กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ได้รับแจ้งจากกระทรวงการต่างประเทศว่า สภาหอการค้าของอินโดนีเซียได้ยื่นข้อเสนอขอให้รัฐบาลอินโดนีเซียชะลอการลดภาษีในอาฟต้า อันจะมีผลให้การลดภาษีล่าช้าออกไปจากกำหนดเดิม ต่อมาเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2544 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของอินโดนีเซียได้ประกาศยืนยันว่าอินโดนีเซียจะปฏิบัติตามพันธกรณีของอาฟต้าตามกำหนดเดิมคือปี 2003 และประธานคณะกรรมการเพื่อพัฒนาการส่งออกแห่งอินโดนีเซียยังได้แสดงความเห็นด้วยว่าไม่มีความจำเป็นที่อินโดนีเซียจะต้องชะลอการปฏิบัติตามข้อผูกพันอาฟต้า เพราะเท่าที่ผ่านมา อินโดนีเซียส่งออกสินค้าไปยังอาเซียนได้มากขึ้น แสดงว่ามีผลผลิตบางประเภทของอินโดนีเซียที่สามารถแข่งขันได้ รวมทั้งอาจเป็นผู้ผลิตแต่เพียงประเทศเดียวในอาเซียน
นอกจากนี้ ได้รับทราบเพิ่มเติมว่า ขณะนี้อินโดนีเซียได้ยื่นหนังสือขอเจรจากับประเทศมาเลเซีย ในกรณีที่มาเลเซียได้ประกาศขอชะลอการลดภาษีสินค้ายานยนต์ภายใต้อาฟต้าแล้ว นับเป็นประเทศที่สองต่อจากไทยซึ่งกำลังดำเนินการหารือสองฝ่ายกับมาเลเซีย ทั้งนี้ อินโดนีเซียเป็นผู้ส่งออกสินค้ายานยนต์อันดับหนึ่งไปยังประเทศมาเลเซีย ซึ่งไทยจะได้ประสานและติดตามรายละเอียดอย่างใกล้ชิดต่อไป
ในการนี้ เพื่อช่วยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในอาเซียนอย่างยั่งยืน โดยการดำเนินการความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆของอาเซียน โดยเฉพาะอาฟต้า ให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งจะส่งผลต่อการขยายการค้าและเพิ่มศักยภาพในการดึงดูดการลงทุน ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 7 ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ศกนี้ ที่ประเทศกัมพูชา กระทรวงพาณิชย์จะยกประเด็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียน ขึ้นหารือ เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของการยึดมั่นต่อพันธะสัญญาตามข้อตกลงที่ได้ร่วมกันก่อร่างไว้ดังกล่าวแล้วข้างต้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
นอกจากนี้ ได้รับทราบเพิ่มเติมว่า ขณะนี้อินโดนีเซียได้ยื่นหนังสือขอเจรจากับประเทศมาเลเซีย ในกรณีที่มาเลเซียได้ประกาศขอชะลอการลดภาษีสินค้ายานยนต์ภายใต้อาฟต้าแล้ว นับเป็นประเทศที่สองต่อจากไทยซึ่งกำลังดำเนินการหารือสองฝ่ายกับมาเลเซีย ทั้งนี้ อินโดนีเซียเป็นผู้ส่งออกสินค้ายานยนต์อันดับหนึ่งไปยังประเทศมาเลเซีย ซึ่งไทยจะได้ประสานและติดตามรายละเอียดอย่างใกล้ชิดต่อไป
ในการนี้ เพื่อช่วยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในอาเซียนอย่างยั่งยืน โดยการดำเนินการความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆของอาเซียน โดยเฉพาะอาฟต้า ให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งจะส่งผลต่อการขยายการค้าและเพิ่มศักยภาพในการดึงดูดการลงทุน ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 7 ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ศกนี้ ที่ประเทศกัมพูชา กระทรวงพาณิชย์จะยกประเด็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียน ขึ้นหารือ เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของการยึดมั่นต่อพันธะสัญญาตามข้อตกลงที่ได้ร่วมกันก่อร่างไว้ดังกล่าวแล้วข้างต้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-