงินกู้กับ ธ.ก.ส. จะไม่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ
โดย ธ.ก.ส. จะให้ผู้นำเกษตรกรที่เป็นหัวหน้ากลุ่มลูกค้าให้ความเห็นประกอบการพิจารณาคัดเลือก
5.2 ช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท และประสบปัญหาด้านหนี้สินอันเนื่องมาจากเหตุสุจริต
และจำเป็นให้สามารถฟื้นฟูอาชีพของตนเองได้ด้วยการให้ ธ.ก.ส. ช่วยเหลือ ดังนี้
(1) พักชำระหนี้ด้วยการพักชำระเงินต้นและไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 1 เมษายน 2544 ถึง 31 มีนาคม
2547 เป็นเวลา 3 ปี หลังจากนั้นเกษตรกรต้องจ่ายชำระเงินต้นและดอกเบี้ยตามเกณฑ์ชั้นลูกค้าของ ธ.ก.ส.
(2) เกษตรกรรายย่อยที่ขอพักชำระหนี้จะไม่มีสิทธิขอกู้เงินใหม่จาก ธ.ก.ส. เพิ่มเติม แต่จะได้รับการช่วยเหลือ
ทางด้านวิชาการจาก ธ.ก.ส. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเมื่อมีแผนการปรับปรุงการผลิตเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเท่านั้น
(3) สำหรับดอกเบี้ยที่ค้างชำระก่อนเริ่มโครงการให้ ธ.ก.ส. พิจารณากำหนดแผนการชำระตามความเหมาะสม
เป็นราย ๆ ไป
ทั้งนี้ เกษตรกรรายย่อยที่เข้าร่วมโครงการจะต้องมีการปรับปรุงการผลิตอย่างจริงจริง และมีการออมเงินตาม
ความสามารถซึ่งจะได้รับดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มจากอัตราปกติของ ธ.ก.ส. อีกร้อยละ 1 ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี ในวงเงินฝากไม่เกิน
รายละ 50,000 บาท เพื่อให้เป็นที่มั่นใจว่าเมื่อสิ้นสุดโครงการแล้วเกษตรกรรายย่อยดังกล่าวจะสามารถชำระหนี้และขยายการผลิตได้ต่อไป
5.3 เกษตรกรรายย่อยประกอบด้วยกลุ่มที่มีความจำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือ และที่ไม่มีความจำเป็นต้องขอรับ
ความช่วยเหลือ แต่เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยที่มีความตั้งใจในการชำระหนี้ตรงตามกำหนดให้มีกำลังใจและ
ขยายกำลังการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง จึงมีมาตรการจูงใจให้เกษตรกรดังกล่าว ชำระหนี้ตรงตามกำหนดต่อไป ด้วยการลดอัตราดอกเบี้ย
ลงจากอัตราที่พึงต้องจ่ายอีกร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี นอกจากนี้ยังให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติ่มให้ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มจาก
อัตราปกติของ ธ.ก.ส. อีกร้อยละ 1 ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี ในวงเงินฝากไม่เกินรายละ 50,000 บาท และได้รับสิทธิกู้เงินเพิ่ม
สิทธิกู้เงินพิเศษ รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ ธ.ก.ส. สามารถให้ได้อยู่แล้วควบคู่ไปด้วย ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่เกษตรกรรายย่อย
ที่ชำระหนี้ตรงตามกำหนดได้รับนี้มีจำนวนมากเพียงพอที่จะจูงใจให้มีกำลังใจในการผ่อนชำระต่อไป
5.4 ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ที่เกษตรกรรายย่อยขอพักชำระหนี้และขอลดภาระหนี้จะได้รับนั้นรัฐบาลและ ธ.ก.ส.
จะเป็นผู้รับภาระสรุปได้ดังนี้
________________________________________________________________________________________________________
ผู้ขอพักชำระหนี้ | ผู้ขอลดภาระหนี้ |
_____________________________________________________|_________________________________________________|
สิทธิประโยชน์ | ผู้รับภาระ | สิทธิประโยชน์ | ผู้รับภาระ |
______________________________________|______________|____________________________________|____________|
1. ได้รับการพักชำระต้นเงินกู้เป็นเวลา 3 ปี | - | 1. ได้รับการชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาล | รัฐบาล |
| | ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลา | |
| | 3 ปีดังนี้ | |
| | ชั้นลูกค้า การลดดอกเบี้ย | |
| | B 11% เหลือ 8% | |
| | A 10% เหลือ 7% | |
| | AA 9% เหลือ 6% | |
| | AAA 8% เหลือ 5% | |
2. ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยเงินกู้ตามชั้นลูกค้าที่ | รัฐบาล | 2. ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มในอัตราร้อยละ | รัฐบาล |
เป็นอยู่ก่อนเข้าร่วมโครงการ เป็นเวลา | | 1 ต่อปี จากอัตราปกติ เป็นเวลา 3 ปี | |
3 ปี | | ในวงเงินฝากรายละไม่เกิน 50,000 บาท | |
3. ได้รับสิทธิฟื้นฟูการประกอบอาชีพตลอดระยะ | รัฐบาล | 3. มีสิทธิกู้เงินฉุกเฉินพิเศษในวงเงิน 30,000 | ธ.ก.ส. |
เวลาการพักหนี้ | | บาท (ลูกค้าชั้น B ไม่ได้รับสิทธิ) | |
4. การออมเงินฝากได้รับอัตราดอกเบี้ยเพิ่ม | ธ.ก.ส. | 4. มีสิทธิจับรางวัลทุนการศึกษา หรือ ทุนประกัน| ธ.ก.ส. |
ในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี จากอัตราปกติ | | ชีวิตและสุขภาพในวงเงินประกัน 100,000 | |
เป็นเวลา 3 ปี ในวงเงินไม่เกินรายละ | | บาท ทุนละ 3,000 บาท (ลูกค้าชั้น B | |
50,000 บาท | | ไม่ได้รับสิทธิ) | |
5. เมื่อออกจากโครงการก่อนครบกำหนด | - | 5. มีสิทธิกู้เงินใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ | - |
3 ปี และชำระหนี้ได้ครบถ้วนตามกำหนด | | ณ เวลาใดเวลาหนึ่งได้ในวงเงินรวมกัน | |
จะได้รับการเลื่อนชั้นคุณภาพ | | ไม่เกิน 100,000 บาท | |
6. หลังจากพักชำระหนี้แล้ว ให้ชำระดอกเบี้ย | - | 6. ได้รับเกียรติบัตร และบัตรเอกสิทธิ์จาก | - |
ตามเกณฑ์ลูกค้าชั้นเดิม ก่อนการพักชำระหนี้ | | ธ.ก.ส. (ลูกค้าชั้น B ไม่ได้รับสิทธิ) | |
| | 7. ได้รับสิทธิฟื้นฟูการประกอบอาชีพ | - |
______________________________________|______________|____________________________________|____________|
5.5 ค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลจะสนับสนุนในการดำเนินโครงการ รัฐบาลจะจัดสรรเงินงบประมาณชดเชยตามที่จ่ายจริง
โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากลูกค้าชั้น AAA แต่ไม่เกินประมาณปีละ 6,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับจำนวนของเกษตรกรรายย่อย
ที่ขอเข้าร่วมโครงการ
6. การติดตามและสนับสนุนการดำเนินการตามโครงการ
6.1 การติดตามการดำเนินการโครงการ ธ.ก.ส. จะต้องจัดให้มีระบบการกำกับตรวจสอบการใช้จ่ายของเกษตรกร
ที่ขอพักชำระหนี้ให้นำเงินไปใช้ในกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่เกษตรกรเพื่อสร้างรายได้และทำการออมตามกำลังเป็นสำคัญ
6.2 รัฐบาลจะให้การสนับสนุนการดำเนินการของ ธ.ก.ส. ดังนี้
(1) เพิ่มทุนดำเนินงานแก่ ธ.ก.ส. เพื่อใช้ในการขยายสินเชื่อในอนาคต
(2) สนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านเพื่อเสริมแหล่งเงินทุนในระบบให้แก่เกษตรกร
(3) สนับสนุนระบบประกันภัยพืชผล เพื่อช่วยลดภาระความเสียหายทางการเกษตรอันเนื่องมาจากภัยพิบัติแก่เกษตรกร
(4) พิจารณาปรับปรุงการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้งระบบ ซึ่งรวมถึง ธ.ก.ส. ด้วย
เพื่อให้มีระบบการจัดการที่เหมาะสม เช่น การแยกระบบบัญชีสำหรับสินเชื่อนโยบายรัฐ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่แหล่งเงินทุนของ ธ.ก.ส.
7. ประโยชน์ที่คาดว่าได้รับจากการดำเนินการ
7.1 การที่เกษตรกรรายย่อยที่สุจริตและมีความจำเป็นซึ่งมีหนี้อยู่กับ ธ.ก.ส. ไม่เกิน 100,000 บาท และขอรับ
การพักชำระหนี้จะได้รับการยกเว้นดอกเบี้ย จะเป็นประโยชน์ต่อการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ยากจน ซึ่งหากเกษตรกร
ดังกล่าวได้ใช้โอกาสนี้ทำการปรับปรุงผลผลิตอย่างเต็มที่ก้จะสามารถฟื้นฟูฐานะและพัฒนาอาชีพได้อย่างยั่งยืน และก็จะเป็นประโยชน์
ต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
7.2 สำหรับการให้ผลตอบแทนพิเศษแก่เกษตรกรที่ชำระหนี้ปกติ (ลดภาระดอกเบี้ยลงในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี
ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี และได้รับสิทธิกู้เงินเพิ่ม สิทธิกู้เงินพิเศษ รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ )
ก็จะเป็นสิ่งจูงใจและส่งเสริมให้เกษตรกรที่มีความสามารถในการผ่อนชำระหนี้มีความมุ่งมั่นที่จะประพฤติดีโดยการผ่อนชำระต่อไป
ซึ่งจะเป็นการรักษาวินัยทางการเงินไว้
8. แหล่งเงินทุน
รัฐบาลจะจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อรับภาระในการดำเนินโครงการตามข้อ 5.4 รวมทั้งค่าใช้จ่ายในส่วนที่ ธ.ก.ส.
ต้องจ่ายเพิ่มจากการดำเนินงานตามปกติ เพื่อเร่งรัดให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการเท่าที่จ่ายจริง โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ย
ที่คิดจากลูกค้าชั้น AAA แต่ไม่เกินประมาณปีละ 6,000 ล้านบาท (การจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าว
ต้องไม่คิดดอกเบี้ยปรับ)
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 16/2544 20 มีนาคม 2544--
-นห-